จีน : ทำไมตรุษจีนต้องสีแดง ปะทัด มังกร ?


ที่มา : http://travel.mthai.com/news/5298.html

 ขอต้อนรับตรุษจีนด้วยคำถามกับสิ่งที่ทุกคนเห็นในช่วงวันตรุษจีนแต่อาจไม่มีใครสงสัย ตั้งคำถาม คือ ทุกอย่างสีแดง ปะทัดเสียงดัง และต้องเชิดมังกร วันนี้ผมมีคำตอบมาให้เพื่อน ๆ แต่ขอบอกก่อนว่า คำตอบของผมนั้นอาจถูก หรือ ถูกน้อย หรือไม่ถูกเลยก็ได้ แต่อย่างน้อยก็เป็นทางเลือกให้เพื่อน ๆ นำไปเปรียบเทียบกับคำตอบที่มี

                หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๒๒ ม.ค. ๒๕๕๕ คอลัมส์ ซันเดย์สเปเชียล โดยทีมงานต่วย’ตูน ได้รวบรวมเรื่องที่เกี่ยวกับตรุษจีนเอาไว้ เรื่องหนึ่งคือ นิทานอธิบายเหตุ “ที่มาของการเฉลิมฉลงอตรุษจีน” นิทานปรัมปราเรื่องนี้เล่า (ตามสำนวนของผม) ว่า...

 

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วนานจนไม่รู้ว่าอยู่ในช่วงสมัยการปกครองในช่วงราชวงศ์ใด มีอสูรตนหนึ่งชื่อ “เหนียน” รูปร่างน่ากลัว ขนยาวรุงรัง นิสัยดุร้าย ชอบจับวัวควายและผู้คนกินเป็นอาหาร มันอาศัยอยู่ในป่าลึก บ้างก็ว่าอยู่ในมหาสมุทร แต่ก็ยังเป็นโชคดีของชาวบ้านที่อสูรเหนียนจะออกมาสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น คือช่วงเวลาตรุษจีนนั่นเอง

                ดังนั้นตรุษจีนในสมัยโบราณจึงเงียบไม่มีการเฉลิมฉลองใด ๆ ทั้งสั้น ชาวบ้านต่างพากันปิดประตูหน้าต่างบ้านช่องแน่นหนาแล้วนำสัตว์เลี้ยงและสมาชิกครอบครัวหลบซ่อนอยู่ในนั้นอย่างเงียบเชียบ บางครอบครัวที่กลัวมากก็ปิดบ้านแล้วพากันหนีเข้าไปอยู่ในป่า

                ปีหนึ่ง ในขณะที่ทุกคนต่างพากันปิดบ้านแล้วออกนอกเมืองจนไม่มีเวลาสนใจใคร มีชายชราขอทานคนหนึ่งเดินเข้ามาในหมู่บ้าน ชายชราผมยาวหนวดเครายาวแม้จะเป็นขอทานแต่หน้าตาสดใสมีเลือดฝาด บุคลิกดีดูมีภูมิ เขาเดินขอทานขออาหารจากชาวบ้าน แต่ไม่มีใครสักคนสนใจ จนเดินมาถึงหน้าบ้านหญิงชราคนหนึ่งที่อยู่คนเดียว เธอให้อาหารขอทาน แถมให้ชายชราอาสัญอยู่ในบ้านของเธอได้ ส่วนตัวเธอก็หนีเข้าไปอยู่ในป่าเพื่อหลบหนีจากอสูรร้าย

                คืนนั้น เจ้าอสูรก็มาตามนัดหมาย ไปบ้านหลังไหนก็ดูจะเงียบไม่มีผู้คนอาศัย แต่เมื่อมันมาถึงบ้านหลังหนึ่ง มันก็สงสัยว่าทำไมบ้านหลังนี้จึงเปิดประตูหน้าต่างทุกบาน หน้าบ้านมีกระดาษยันต์สีแดงเขียนด้วยตัวอักษรสีทองติดไดว้ ในบ้านสว่างไสวไปด้วยแสวไฟสีแดงที่เกิดจากเทียนใส่ในโคมสีแดง เจ้าอสูรไม่รอช้ารีบเข้าไปในบ้านหลัง แต่มันก็ตกใจสุดขีดเมื่อมันได้ยินเสียงปะทัดเสียงดังลั่น สิ่งสุดท้ายที่มันเห็นคือ ใบหน้าฉาบยิ้มของชายชราขอทาน แล้วมันก็ต้องรีบหนีไปอย่างรวดเร็ว

                นับแต่นั่นเป็นต้นมา อสูรเหนียนก็ไม่กลับเข้ามาสร้างความเดือดร้อนในหมู่บ้านแห่งนี้อีกเลย

                นับแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงเวลาตรุษจีน ชาวบ้านก็ไม่ต้องหลบหนีออกไปอยู่ป่าอีกต่อไป บ้านทุกหลังถูกประดับประดาไปด้วยสิ่งของสีแดง คนในบ้านแต่งกายด้วยสีแดง และมีการจุดปะทัดกันทุกบ้าน สืบเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

 

คนจีนเชื่อถือโชคลาง ความเป็นสิริมงคลมาอย่างยาวนาน ยุคประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์เซีย (ราว ๒,๑๐๐ – ๑,๖๐๐ ก่อน ค.ศ.) ถึงราชวงศ์ชาง (ราว ๑,๖๐๐ – ๑,๔๖ ปีก่อน ค.ศ.) ชาวจีนเขียนอักษรเจี๋ยกู่เหวิน เป็นอักษรที่แกะสลักไว้บนกระดองเต่า และกระดูกสัตว์ แล้วนำไปเผาดูรอยแตกเพื่อใช้ในการทำนาย

ที่มา : http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0001-1.html

                สีเป็นเรื่องสำคัญ คนจีนชอบสีทอง แต่สีทองเป็นสีที่พระมหากษัตริย์ใช้ได้เท่านั้น เราจึงไม่เห็นคนจีนแต่งกายด้วยชุดสีทอง ชาวบ้านจึงต้องใช้สีมงคลที่รองลงมาคือสีแดงนำมาใช้ในชีวิตและเทศกกาลสำคัญ

                เรื่องการจุดประทัดนั้นก็เป็นเรื่องที่คนจีนชอบ คนจีนชอบทำอะไรเสียงดัง ความยิ่งใหญ่ ประกาศให้ผู้คนรู้ว่าตนเองทำอะไรมีอำนาจบารมีมากน้อยแค่ไหน

                ส่วนเรื่องมังกรนั้นนับว่าสำคัญกับคติจีนเป็นอย่างมาก เนื่องจากคนจีนมีดำรงชีพด้วยการกสิกรรม น้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญ บางครั้งน้ำมากคนให้ผู้คนล้มตายพืชผลเสียหายมหาศาล บางครั้งน้ำน้อยจนทำเกษตรไม่ได้อดตายมากมาย แต่ถ้าโชคดีน้ำดีผู้คนก็จะไม่อดตาย ค้าขายสินค้าเกษตรได้ นำกำไรไปซื้อสิ่งของฟุ่มเฟือยสร้างฐานะได้อย่างมากมาย คติจีนเชื่อว่า มังกรเป็นสัตว์สวรรค์มีหน้าที่ให้น้ำ ถ้าเห็นมังกรก็แสดงว่าในปีนั้น น้ำท่าจะบริบูรณ์ ทำการเกษตรดีค้าขายจะดี ชีวิตจะดี ถึงอย่างไร เมื่องสัคมมีความสลับซับซ้อมมากขึ้น มังกรจึงถูกกำหนดหน้าที่เฉพาะมากขึ้น มักกรมีหลายประเภท มีหลายชื่อ หลายลักษณะทำหน้าที่ต่างกัน ใหคุณให้โทษต่างกัน

 

นิทานประเภทอธิบายหรือนิทานอธิบายเหตุ (explanatory tale)  มีคุณสมบัติพิเศษคือ ๑. เป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา ภาษาชาวบ้าน ๒. เล่ากันด้วยปากสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน และเมื่อการเขียนเจริญขึ้น ก็อาจมีการเขียนขึ้นตามเค้าเดิมที่เคยเล่าด้วยปาก ๓. ไม่ปรากฏว่าผู้เล่าดั้งเดิมเป็นใคร อ้างแต่ว่าเป็นของเก่าฟังมาจากผู้เล่า ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญยิ่งในอดีตอีกต่อหนึ่ง แม้นิทานที่ปรากฏชื่อผู้แต่งแต่ก็อ้างว่าเล่าตามเค้านิทานที่มีมาแต่เดิมไม่ใช่ตนแต่งขึ้น และที่สำคัญ 4. ต้องแสดงความคิด ความเชื่อของชาวบ้าน

              นิทานอธิบายเหตุ เป็นเรื่องที่ตอบคำถามว่าทำไม เพื่ออธิบายความเป็นมาของบุคคล สัตว์ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติอธิบายชื่อสถานที่ต่าง ๆ สาเหตุของความเชื่อบางประการ เช่นกาจึงมีสีดำ ทำไมมดตะนอยจึงอักเป็นการตั้งคำถามจากสิ่งที่เห็นเป็นปกติก่อน แล้วแต่เรื่องขึ้นมาสนับสนุนสิ่งที่เห็น เช่น ทำไมอีกาจึงมีสีดำ ทำไม พระศกของพระพุทธรูปจึงมวยเป็นก้นหอย ทำไมจึงเกิดบึงใหญ่ขึ้นกลางเมือง หรือ ทำไมตรุษจีนจะต้องมีแต่สีแดง เป็นต้น

              นิทานอธิบายเหตุที่มีโครงเรื่องคล้ายกันสามารถอธิบายเหตุการณ์ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ที่อยู่ห่างกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ และเหตุการณ์หนึ่ง ๆ นั่นอาจมีนิทานอธิบายเหตุได้หลาย ๆ เรื่องได้เช่นกัน นี่คือความมหัศจรรย์ของนิทานและการแพร่กระจาย

              แม้ว่าผู้เขียนจะไม่มีคติความเชื่อ ประวัติ เกี่ยวกับจีนเลย (ถึงมีก็น้อยนิด) แต่เรื่องที่ยกมาเล่านี้ อาจทำให้เพื่อน ๆ ผู้อ่านที่รักมีรอบยิ้มต้อนรับปีใหม่จีนอย่างมีความสุขครับ

 

บทความนี้ผู้เขียนขอมอบความดีให้กับ รศ. บุปผา  บุญทิพย์ และ อ.ดร.สุภาวดี เจริญเศรษฐมห ผู้ประสิทธ์คติชนวิทยาแก่ผู้เขียน

 

วาทิน ศานติ์ สันติ

 

ข้อมูลประกอบการเขียน

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๒๒ ม.ค. ๒๕๕๕ คอลัมส์ ซันเดย์สเปเชียล โดยทีมงานต่วย’ตูน

เจือ  สตะเวทิน.  คติชาวบ้านไทย.  กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์. 2517. 

กิ่งแก้ว  อัตถากร.  คติชนวิทยา.  เอกสารนิเทศการศึกษา ฉบับที่ 184. กรุงเทพมหานคร : หน่วยศึกษานิเทศก์. 2510. 

ธวัช ปุณโณทก, ศ. วิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นเชิงเปรียบเทียบ : COMPARATIVE ANALYSIS OF REGIONAL LITERATURE. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง . 2546. 

http://travel.mthai.com/news/5298.html. ค้นเมื่อ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๕.

http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0001-1.html. ค้นเมื่อ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๕.


 

               

 

หมายเลขบันทึก: 475646เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2012 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอบคุณคุณวาทินมากครับ
  • ข้อมูลชัดเจนมากๆๆ
อ.ดร.สุภาวดี เจริญเศรษฐมห

บทความน่าสนใจมาก ติดตามอ่านอยู่นะ

อาจารย์ผมมา ดีใจจัง ขอบพระคุณมากครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท