ประวัติการขุดคลองต่างๆ


เป็นข้อมูลที่เพื่อนส่งมาให้ ประกอบกับการที่ได้เห็นและรับทราบข่าวจากทีวีในช่วงเวลาที่กรุงเทพเผชิญกับ วิฤติน้ำท่วมในปีนี้ จึงอยากเก็บไว้ ศึกษา และแบ่งปันค่ะ
คลองแสนแสบ
เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเจ้าพระยา กับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปีพ.ศ. 2380 ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบและเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวนซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี และมีชื่อเรียกว่า “สงครามอันนัมสยามยุทธ”

คลองมหาสวัสดิ์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุด คลองมหาสวัสดิ์ ขึ้น เพื่อเชื่อมระหว่างแม่น้ำนครชัยศรีกับแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ และเป็นเส้นทางคมนาคม โดยให้ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำบุนนาค) และ พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุด เริ่มลงมือเมื่อวันที่ 13 กันยายนปีเดียวกัน เสร็จเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม รวมเป็นเงินค่าแรงทั้งสิ้น 1,101 ชั่ง 10 ตำลึง คลองมหาสวัสดิ์ยาว 28 กิโลเมตร ปัจจุบันคลองมหาสวัสดิ์ยังคงมีสภาพธรรมชาติที่งดงาม น้ำในคลองยังใสสะอาด สองฝั่งคลองเต็มไปด้วยสวนผลไม้ สวนกล้วยไม้ อีกทั้งนาบัวที่ผลิดอกชูช่อน่าชม กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ

คลองมหาสวัสดิ์ เป็นคลองที่สุนทรภู่ใช้เป็นเส้นทางไปนมัสการพระพุทธบาท ที่สระบุรีและเป็นทางที่ใช้ไปไหว้พระปฐมเจดีย์ในสมัยก่อน
คลองรังสิต
คลองรังสิต หรือชื่อเต็มคือ คลองรังสิตประยูรศักดิ์ เป็นคลองสายหลักในโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวtarget=”_blank”>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และ เป็นโครงการคลองชลประทานเพื่อการเกษตรแห่งแรกของไทยที่ริเริ่มขึ้นเพื่อ พัฒนาพื้นที่บริเวณทุ่งรังสิตให้เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าว รองรับการขยายตัวของการส่งออกข้าว ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยในขณะนั้น โครงการรังสิตนับเป็นโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น มีพื้นที่สัมปทานประมาณ 800000 - 1,500,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ตั้งแต่ จังจังหวัดปทุมธานี บริเวณอำเภอธัญบุรี อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ และอำเภอลำลูกกา จังหวัดนครนายก ในเขตอำเภอองครักษ์ กรุงเทพมหานคร บริเวณเขตหนองจอก เขตบางเขน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอวังน้อย จังหวัดสระบุรี ที่อำเภอหนองแค
การขุดคลองตามโครงการรังสิตนับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนางานด้านชล ประทานของประเทศไทย โดยเฉพาะการชลประทานเพื่อการเกษตรกรรม การขุดคลองรังสิตและคลองแยกต่าง ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2448 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้พื้นที่รกร้างบริเวณทุ่งหลวงเปลี่ยนเป็นแหล่งเกษตรกรรมขนาดใหญ่ ที่มีข้าวเป็น ผลผลิตหลัก คลองรังสิตซึ่งเป็นคลองสายหลักจึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยง ชีวิตคนรังสิต เป็นทั้งแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก เส้นทางคมนาคม ตลอดจนใช้ในการอุปโภคและบริโภค แม้การพัฒนาอุตสาหกรรมได้ทำให้คลองรังสิตลดความสำคัญในฐานะคลองส่งน้ำเพื่อ การเกษตรกรรมลง เป็นเพียงคลองชลประทานสำหรับระบายน้ำ
การขุดคลองรังสิตเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2433 ดำเนินการโดย บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน มีเจ้านาย ขุนนาง และชาวตะวันตกเป็นผู้ถือหุ้น ในชั้นต้นประกอบด้วย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พระนานาพิธภาษี (ชื่น บุนนาค) และนายโยคิม แกรซี แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2435 ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหม่เป็น หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์ บุตรคนใหญ่ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ นายเออร์วิน มูลเลอร์ หรือพระปฏิบัติราชประสงค์ และนายฮันส์ เมทซเลอร์
พระ วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ทรงต้องการจะสนองพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการ พัฒนาทรัพยากรของประเทศ และมิต้องการให้เสียพระราชทรัพย์ จึงได้สำรวจหาพื้นที่ขุดคลอง แล้วนำความกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตขุดคลองในนามบริษัทขุดคลองแลคูนา สยาม เมื่อ พ.ศ. 2431 โดยให้นายโยคิม แกรซี สถาปนิกชาวอิตาลี เป็นผู้วางแผนงาน นายแกรซีจึงได้เสนอโครงการ เพื่อพัฒนาระบบคลองชลประทานสำหรับปลูกข้าวบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง 4 สาย ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกง อันเป็นพื้นที่การเกษตรสำคัญ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทำสัญญาพระราชทานพระบรมราชานุญาตขุดคลองเมื่อวันที่ 17 มกราคมพ.ศ. 2431 ให้บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามดำเนินการขุดคลองได้มีระยะเวลาสัมปทาน 25 ปี โดยบริษัทได้วางแผนจะขุดคลองชลประทานแบบใหม่บริเวณ ทุ่งหลวง ซึ่งเป็นท้องทุ่งกว้างใหญ่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ตอนใต้ของ มณฑลกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จด มณฑลกรุงเทพฯ โครงการนี้ประกอบด้วย การขุดคลองขนาดใหญ่เพื่อรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำป่าสัก กับขุดคลองซอยหรือคลองแยกสำหรับผันน้ำเข้าที่นา รวมทั้งสร้างประตูระบายน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำ
แม้ว่าจะได้รับสัมปทานขุดคลองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2431 แล้ว แต่ในสัญญาได้ระบุไว้ว่า บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามต้องเสนอแผนการขุดหรือซ่อมคลอง ระบุแผนที่การขุด ขนาดคลอง และกำหนดระยะเวลาการทำงาน ให้เสนาบดีกรมเกษตราธิการ (เดิมคือ กรมนา ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงเกษตราธิการใน พ.ศ. 2435 พิจารณาก่อนทุกครั้ง โดยใน พ.ศ. 2433 บริษัทได้ยื่นหนังสือขออนุญาตขุดคลองครั้งแรกรวม 8 สาย แต่พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกรมเกษตราธิการในขณะนั้น อนุญาตให้ขุดได้เพียงสายเดียว คือ คลองสายหลัก ซึ่งเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ส่วนปลายคลองเชื่อมกับแม่น้ำนครนายกในเขตอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก บริษัทได้เริ่มขุดคลองนี้เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2433 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2440 รวมระยะเวลาขุดประมาณ 7 ปี คลองดังกล่าวกว้าง 8 วา (16 เมตร) ลึก 5 ศอก (3เมตร) ยาวประมาณ 1,400 เส้น (56 กิโลเมตร) ในระยะแรกชาวบ้านเรียกคลองนี้ว่า คลองเจ้าสาย ตามพระนามพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ หรือเรียกกันว่า คลองแปดวา ตามความกว้างของคลอง แต่ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามคลองนี้ว่า รังสิตประยูรศักดิ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (ต้นราชสกุล รังสิต) พระราชโอรสที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ด้วยเหตุนี้ในเวลาต่อมาจึงเรียกชื่อโครงการพัฒนาที่ดินบริเวณนี้ว่า โครงการรังสิต และเรียกบริเวณที่คลองนี้ไหลผ่านว่า ทุ่งรังสิต
ต่อ มาใน พ.ศ. 2435 บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามได้ยื่นหนังสือขออนุญาตขุดคลองอีกครั้ง แต่ยังไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากนายโยคิม แกรซี ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งของบริษัท เป็นคนในบังคับฝรั่งเศส (ทำงานให้กับรัฐบาลฝรั่งเศส) จึงถือเป็นคนต่างด้าว ภายหลังจากที่นายแกรซีถอนหุ้นออกไปแล้ว ใน พ.ศ. 2436 บริษัทได้ปรับเปลี่ยนแผนการขุดคลองใหม่ เสนอเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น ซึ่งบริษัทได้รับอนุญาต ให้ขุดคลองแยกจากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ฝั่งเหนือและฝั่งใต้ รวมทั้งคลองซอยต่าง ๆ ซึ่งเป็นคลองคูนา ดังนี้
คลองขนาดใหญ่ 2 สาย ขุดตั้งแต่ พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2440 คือ

1. คลองหกวา สายล่าง ขนาดกว้าง 6 วา (12 เมตร) ลึก 5 ศอก (3 เมตร) ยาว 1,527 เส้น 2 วา 2 ศอก (ประมาณ 61 กิโลเมตร)
2. คลองหกวาสายบน ขนาดกว้าง 6 วา (12 เมตร) ลึก 5 ศอก (3 เมตร) ยาว 977 เส้น (ประมาณ 39 กิโลเมตร)
คลองซอยที่แยกจากคลองสายใหญ่ เริ่มขุดตั้งแต่ พ.ศ. 2435 - พ.ศ. 2448 รวมทั้งสิ้น 59 สาย นอกจากนั้นบริษัทยังได้สร้างประตูระบายน้ำอีก 2 แห่ง สำหรับควบคุมระดับน้ำในคลอง ได้แก่ ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ที่ต้นคลองรังสิตประยูรศักดิ์ทางทิศตะวันตก และ ประตูน้ำเสาวภา ที่ปลายคลองทางทิศตะวันออก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม กับได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชเทวี ไปทรงเปิดประตูน้ำทั้ง 2 แห่ง เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนพ.ศ. 2439 สำหรับประตูระบายน้ำอีกแห่ง สร้างในภายหลังที่ปลายคลองหกวาสายล่าง เรียกกันทั่วไปว่า ประตูน้ำบริษัทสมบูรณ์ ผลจากการขุดคลองตามโครงการรังสิต การ พัฒนาที่ดินตามโครงการรังสิต ทำให้มีคนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณทุ่งรังสิตมากขึ้น โดยเฉพาะทางตอนใต้ของโครงการ แล้วกระจายตัวขึ้นไปทางตอนเหนือตามคลองที่ขุดเพิ่มขึ้น สาเหตุที่มีคนอพยพเข้ามาในเขตรังสิตมากขึ้นเป็นผลมาจากการขยายตัวของการส่ง ออกข้าว ประกอบกับความเชื่อมั่นในระบบชลประทานแบบใหม่นี้ว่าจะสามารถช่วยเพิ่มผลผลิต และแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้ ทำให้มีคนสนใจลงทุนทำนากันมากขึ้น ตลอดจนมีการผลักดันไพร่และทาสที่เป็นอิสระให้เข้าไปทำงานยังพื้นที่การเกษตร ใหม่แห่งนี้อีกด้วย บริเวณทุ่งรังสิตจึงเปลี่ยนสภาพจากพื้นที่รกร้าง กลายเป็นบริเวณที่มีการอยู่อาศัยหนาแน่นมากขึ้น และมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา ประกอบด้วยคนไทย จีน มอญ ลาว และแขกมลายูที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม ตั้งบ้านเรือนปะปนกันไป
นอก จากนั้นการขุดคลองตามโครงการรังสิตยังส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกข้าว บริเวณทุ่งรังสิตขยายตัวขึ้น จนเป็นแหล่งปลูกข้าวขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ มีผลผลิตเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 100,000 เกวียน หรือประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณผลผลิตข้าวทั้งหมดของภาคกลาง นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมการปลูกข้าวทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ใน พ.ศ. 2449 ได้มีการนำเครื่องจักรไถนามาทดลองใช้เป็นครั้งแรกที่บริเวณคลองที่ 1 และจัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าวขึ้นเป็นครั้งแรกที่รังสิตเมื่อ พ.ศ. 2450 เพื่อกระตุ้นให้ชาวนาคัดเลือกพันธุ์ข้าว ซึ่งข้าวจากเขตรังสิต ได้รับยกย่องว่ามีคุณภาพดี ตลอดจนมีการตั้งสถานีทดลองพันธุ์ข้าวขึ้นที่รังสิต เพื่อค้นหาพันธุ์ข้าวที่ดีมาแนะนำเกษตรกร
โครงการต่อเนื่องจากโครงการรังสิต
ต่อ มาเมื่อลำคลองได้เริ่มตื้นเขินขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากบริษัทขุดคลองแลคูนาสยามไม่ดูแลซ่อมแซมคลองซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ ขุดคลองตามที่ระบุไว้ในสัญญา จนทำให้ราษฎรอพยพออกจากพื้นที่เป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่ พ.ศ. 2447 จึงเริ่มมีการเสนอให้โอนคลองรังสิตเป็นของราชการ เพื่อจะได้พัฒนาให้เป็นโครงการชลประทานที่สมบูรณ์ต่อไป แต่ทางราชการยังไม่สามารถดำเนินการได้ จนกระทั่งเมื่อสัมปทานขุดคลองของบริษัทขุดคลองแลคูนาสยามหมดอายุลงในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำ โครงการป่าสักใต้ เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำป่าสักมาใช้ในการรักษาปริมาณผลผลิตบริเวณรังสิตตามข้อ เสนอของเซอร์ โทมัส วอร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านชลประทานชาวอังกฤษ โดยเริ่มต้นโครงการเมื่อ พ.ศ. 2458 แต่ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นเสียก่อน จึงต้องเลื่อนโครงการไปก่อสร้างใน พ.ศ. 2463 จนแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2465

หมายเลขบันทึก: 467131เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2011 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Thank you for this insightful information. Especially

"...ต่อ มาเมื่อลำคลองได้เริ่มตื้นเขินขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากบริษัทขุดคลองแลคูนาสยามไม่ดูแลซ่อมแซมคลองซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ ขุดคลองตามที่ระบุไว้ในสัญญา จนทำให้ราษฎรอพยพออกจากพื้นที่เป็นจำนวนมาก..."

Failures to perform duty have been endemic for a long time!

"...คลองมหาสวัสดิ์

...เมื่อขุดคลองเสร็จนั้น รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์จับจองที่ดินว่างเปล่าสองฝั่งคลอง ชุมชนแรก ๆ ที่เข้ามาอยู่ย้ายมาจากริมแม่น้ำนครชัยศรี บริเวณดอนหวาย ดาวคะนอง บางเตย และชาวจีนที่มาขุดคลอง[3] เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ยังได้ให้สร้างศาลาสำหรับประชาชนพักเป็นระยะไปตามริมคลองทุก 100 เส้น เป็นศาลาเขียนตำรายารักษาโรคต่าง ๆ ติดไว้เป็นการกุศล ต่อมาเรียกกันว่า “ศาลายา” คือศาลาที่ 1-4 และ 6-7 ศาลาที่ 7 เรียกกันว่าศาลาดิน กับศาลาที่ 5 สร้างในการกุศลปลงศพคนของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์[4] เรียกกันว่า “ศาลาทำศพ” ปัจจุบันกลายเป็น “ศาลาธรรมสพน์” และเป็นชื่อตำบลกับสถานีรถไฟในเขตตลิ่งชัน และเขตธนบุรี คลองมหาสวัสดิ์ยังมีประตูน้ำที่กรมชลประทานสร้างไว้ 2 ประตู คือประตูน้ำมหาสวัสดิ์ และประตูน้ำฉิมพลี ปัจจุบันยังคงเป็นเส้นทางสัญจรของชาวบ้าน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ..."

< http://th.wikipedia.org/wiki/คลองมหาสวัสดิ์ >

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท