สภาพปัญหาและสาเหตุเด็กถูกทอดทิ้งในประเทศไทย


เด็กถูกทอดทิ้ง

ตอนที่ 1 ข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์ ชื่อ นายอภิเชษฐ นามสกุล ปานจรัตน์ เพศ ชาย
อายุ 41 ปี การศึกษา ปริญญาโท พัฒนาสังคม อาชีพ รับข้าราชการ ตำแหน่ง นักจิตวิทยาชำนาญการ ระยะเวลาปฏิบัติงาน 11 ปี สถานที่ทำงาน สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท ที่อยู่ปัจจุบัน 78/24 ม.1 ตำบล บางตลาด อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 02-5847253 E-mail: [email protected]ตอนที่ 2 สภาพปัญหาและสาเหตุเด็กถูกทอดทิ้งในประเทศไทย

  1. ท่านคิดว่าสภาพเด็กถูกทอดทิ้ง เป็นอย่างไร ? จากสภาพสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรและท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจสังคมที่มุ่งพัฒนาบ้านเมืองเทคโนโลยี ทำให้ขาดการดูแลเด็กเยาวชนสังคมและครอบครัวส่งผลกระทบทำให้ครอบครัวขาดการดูแลบุตรหลาน ทำให้เยาวชนที่ไม่ได้รับการดูแลที่ดีอย่างใกล้ชิดจากพ่อแม่ผู้ปกครองมีเด็กพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เที่ยวเตร่ ดื่มกิน เสพยา และตั้งครรภ์ แล้วไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ก็ทำแท้งหรือไม่ก็คลอดแล้วทอดทิ้งไป มีจำนวนมากขึ้น แต่ปัจจุบันแม้การทิ้งที่สาธารณะน้อยลงไม่ได้หมายความว่า เด็กถูกทิ้งน้อยลงแต่มีการทิ้งหรือปล่อยปะละเลยให้พ่อแม่ดูแลหรือฝากเข้าสถานสงเคราะห์มากขึ้น จะเห็นได้ว่าในต่างจังหวัดชนบทจะมีคนแก่คอยดูแลบุตรหลานจำนวนมากที่ถูกส่งจากลูกที่เข้ามาทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ และทั้งขอรับการช่วยเหลือจากสถานสงเคราะห์ทั้งรัฐและของเอกชน

  2. ท่านคิดว่าเด็กถูกทอดทิ้ง เกิดจากสาเหตุอะไร ?

    ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการเข้าไม่ถึงความรู้ในการศึกษาความไม่รู้หนังสือเรียนรู้มากมายแต่ไม่ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตที่มีคุณธรรม คุณธรรมนำความรู้จึงเป็นเพียงประโยคสวยหรูที่ไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจังตั้งใจในสถาบันการศึกษาเด็กเยาวชนที่รักสนุกขาดการดูแลให้ความรักความเข้าใจจากสถาบันครอบครัวที่ต้องมุ่งหวังทำมาหาเลี้ยงชีพจนไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิดส่งผลให้เด็กเยาวชนขาดความยับยั้งชั่งใจเที่ยวเตร่และไม่มีความรู้ความเข้าใจ ดำเนินชีวิตอย่างผิดทำนองคลองธรรมขาดการอบรมเลี้ยงดูกล่อมเกลาทั้งจากบ้านและโรงเรียน พ่อแม่มีหน้าที่เพียงหาเงิน ครูมีหน้าที่เพียงสอนวิชาชีพ,วิชาการ พระก็ไม่ได้อบรมสั่งสอนเด็กเยาวชนเพราะเด็กเยาวชนไม่ได้เข้าวัด การดำเนินชีวิตโดยยึดความสนุกความสุขเป็นตัวตั้งจึงมุ่งหน้าสู่ความผิดพลาด ติดยา ก่ออาชญากรรม ตั้งครรภ์ เมื่อเกิดปัญหาแล้วก็จะกระทบทุกปัญหาและสั่งสมเป็น วัฏจักรวงจรแห่งความชั่วร้าย การทำแท้ง การทอดทิ้งเด็กจึงเกิดขึ้น จึงต้องกลับไปทบทวนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติที่เจตนาวางแผนพัฒนาคนโดยชนชั้นนำในสังคมกำหนดให้คนอ่อนแอง่ายต่อการควบคุมดูแลและแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเองและพวกพ้อง

  3. ท่านคิดว่าวิธีการแก้ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง ควรเป็นอย่างไร ?

    เนื่องจากปัญหาการทอดทิ้งเด็กเป็นปรากฏการณ์ที่มาจากหลาย ๆ เรื่องของสังคมจึงไม่สามารถที่จะแก้ได้แค่เพียงดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งแต่ต้องระดมความคิดการดำเนินการโดยใช้นวัตกรรมแห่งความคิดจริง ๆ โดยองค์กรทุกองค์ของทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนช่วยในการดำเนินการโดยมีองค์กรชั้นนำเป็นการขับเคลื่อนด้วยรัฐบาลที่จริงใจที่จะมุ่งหวังแก้ปัญหาอย่างจริงจังก็จะสามารถเสี่ยงเป้าไปได้ ในการแก้ปัญหา การแยกด้านพรรคฝ่ายการทำงานคุณธรรมจริยธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ที่เป็นอยู่จริง เป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ปัญหาได้ แต่จะไม่มองว่าแก้ไม่ได้เลยทีเดียวหากองค์กรชั้นนำทางความคิดนวัตกรรมด้านมุมมองใหม่แก้ปัญหาป้องกันปัญหาให้การศึกษาเรียนรู้พัฒนาต่อยอดอยู่ตลอดเวลาโดยระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนจริง ๆ หนทางจะพอมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

  4. ท่านคิดว่าการยุติการตั้งครรภ์โดยการทำแท้ง ท่านมีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร ?

    ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เนื่องจากเด็กที่ต้องคลอดออกมาในสังคมปัจจุบันล้วนแล้วแต่ขาดการดูแลเอาใจใส่จากบิดามารดาแต่เด็ก ๆ ก็เติบโตทางร่างกายและจริยธรรมคุณธรรมได้ เด็ก ๆ อาจต้องทุกข์และลำบากต่อการเจริญเติบโตแต่เราน่าจะไม่มีสิทธิที่จะให้เด็กเกิดหรือไม่เกิด การทำแท้งเป็นเรื่องโหดร้ายฆ่าเด็กและใช้อำนาจในการจัดการให้เด็กอยู่หรือเกือบตายจึงเห็นว่าไม่ใช่อำนาจของคนอื่น การทำแท้งไม่สามรถแก้ปัญหาได้จริง ๆ เบ็ดเสร็จแต่เป็นเพียงการตัดตอนหรือตัดปัญหาหนึ่งไปสู่ปัญหาหนึ่งการทำให้ง่าย ๆ และง่ายต่อการที่ปัญหาแล้วแก้ปัญหาไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นจึงยังดำเนินการและเกิดปัญหาอย่างต่อเนื่องและเด็ก ๆ เยาวชนได้เรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างง่าย ๆ ก็นำไปสู่การสร้างปัญหาใหม่ ๆ อย่างง่าย ๆ เด็กที่มีโอกาสเติบโตในสังคมจึงถูกตัดตอนแก้ปัญหาให้เด็กเยาวชนเห็นแล้วแก้ปัญหาไม่ได้จริง ๆ

  5. การจัดสวัสดิการเด็ก โดยการจัดหาครอบครัวทดแทนให้กับเด็กถูกทอดทิ้งดีกว่าที่เด็กจะเติบโตในสถานสงเคราะห์ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ?

    แน่นอนที่สุด! เด็กที่ครอบครัวประสบปัญหาทางสังคมเป็นเด็กที่ต้องการดูแลเติมเต็มความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ การที่ครอบครัวทดแทนที่เป็นครอบครัวอาสาสมัครที่ตั้งใจ มีความรู้ได้รับการเตรียมการอบรมเพื่อให้สามารถดูแลเด็กได้โดยความรักความอบอุ่นในสัดส่วนที่มีเด็กเพียงหนึ่งหรือสองคนต่อคนในบ้านหลาย ๆ คนเด็กจึงได้รับความรักความอบอุ่นชดเชยระหว่างดำเนินการติดตามครอบครัวและช่วยเหลือเด็กไปสู่ครอบครัวบุญธรรมต่อไป ส่วนเด็ก ๆ ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ถูกดูแลอย่างองค์กรผู้ดูแลยังรู้สึกเป็นลูกจ้างเป็นพนักงานเด็ก ๆ ถูกดูแลโดยบุคลากรที่ได้รู้สึกว่าเป็นบิดามารดาหรือผู้ปกครองการเลี้ยงดูเป็นทีมกินข้าวพร้อมกันกินนอนทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต่างจากคนในครอบครัว เด็กขาดความรักความอบอุ่นแม้มีจำนวนมากแต่เด็ก ๆต้องการความรักความเข้าใจได้รับการดูแลที่ดีจากบิดามารดาหรือครอบครัวทดแทน

ตอนที่ 3 การเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวทดแทนในประเทศไทย

  1. ท่านคิดว่าครอบครัวทดแทนควรให้การเลี้ยงดูเด็กอย่างไร ?

    เนื่องจากเด็กกำพร้าที่ได้รับการเลี้ยงดูเป็นเด็กที่มาจากพื้นฐานครอบครัว การเจริญเติบโตที่มีสิ่งแวดล้อมไม่ดีและเหมาะสมสำหรับเด็กก่อนแล้ว 1) สิ่งแวดล้อมก่อนคลอด มารดาดูแลครรภ์ไม่ดีเที่ยวเตร่ ดื่มเหล้า เสพยา ไม่มีใครเอาใจใส่ดูแลเอาอกเอาใจ ต้องปิดบังซ่อนเร้นหรือร้องไห้เพราะตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ 2) สิ่งแวดล้อมขณะคลอด ทิ้งถังขยะ ที่สาธารณะหรือทอดทิ้งไว้กับผู้รับจ้าง โรงพยาบาล ฯลฯ 3) สิ่งแวดล้อมหลังคลอด ไม่ได้ดื่มนมมารดาไม่ได้ความรักความอบอุ่นไม่ได้สบตาพูดคุยกับมารดา ฯลฯ เด็กจึงขาดความรักความอบอุ่นสัมผัสเลี้ยงดูทำให้เด็กต้องได้รับการเลี้ยงดูจากครอบครัวที่ให้เวลา ความรักความเอาใจใส่ มีความรู้ชดเชยทดแทนเติมเต็มเข้าใจมีความรู้ความสามารถ มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และมีความตั้งใจอดทน ครอบครัวทั่ว ๆ ไปที่แค่เพียงไม่สามารถมีบุตรได้แต่อยากชดเชยโดยการรับเด็กไปเลี้ยงดูจึงต้องรู้และเข้าใจ สภาพของเด็ก ๆ ที่มาจากการถูกทอดทิ้ง

  2. ท่านคิดว่าสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของเด็กควรเป็นอย่างไร ?

    สภาพแวดล้อมของเด็กควรเอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนามีครอบครัวรักและให้กำลังใจด้านความรักความอบอุ่นอ่อนโยน เนื่องจากเด็กจะเติบโตเรียนรู้ตามสิ่งแวดล้อมหากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีรุนแรงเด็กก็จะเงียบเก็บกดรุนแรงมีปัญหา มองโลกสังคมในแง่ร้ายต่อด้านสังคม หากสิ่งแวดล้อมดีให้กำลังใจเสริมแรง เด็กก็จะเรียนรู้สามารถมองโลกในแง่ดี เมตตาให้ความรักต่อโลกต่อการพัฒนา

  3. ท่านคิดว่าเด็กจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมตามวัย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ/อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ท่านคิดว่า มีอะไรที่เด็กควรได้รับการส่งเสริมจากครอบครัวทดแทน ?

    คุณธรรมนำความรู้ที่มีอยู่ในประโยคสวยหรูของการศึกษาเรียนรู้พัฒนาที่ครอบครัวทดแทนมีหน้าที่โดยตรง ที่จะเพาะบ่มให้เด็กได้เรียนรู้คู่คุณธรรม ความกตัญญูกตเวทิตาเป็นคุณธรรมชั้นสูงที่คนในสังคมควรสงเสริมโดยเฉพาะสังคมการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมที่ต้องมีกติกาโดยใช้แบบแผนของคุณธรรมมาเป็นปรัชญาสูงสุดในการดำเนินชีวิตตั้งแต่การเลี้ยงดูกล่อมเกลาเรื่องยังเด็กเล็กอยู่

ตอนที่ 4 การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวทดแทนในประเทศไทย

  1. ท่านคิดว่า การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวทดแทน ควรมีรูปแบบอย่างไรที่จะช่วยให้เด็กเติบโตมาอย่างมีความสุขและเป็นคนดีของสังคม ?

    ฟังมีเวลาสอบถามติดตามเอาใจใส่ตั้งใจให้ความรักให้กำลังใจส่งเสริมสิ่งดี ๆ วางเฉยหวังลงโทษเด็กตามสมควร มีความเมตตาตั้งใจให้ความสำคัญ สร้างต้นทุนชีวิตที่ดีในการเลี้ยงดูกล่อมเกลาด้วยวิถีชีวิตตามธรรมชาติด้วยความอ่อนโยนงดงามคาดหวังตามสมควรให้ทิศทางที่เป็นไปได้จูงใจตามความสามารถ โดยใช้พลังจากครอบครัวชุมชนเคลื่อนกิจกรรมสร้างให้ตระหนักถึงความดีมีคุณธรรมด้วยปัญหาจากสิ่งแวดล้อม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตในรูปแบบที่ต้องคำนึงถึงสิ่งอื่น ๆ ก่อนตนเอง เช่น คนอื่น สัตว์ สิ่งแวดล้อม เป็นวิถีชีวิตที่เป็นไปได้ปฏิบัติได้จริงตามแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ประชาชนเป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิตที่ดีให้คนไทยและทุกคนได้นำไปปฏิบัติตามวิถีแห่งตนตามที่เห็นเพื่อความสุขความเป็นคนดีของสังคมที่จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

  2. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)

    สภาพปัญหาสังคมเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม “การทอดทิ้งเด็ก ๆ ครอบครัวทดแทน” เป็นผลสะท้อนของปัญหาสังคมที่ไหล่บ่ามาจากปัญหาภายนอกและภายในของสังคมไทยที่ไม่พร้อมจะรับมาโดยเฉพาะกลไกของรัฐที่ใหญ่โตอุ้ยอ้ายขับเคลื่อนช้าไม่ทันต่อสภาพปัญหา การดำเนินการแก้ปัญหาจึงต้องเป็นความร่วมมือจริง ๆ ทุกภาคส่วนในสังคมเห็นปัญหาร่วมกัน โดยมีองค์กรชั้นนำนำไปสู่การแก้ปัญหาโดยคำนึงถึงองค์รวมทั้งหมดของปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นปลายเหตุและการป้องกันแก้ไขร่วมกัน ให้ทุก ๆ คนมีส่วนส่วนให้การเรียนรู้พัฒนาไปร่วมกัน การทอดทิ้งเด็ก การดำเนินการครอบครัวทดแทนจึงไม่เกินความสามารถของผู้นำองค์กรชั้นนำที่มีวิสัยทัศน์และรัฐบาลที่จริงใจในการดำเนินการอย่างจริงจังตั้งใจ

หมายเลขบันทึก: 476916เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2012 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2012 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท