หาตำแหน่งจุดโฟกัส


นักศึกษามาฝึกงาน ไม่ใช่ฝึกแต่การถ่ายภาพ ต้องรู้จักการบรูณาการและนำองค์ความรู้ที่เรียนมาใช้ประโยชน์

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพของนักศึกษาฝึกงานกำลังช่วยกันหาจุดโฟกัสของหลอดเอกซเรย์ เพื่อใช้ประกอบการวัดระยะทางระหว่างหลอดเอกซเรย์ถึงอุปกรณ์ถ่ายภาพรังสี หรือ ที่เรียกกันอย่างย่อว่า FFD : Focus Film Distance

 

 

ในการเรียนการสอน อาจารย์มักจะกล่าวถึงระยะ FFD นี้ พูดกันบ่อยๆ แต่ในการทำงานจริง ตำแหน่งของโฟกัสของหลอดเอกซเรย์จะมีการทำเครื่องหมายแตกต่างกัน

ดังนั้นเป็นโอกาสอันนี้ที่ ม.ขอนแก่น มีเครื่องเอกซเรย์ที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ หลายยี่ห้อ ผมมักจะให้นักศึกษาได้มีโอกาสไปลองหาตำแหน่งของจุกโฟส ของหลอดเอกซเรย์ชนิดต่างๆ

 

 

 

 

 

 

ตำแหน่งของจุดโฟกัสที่แสดงให้เห็นมักจะอยู่ด้านหลังของหลอดเอกซเรย์ บางหลอดจะมีข้อความเขียนบอกว่าเป็น Focus แต่บางหลอดจะไม่มีข้อความบอกไว้ แต่จะมีจุดสีขาว หรือ สีแดง หรือ สีดำ แสดงไว้ให้เห็น หรือหากไม่มีแสดงไว้ ก็ให้ประมาณเอาเอง คือ ตำแหน่งของจุกโฟกัสของหลอดเอกซเรย์ชนิด Rotating Anode จะอยู่ประมาณ 1/3 จากด้านล่างขึ้นบนของหลอดเอกซเรย์นั้นเอง

 

  

 

ผมจึงมักจะให้นักศึกษาค้นหาและจดจำไว้

 

 

 

ในการถ่ายภาพรังสีจะให้ระยะ FFD นี้แตกต่างกัน เช่น การถ่ายภาพรังสีทรวงอกในท่ามาตรฐาน คือ ท่ายืน (Upright) ใช้ระยะนี้ประมาณ 60-72 นิ้ว การถ่ายภาพกระดูก 42-36 นิ้ว เป็นต้น

 

 

 

FFD เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อคุณภาพของภาพถ่ายด้วยรังสีเอกซ์ เพราะว่าการใช้ระยะ FFD ที่แตกต่างกัน ทำให้ปริมาณรังสีที่ไปตกกระทบบนอุปกรณ์รับภาพหรือแผ่นฟิล์ม มีปริมาณที่แตกต่างกัน

 

หลายครั้งที่ภาพถ่ายรังสีไม่ได้คุณภาพในลักษณะ Over - Under Exposure เนื่องจากการเลื่อนหลอดเอกซเรย์ผิดไปจากระยะที่ควร (ใกล้ ไกลเกินไป)  ทำให้นักรังสีเทคนิคเลือกใช้ค่า Exposure technique ดังกล่าวแล้ว ภาพถ่ายออกมาไม่เหมาะสม 

 

สรุป: การทำงานที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ส่วนหนึ่งเกิดจากการนำความรู้ ความเข้าไปที่เรียนรู้มา + ประสบการณ์ ปัญหาความผิดพลาดจากการทำงาน สามารถแก้ไขได้ ไม่มีใครไม่เคยทำผิด

ความผิดพลาด เป็นครูที่ดี

ตัวเราเอง คือ ก็เป็นครูที่ดี

เรียนรู้จากอดีต เข้าใจปัจจุบัน เพื่อสร้างอนาคตที่ดีต่อไป ครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 476927เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2012 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2014 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท