ประเพณีกินดอง
โดย อ้อย : น.ส.สุภาเพ็ญ นุชเฉย
ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๕ วัฒนธรรมการกินดองเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในหนองบัวการกินดองยุคแรก ๆ นั้น มีขั้นตอนที่พอจะสรุปได้ดังนี้
๑. พูดทาบทาม
การพูดทาบทามนั้นฝ่ายชายจะจัดให้ผู้ใหญ่ ๓-๔ คนส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคนนับหน้าถือตาในสังคม มีชีวิตครอบครัวที่ดี ไปทาบทามกับผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง และส่วนมากจะมีการตกลงระยะการดอง ว่าจะดองกันกี่ปี จึงจะแต่งงาน
๒. เป็น “คู่ดอง”
การเป็น “คู่ดอง” กัน มีข้อปฏิบัติ หลายประการอาทิ คู่ดองจะเข้าใกล้กันได้ไม่เกิน ๒ เมตร ซึ่งในการนี้จะเป็นการดูใจกันของทั้ง ๒ ฝ่าย ว่าฝ่ายชายจะให้เกียรติฝ่ายหญิงอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการดองหรือไม่ และเป็นการพิจารณาการวางตัวของฝ่ายหญิงว่าวางตัวเหมาะสมที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดประพฤติตนไม่เหมาะสม การแต่งงานจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากตลอดระยะเวลาที่ดองกัน ทั้ง ๒ ฝ่าย ประพฤติตนเหมาะสม จะนำไปสู่ขั้นตอนต่อไป เป็นต้น
๓. ปลูกเรือน
การปลูกเรือน ส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยฝ่ายชาย ซึ่งจะต้องตัดไม้ในป่า มีความเชื่อ เกี่ยวกับการเลือกตัดไม้ที่จะใช้ปลูกเรือน กล่าวคือ ฝ่ายชายจะนำไก่เป็นเข้าป่าไปด้วย ๑ ตัว เมื่อเห็นต้นไม้ที่จะใช้ปลูกเรือนได้ ต้องมองหาตาของต้นไม้นั้นที่อยู่ต่ำที่สุด จากนั้นแปะอาหารไก่ไว้ที่ตานั้น ถ้าไก่จิกกินอาหารได้ ห้ามทำการตัดต้นไม้ต้นนั้นเป็นอันขาด
เมื่อฝ่ายชายตัดต้นไม้เสร็จ จะเข็นมาไว้ที่บ้าน เตรียมทำการแปรรูปไปเป็น เสา ฝาเรือน ฯลฯ
บางบ้านจะมีการทำขวัญไม้โดยจะเชิญหมอมาทำขวัญให้ไม้ที่ตัดมาจากป่า ก่อนทำการแปรรูป
จากนั้น ทำการหาทำเลขุดหลุมเสา โดยจะทำการซ่อนเงิน-ทอง ไว้ในที่ที่คาดว่าจะขุดหลุมจากนั้น ให้ “ผัวคู่เมียคู่” (หมายถึง คู่สามีภรรยาคู่หนึ่งที่ครองเรือนกันมานาน และชีวิตครอบครัวมีความสุขดี) หาเงิน-ทองที่ซ่อนอยู่จนพบ (โดยถือเคล็ดที่ว่า ทำเลนี้มีแต่เงินแต่ทอง จะทำมาค้าขึ้น)
จากนั้น จะทำการขุดหลุมเสาและทำขวัญเสาโดยหมอทำขวัญ
ภาพบน :
โยมป้าลึ้ม
นุชเฉย(๒๔๖๓-๒๕๔๙)ผู้ให้ข้อมูลเรื่องกินดอง ถ่ายเมื่ออายุ ๗๗
ปี(๒๕๔๐) ภาพล่าง :
ภาพหมู่เด็กบ้านเนินตาโพบุคคลที่ศรชี้คือผู้สัมภาษณ์เก็บข้อมูล(สมัยเด็ก)
อ้อย : สุภาเพ็ญ นุชเฉย นิสิตปี ๔ คณะเกษตศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
โดยเธอสัมภาษณ์ปี (๒๕๔๗) อยู่บ้านเลขที่ ๑๕๒/๑ หมู่ที่ ๑
บ้านเนินตาโพ(บ้านไร่โพทอง) ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบั
จังหวัดนครสรรค์
ก่อนทำการยกเสา(เอาเสาลงหลุม) เวลาตี ๕ ของวันยกเสาจะนิมนต์พระมาสวดชยันโตฯ แล้วยกเสาลงหลุมได้ จากนั้นจะให้ฝ่ายชายและหญิงปลูกกล้วยและอ้อยคนละต้น เพื่อเสี่ยงทายชีวิดคู่ หากต้นไม้ที่ปลูกมีอาการผิดปรกติไป แสดงว่า ชาย-หญิงคู่นั้นต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตคู่ให้มากขึ้นเป็นพิเศษ
เมื่อยกเสาเรียบร้อยแล้ว จะทำการปลูกเรือนต่อ โดยแรงงานที่ปลูกเรือนนั้นได้จาการไหว้วานเครือญาติของทั้งสองฝ่ายจนเรือนเสร็จ
จากนั้นจะเป็นการหาฤกษ์แต่งงาน ส่วนใหญ่จะได้ฤกษ์จากพระที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือ เมื่อได้ฤกษ์แล้ว จะทำการเตรียมการจัดงานแต่งงานต่อไป
พิธีการแต่งงาน
พิธีการแต่งงานเป็นผลต่อเนื่องมาจากวัฒนธรรมการกินดอง โดยพิธีแต่งงานของชาวหนองบัวในสมัยก่อน จะมีขั้นตอนดังนี้
๑. กินเลี้ยง
การกินเลี้ยงส่วนใหญ่จะทำตอนเย็นก่อนวันผูกข้อมือ โดยจะเชิญผู้ที่ช่วยปลูกเรือน ทั้งหมดมาเลี้ยงอาหารเป็นการขอบคุณ รวมทั้งร่วมเป็นพยานในงานแต่งงานของเจ้าภาพอีกด้วย
๒. ทำบุญ รดน้ำสังข์
เวลาประมาณ ๗.๐๐ น. ของวันผูกข้อมือจะทำบุญเลี้ยงพระ จากนั้นพระสงฆ์จะรดน้ำสังข์ ให้คู่บ่าว - สาว ตามด้วยญาติผู้ใหญ่ของทั้ง ๒ ฝ่าย
๓. ยกขันหมาก
เมื่อทำบุญรดน้ำสังข์แล้ว ฝ่ายชายจะไปตั้งขบวนขันหมากนอกบริเวณบ้านฝ่ายหญิง ซึ่งขันหมากจะประกอบด้วย ขนนต้ม ข้าวเหนียวห่อ (แป้งข้าวเหนียวห่อไส้มะพร้าว)ข้าวเหนียวหัวหงอก(ข้าวเหนียวโรยมะพร้าว) ไก่ตัวผู้ต้ม ๑ ตัว เหล้าขาว ๑ ขวด กล้วย ๒ หวี ขนมกงชะมุด ขนมสามเกลอ ขนมนางว่าว ขนมนางเล็ดหมาก พลู จำนวนลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น หมาก ๔ ผล พลู ๔ ใบ เป็นต้น
จากนั้น เจ้าบ่าวจะยกขบวนขันหมากมาที่หน้าประตูบ้านเจ้าสาว อาจมีการกั้นประตูหรือไม่มีก็ได้ แต่เจ้าบ่าวต้องทิ้งเหล้าในขันหมากไว้หน้าประตู แล้วขึ้นไปบนเรือนต่อไป
๔. เปิดขันหมาก
เมื่อเจ้าบ่าวมาถึงบนเรือนผู้ใหญ่ทั้ง ๒ ฝ่าย จะทำการเปิดขันหมาก และเปิดสินสอดว่าครบหรือไม่ ในสมัยนั้น เงินสินสอดจะเป็นเงินขวัญถุงสำหรับคู่บ่าว-สาว จำนวน ๔๔ บาท ๔๔ สตางค์ เงินขวัญถุงนี้ ห้ามนำไปซื้อสิ่งใดเป็นอันขาดคู่บ่าว-สาวจะ ต้องเก็บไว้เป็นเงินสินสอดไห้ลูกชายของตน (ถ้ามี) ไปสู่ขอเจ้าสาวในอนาคต
๕. ส่งตัว
การส่งตัวจะกระทำเมื่อถึงเวลาค่ำ ถือฤกษ์สะดวก หรือฤกษ์ที่คิดว่าตัวเลขเป็นมงคล เช่น ๑๙.0๙ น. เป็นต้น ผัวคู่เมียคู่จะพาคู่บ่าว-สาว เข้าห้องหอ แล้วสอนการใช้ชีวิตคู่ จากนั้นจะให้ เจ้าสาวล้างเท้าเจ้าบ่าว แล้วกราบเท้าเจ้าบ่าว ๓ ครั้ง หลังจากนั้นเจ้าบ่าวจะถอดเครื่องประดับทั้งหมด(ซึ่งส่วนใหญ่จะทำด้วยทอง)ให้เจ้าสาวเก็บไว้ ตลอดระยะเวลาที่แต่งงานกัน ภรรยาจะต้องกราบเท้าสามีก่อนนอนทุกคืน
พี่อร :
บังอร นุชเฉย ปัจจุบันอายุ ๕๖ ปี(๒๕๕๕)ผู้ให้ข้อมูลเรื่องกินดอง
เมื่่อปี ๒๕๔๗ อยู่บ้านเลขที่ ๑๕๒/๑ หมู่ที่ ๑
บ้านเนินตาโพ(บ้านไร่โพทอง) ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว
จังหวัดนครสวรรค์
ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๕ วัฒนธรรมการกินดองของหนองบัวได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบไป จากที่เคยเรียกว่า “การกินดอง” จะเปลี่ยน เป็น"การหมั้น" รวมทั้งขั้นตอนและกิจกรรมก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนี้
๑. พูดทาบทาม
ในวันศุกร์ตอนเย็นฝ่ายชายจะจัดผู้ใหญ่ ๗ คนไปบ้านของฝ่ายหญิงเพื่อทำการทาบทามและนัดหมายกำหนดวันหมั้นและตกลงค่าสินสอดด้วย
๒. หมั้น
หลังจากตกลงกำหนดวันและค่าสินสอดหมั้นแล้ว ในวันจันทร์ใด ๆ ของทุกปีก็ได้ฝ่ายชายจะยกขบวนขันหมากมาสู่ขอฝ่ายหญิง ซึ่งขันหมากจะประกอบด้วยสิ่งของคล้ายกับขันหมากแต่งงานสมัยก่อน แต่จะเพิ่มทองรูปพรรน โดยน้ำหนักทองจะลงจำนวนคู่ เช่น ทอง ๒ บาท เงิน ๒๐,๐๐๐ หมื่นบาท หรือทอง ๔ บาท เงิน ๔๐,๐๐๐ หมื่นบาท
๓. เป็น “คู่หมั้น”
การเป็น “คู่หมั้น” จะแตกต่างจากการเป็นคู่ดอง คือคู่หมั้นจะใกล้ชิดกันได้มากขึ้น แต่ต้องไม่น้อยกว่าครึ่งเมตร หากระหว่างหมั้นมีการเกิดสุริยุปราคา หรือจันทรุปราคา ฝ่ายหญิงจะต้องคืนทองให้ฝ่ายชาย แล้วฝ่ายชายจะยกขันหมากมาหมั้นมาอีกครั้ง ตอนเช้ามืด (ประมาณ ๕.๐๐ น.) ของวันผูกข้อมือ
๔. ปลูกเรือน
การตัดไม้จากป่าและการทำขวัญยังมีการยึดถือคล้ายสมัยก่อน(ยกเว้น กรณีที่ซื้อไม้สำเร็จรูป) จะแตกต่างกันตรงที่สมัยนี้มีการว่าจ้างปลูกเรือน เนื่องจากญาติอาจไม่มีเวลามาช่วยปลูกเรือน ซึ่งจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในพิธีการแต่งงานต่อไป
พิธีแต่การงงาน
โดยทั่วไป พิธีการแต่งงานสมัยนี้จะคล้ายกับสมัยก่อน แต่มีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนี้
- การกินเลี้ยง ซึ่งในสมัยก่อนนั้น จะเลี้ยงอาหารผู้ที่มาช่วยปลูกเรือน แต่เมื่อทำการว่าจ้างแทน การเลี้ยงอาหารจะกระทำโดยแจกบัตรเชิญให้เครือญาติมาร่วมงาน ซึ่งผู้ที่มาในงานจะนำเงินใส่ซองมาช่วยเจ้าภาพเป็นการเอาแรงตอนพิธีหมั้น
- สินสอดซึ่งในสมัยก่อนจะมีเพียงเงินขวัญถุงให้กันเท่านั้น แต่สมัยนี้ ค่าสินสอดจะเพิ่มจำนวนขึ้น คู่แต่งงานบางคู่จะเพิ่มค่าสินสอดแทนการปลูกเรือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างสองฝ่าย
- การส่งตัว ในการส่งตัวสมัยก่อนนั้น เจ้าบ่าวจะถอดเครื่องประดับให้เจ้าสาวเก็บไว้ แต่เมื่อมีการหมั้นด้วยทองรูปพรรนแล้วเจ้าบ่าวจึงไม่จำเป็นต้องถอดเครื่องประดับให้เจ้าสาวเก็บไว้อีก
การสืบทอด
พิธีการต่าง ๆ ถูกสืบทอดโดยการดูตัวอย่างและการบอกเล่าจากบรรพบุรุษ
วิธีการหาข้อมูลในชุมชน
สัมภาษณ์
นางลึ้ม นุชเฉย อายุ ๘๔ ปี อาศัยอยู่บ้าน เลขที่ ๑๕๒ ม.๑(บ้านเนินตาโพ) ต.หนองกลับ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์
นางบังอร นุชเฉย อายุ ๔๘ ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๑๕๒/๑ ม.๑ ต.หนองกลับ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์
น.ส.สุภาเพ็ญ(อ้อย) นุชเฉยนิสิตคณะเกษตรศาสตร์ปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ. พิษณุโลก ผู้สัมภาษณ์ วันที่ ๑๗-๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
นมัสการพระคุณเจ้า
พูดจาทาบทาม คือการ แยบ(ภาคใต้)
หมัน = โต๊ะหนัง ตุหนัง ตุนาหงัน
กินเลี้ยง = กินเหนียว
กราบนมัสการพระคุณเจ้า
เจริญพรท่านวอญ่า
เจริญพรคุณครูอิงจันทร์
นำภาพแห่นาคหมู่ : ชุมชนอำเภอหนองบัวมาฝากคุณครูอิงจันทร์(ภาพนี้ประมาณ๒๐กว่าปี)
นาคหมู่ในอดีตนั้น นาคนั่งบนคานหามสามนาคบ้าง สองนาคบ้าง ในคานหามนอกนาคแล้ว ก็จะมีเด็กๆผู้ชายนั่งร่วมในคานหามคนสองคน ในขณะแห่รอบบ้านรอบอำเภอสองวัน นาคก็จะคอยพรมน้ำหอมไปรอบๆคานหาม คานหามนั้นใช้คนแบกหามทั้งหมด บางปีนาคเป็นร้อย
ประเพณีบวชนาคหมู่ีที่หนองบัวนี้เป็นประเพณีที่ใหญ่ที่สุดในนครสวรรค์หรือระดับเลยประเทศก็ว่าได้
ภาพชุดนี้เป็นงานบวชนาคหมู่ปีที่แล้ว(๒๕๕๔)
ได้มาจากดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ใน
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/432890
มีดเหน็บของชุมชนหนองบัว
ไถอาสา : คือไถที่ชายหนุ่มคนหนองบัวหนองกลับ นำไปช่วยไถนาคู่ดองของตน ในหน้าทำนา(ดำนา) สามวันบ้า่ง เจ็ดวันบ้าง ถ้าไปช่วยแบบชนิดลงแขกดำนาซึ่งจะไปกันจำนวนหลายคน ก็ไปแค่วันเีดียว
ไถอาสานี้ เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดหนองกลับ อำเิภอหนองบัว นครสวรรค์
นำภาพมาจากบันทึกดร.วิัรัตน์ คำศรีจันทร์
ใน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/433625
ภาพจากhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/348467
เชิญอ่านบันทึกเต็มๆของเรื่องดังกล่าวได้ที่นี่
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/348467
ได้ความรู้เยอะมากๆค่ะ
ทั้งจากบันทึกและ Comment
เจริญพรอาจารย์ขจิต
ขจิต
ฝอยทอง
ชาวบ้านมีอาชีพก็อาชีพเดิม(ทำนา)
แต่อุปกรณ์เครื่องมือทำมาหากินที่เคยมีอยู่ทุกครัวเรือน
กลับหายากอีกทั้งบางอย่างก็สูญหายไปหมดเลย ทั้งไถ วัว ควาย เกวียน
kunrapee
ขอบคุณคุณโยมkunrapee
เรื่องนี้ต้องขอบคุณหลานสาวที่เธอเขียนบันทึกได้ดี
ไม่เหมือนอาตมาซึ่งเขียนแบบวิชาการอย่างนั้นไม่เป็นเลย
เป็นแต่เขียนแบบสะเปะสะปะไปเรื่อยเปื่อย
พูดแบบสำนวนภาษาพระๆเขาว่า
เปะปะถกา
ขอบคุณทั้งสองท่านที่แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจ
กราบนมัสการพระคุณเจ้าฯ
การปลูกเรือนก่อนการแต่งงานนั้น ในอดีตแถวบ้านผมมีให้พบเจอบ่อยมาก เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการสร้างหลักปักฐานให้กับว่าที่คู่ชีวิตได้อุ่นใจกับการก้าวมาใช้ชีวิตร่วมกัน หากแต่ทุกวันนี้ สภาพเช่นนั้นพลวัตไปเกือบหมดแล้ว ...หากแต่การอาศัยในครัวเรือนใหญ่ด้วยกัน ก็ช่วยให้เกิดความรัก ความอบอุ่นเป็นพิเศษ ดูแลกัน-อบรมสั่งสอนกันไปตาม "ฮีตคอง" มีความพร้อมก็ค่อยออกเรือนกันไป
..
นมัสการพระคุณเจ้า พระมหาแล.....คุตักน้ำ คุหาบน้ำ ภาคใต้ สำเนียงเสียงเป็น โคระครับ โคระตักน้ำ ส่วนที่ทำด้วยกาบทางหมาก ทางหลาวโอน เรียก ติหมาตักน้ำครับท่าน
ขอบคุณทั้งสามท่านที่มาเยี่ยมเยือน
แผ่นดิน
Clip เวทีคนหนองบัว ๒๕๕๔(๑/๓) โดยอาจารย์ณัฐพัชร์ ทองคำ
<object width="420" height="315"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/C7q51oMnVcU?version=3&hl=en_US&rel=0"></param><paramname="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/C7q51oMnVcU?version=3&hl=en_US&rel=0" type="application/x-shockwave-flash" width="420" height="315" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>
ชอบกระบุงครับ ครับ พระอาจารย์
เจริญพรคุณวีระศักดิ์
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม
คำพูดของคุณวีระศักดิ์ทำให้อาตมานึกถึง
คนเก่าๆในชุมชนที่เล่าขานสืบต่อกันมาแต่ยุคหลวงพ่อเดิม(๒๔๐๓-๒๔๙๔)
ท่านจาริกจากอำเภอตาคลี ซึ่งห่างจากอำเภอหนองบัวบ้านอาตมามาก
มาช่วยสร้างเสนาสนะให้วัดหนองกลับหลายอย่างด้วย
ท่านมาเห็นคนหนองบัว แล้วท่านประทับใจ ชาวบ้านพูดกันว่าท่านชอบคนหนองบัว ที่ชอบก็เพราะท่านเห็นชาวบ้านมีความสามัคคีกันมาก ขอแรงให้ช่วยทำอะไรทำได้ทุกอย่างไม่ขัด ยุคสมัยก่อนชาวบ้่านโดยทั่วไปก็คงจะมีวิถีชีวิตคล้ายๆกันหมด คือผู้ชายส่วนใหญ่จะมีความรู้ทางช่าง ทำงานเป็นกันเป็นส่วนใหญ่ หมายความว่าจับขวานก็ถากไม้เป็น จับกบก็ไสไม้ได้ จับเลื่อยก็ใช้เป็น เหล่านี้เป็นต้น
ท่านถูกใจคนหนองบัวเพราะชี้ให้อะไรทำกันไ้ด้ทุกอย่างไม่เกี่ยง ทำเป็นกันหมด ท่านพาชาวบ้านทำศาลาเสาเป็นร้อยต้น เสานั้นขนาดคนโอบไม่รอบทำแค่สามปีเสร็จ แล้วก็กุฏิ โบสถ์ ฯลฯ ท่านเห็นฝีมือทางช่าง ทำสวยงาม เครื่องจักสาน เครื่องทำนา อุปกรณ์อื่นๆ ก็มักทำกันแบบประณีต และที่สำคัญคือสามัคคี สิ่งนี้หลวงพ่อเดิมท่านชอบ
เล่ากันมาจนทุกวันนี้ว่า มีอยู่วัดหนึ่งท่านไปนำชาวบ้านสร้างวัด ชาวบ้านที่นั่นไม่สามัคคีกันเลย ทำศาลาหลังเีดียวไม่เสร็จ ท่านบอกว่าวัดทำอะไรก็ไม่สำเร็จ แล้ววัดนี้ต่อมาก็ทำอะไรมักจะไม่สำเร็จ คำพูดนี้ชาวบ้านมักตีความว่าคงเป็นไปตามคำพูดของท่าน ที่จริงไม่ใช่หรอก ที่จริงก็คือชาวบ้านขาดความสามัคคี ท่านพูดตามที่ท่านเห็น(ไม่ใช่ทำนาย)
กรุบุงหรือชาวบ้านเรียกกระเช้านี้ อาตมาก็ว่าสวยที่พูดนี้ไม่ใช่ชาตินิยมที่อะไรเป็นของบ้านตัวเองก็ว่าสวย สิ่งนี้เป็นการออกแบบของช่างพื้นบ้านที่คิดทำกันมาแต่เก่าก่อน ปัจจุบันคนที่ทำได้เิริ่มหายากแล้ว เหลือแต่คนแก่ที่เรี่ยวแรงก็อ่อนล้ามากแล้ว ทำเกือบไม่ไหว แม้แต่มีเหน็บที่ชาวบ้านทำใช้กันเอง คนต่างถิ่นมาเห็นว่าสวยดีซื้อไปเก็บไว้โชว์ ราคาเป็นพันก็ซื้อกัน ซึ่งชาวบ้านซื้อใช้กันไม่กี่ร้อย
ไปเยี่ยมบล็กคุณวีระศักดิ์ ได้เห็นพี่น้องภูไท ผลิตสิ่งของใช้เองก็สวยงามมาก มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีความเข้มแข็งด้านวัฒนธรรม มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายงดงาม เห็นแล้วก็อดชื่นชมไม่ได้
ขอบคุณคุณครูอ้อยที่แวะมาให้กำลังใจครูอ้อย
แซ่เฮ
![]() |
ชัด บุญญา |
อนุโมทนาโยมชัด บุญญาที่มาให้กำลังใจ
นมัสการครับ...นับเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล และองค์ความรู้ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คน...ที่จะสร้างประวัติศาสตร์ความรู้ในอนาคตครับ
นมัสการพระคุณเจ้าค่ะ สิ่งที่จะทำให้เกิดการสืบทอดความรู้ต่างๆ การทำข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ จำเป็นต้องฟื้นฟูให้ประเพณีมีชีวิต มีการร่วมใจที่จะมาลงแรงกันทำอะไรสักอย่างจึงจะนำไปสู่การรื้อฟื้นสิ่งดีๆอื่นๆตามมา
ประเพณีท้องถิ่นที่เลือนไปก็ให้เสียดายทั้งความรู้ทักษะในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ของท้องถิ่นและสูญเสียความสามารถในการพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันได้ในชุมชนนะคะ
ได้ความรู้เรื่องประเพณีกินดองดีมากเลยค่ะ
วัฒนธรรม "กินดอง" แต่โบราณ วันนี้ ถูกแทนที่ด้วย "แดกด่วน" ครับ นมัสการมาด้วยเสียงหัวเราะ อิอิ
แล้วคำว่า "เป็นดองกัน" มันมาจากไหนครับ หรือว่ามาจากการกินดองนี่แหละ
วันนี้จะ "ปรองดอง" อีกแล้ว
เป็นดอง......ปรองดอง....มันคง เกี่ยวดองกันนะ โยมว่า
เจริญพรคุณโยมคนถางทาง
เป็นดองกัน คำนี้ ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
น่าจะมาจาก ความเกี่ยวข้องกันในทางแต่งงาน
้เกี่ยวเืนื่องกันในทางเขยหรือสะใภ้
ถ้าใช้ในบริบทชุมชนหนองบัวที่เป็นเรื่องกินดองดั้งเดิมนั้น
จะหมายถึง ชายหนุ่ม หญิงสาว ที่พ่อแม่ทั้งสองฝ่าย
ชอบพอกัน เมื่อมีลูกชายลูกสาว
จึงอยากให้ดองกันจับจองเป็นคู่กันไว้
เพื่อที่ในอนาคต หากลูกสาวลูกชายได้แต่งงานกัน จะได้กลายเป็น
ครอบครัวเดียวกัน โบราณเลยก็ลูกไม่มีสิทธิ์เลือก พ่อแม่เลือกให้
กินดองหนองบัวยุคเก่า
ก็คล้ายๆสังคมไทยยุคก่อน
ที่พ่อแม่เลือกคู่ครองให้ลูก(คลุมถุงชน)
ปรองดองนี่ ถ้าทำโดยไม่เต็มใจทำ(ฝืนใจ)
ก็จะคล้ายคลุมถุงชนเลยนะเนี่ย จะบอกให้
เจริญพรโยมเขียวมรกต
วิธีที่จะให้คนรุ่นหลังจำเรื่องราวแต่เก่าก่อนได้
น่าจะอยู่ที่คนรุ่นเก่าด้วยนะ คือคนรุ่นเ่ก่าีที่ร่วมสมัย
กับเหตุการณ์นั้นๆ หาวิธีช่วยกันบันทึกเก็บข้อมูลไว้
ถ้าไม่ทำอย่างนั้น
ต่อไปเรื่องราวดีดี
ก็สูญหายไป
ชุมชนก็ว่างเปล่าไร้ตัวตน
เจริญพรโยมนุช
ตอนนี้กำลังเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูล
จากคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน
เริ่มจากเรื่องเล็กๆ ที่คนในท้องถิ่น
เห็นเป็นเรื่องธรรมดาๆ
แต่เมื่อพูดคุยกันแล้ว ได้เรื่องราวอื่นๆ
ผุดขึ้นมาให้เห็นเพิ่มขึ้นอีกอย่างมากมาย
บอกโยมนุชนิดหนึ่งว่าตอนนี้ชุมชนหนองบัว
มีเรื่องราวต่างๆทั้งในอดีตปัจจุบัน
ที่หลายท่านได้ช่วยกันบันทึกคนละนิดคนละหน่อย
รวมกันแล้ว ได้เยอะอย่างเหลือเชื่อเลย
สิ่งนี้นำมาซึ่งความภูมิใจแก่ตนเองมาก
นมัสการขอบพระคุณท่านพระอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ
หลวงพ่อพระมหา สบายดีไหมครับ นานแล้วไม่ได้มานมัสการ สุขภาพร่างกายก็คงจะดีนะครับ ถ้ามีโอกาสไปนครสวรรค์จะแวะไปกราบนมัสการครับผม
นมัสการพระคุณเจ้า วันนี้ได้เข้ามาเยี่ยมชมบันทึกของท่าน ถือโอกาสขอบพระคุณท่านที่เมตตาให้กําลังใจผม ขอบคุณครับ
กราบนมัสการพระอาจารย์พระมหาแลค่ะ
นมัสการเจ้าค่ะ
ชอบหลายๆเรื่องในบันทึกนี้เจ้าค่ะ ทั้งในส่วนตัวการบันทึกเอง และ ในส่วนของความเห็นเจ้าค่ะ
นำลิ้งค์แฟ้มที่รวบรวม ภาพวาดการ์ตูน มาเรียนพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ กำลังจะอัพโหลดภาพวาดการ์ตูนเก่าๆที่คิดว่าน่าจะใช้ประโยชน์ได้เพิ่มเติมเจ้าค่ะ
นมัสการลา
สืบทอด....โดยการดูตัวอย่าง...และการบอกเล่าจากบรรพบุรุษ...เป็นประเภณีที่งดงาม เจ้าค่ะ
กราบนมัสการพระคุณเจ้า
เจริญพรคุณครูอิงจันทร์
ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ใช้เวลาไปทำวิทยานิพนธ์ จนหมดเรี่ยวแรง มีคนบอกว่าผอมลง
ทำวิทยานิพนธ์ไป ดูไม่ค่อยจะมีอนาคตอีกด้วย จะไปรอดไหมหนอ
ขอบคุณครูอิงจันทร์
เจริญพรขอบคุณคุณครูลักษณ์ที่แวะมาเียี่ยมเยียน
นมัสการพระคุณเจ้า โยมไม่ได้ยินคำนี้นานแล้ว ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ
ขอบคุณคุณโยมtuknarak และคุณโยมมะเดื่อ
ที่แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจ
ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลความรู้ครับ
ขอบคุณลุงชาติที่แวะมามอบดอกไม้เป็นกำลังใจ(๘ ก.ค.๒๕๕๖)
นมัสการเจ้าค่ะ
มาขอบพระคุณ สำหรับดอกไม้สำหรับบันทึก ความเพียรที่พอดี เจ้าค่ะ
หวังว่าพระคุณเจ้าจะมีสุขภาพดีเสมอเจ้าค่ะ
นมัสการลา
กราบนมัสการพระคุณเจ้าเนื่องในโอกาสปีใหม่ครับผม
กราบนมัสการค่ะพระคุณเจ้า พิธีการสมัยก่อนมีขั้นตอน ค่อยเป็นค่อยไป คงฝึกระเบียบวินัยนะเจ้าคะ
ที่มาของภาพครุหรือคุคือhttp://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E+%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3&hl=th&prmd=imvnsb&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=sLQvT_b1Bsa8rAeFuPjrDA&sqi=2&ved=0CCUQsAQ&biw=1024&bih=677