หมออนามัย จิตอาสา


 แนวทางการดำเนินงาน  จิตอาสา    

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

 

โดย

 

 

 

  นายอานนท์ ภาคมาลี

นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

----------------------------------------------------------------------------- 

 คำนำ

                 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มีผู้มารับบริการจำนวนมากในแต่ละวัน เช่น การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การทันตกรรม ถอนฟัน เคลือบฟัน ขูดหินปูน การทาฟูออไรค์ การทำบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) การขอคำปรึกษา และอื่นๆ เช่น การประชุม การประสานงานกับหน่วยงานในชุมชนและผู้นำชุมชน บริษัทเอกชนต่างๆ ประกอบกับเป็นพื้นที่ค่อนข้างอยู่ห่างไกล การให้บริการในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง ผู้พิการ รวมทั้งการช่วยเหลือด้านสุขภาพ ไม่ทั่วถึง เป็นพื้นที่ที่ใช้สิทธิในการรักษาพยาบาล 2 โรงพยาบาล คือโรงพยาบาลแก่งคอย หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 7 หมู่ 9 และโรงพยาบาลพระพุทธบาท หมู่ 3 หมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 6 หมู่ 8 การส่งต่อ ผู้ป่วย การสื่อสารค่อนข้างล่าช้า จึงเป็นปัญหาในการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย ดังนั้นจึงมีจิตอาสา และจิตอาสาแต่ละหมู่บ้านเป็นเครือข่ายได้รวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและการดูแลสุขภาพผู้ป่วย โรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง ผู้พิการ ในชุมชน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในการช่วยเหลือให้มีความสุขทั้งกายและใจ จิตวิญญาณ จึงทำให้จิตอาสาตำบลหินซ้อนมีความเข้มแข็ง และได้จัดทำโครงการ ขอรับการช่วยเหลืองบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลหินซ้อน (กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นตำบลหินซ้อน) โดยมีนายก ชาติ สุขนาบูรณ์ ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และเป็นประโยชน์กับประชาชน และนายแพทย์ประสิทธิชัย มั่งจิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแก่งคอย กำนันสมนึก อินทรชาติ กำนันตำบลหินซ้อน ผู้นำชุมชนทุกๆท่าน ตลอดได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เตียง ไม้เท้าค้ำยัน รถนั่งเข็น ยาและเวชภัณฑ์ ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง ผู้พิการ จากนายอานนท์ ภาคมาลี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ร่วมกันดำเนินงาน ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ โดยคุณกุลทรีย์ เผือกพิบูลย์ ผู้เป็นประธานจิตอาสาตำบลหินซ้อน ที่เป็นแรงกายแรงใจที่ให้น้องๆจิตอาสาทุกคน ออกเยี่ยมบ้าน ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง ผู้พิการ อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง และให้ความรู้ความเข้าใจญาติๆของผู้ป่วย ในการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น สุขวิทยาส่วนบุคคล การจัดเตรียมอาหารและอาหารทางสายยางทำงานจนประสบความสำเร็จ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง ผู้พิการได้รับการดูแล และความเอาใจใส่ ระดับหนึ่ง และหวังว่า คงจะเป็นแนวทางในการดำเนินของจิตอาสา ในตำบล อำเภอ จังหวัดต่างๆในเรื่องของการดูแลสุขภาพในชุมชน และขอขอบคุณทุกๆท่านที่ให้การสนับสนุน มา ณ โอกาสนี้ด้วย

                                       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน

 -----------------------------------------------------------------------------

 จิตอาสา อาสาสมัคร

 

 จิตอาสา คือ ผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่นให้สิ่งของ ให้อุปกรณ์ต่างๆ ให้ความช่วยเหลือ ด้วยกำลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละ แม้กระทั่งเวลา เพื่อเผื่อแผ่ ให้กับส่วนรวม

อาสาสมัคร เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มีจิตอาสา ซึ่งมีความหมายอย่างมาก กับสังคม ส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น หรือสังคมให้เกิดประโยชน์ และความสุขมากขึ้น

ความหมายของอาสาสมัคร อาสาสมัคร หมายถึง ผู้ทีปฏิบัติงานที่ให้ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยไม่หวังค่าตอบแทนเป็นเงินทองและการกระทำที่ไม่ใช่ภาระงานที่ต้องทำตามหน้าที่ หรือบุคคลที่มุ่งหวังการทำงานเพื่อการบริการ และอุทิศตนโดยไม่รับค่าตอบแทนเงินทองจากการทำงานนั้นแต่อย่างใด

องค์ประกอบของการเป็นอาสาสมัคร

  1. การเลือก หมายถึงการมีอิสระ ที่จะกระทำหรือไม่กระทำในงานนั้น เป็นการกระทำโดย สมัครใจ
  2. มีความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึงการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น หรือสังคมส่วนรวม
  3. ไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงิน หมายถึงการกระทำที่ไม่มุ่งหวังผลตอนแทนในรูปสินจ้างรางวัล และต้องถือหลักว่าไม่เป็นการจ้าง งานอาสาสมัครไม่ได้หวังผลรายได้ทางเศรษฐกิจ แต่อาจรับรางวัลหรือค่าใช้จ่ายไปแต่ไม่อาจเทียบได้กับสิ่งที่ได้กระทำลงไป
  4. เป็นการอุทิศกำลังกาย กำลังใจ และเวลาให้กับส่วนร่วม ไม่ใช่อุทิศกำลังทรัพย์
  5. งานที่ทำไม่ใช่ภาระงานที่ต้องทำตามหน้าที่

ปัจจัยที่นำไปสู่อาสาสมัคร

           จิตวิญญาณอาสาสมัคร คือมีจิตใจที่เสียสละ ทำงานด้วยความสมัครใจ เพื่อเห็นประโยชน์ของผู้อื่นและสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งตรงกับแนวคิด จิตอาสา หมายถึง จิตที่พร้อมจะสละเวลา แรงกาย แรงใจ สติปัญญา เพื่อปฏิบัติงานที่เป็นสาธารณประโยชน์ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหา ความทุกยากที่เกิดขึ้นในสังคม ชุมชน เป็นจิตแห่งการให้ ดังนั้น จิตอาสา และอาสาสมัคร เป็นสิ่งที่เกิดควบคู่กันไป ผู้ที่เป็นอาสาสมัคร จึงเป็นผู้ที่มีจิตอาสา

ประโยชน์ที่อาสาสมัครที่ได้จากการปฏิบัติงาน

1.  พัฒนาสภาวะจิตใจให้ดีขึ้น

2.  ทำให้รู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า มีประโยชน์ต่อสังคม

3.  ได้เรียนรู้ทักษะการทำงานใหม่ๆ

4.  ได้พบเพื่อนใหม่ๆ

5.  ได้รับความสนุกสนานท้าท้าย

6.  พัฒนาความเป็นผู้นำให้กับตนเอง

7.  พัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ

 

จิตอาสา อาสาสมัคร

1.  สร้างสรรค์ระบบ วิธีการ นำความรู้ต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนในชุมชนอย่างทั่วถึงทุกครอบครัว

2.  พัฒนาและดำเนินการจัดกิจกรรม เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง ผู้พิการ

3.  สร้างและจัดกระบวนการและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง ผู้พิการ ให้มีความเหมาะสมกับบริบทของชุมชนนั้นๆ

4.  ประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชน เพื่อรณรงค์การส่งเสริมสุขภาพประชาชน เช่นการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ เลือกซื้ออาหารที่มีฉลาก อย. ไม่สูบบุหรี่ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลม

ความคาดหวังในการทำงานของจิตอา อาสมัคร

1.  ทำงานอาสมัครด้วยใจ และ มีความศรัทธา ในการทำงานอาสาสมัคร

2.   ทำงานเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น

3.  ทำงานโดยไม่หวังผลตอบแทนทางวัตถุ       

4.  การทำงานเป็นการพัฒนาให้เกิดเครือข่าย คือการและเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย

5.  สามารถทำงานร่วมกับหน่วยงาน และบุคคลอื่นในพื้นที่ได้

6.  เข้ารับการอบรม และพัฒนาตนเองให้เกิดทักษะการปฏิบัติงาน

7.  สามารถจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์งานจิตอาสา

8.  สร้างเครือข่ายความร่วมมือ พัฒนางานจิตอาสา

9.  เผยแพร่การดำเนินงานจิตอาสา อาสาสมัครทางสื่อต่างๆ

 ---------------------------------------------------------------------------------------- 

แนวทางการดำเนินงาน จิตอาสา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

 ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. เสนอโครงการจิตอาสา ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหินซ้อน (กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นตำบลหินซ้อน) และคณะกรรมการ
  2. จิตอาสา อาสาสมัคร วางแผนดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม/จัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง ผู้พิการ ในตำบลหินซ้อน ประสานแผนงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  
  3. ประชาสัมพันธ์กิจกรรม งานของจิตอาสา ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน เสียงตามสาย วิทยุชุมชน
  4. ติดต่อประสานงานผู้นำชุมชน ครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้องรัง กลุ่มเสี่ยง ผู้พิการ
  5. ส่งเสริมและให้ความรู้แก่ จิตอาสา อาสาสมัคร ผู้ป่วยกลุ่มโรคต่างๆ โดยการอบรมฟื้นฟูความรู้อย่างต่อเนื่อง

  6.วางแผนการปฏิบัติงานจิตอาสาในแต่ละกิจกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

  7.องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รูปแบบการดำเนินงาน/นวัตกรรม

  8.สำรวจและประเมินความพุงพอใจทั้งจากผู้รับบริการ/ผู้ให้บริการ จิตอาสาและอาสาสมัครที่มีต่อการทำงาน

  9.กำหนดหีมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานจิตอาสา อาสาสมัคร ในแต่ละกิจกรรม/กลุ่มในภาพรวม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบบริการและสร้างความเข้มแข็งให้แต่ทีมผู้ปฏิบัติ

 10.สรุปผลงานจิตอาสา เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมุ่งที่จะพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน/จิตอาสา อาสาสมัคร ผู้เกี่ยวข้อง และวางแผนขยายผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 การบริหารจัดการงานจิตอาสา

  1. ดำเนินการโดย คณะกรรมการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานจิตอาสา สหสาขาวิชีพตามบริบทของพื้นที่ ประธานจิตอาสา อาสาสมัคร
  2. แผนงานจิตอาสา มีการกำหนดแผนงานประกอบด้วย

               -   แผนงานประจำปี

               -   แผนการประชุมกลุ่ม ทีมงาน/กิจกรรม

               -   แผนติดตาม ประเมินผลงาน พัฒนางาน และสรุปผลงาน

               -   แผนพัฒนาศักยภาพจิตอาสา อาสาสมัคร

               -   แผนการสร้างเสริมแรงจูงใจ ชื่นชม ยกย่องความดีจิตอาสาต้นแบบ

               -   แผนการจัดกางบประมาณเพื่อดำเนินงาน โครงการ/กิจกรรม

 3. จิตอาสา อาสาสมัคร

              - การรับสมัครจิตอาสา อาสาสมัคร

              -  แนวทางการเสริมสร้างความรู้ แลพัฒนาศักยภาพ

              - ติดตามการดำเนินงาน การแสดงผลงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

              - จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของจิตอาสา อาสาสมัคร เช่น แบบบันทึกการปฏิบัติงาน และสมุดเซ็นชื่อ

              - จัดหาสวัสดิการต่างๆ ให้แก่จิตอาสา อาสาสมัคร ได้แก่ อาหาร/อาหารว่าง ประกาศเกียรติคุณ เสนอผลงาน การประชุม การศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การรักษาพยาบาล/การตรวจสุขภาพประจำปี

 -----------------------------------------------------------------------------

  ข้อมูลทั่วไป

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน  อำเภอแก่งคอย  จังหวัดสระบุรี

 

ข้อมูลทั่วไป

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลหินซ้อน  ตั้งอยู่หมู่ที่  1  ตำบลหินซ้อน   อำเภอแก่งคอย  จังหวัดสระบุรี   โดยตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่บริจาคของประชาชน  เริ่มก่อสร้างครั้งแรกเมื่อ  ปี 2518  โดยมีตัวอาคารสถานีอนามัย  1 หลัง   และมีบ้านพักเจ้าหน้าที่ระดับ  1-2   (แบบ 422)   จำนวน 2 หลัง  แต่ในปัจจุบัน   ได้รับงบประมาณ ในการก่อสร้างสถานีอนามัยขนาดใหญ่   แทนตัวอาคารสถานีอนามัยเดิมที่ชำรุด   พร้อมกับก่อสร้างบ้านพักสถานีอนามัย ระดับ 3-4  จำนวน 2  หลัง(งบประมาณปี 2535)   แทนบ้านพักสถานีอนามัยระดับ 1-2   ที่ชำรุดและรื้อถอนไป  

 

ประวัติความเป็นมา

             หินซ้อนเป็นตำบลเหนือสุดของอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี   เป็นตำบลเก่าแก่ตำบลหนึ่ง  ตั้งขึ้นมาตามประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ.2457          เดิมที่เดียวประชากรอยู่กันหนาแน่น เฉพาะหมู่ที่ 1 บ้านหินซ้อนใต้ กับหมู่ 2 บ้านหินซ้อนกลาง เท่านั้น ตำบลหินซ้อน เป็นตำบลที่รับการจัดสรรที่ดินโดยนิคมสร้างตนเอง  โดยท่านจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม โดยจัดสรรให้ครอบครัวละ 25ไร่ แบ่งถนนเป็นซอย เป็นคนต่างถิ่นที่มาตั้งรกรากเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503          ซึ่งในปัจจุบันได้มีประชากรกระจายตัวอยู่ตามหมู่บ้านทั้ง 9 หมู่บ้าน    มีสภาพพื้นที่เต็มไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณ ป่าดงดิบ และเทือกเขาสลับซับซ้อน       มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย เพราะพื้นที่บริเวณนี้ติดกับแม่น้ำป่าสัก อันมีเขตติดต่อกับอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี      เนื่องจากมีเกาะแก่งโผล่ขึ้นกลางน้ำแควป่าสัก และอยู่ในเขตตำบลหินซ้อนอยู่หลายแห่งวก วนไปตามไหล่เขาด้านตะวะนออกเฉียงเหนือหลายเทือกเขา     จึงนำเอาหินที่สลับซับซ้อน กันเหล่านี้ มาตั้งเป็นชื่อตำบลและเรียกชื่อตำบลสืบกันมาตราบเท่าทุกวันนี้

            อนึ่งตำบลหินซ้อนเคยเป็นตำบลที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จมาทางเรือตามลำน้ำป่าสัก จากท่าเรือ (ตำหนักท่าสนุก ริมฝั่งลำน้ำป่าสัก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) สมัยที่ยังไม่ได้สร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ        ต่อมาเมื่อกำลังเลือกที่สร้างสถานที่เส้นทำทางรถไฟ พระองค์ทรงเสด็จมาอีกหลายครั้ง

 ขนาดที่ตั้ง

       ตำบลหินซ้อนมีขนาดพื้นที่ 55 ตารางกิโลเมตร หรือจำนวน 21,745 ไร่

 อาณาเขตติดต่อ

        ตำบลหินซ้อนมีพื้นที่ติดกับตำบล และอำเภอใกล้เคียงดังนี้

ทิศเหนือ        ติดต่อกับ     ตำบลในเขตอำเภอพัฒนานิคม     จังหวัดลพบุรี

ทิศใต้                “           ตำบลท่าคล้อ อำเภอแก่งคอย       จังหวัดสระบุรี

ทิศตะวันออก       “           ตำบลแสลงพัน   อำเภอวังม่วง     จังหวัดสระบุรี

ทิศตะวันตก         “           ตำบลในเขตอำเภอพัฒนานิคม     จังหวัดลพบุรี     

ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป

              พื้นที่ตำบลหินซ้อน  ส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม  ติดกับแม่น้ำป่าสัก ซึ่งในบางปีในฤดูฝนที่มีน้ำหลาก และน้ำท่วม ก็จะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังในบริเวณหมู่บ้านที่อยู่ติดแม่น้ำป่าสัก จะหาพื้นที่ราบสม่ำเสมอกันไม่ได้มานัก และเป็นตำบลหนึ่งที่มีเนื้อที่กว้างขวางมากตำบลหนึ่งในอำเภอแก่งคอย ระยะทางห่างจากโรงพยาบาลอำเภอแก่งคอย ประมาณ 35 กิโลเมตร และโรงพยาบาลพระพุทธบาทประมาณ 37 กิโลเมตร โรงพยาบาลพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร และ โรงพยาบาลวังม่วงสัจธรรม  ประมาณ 25 กิโลเมตร เนื่องจากมีขีดจำกัดในการใช้บัตรประกันสุขภาพ (บัตรทอง) ในการรักษาพยาบาล ข้ามเขต ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ภูมิอากาศ

             สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป อากาศร้อนถึงร้อนมาก ดินฟ้าอากาศแปรปรวน ทำให้เกิดน้ำท่วม และฝนแล้งในเวลาเดียวกัน ทำให้พืชไร่ของเกษตรกรได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเช่นนี้

อาชีพ

                ประชาชนในตำบลหินซ้อน   ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่การทำไร่ ข้าวโพด และเลี้ยงวัวนม อาชีพรองลงมา ทำนา ปลูกอ้อย ปลูกมันสำประหลัง ถั่วเหลือง/ถั่วเขียวและทำไร่ทานตะวัน ซึ่งมีการจัดงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นประจำทุกปี     มีบางส่วนที่ประกอบอาชีพรับจ้าง อาชีพเสริม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากเปลือกข้าวโพด ประกอบกับพื้นที่มีทรัพยากรแร่หินปูน ซึ่งได้มีการผลิตและดำเนินการธุรกิจผลิตปูนซีเมนต์

ศาสนา

               ประชาชนตำบลหินซ้อน นับถือพุทธศาสนา 95% 

  1. วัด จำนวน  8 แห่ง
  2. สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง
  3. สำนักวิปัสสนา จำนวน 1แห่ง

การคมนาคม

              การคมนาคมที่สามารถติดต่อกับตำบลหินซ้อน และตำบลอื่นของจังหวัดใกล้เคียงโดยประชาชนสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้จำนวน 2 ทางคือทางรถไฟ ซึ่งวิ่งจากชุมทางอำเภอแก่งคอยผ่านสถานีหินซ้อนปลายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอีกทางหนึ่งคือทางรถยนต์ ตำบลหินซ้อนจะมีถนน ซึ่งเป็นทางหลวงชนบทตัดผ่าน สภาพถนนชำรุดเป็นส่วนใหญ่ ขาดการบูรณะซ่อมแซม

              ดังนั้น ประชาชนส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางสัญจรไป  - มา ประกอบกับ การเดินทางโดย ใช้ทางถนน ถือว่าเป็นหัวใจในการเดินทาง ของราษฎรในตำบลนี้        เนื่องจากการเดินทาง โดยรถไฟมีข้อจำกัดของเวลา  และ ในขณะเดียวกัน ในตำบลหินซ้อนก็ยังไม่มีรถโดยสารประจำทางวิ่งผ่าน  ในอดีตใช้แม่น้ำป่าสักเป็นเส้นทางในการเดินทาง  แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เพราะว่าการเดินทางทางบกสะดวกและรวดเร็วกว่า

การปกครอง

ตำบลหินซ้อน แบ่งการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน คือ

หมู่ที่ 1 บ้านหินซ้อน                       หมู่ที่ 5 บ้านซับม่วง

หมู่ที่ 2 บ้านหินซ้อนกลาง                หมู่ที่ 6 บ้านหนองงิ้วผา

หมู่ที่ 3 บ้านท่าเดื่อ                         หมู่ที่ 7 บ้านวังม่วงน้อย

หมู่ที่ 4 บ้านดงน้ำบ่อ                       หมู่ที่ 8 บ้านผังพัฒนา  

                           หมู่ที่ 9 บ้านถนนโค้ง

 ประชากร

                 ประชากรทั้งหมด                          3,877    คน

                                                   ชาย        1,700    คน

                                                   หญิง      1, 977    คน

                 จำนวนหลังคาเรือน            897        หลังคาเรือน

                        ครอบครัว               1,057        ครอบครัว

 

สถานศึกษาและจำนวนนักเรียน

             1. โรงเรียนบ้านผังสามัคคีเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน นักเรียน 150 คน

             2. โรงเรียนบ้านหินซ้อนเป็นโรงเรียนประถม- มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียน 210 คน          

จำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง จำนวน 25 คน ประชากรส่วนใหญ่จบระดับการศึกษาประถมมากที่สุด

ทรัพยากรสนับสนุนงานสาธารณสุข

                  จิตอาสา                           จำนวน 21  คน

                  อาสาสมัครสาธารณสุข         จำนวน  77 คน

                  ช่างสุขภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน    จำนวน    1 คน

                  หอกระจายข่าว                    จำนวน  10 แห่ง

                  กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน           จำนวน    1 แห่ง             

 

อัตรากำลังเจ้าหน้าที่

              ในปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน  มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่  4 คน ดังนี้

 

ชื่อ - สกุล

ตำแหน่ง

วุฒิการศึกษา

1. นายอานนท์  ภาคมาลี

นักวิชาการสาธารณสุข  ชำนาญการ

ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิต

2. นางระเบียบ เงางาม

พยาบาลวิชาชีพ   ชำนาญการ

ปริญญาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิต

3. นายอภิเชษฐ์ ต้นเกตุ

จพง.สาธารณสุข   ชำนาญงาน

ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิต

3. นางสาวสมพิศ อำภา 

จพง.ทันตสาธารณสุข ชำนาญงาน

ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิต

 

 

 

 

ข้อมูลสถานะสุขภาพ

                อัตราเกิด                =  4.54  ต่อพันประชากร

                อัตราตาย               =  8.43  ต่อพันประชากร

                อัตราเพิ่ม               =  -0.38

ตารางที่  1 สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอก 5 อันดับแรก

 

อันดับ

สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอก

หมายเหตุ

 
 

1

 อาการไม่แจ้งชัด

 

 

2

 โรคระบบกล้ามเนื้อรวมโครงร่างและเนื้อยึดเสริม

 

 

3

 โรคระบบหายใจ

 

 

4

 โรคระบบไหลเวียนเลือด

 

 

5

  โรคผิวหนัง และเนื้อเยื่อบุใต้ผิวหนัง

 

 

 

 

 

 สรุปปัญหาด้านสุขภาพปี  2554

                ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ  เนื่องจากเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคทีไม่ถูกต้อง และให้ความสนใจและดูแลสุขภาพน้อย เช่นเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

              สำหรับโรคติดต่อต่างๆ  ที่ต้องเฝ้าระวัง     เช่นไข้เลือดออก ไข้หวัดนก  มือ เท้าปาก  ไม่มีเกิดขึ้นในพื้นที่  แต่เราก็เฝ้าระวังอยู่เสมอ

----------------------------------------------------------------------------------------

ทิศทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน

                โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน ได้ปรับปรุงโครงสร้างองค์ภายในให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเช่น  ระบบบริการสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง  สิทธิประชาชน  การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  เน้นการส่งเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษา  ให้บริการ สะดวก  รวดเร็ว  ปฏิบัติภารกิจให้เสร็จสิ้น  ณ จุดเดียว  (One Stop Services) เน้นการทำงานเชิงรุก โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

 รายชื่อ จิตอาสา

 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

  1. กุลทรีย์ เผือกพิบูลย์                                                       
  2. อาภาพร ไกล่กลาง  
  3. นิตย์ฐา สระแก้ว                                                  
  4. ฉลอม หล่อเหลี่ยม    
  5. รำพึง พุ่มชื่น                                                    
  6. อัญชลีกร พบสุวรรณ
  7. บุญเตือน เอี่ยมสุดใจ                                              
  8. นพรัตน์ กลางเนตร 
  9. สังวาล หินซ้อน                                                    
  10. สมจิตร์ ทับทิม
  11. สัน จันทร                                                   
  12. สุพัตรา จันทร์พริ้ง
  13. บุญส่ง โสภา                                                              
  14. ศรีเวียง กรีมนตรี 
  15. วินัย สังขสุวรรณ์                                        
  16. สมคิด วงษ์อินทร์
  17. สนอง ธรรมวิเศษ                                                     
  18. สำราญ ธรรมวิเศษ
  19. ปทุม กาแสงพงษ์                                                   
  20. นพรัตน์ บุญพันธ์

 -------------------------------------------------------------------------------------

โครงการ จิตอาสา

(กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นตำบลหินซ้อน)

 

1. หลักการและเหตุผล  

           จากสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลหินซ้อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในพื้นที่และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนมากขึ้นด้วยประกอบกับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำให้ไม่สามารถทำงานเชิงรุกได้เต็มที่ ดังนั้นจึงได้ส่งเสริมบทบาทของจิตอาสา จิตอาสาเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มทำงานเพื่อสังคมที่เห็นความสำคัญของงานอาสาสมัครและต้องการสืบสานกระแสพลังน้ำใจที่มีอาสาสมัครจำนวนมาก เดินทางไปช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงที่บ้านในการออกเยี่ยมบ้านดูแลผู้ป่วยเพื่อเพิ่มศักยภาพ ของจิตอาสาให้เกิดการยอมรับของประชาชนและสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุมสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงได้

            ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อนและประธานจิตอาสาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยง และบุคคลในครอบครัวได้ตระหนักถึงภาวะแทรกซ้อนของโรคและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวภายใต้บริบทของครอบครัวและชุมชนของตนเองโดยใช้กระบวนการเยี่ยมบ้านและยึดหลักการองค์รวม ผสมผสานต่อเนื่องและชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งสอดคล้องกับการร่วมสรรค์สร้างรูปแบบกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้ได้ผลดีและผสมผสานชีวิตความเป็นอยู่ วิถีชีวิตประจำวันการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม

2. วัตถุประสงค์

          1. เพื่อให้ จิตอาสา ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ออกปฏิบัติงานสร้างสุขภาพและ เวชปฏิบัติครอบครัวที่บ้านแบบบูรณาการ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ

          2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยงอื่นๆได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

          3. เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ระหว่างเครือข่ายสบริการสุขภาพกับผู้รับบริการ อันจะนำไปสู่การเป็นสถานบริการใกล้บ้านใกล้ใจ

         4. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความพึงพอใจในการจัดบ

คำสำคัญ (Tags): #จิตอาสา
หมายเลขบันทึก: 470340เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2011 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท