“แกะ แกระ มัน” เครื่องมือเก็บข้าวของชาวปักษ์ใต้


“แกะ แกระ มัน” เครื่องมือเก็บข้าวของชาวปักษ์ใต้

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

“แกะ แกระ มัน” เครื่องมือเก็บข้าวของชาวปักษ์ใต้

“แกะ” เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บเกี่ยวข้าวของภาคใต้ บางท้องถิ่นอย่างที่สุราฎษ์ธานี และชุมพรก็เรียก แกะ ว่า “มัน” ลักษณะของแกะนั้นจะประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ กระดานแกะ     ตาแกะ และหลอดแกะ หรือด้ามแกะ

การใช้แกะเกี่ยวข้าวนั้นทำโดยการเอาแกะใส่เข้าระหว่างนิ้วนางและนิ้วกลาง ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งจับระหว่างรวงข้าว แล้วเอารวงข้าวมาทาบกับคมของแกะ และใช้คมแกะตัดที่คอรวงข้าวแต่ละรวง ส่วนมือที่ว่างก็ใช้เก็บรวงข้าวที่ตัดแล้วจนเต็มกำมือ เมื่อข้าวเต็มกำมือก็นำมาวางไว้ในที่แห้ง เมื่อได้ข้าวพอประมาณก็นำมาผูกรวงให้แน่นทำเป็น   เลียงข้าว เพื่อที่จะนำไปเก็บไว้ในลอมข้าวต่อไป

แกะเป็นเครื่องมือที่ไม่มีความซับซ้อน ใช้งานง่าย และเก็บรักษาง่าย แต่ในปัจจุบันการใช้แกะนั้นลดน้อยลงไปจนแทบไม่มีให้เห็น เนื่องจากมีเครื่องจักรเข้ามาแทนที่ จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต “แกะ” ก็คงจะหายไปในที่สุด   

 

ส่วนประกอบของแกะและการใช้แกะเก็บข้าว(ที่มา: “แกะ : เครื่องมือเก็บข้าว” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๑ หน้า ๒๗๐, ๒๗๔)

 

เอกสารอ้างอิง                                                                           

กานดา ยานะวิมุติ. ๒๕๒๙. “แกะ : เครื่องมือเก็บข้าว” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๙. หน้า ๒๗๐-๒๗๔.

คำสำคัญ (Tags): #“แกะ แกระ มัน”
หมายเลขบันทึก: 471480เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2011 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท