ดำเด็กข้างบ้าน 4 ชาตรี สำราญ


โสกราตีส ปราชญ์ชาวกรีกโบราณ มักจะใช้คำถามกระตุ้นให้คู่สนทนาคิดในเรื่องที่โสกราตีสตั้งประเด็นไว้ แต่โสกราตีสจะไม่มีคำตอบให้ โดยมักจะพูดว่า "โสกราตีสก็กำลังแสวงหาคำตอบนี้อยู่เช่นกัน"

" ภาษาเป็นเครื่องนุ่งห่มของความคิด" แซมมวล จอร์นสัน นักภาษา กวี นักหนังสือพิมพ์และนักวิจารณ์ ชาวอังกฤษ ได้กล่าวประโยคนี้ไว้เมื่อ 200 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ทว่าความแห่งคำนี้ยังมีความหมายอยู่แม้ทุกวันนี้ และคล้าย ๆ กันนี้ ฮายากาวา ได้กล่าวว่า "ภาษาช่วยกำหนดความคิดและความคิดเป็นสิ่งกำหนดภาษา" แต่นั่นแหละ "การที่จะนำภาษามาใช้ให้ได้ผลนั้น ผู้ใช้จะต้องเข้าใจและเข้าถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษานั้นด้วย" จีน จาคส์ รุสโซ ได้กล่าวไว้อย่างนี้ เมื่อ 200 กว่าปีผ่านมาแล้ว

นั่นหมายถึงว่า ภาษา หรือคำที่ผู้สอนจะนำมาให้ผู้เรียนเรียนนั้น ผู้สอนจะต้องรู้ด้วยว่า ผู้เรียน เข้าถึงคำนั้นไหม โสกราตีส ปราชญ์ชาวกรีกโบราณ มักจะใช้คำถามกระตุ้นให้คู่สนทนาคิดในเรื่องที่โสกราตีสตั้งประเด็นไว้ แต่โสกราตีสจะไม่มีคำตอบให้ โดยมักจะพูดว่า "โสกราตีสก็กำลังแสวงหาคำตอบนี้อยู่เช่นกัน"

คำที่จะนำมาให้ดำคิด เขียนความเรียง 3 บรรทัดนี้ ก็จะดึงมาจากคำที่ดำพูดถึงอยู่บ่อย ๆ เช่น โมโห โกรธ ใจร้าย หลอก ใจดี รางวัล ใจดำ และคำอื่น ๆ ที่ดำพูดออกมาเองโดยแรก ๆ จะมีตัวอย่างให้ดำอ่าน เช่น

 

ทะเลบ้า

คลื่นถาโถมเข้ากระแทกฝั่ง

เรือประมงหลบหน้า

 

ลมบ้า

ต้นไม้หักโค่นเป็นแนวยาว

ส่วนแบ่งฝั่งตามร่องลม

 

ทะเลโมโห

คลื่นลูกโตกระแทกฝั่ง

ชาวประมงนอนพักผ่อนที่บ้าน

 

เขียนตัวอย่างให้ดูหลาย ๆ ตัวอย่าง เพื่อดำจะได้ดูแนว แล้วหา "ทาง" เขียนตามที่ตนถนัด

เมื่อมาถึงตรงนี้ก็มีข้อคิดอยู่ว่า ผู้สอน อย่าคาดหวังว่า แผนที่ตนวางไว้นั้นจะต้องบรรลุเป้าหมาย เพราะถ้าคาดหวังแรงเกินไป ก็จะไปคาดคั้นผู้เรียนจนทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายต่อการเรียนได้ ผู้สอนพึงสำเนียกอยู่เสมอว่า "ทุกอย่างไม่เที่ยง"

เมื่อไม่ตั้งความหวัง แต่ทำงานอย่างมีเป้าหมาย วันนี้ดำมาเรียนด้วยความสุข ดำอ่านตัวอย่างความเรียง 3 บรรทัดแล้วยิ้มเลือกคำว่า ยิ้ม มาเขียน

 

ฉันยิ้ม

ดูตลกกับเพื่อน

สนุก

 

และเขียนบทต่อ ๆ ไปว่า

 

ต้นไม้หิวน้ำ

ใบเหี่ยว

รอฉันรดน้ำ

 

ลมใจร้าย

พัดต้นไม้ล้ม

นกตกใจ

 

ดอกไม้ดีใจ

ฟังนกร้องเพลง

ให้ผลไม้เป็นรางวัล

 

ต้นไม้ดีใจ

ได้กินน้ำจนอิ่ม

ฉันรดน้ำให้

 

ฉันทำการบ้าน

ครูใจร้าย

การบ้านยาก

 

ฉันหิวข้าว

โมโห

นั่งไม่นิ่ง

 

ฉันชนะฉัน

นั่งทำการบ้าน

เสร็จทุกข้อ

 

ความเรียง 3 บรรทัด ทั้ง 8 บทนี้ ดำใช้เวลาร่วมชั่วโมงจึงเขียนได้ครบทั้งหมด สังเกตดำนั่งครุ่นคิดอยู่นาน แต่ละบทจึงจะเขียนได้

การเขียนความเรียงแบบนี้ ผู้เขียนจะต้องมี ความรู้ว่า คำ ๆ นั้นมีความหมายแค่ไหน อย่างไร รู้ต้องรู้อย่างเข้าใจ ต่อคำ ๆ นั้นจริง ๆ จึงจะนำมาเขียนให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วมได้ นั่นหมายถึงว่าผู้เขียนต้องมีความรู้สึกต่อคำนั้น ๆ จึงจะนำคำนั้นมาเขียนให้สนองอารมณ์ตนเองและผู้อ่านได้

ความรู้ ความเข้าใจและความรู้สึกที่ผู้เรียนมีต่อคำแต่ละคำนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้ความคิด ซึ่งระดับความคิดนั้นมีต่างกันดังนี้

           ความคิด                          พฤติกรรม

รู้จัก      ตรึกตรอง                         เลือกข้อเท็จจริง

รู้จริง     วิเคราะห์                         คิด แยกแยะ คำ-ความ

                                                ความรู้สึกที่จะเกิดร่วม

รู้แจ้ง    สังเคราะห์ – สร้างสรรค์       เกิดความรู้สึก เห็นภาพ

                                                เห็นคำ  คิดเขียนได้

                                                ฉับพลัน

 

ดำยังอยู่ในขั้นคิดแบบ ตรึกตรองเวลาจะเขียนจึงต้องนึกว่า

จะเขียนเรื่องอะไร เกิดขึ้นที่ไหน มีใครเกี่ยวข้องบ้างจะใช้คำใดบ้าง คำนั้น ๆจะสื่อให้เห็นภาพอย่างไรจะรู้สึกอย่างไร

เพราะดำเพิ่งเริ่มต้นเรียนรู้วิธีการคิดเขียนแบบนี้ จึงยังไม่แตกฉาน พอที่จะคิดเขียนได้ดั่งใจ

15/7/54 

อ่านเป็นเล่มได้ที่นี่ครับ https://docs.google.com/docume...



หมายเลขบันทึก: 473579เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2012 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นแนวกการสอนที่งดงาม ด้วยครู เด็กจะคิดวิเคราะห์เป็น และเรียนรู้อย่างมีความสุขและมีความรู้ความสามารในการอ่านและเขียน

แนวคิดแบบนี้ รัฐมนตรีไทยไม่รู้หรือแกล้งไม่รับรู้ คิดได้แต่แทบเลท เบื่อจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท