จากอินเดียสู่วัดป่าหนองไคร้


เมื่อกลางปีที่แล้วก่อนเข้าพรรษา...พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านจะเมตตาย้ำเสมอว่าให้ไปอินเดียให้ได้ ซึ่งข้าพเจ้าได้ผลัดผ่อนมาหลายครั้ง แต่ก็ได้มีนัดหมายกับเพื่อนเหมือนกันว่าจะเดินทางไปอินเดียแบบไปกันเองง่ายๆ ไม่ต้องผ่านทัวร์ที่ไหน

คล้ายกับท่านจะทราบว่าจะมีเพื่อนมาชวนไปอินเดีย...

เพราะหลังจากที่ท่านเน้นย้ำอยู่ไม่นาน เพื่อนก็โทรมาชวนข้าพเจ้าก็ไม่ได้ลังเลสงสัยอะไรเลยตัดสินใจไปทันที

พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า ... "ไปให้ถึงซึ่งศรัทธา...ไปดูว่าศรัทธากับความเสื่อมนั้นเป็นอย่างไร" 

อินเดีย เข้าพรรษา ความเจริญและความเสื่อม

0 อินเดีย-เนปาล: วันเดินทาง

1 อินเดีย-เนปาล: มุ่งสู่อินเดีย-กัลกาต้า

2 อินเดีย-เนปาล: นาลันทา

3 อินเดีย-เนปาล: บทธรรมแห่งการภาวนา ณ ไวสาลี

4 อินเดีย-เนปาล: กุสินารา

5 อินเดีย-เนปาล: ลุมพินีวัน

6 อินเดีย-เนปาล: เมืองสาวัตถี-วัดพระเชตวันมหาวิหาร

7 อินเดีย-เนปาล: สารนารถ

8 อินเดีย-เนปาล: ชีวิต

9 อินเดีย-เนปาล : วัดไทยพุทธคยา

10 อินเดีย-เนปาล : เดินทางกลับ

11 อินเดีย-เนปาล : ศรัทธาและความเสื่อม

12 อินเดีย-เนปาล : เด็กน้อย

13 อินเดีย-เนปาล : มื้อเดียว

14 อินเดีย-เนปาล : บทภาวนาบนเขาคิชกูฎ

15 อินเดีย-เนปาล : กระชากใจ ณ ลุมพินีวัน

ประเด็นหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้นำมาขบคิดพิจารณาอยู่เสมอก็คือ เรื่องความเสื่อมและความเจริญที่เกิดขึ้นในจิตใจเรา ความหลงไปในสภาวะที่บางครั้งปัญญาเราไม่อาจรู้ได้ว่านั่นน่ะเป็นธรรมหรือเป็นกิเลส...ดังนั้นจึงควรที่จะก้าวเดินตามครูบาอาจารย์ที่ท่านได้ผ่านเส้นทางการเรียนรู้มาอย่างมากมายจนรู้อย่างถ่องแท้แล้วว่า...ในเส้นทางนั้นเป็นอย่างไร จะทำให้เรามีโอกาสหลงออกไปน้อยกว่าการที่เราจะก้าวย่างเดินไปเอง โดยไม่มีครูบาอาจารย์คอยอบรมสั่งสอน

บทธรรมบางอย่าง...ครูบาอาจารย์ท่านไม่ได้เอ่ยออกมาตรงๆ ต้องอาศัยการฝึกฝนของการวิเคราะห์และตีความ อาจถูกบ้างผิดบ้าง หากผิดก็แก้ไขใหม่ทำใหม่ หากถูกก็ตั้งใจเรียนรู้ต่อไป

เรามีเป้าหมายปลายทางไว้อย่างชัดเจน

แต่ในระหว่างทางอาจเจอเรื่องราวซ้อนๆ เข้ามาให้เราได้เผชิญและขบคิดพิจารณา การฝึกฝนสติ-สมาธิให้มีกำลังพอที่จะหนุนนำให้เกิดปัญญาจะสามารถทำให้เราผ่านเรื่องราวนั้นไปได้

จากวันนั้นสู่วันนี้ ... วันแห่งการเรียนรู้อย่างตระหนักลงไปในเรื่องศรัทธาและความเสื่อมทำให้ข้าพเจ้าเกิดความมุ่งมั่นจะที่ย่างก้าวเข้าสู่บทเรียนสำคัญอีกบทหนึ่ง ย้อนมองรอบการเดินทางในสิบสองวันของการบวช นั่นคือการเข้ามาสู่ชีวิตของการเป็นนักบวช และการเรียนรู้รักษาหน้าที่ของความเป็นนักบวช

การที่ได้มาสู่เส้นทางนี้ได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่านี่คือ ...แรงหนุนเนื่องมาจากศรัทธาที่สั่งสมเกิดขึ้นมาในใจ ไม่ใช่ความงมงาย

"ศรัทธาและความงมงาย" นั้นใกล้กันนิดเดียวพลาดนิดเดียวจากที่เข้าใจว่าศรัทธาก็อาจจะกลายเป็นงมงายไปได้...

ศาสนาพุทธได้เกิดขึ้นและได้เสื่อมลงในอินเดีย

และข้าพเจ้าก็ได้มองเห็นในใจตนเองที่วิ่งผลัดกันระหว่างความเสื่อมและความเจริญในศรัทธา ...มองเห็นทั้งเสียงแห่งภายในที่เกิดขึ้นในตนเองและรูปเสียงจากภายนอกที่เห็นอย่างทั่วไปในสังคมและโลก

และข้าพเจ้ามีความเชื่ออย่างหนึ่งในใจลึกๆ ว่า แรง...แห่งการเพียรสั่งบุญบารมี (ตามแนวบารมี ๑๐) ซึ่งเป็นเหตุอันถึงพร้อมให้ข้าพเจ้าได้รับโอกาสเรียนรู้สิ่งที่เป็นอยู่ในวันนี้ และการเรียนรู้ในทุกวันนี้ก็จะเป็นเหตุหนุนนำให้ได้เกิดการเรียนรู้ในอนาคตต่อไปได้อีก

นี่คือ การเรียนรู้อย่างตั้งใจในชีวิต

...

๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔

หมายเลขบันทึก: 471940เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2011 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สาธุ กับการสร้างโอกาสให้เกิดขึ้น กับตัวเอง

การตัดสินใจรับโอกาสเหล่านี้ไม่ง่าย หากบารมีหรือองค์ประกอบไม่ครบ ก็ยากที่จะเกิด

อินเดียเป็นห้องเรียนทางจิตวิญญานที่ดีที่สุดในโลก สำหรับผู้ที่มองเห็นและไปเข้าเรียน (คนอินเดียเองยังไม่ได้คิดจะเรียน...พุทธอีกครั้ง)

เมื่อผ่านห้องเรียนมาแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือปฏิบัติ ทำข้อสอบของตนเอง จนกว่าจะไม่ต้องสอบ

สาธุและเจริญสุขครับ

  • "ศรัทธาและความงมงาย" นั้นใกล้กันนิดเดียว
  • สาธุ ค่ะ

บางขณะจิต ก็ชวนคิด ชวนวิเคราะห์ครับ

"เชื่อในสิ่งที่ทำ...ทำในสิ่งที่เชื่อ..."

ขอบคุณครับ

ขอชื่นชมกับความเป็นสุขภาวะทางจิตวิญญาณที่ชัดเจน

Merry Christmas in advance :)

รู้สึกเติบโตไปด้วยกับอาจารย์

แต่ผม...

มองเห็นด้านหลังอาจารย์

อยู่ห่างไกลครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท