เครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาตักสิลานคร#1


Large_rmu Large_rku Large_nmc Large_pci Large_jru Large_msu

      มหาสารคามเป็นเมืองที่ได้นามว่า  “ตักสิลานคร”  คือ  เมืองแห่งการศึกษา  เพราะมีสถาบันการศึกษาทุกระดับ  ทุกระบบ  โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษามีหลายแห่ง  จึงเกิดแนวคิดที่ว่า 
ทำไมเราไม่จับมือร่วมมือกันระหว่างสถาบันเพื่อพัฒนาในสิ่งที่เราทำเหมือนกัน  ไม่ใช่การแข่งขันหรือเอาชนะ

      หลายครั้งที่เราไปสร้างเครือข่ายหรือมีกิจกรรมร่วมกันกับสถาบันอื่นๆ  ที่อยู่ไกลๆคนละพื้นที่คนละภาค  ทำให้ต้องมานั่งถอดบทเรียน  เกิดคำถามว่า  “แล้วเราได้อะไรบ้าง”  เมื่อเทียบกับทรัพยากรที่เสียไป

      ผมมีโอกาสที่ได้ไปบรรยายเรื่องการประกันคุณภาพให้แก่ผู้บริหาร  คณาจารย์  นักศึกษาหลายครั้งให้สถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน  รวมถึงใกล้เคียง  เช่น  มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม  สถาบันการศึกษา  วิทยาเขตมหาสารคาม  มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตขอนแก่น  ทำให้ได้รู้จักผู้บริหาร  ผู้ที่รับผิดชอบงานด้านเดียวกัน  คือ  งานประกันคุณภาพการศึกษา  “คนคอเดียวกัน”  เช่น  อ.พวงผกา(มรภ.มค.)  อ.บุษญา(สพล.มค.)  พี่หลิว(มจฬ.)  และได้พูดคุยกันทางโทรศัพท์หารือเรื่องงานอย่างต่อเนื่อง  (personal 
contract)

      ผมมีโอกาสได้นั่งคุยกับ ผอ.หัวหน้าผม พี่เร่  ผอ.พนมพร  ว่า...เอ  ทำไมเราไม่มาสร้างเครือข่ายกันหล่ะ  สถาบันอุดมศึกษาในมหาสารคมหรือใกล้เคียงที่รู้จักกัน  ซึ่งก็เห็นพ้องต้องการ  ว่า  ดี  โอเค  โดยจะตั้งชื่อว่า  “เครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาตักสิลานคร

      ในเบื้องต้นผมได้ติดต่ออย่างไม่เป็นทางการ  ผ่านทางอีเมล 
สอบถามแต่ละแห่งว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่จะมาร่วมมือกัน  และในเบื้องต้น  อ.พวงผกา(มรภ.มค.)  อ.บุษญา(สพล.มค.)  พี่หลิว(มจฬ.)  เห็นด้วยและยินดี  และทาง  อ.พวงผกา  ได้แนะนำต่อว่า  น่าจะเชิญมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์มาร่วมด้วย  และเพิ่มทางวิทยาพยาบาลศรีมหาสารคาม  อีก  1  แห่ง  เนื่องจากปีประเมินที่ผ่านมา  ผอ.ของวิทยาลัยฯ  (ดร.นฤมล  เอนกวิทย์)  ได้ให้เกียรติมาเป็นกรรมการประเมินระดับสถาบัน  ให้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

      รวมเป็น  6  สถาบัน  เครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาตักสิลานคร           

      จากการตอบรับแบบ  personal  contract  จึงนำไปสู่ความเป็นทางการบ้าง  คือ  ส่งหนังสือเชิญเข้าร่วมหารือ  และก็ตอบรับมาครบทั้ง  5  สถาบัน  (มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์-อ.จิราภา 
นาครินทร์  มาตรา-อ.พีรฎา  จันโทมุข)  (มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตขอนแก่น-อ.ฤดี  แสงเดือนฉาย)  (มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม-อ.พวงผกา  คุณาสิทธิ์-อ.ประภาพร  ศุภตรัยวรพงศ์)  (สถาบันการพลศึกษา  วิทยาเขามหาสารคาม-อ.บุษญา  แสงแก้ว-อ.ธนเดช  อหันตะ)  (วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม-อ.แจ่มจันทร์  รีละชาติ-อ.พวงแก้ว  สาระโภค)  และ(มหาวิทยาลัยมหาสารคาม-ผอ.พนมพร 
ปัจจวงษ์-สมสมัย  บุญทศ-กัมปนาท  อาชา)

     ความคาดหวังของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  คือ  ไม่ได้คาดหวังว่าจะมี  mou  หรือไม่มี  หรือจะสร้างกิจกรรมใหม่ขึ้นมา  เพื่อเป็นภาระให้แต่ละสถาบัน  แต่ความคิดคือแต่ละสถาบันมีอะไรก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  เช่น  มมส  จัดโครงการกิจกรรมอบรมอะไรที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ  ที่กำหนดตามแผนอยู่แล้ว  ก็เชิญสถาบันเครือข่ายเข้าร่วมแบบไม่ต้องลงทะเบียน  หรือมีเอกสารอะไรที่คิดว่าดี  ก็ส่งไปให้สถาบันเครือข่าย  หรือ 
พบปะกันบ้าง  เล่าสาระทุกข์สุขดิบกัน  2   เดือนครั้ง  3  เดือนครั้ง  แบบคนหน้างาน

      ไม่อยากมีพิธีการมาก  หรือผูกมัดกัน 

      ได้เรื่องอย่างไร  หลังวันที่   7  จะมาเล่าสู่กันฟังต่อนะครับ

      แจ๊ค  กัมปนาท

      ร่วมกู่สร้างสรรค์  พัฒนา

หมายเลขบันทึก: 469924เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2011 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

แวะเข้ามาเยี่ยมค่ะ

อาจารย์เคยมาบรรยายที่วิทยาลัยการเมืองและกฎหมาย ราชภัฎสารคามค่ะ

จะติดตามเครือข่ายนี้ต่อ

lunch talk ณ ห้องอาหาร อาคารสโมสรบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เวลา 10.30-13.00 น. มาครบทุกสถาบัน รวม 13 คน 

เครือข่ายจากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม  และ

สถาบันการพลศึกษา  วิทยาเขตมหาสารคาม

เครือข่ายจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

เครือข่ายจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

เครือข่ายจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตขอนแก่น (ขวามือ)

เป็นแนวคิดที่ดีขอสนับสนุนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท