PLC_มหาสารคาม_01 เริ่มด้วยการ "พาไปดู ครูที่ลำปลายมาศ"


17 มกราคม 2555 ครูมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม 19 ท่าน (รอง ผอ.1) จากโคกก่อพิทยาคม 6 ท่าน จากนาสีนวนประชาสรรพ์ 3 (ผอ.1) จากโรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ 2 ท่าน จากแกดำวิทยาคาร 2 ท่าน อาจารย์จาก มมส. 1 คน (ผมเองครับ) และ พนักงานจากสำนักศึกษาทั่วไป 1 คน รวมทั้งสิ้น 33 คน เดินทางไป ศึกษาดูงานและฝึกอบรมหลักสูตร "จิตศึกษา" ณ โรงเรียนนอกกะลา หรือ ลำปลายมาศพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์.... ออกเดินทาง ตีสาม กลับถึงบ้าน หกทุ่มตรง (ขออภัยไว้ ณ ที่นี่อีกครั้งนะครับ...ฮา)

สำหรับผมแล้ว...การที่ไม่มีเสียงระฆัง ไม่มีการอบรมหน้าเสาธงชาติ ผมไม่ได้รู้สึกประหลาดลับ แต่ที่ผมประทับใจที่สุด คือความเอาใจของครูที่มีต่อเด็ก พวกเขา "สัมผัส" ด้วยการจับ ด้วยการกอด...สิ่งนี้คือ "เคล็ดไม่ลับ ที่ผมนับ 1"

   "เคล็ดไม่ลับ ที่ผมนับ 2" คือการจัดให้มีวิชา "จิตศึกษา" แทนที่จะเป็น "อบรมหน้าเสาธง" ครูสองคนต่อนักเรียนเท่าที่เห็น เดินบน "ทางแห่งสติ" ครูบอกว่ากิจกรรมนี้จะช่วยฝึกสมาธิได้ดีมาก...ในทางพุทธ เหตุของสมาธิคือความสุข (โพชฌง 7) ดังนั้นผมจึงคิดว่า "เคล็ดไม่ลับ ที่ผมนับ 3" คือ บรรยากาศอันร่มรื่น สัปปายะ เมื่อประกอบกับกิจกรรมมุ่งทำให้ผ่อนคลาย คลื่นสมองต่ำลง เสริมส่งให้นักเรียนพร้อมที่จะเรียนรู้แล้วในแต่ละวัน

กระบวนวิธี "จิตศึกษา" แบบโรงเรียนนอกกะลา ยึดหลัก 3 คือ ใช้จิตวิทยาเชิงบวก ทำให้มีวิถีหรือวิธีแบบชุมชน และ ใช้กิจกรรมนำให้เกิดการเรียนรู้จากการคิด.... ในใจผมยังไม่เชื่อว่า หลักสามประการนี้จะนำไปสู่วิถี "พอเพียง" และ "เป็นกลาง" ด้วย...

"เคล็ดไม่ลับ ที่ผมนับ 4" คือ "ตารางเรียนนอกกะลา" แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่

ช่วงที่ 1) กิจกรรมพัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ (Emotion & Spiritual Quoatients)

  • 7:00 - 8:00 น. รับ ทักทายนักเรียน และคุยกับผู้ปกครอง.... ผมว่าที่เขียนไว้ในตารางเรียนไว้อย่างนี้ ไม่ได้เขียนไว้เล่นๆ แต่เป็น...เคล็ดลับสำคัญ...ที่ทำให้ครูเข้าถึงใจนักเรียน และโรงเรียนได้ใจผู้ปกครอง
  • 8:00 - 8:20 น. กิจกรรมหน้าเสาธง ที่เด็กทำกันเอง เริ่มจากร้องเพลงชาติด้วยความเต็มใจ สวดมนต์อระหัง..พร้อมคำแปล และ จบด้วยร้องเพลงขอบคุณ...ผมสังเกตเห็นความเป็นกันเองของครูกับนักเรียน การกอดกันเป็นเรื่องธรรมดาที่นี่..
  • 8:20 - 8:40 น. กิจกรรม "จิตศึกษา" เช่น(เน้น) การเดินบน "ถนนแห่งสติ" (ถนนทางเดินที่ทำจากอิฐตัวหนอน และมีสีระบายรูปรอยเท้าให้เด็กเดินตาม)

2) กิจกรรมพัฒนาสติปัญญา (Intellectual Quoatient)

ผมลืมบอกไปว่า โรงเรียนนอกกะลา มีรายวิชาทั้งหมดเพียง 4 วิชาเท่านั้น ได้แก่ คณิต ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และ วิชาที่ต้องเรียนรู้ผ่านโครงงาน หรือ PBL (Project-based Learning) สามวิชาแรกถูกจัดให้อยู่ในช่วงนี้ (8:40-12:00 น.) โดยมี "ช่วงพัก" 20 นาทีขั้นสองวิชาก่อนกับหนึ่งวิชาหลัง.... มีข้อสังเกตว่า มีวิชา "การคิด" และ "PBL" แทรกอยู่ด้วย....

3) กิจกรรมพัฒนาด้านร่างกาย (Physical Quoatient) : เน้น PBL พละ และกิจกรรมอิสระ

"เคล็ดไม่ลับ ที่ผมนับ 5" คือ "สอนน้อย เรียนมาก" หรือ Teach Less Learn More ด้วยการเป็น "ครูนักตั้งคำถาม" ครูจะไม่ตอบทุกคำถามของเด็ก ใช้การ "ทอดเวลา" ให้เด็ก "รู้" ด้วยตนเอง... วันนั้นตอนที่ครูใหญ่กำลังจะนั่งลงโต๊ะทานเข้า มีคำถามผุดขึ้นในวงว่า เราจะทำอย่างไรกับครูที่ไม่เอาอะไรเลย ทำยังไงก็ไม่เอา ไม่ช่วย ไม่เรียน ไม่สน  ครูใหญ่ตอบว่า "แฮรี่พอตเตอร์" ด้วยความตื่นเต้น ผมไม่เข้าใจ ผมเลยถามท่านว่า "คือยังไงครับ" ท่านมองผมแล้วตอบว่า "วัลเดิลมอร์" อาจจะด้วยความตื่นเต้นที่ได้คุยกับ "ต้นแบบในใจเรา" ผมยัง "ไม่เก็ต" แต่ท่านก็ไม่ตอบอะไร...แบบนี้มั่งที่ท่านเรียกว่าทอดเวลา...ฮา เพราะผมเข้าใจทีหลังว่า สิ่งที่ท่านจะพูดคือ "พ่อมด"

วิธีการจัดการคือ "ชง เชื่อม ใช้" ที่ครูต๋อยและครูใหญ่ ได้อธิบายและนำเสนอในเวที PLC ครั้งที่ 2 ที่ผ่านมา....

ผมอธิบายวิธีการ "ชง เชื่อม ใช้" ของโรงเรียนนอกกะลา ตามความเข้าใจของผม บนรถระหว่างเดินทางกลับ...  มีใครเข้าใจไหมครับ ถ้ามี? เขียนในบล็อกของท่าน เผื่อว่าจะได้แบ่งปันในส่วนที่แตกต่างต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 475189เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2012 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
รัชนี สุวรรณนันท์

สอนที่โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยค่ะ  สนใจเรื่อง PLC ด้วยค่ะอยากขออนุญาตเรียนรู้ด้วย

ชง เชื่อม ใช้  ต้อง ชิด เชิด ชู ด้วยครับ

เพิ่งมาพบความเห็นของท่านวอญ่า สนใจอยากให้ท่านขยายความ ชิด เชิด ชู สักหน่อยครับ ชิด คงเพื่อ "ติด" หรือ "จิตตะ" ส่วน เชิด คงเพื่อให้ "เห็น" ส่วน ชู คงเพื่อให้ "เด่น" และเป็น "เป็น" ของตนเอง ถูกไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท