ช่วยด้วยธรรมหรือกิเลส


ในกระบวนการเยียวยาหรือการช่วยเหลือทางด้านจิตใจนั้น

ผู้ให้การช่วยเหลือ ต้องถามตนเองก่อนนะว่า "ที่เราลงมือเยียวยานั้น ใจของเรานั้นเป็นอย่างไร"

ในทัศนะของข้าพเจ้า เชื่อว่า กว่า ๙๐% ของผู้เยียวยามาด้วยหัวใจเต็มร้อย

นั่นก็คือ เป็นผู้ที่มีใจรักและมีความกรุณาอันเต็มเปี่ยมที่จะช่วยเหลือเยียวยาผู้คน ให้ผ่อนคลายออกไปจากความทุกข์ทางใจทั้งสิ้นทั้งปวง

เมื่อไรก็ตามหากผู้เยียวยา ทำงานด้วยใจ เมื่อนั้นจะมีพลังนำพาอย่างมากมาย

และสภาพจิตใจแห่งการทำงาน จะดำเนินไปอย่างไม่ย่อท้อ 

การเยียวยาหรือการช่วยเหลือ

หากว่าเราทำด้วยธรรม จะเป็นสิ่งที่มีพลังอย่างดียิ่ง ใจของเรานั้นจะเต็มไปด้วยความเมตตาและความกรุณา ทำไปแล้วจะไม่ตาดหวังว่าจะต้องได้รับการตอบแทน 

ไม่หวังแม้แต่คำชื่นชม หรือรางวัลใดใดตอบแทน

แต่หากว่าเราทำด้วยกิเลส

ทำไป ช่วยเหลือไปหากไม่เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ใจของเราก็จะขุ่นหมองมัวไป

ทำไปก็จะมีแต่ความไม่ชอบใจ ทำไปโกรธไป หงุดหงิดไป...ต่างๆ นานา

 

ดังนั้น ผู้ให้การเยียวยา...

ต้องคอย ตรวจสอบใจตนเองเสมอว่า ที่เราทำไปนั้น 

"เราทำด้วยธรรม หรือเราทำด้วยกิเลส"

...

๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔

หมายเลขบันทึก: 466839เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2011 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตรงนี้สะท้อนใจติ๋ว กับช่วงแรกที่ลงมือทำงาน แบบทุกข์มากเพราะจมไปกับความโกรธ จนไม่มีปัญญา แต่พอเห็นแล้ว การลงมือดำเนินการต่อแบบเต็มที่เต็มกำลัง เหลือเพียงเหนื่อยเพียงกาย แต่ใจยังมั่นคงค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท