กุหลาบใบใส ดอกสวยด้วยการให้สารอาหารครบถ้วน


ไม่ควรใส่ปุ๋ยให้กุหลาบแต่ธาตุอาหารหลักเพียงอย่างเดียว
ไม้ดอกที่จัดว่าสวยในระดับขึ้นชื่อว่าเป็นราชินีแห่งไม้ดอกทั้งปวง อีกทัั้งยังเป็นที่โปรดปรานนักหนาของบรรดาอิสตรีโดยทั่วไป ไม่เว้นแม้เด็กหรือผู้ใหญ่ต่างใส่ใจให้ความสำคัญ กลีบดอกสีแดงสดริ้วระเรื่อย้วยเยิ้มพริ้มพรายดึงดูดให้ผู้คนขวนขวายซื้อหาไปสะสมเก็บตุนไว้เชยชม...สิ่งที่กำลังพูดถึงอยู่นี้คืดกุหลาบนั่นเองครับ พืชที่อ่อนแอบอบบางแฝงไปด้วยเสน่ห์เย้ายวนชวนให้หลงไหลน่าติดตาม ยามใดที่อดใจไม่ไหวเผลอไผลซื้อหา เพียงเพื่อปรารถนาชื่นชมความสวยงามเพียงชั่วครู่ชั่วยามพอนานไปทั้งดอกใบไม่งามดังวันวานที่ซื้อมาน่าแปลกใจไหมครับ ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะความทะนุถนอมประคบประหงมเอาใจใส่ดูแลของพ่อค้ากล้าไม้ที่ใส่ใจเพาะเลี้ยงกุหลาบจนสวยงามได้ที่พอดีกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ผ่านไปผ่านมา ความรู้และประสบการณ์ของผู้เพาะเลี้ยงบำรุงด้วยสารอาหารมาอย่างดี ยาวนานด้วยความเป็นมืออาชีพจึงทำให้กุหลาบดูสวยงามน่าชมเชยน่าซื้อหาอยู่ตลอดเวลา  แต่กุหลาบไช่ว่าจะสวยงามอยู่กับเราได้ตลอดไปเพราะเป็นพืชที่ต้องการการดูแลบำรุงรักษาเอาใจใส่ค่อนข้างมาก  ยิ่งผู้ซื้อที่ขาดการเอาใจใส่ดูแลไม่ต้องพูดถึงกุหลาบที่สวยงามจะอยู่กับท่านไม่นานเผลอแป๊ปเดียวดอกหายกลายเป็นใบที่ห่อเหี่ยวร่วงโรย ที่เป็นเช่นนี้เพราะสารอาหารที่ถูกฉีดอัดยัดเยียดอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้กุหลาบดูสวยงามต่อเนื่องยาวนานได้ถูกใช้ให้ลดหมดไปตามกาลเวลา บ้างก็ผ่านกรรมวิธีกระตุ้นบังคับด้วยสารต่างๆมากมายหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสารพาโครบิวทราโซน, โพแทสเซียมคลอเรท และไทโอคาร์บาเมท ที่ช่วยกันเร่งเร้าให้กุหลาบเกิดดอกออกผลได้ดังใจทันต่อความต้องการของตลาด เมื่อฤทธิ์เดชของของสารเหล่านี้หมดลงก็เปรียบเหมือนช้างที่ถูกใช้แรงงานอย่างหนักโดยแอบให้มันกินยาบ้าโดยไม่รู้ตัว เมื่อหมดฤทธิ์มันจะผอมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ไม่ช้าไม่นานก็คงจะตาย  ต้นกุหลาบก็เหมือนกันหลังจากที่ซื้อมาแล้วระยะหนึ่งเราจะต้องเติมอาหารหมั่นดูแลดิน ควรให้กินอาหารครบห้าหมู่ของพืช ฟังดูอาจจะงงเล็กน้อยว่าเอ..พืชเขากินอาหารเหมือนคนด้วยหรือ..ไม่ใช่นะครับ เพียงพูดให้เข้าใจกันง่ายๆ ห้าหมู่ของพืชคือต้องให้อาหารครบทั้งธาตุหลัก (ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม), ธาตุรอง (แคลเซียม, แมกนีเซียม,กำมะถัน), ธาตุเสริม(เหล็ก, ทองแดง, แมงกานีส, สังกะสี, โบรอน, นิกเกิลและโมลิบดินั่ม)และจะให้สีสันสดใสและแข็งแรงยิ่งขึ้นควรเติมพวกธาตุพิเศษ(ไคโตซาน, ซิลิก้าหรือหินแร่ภูเขาไฟ) ธาตุอาหารเหล่านี้จัดอยู่ในระดับพิเศษ(พิเศษไม่ได้หมายถึงวิเศษมหรรศจรรย์นะครับ แต่เป็นธาตุอาหารที่ได้รับการยอมรับในเชิงวิทยาศาสตร์และเราอาจจะได้ยินได้ฟังกันมาไม่นานเพียงสิบกว่าปีมานี้เอง) โดยพืชจะมีหรือไม่มีก็ได้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบแต่ถ้ามีจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงสร้างภูมิต้านทานและกระตุ้นการเจริญเติบโตได้ดีเพิ่มขึ้น ถ้าราคาไม่สูงเกินไปเพียงปิ๊ปละบาทสองบาทก็ควรเสริมเข้าไป  ไม่ควรใส่ปุ๋ยให้กุหลาบแต่ธาตุอาหารหลักเพียงอย่างเดียว เช่นปุ๋ยสูตร 46-0-0, 15-15-15, 16-16-16, 25-7-7 ฯลฯ เพราะอาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและทำให้กุหลาบอ่อนแอและไม่พร้อมต่อการออกดอก ทำให้กุหลาบของเรามีดอกเพียงช่วงแรกที่เราซื้อมาหลังจากนั้นก็เหลือแต่ต้นกับใบให้ชื่นชมอย่างยาวนาน บางคนเข้าใจผิดคิดว่าการปลูกคือการเติมปุ๋ยที่ซื้อจากท้องตลาดมาเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ ความจริงไม่ใช่นะครับยังมีองค์ประกอบและรายละเอียดต่างๆอีกมากมายที่ต้องหมั่นศึกษาเอาใจใส่โดยเฉพาะกับผู้ที่รักต้นไม้จริงๆ แต่ถ้าซื้อมาแบบปลูกๆเปลี่ยนๆก็ไม่ต้อง ผู้ปลูกกุหลาบควรหมั่นปรับปรุงพรวนดินให้ร่วยซุยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รากได้รับอ๊อกซิเจนอย่างเพียงพอ ระบายถ่ายเทน้ำได้ดี เพราะดินกระถางเมื่อเรารดน้ำไปเรื่อยๆน้ำจะพัดพาเอาอินทรีย์วัตถุออกไปทุกครั้ง ทำให้โครงสร้างดินเสื่อมสภาพแน่นแข็ง ค่าพีเอช ค่าอีซี ของดินลดลงดินจะเริ่มเป็นกรด ทำให้ดินบล็อคปุ๋ยพืชดูดกินได้ยากลำบากสิ้นเปลืองต้นทุนและแรงงาน มนตรี บุญจรัส ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
หมายเลขบันทึก: 476907เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2012 06:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท