ประวัติพงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง


พงษ์พัฒน์

สู่วงการบันเทิง

พงษ์พัฒน์ เรียนจบระดับปริญญาตรีทางด้านพลศึกษา มีพ่อแม่เป็นครูเข้าไปเป็นพนักงานที่บริษัทผลิตรองเท้ากีฬาแห่ง หนึ่ง โดยดูแลงานในส่วนของฝ่ายผลิตภัณฑ์ทั้งงานผลิตและการตลาด แต่หลังจากนั้นก็ได้เข้ามาเป็น 1 ในคนทางบ้าน ที่สมัครเข้าแข่งขันในรายการเกมโชว์ที่โด่งดังในยุคนั้น คือ มาตามนัดและ พลิกล็อกและเป็นที่เข้าตาทีมงานบริษัทเจเอสแอลเมื่อทางบริษัทกำลังจะเปิดตัวละครเรื่องใหม่ที่ต้องการนักแสดงที่มีบุคลิก กำยำ แข็งแรง พงษ์พัฒน์จึงถูกเรียกให้เข้ามาทดสอบการแสดง จนได้แสดงละครครั้งแรกคือเรื่อง เมฆินทร์พิฆาต ในปี พ.ศ. 2528 ถือเป็นการเข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัว และเริ่มมีงานละครอีกหลายเรื่องในระยะเวลาต่อมา

นักร้อง

พงษ์พัฒน์มีชื่อเสียงจากการเป็นนักร้องในแนวร็อกสังกัดคีตา เอนเตอร์เทนเมนท์ โดยได้ออกผลงานเพลงของตนเองจำนวน 7 ชุด ก่อนจะพลิกบทบาทมาอยู่เบื้องหลังในฐานะผู้กำกับละครและภาพยนตร์ ควบคู่กับงานแสดง และงานร้องเพลงตามที่ว่าจ้าง

การเมือง

ในวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 พงษ์พัฒน์เป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมในการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย โดยได้ขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพร้อมกับ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง เพื่อนพงษ์พัฒน์

รางวัลนาฏราช

ในงานประกาศผลและมอบรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 1 ณ หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 พงษ์พัฒน์ได้รับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จากบทคุณพ่อผู้อาภัพในละครเรื่อง พระจันทร์สีรุ้งแล้ว ซึ่งเมื่อขึ้นรับรางวัล และกล่าวขอบคุณ รวมถึงกล่าวเทิดทูนและปกป้องในหลวง ได้สร้างความฮือฮาและซาบซึ้งให้แก่นักแสดงและแขกที่มาร่วมงานเป็นอย่างมาก รวมถึงยังได้เกิดกระแสบนอินเทอร์เน็ต ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งมีทั้งคล้อยตามและขัดแย้ง โดยต่างมีเหตุผลส่วนตัวของแต่ละคนแตกต่างกันไป

ละคร

ละครที่นำกลับมาทำใหม่อีกครั้งและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนาหู ทองเนื้อเก้ากับการคัดเลือกบท "ลำยอง" ว่านักแสดงคนใดจะได้รับบทนี้ และสุดท้ายปรากฏว่า รายชื่อดารานอกสายตาอย่าง ตั๊ก บงกช ก็คว้าบทนี้ไปอย่างพลิกความคาดหมาย

 

ผลงาน

อัลบั้มเพลง

    พงษ์พัฒน์ (พ.ศ. 2531)
  1. 1.       ตัวสำรอง
  2. 2.       อีกนาน
  3. 3.       ความสุขเล็กๆ
  4. 4.       ใจพเนจร
  5. 5.       นายดิบดิบ
  6. 6.       แล้วก็แล้วกันไป
  7. 7.       อย่าทำอย่างนั้น
  8. 8.       ใจมันร้าว
  9. 9.       อย่าทำอย่างนั้น ภาค 2 (ทำมันไปอีก)
    พงษ์พัฒน์ ภาค 2 (พ.ศ. 2532)
  1. 1.       ฟั่นเฟือน
  2. 2.       ถึงลูกถึงคน
  3. 3.       ทรมาน
  4. 4.       ตัวจริง
  5. 5.       พูดจาภาษาไทย
  6. 6.       เวรกรรม
  7. 7.       กำกวม
  8. 8.       เท่าไหร่เท่ากัน
  9. 9.       นายครก
  10. 10.    คำพ่อ

 

     พงษ์พัฒน์ ภาคพิสดาร (พ.ศ. 2534)
  1. 1.       สักครั้งจะไม่ลืมพระคุณ
  2. 2.       กะโหลกไขว้
  3. 3.       ทะเลทราย
  4. 4.       ระเบิดเวลา
  5. 5.       ยอมแพ้
  6. 6.       ตายไปแล้ว
  7. 7.       ชดใช้
  8. 8.       โชคดี
  9. 9.       หลอกซ้ำหลอกซาก
  10. 10.    ปฏิวัติใจ
    พงษ์พัฒน์ ภาค 3 (พ.ศ. 2535)
  1. 1.       คำสุดท้าย (3:47)
  2. 2.       ฉันโง่เอง (5:37)
  3. 3.       ก็เป็นอย่างนี้ (3:39)
  4. 4.       อีกไม่นาน (4:26)
  5. 5.       เต็มแรงเต็มใบ (4:36)
  6. 6.       สำออย (4:34)
  7. 7.       สายลมที่จากไป (นายคนตรง) (4:50)
  8. 8.       อย่าให้เจอ (3:06)
  9. 9.       มากมาย (5:57)
  10. 10.    ไม่มีทาง (3:00)

 

     ร็อกนี่หว่า (พ.ศ. 2537)
  1. 1.       เอาให้ตาย
  2. 2.       ไม่รู้นี่หว่า
  3. 3.       คนเนรคุณ
  4. 4.       ใจนักเลง
  5. 5.       อย่าบ่อยเกินไป
  6. 6.       ชาติเดียว
  7. 7.       ปาก
  8. 8.       ขอเถอะฟ้า
  9. 9.       ทำร้ายตัวเอง
  10. 10.    หมายความว่าไง
     หน้ากากร็อก (พ.ศ. 2539)
  1. 1.       สั่งเสีย (3:31)
  2. 2.       ครายจะทำมาย (4:07)
  3. 3.       ไม่ใช่ไม่รัก (3:25)
  4. 4.       บาดเจ็บเล็กน้อย (3:49)
  5. 5.       หน้ากากร็อก (3:42)
  6. 6.       ข้ามศพ (3:59)
  7. 7.       เดี๋ยวเจอดี (3:18)
  8. 8.       หนึ่งนาที (4:14)
  9. 9.       ตัวต่อตัว (3:18)
  10. 10.    อย่าขวางทางปืน (3:24)

    101-7-ย่านร็อก (พ.ศ. 2541)

  1.        รุนแรง
  2.        โดน (ถามคำเจ็บไหม)
  3.        เธออยู่ที่ไหน
  4.        ห้ามรังแกเด็ก
  5.        พงษ์พัฒน์
  6.        อยากเลวกว่านี้
  7.        เป็นอะไรไม่รู้
  8.        อยากให้เธอได้ยิน
  9.        หลบไป
  10.       CONVERSE

    คอนเสิร์ต

  • คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม พงษ์พัฒน์ ปี 2531 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม พงษ์พัฒน์ ภาค 2 ปี 2532 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ
  • คอนเสิร์ตพงษ์พัฒน์ ภาคพิสดาร ปี 2534 ณ เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครอง
  • คอนเสิร์ตพงษ์พัฒน์ ภาค 3 ปี 2536 ณ เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครอง
  • Return of the Rock พงษ์พัฒน์ วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2548 ณ อาคารนิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ
  • Kita Back To The Future Concert วันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2550 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน
  • เพลงรักยุคคีตา โดย นกเฉลียง (ศิลปินรับเชิญ) วันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • We Are The One Concert วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2554 ณ ไบเทค บางนา
  • The Heroes Concert วันเสาร์ที่ 15 และอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2554 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน

เพลงประกอบภาพยนตร์

  • ไม่มีพรุ่งนี้อีกแล้ว เพลงความสุขเล็กๆ

ภาพยนตร์

  • อันดาฟ้าใส
  • ต้องปล้น
  • พันธุ์หมาบ้า
  • สุริโยไท
  • 7 ประจัญบาน
  • คืนไร้เงา
  • 7 ประจัญบาน 2
  • ซาไกยูไนเต็ด
  • โอปปาติก เกิดอมตะ
  • มาห์
  • ก่อนบ่ายเดอะมูฟวี ตอนรักนะ...พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง
  • เรารักกันนะที่ปักกิ่ง
  • หัวใจ 4 สี
  • หนุก
  • คู่สร้างคู่สม
  • โกย
  • รักคืนเรือน
  • Belly of the beast (เข้าฉากประกอบร่วมกับ สตีเว่น ซีกัล)
  • ไม่มีพรุ่งนี้อีกแล้ว
  • ปีกมาร
  • ดีแตก
  • แรงเทียน
  • กึ๋ยทู สยึ๋มกึ๋ย 2
  • โหมโรง
  • ช็อคโกแลต
  • ชั่วฟ้าดินสลาย...แขกในงานเลี้ยงช่วงต้นเรื่อง (นักแสดงรับเชิญ)
  • ชิงหมาเถิด
  • จากฟ้าสู่ดิน (ภาพยนตร์สั้นเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส ๘๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : หนึ่งในน้ำพระราชหฤทัย)
  • เสือคาบดาบ

ละคร

  • 2529 เทวดาตกสวรรค์
  • 2529 เมฆินทร์พิฆาต
  • 2530 อวสานเซลส์แมน
  • 2530 สัญชาตญาณดิบ
  • 2530 ทองเนื้อเก้า
  • 2530 หัวใจสองภาค
  • 2530 แก้วกลางดง
  • 2531 ปราสาทมืด
  • 2531 อาศรมสาง
  • 2532 จ้าวพ่อกรรมกร
  • 2533 กตัญญูประกาศิต
  • 2533 สายใจ
  • 2535 ไฟรักอสูร
  • 2536 โสดหารสอง
  • 2536 ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก
  • 2537 โสมส่องแสง
  • 2537 ขอให้รักเรานั้นนิรันดร
  • 2539 ฉก.เสือดำ ถล่มหินแตก
  • 2539 แสงเพลิงที่เกริงทอ
  • 2539 โปลิศจับขโมย
  • 2540 ล่าปีศาจ
  • 2540 ชุมทางเขาชุมทอง
  • 2541 ตามรักคืนใจ
  • 2542 ขุนเดช
  • 2542 รัก...สุดหัวใจ
  • 2542 พระจันทร์ลายกระต่าย
  • 2543 บ้านทรายทอง
  • 2543 เพลงผีบอก
  • 2543 ฝนตกขี้หมูไหล คนอะไร?มาพบกัน
  • 2543 คนของแผ่นดิน
  • 2543 อุบัติรักจากฟากฟ้า
  • 2544 เทวดาเดินดิน
  • 2546 ดงดอกเหมย
  • 2546 วิวาห์พาวุ่น
  • 2546 รักในรอยแค้น
  • 2547 เก่งไม่เก่ง...ไม่เกี่ยว
  • 2547 แหวนทองเหลือง
  • 2548 อยู่กับก๋ง
  • 2549 นรกตัวสุดท้าย
  • 2550 ดั่งดวงตะวัน
  • 2550 หุบเขากินคน
  • 2551 สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
  • 2552 มนต์รักข้าวต้มมัด
  • 2552 พระจันทร์สีรุ้ง
  • 2552 หัวใจสองภาค
  • 2553 7 ประจัญบาน
  • 2554 วนาลี

 

งานกำกับ

  • 2546 12 ราศี (ละครโทรทัศน์)
  • 2547 เก่งไม่เก่ง...ไม่เกี่ยว (ละครโทรทัศน์)
  • 2548 กุหลาบสีดำ (ละครโทรทัศน์)
  • 2549 วีรกรรมทำเพื่อเธอ (ละครโทรทัศน์)
  • 2550 Me...Myself ขอให้รักจงเจริญ (ภาพยนตร์ไทย)
  • 2550 เมื่อดอกรักบาน (ละครโทรทัศน์)
  • 2551 แฮปปี้เบิร์ธเดย์ (ภาพยนตร์ไทย)
  • 2552 ดงผู้ดี (ละครโทรทัศน์)
  • 2552 หัวใจสองภาค (ละครโทรทัศน์)
  • 2553 ชิงหมาเถิด (ภาพยนตร์ไทย)
  • 2553 วายุภัคมนตรา (ละครโทรทัศน์ในชุด 4 หัวใจแห่งขุนเขา)
  • 2553 จากฟ้าสู่ดิน (ภาพยนตร์สั้นเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส ๘๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : หนึ่งในน้ำพระราชหฤทัย)
  • 2554 รอยไหม (ละครโทรทัศน์)

รางวัลที่ได้รับ

  • พ.ศ. 2533 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ต้องปล้น
  • พ.ศ. 2533 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม - พันธุ์หมาบ้า
  • พ.ศ. 2537 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดาราสนับสนุนชายดีเด่น– โสมส่องแสง
  • พ.ศ. 2539 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดารานำชายดีเด่น – โปลิศจับขโมย
  • พ.ศ. 2546 Hamburger Award - นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ดงดอกเหมย
  • พ.ศ. 2546 Star Entertainment Awards - นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ดงดอกเหมย
  • พ.ศ. 2546 คมชัดลึกอวอร์ด – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ดงดอกเหมย
  • พ.ศ. 2546 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดารานำชายดีเด่น -- ดงดอกเหมย
  • พ.ศ. 2547 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – โหมโรง
  • พ.ศ. 2548 Hamburger Award – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – กุหลาบสีดำ
  • พ.ศ. 2548 Star Entertainment Awards - ผู้กำกับยอดเยี่ยม – กุหลาบสีดำ
  • พ.ศ. 2548 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม -- กุหลาบสีดำ
  • พ.ศ. 2548 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม -- กุหลาบสีดำ
  • พ.ศ. 2550 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม -- เมื่อดอกรักบาน
  • พ.ศ. 2551 เฉลิมไทยอวอร์ด - ผู้กำกับภาพยนตร์แห่งปี (สำหรับภาพยนตร์ไทย) – แฮปปี้เบิร์ธเดย์
  • พ.ศ. 2551 Star Entertainment Awards – ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม -- แฮปปี้เบิร์ธเดย์
  • พ.ศ. 2551 ท็อปอวอร์ด 2008 – ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม -- แฮปปี้เบิร์ธเดย์
  • พ.ศ. 2552 ท็อปอวอร์ด 2009 – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม -- พระจันทร์สีรุ้ง
  • พ.ศ. 2552 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม -- ดงผู้ดี
  • พ.ศ. 2552 คมชัดลึกอวอร์ด – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม -- พระจันทร์สีรุ้ง
  • พ.ศ. 2552 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดาราสนับสนุนชายดีเด่น -- พระจันทร์สีรุ้ง
  • พ.ศ. 2552 รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3 – นักแสดงชายแห่งปี, ละครโทรทัศน์แห่งปี -- พระจันทร์สีรุ้ง
  • พ.ศ. 2552 แฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส ครั้งที่ 7 – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม -- พระจันทร์สีรุ้ง
  • พ.ศ. 2552 สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2009 ครั้งที่ 8 -- ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม -- พระจันทร์สีรุ้ง
  • พ.ศ. 2552 รางวัลนาฏราช -- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม -- พระจันทร์สีรุ้ง

อ้างอิง

  1.         นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ ฉบับที่ 122 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 หน้า 112-117
  2.       พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
  3.        ดาราหลั่งน้ำตาในงานนาฏราช น้อมเกล้าฯเทิดทูน 'ในหลวง'
  4.         “อ๊อฟ พงษ์พัฒน์” ลั่นกลางเวทีนาฏราช พร้อมพลีชีพเพื่อพ่อ ใครไม่รัก “ในหลวง” ออกไป!
  5.       กระหึ่มเน็ต"อ๊อฟ พงษ์พัฒน์"ถวายหัวป้องสถาบัน
 

 

คำสำคัญ (Tags): #พงษพัฒน์
หมายเลขบันทึก: 473591เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2012 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นี่แหละศิลปินตัวจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท