ความคาดหวัง..ความเป็นจริง กับการยอมรับได้..จริงๆๆหรือ?


...ความคาดหวัง...ความเป็นจริง....ความผิดหวัง....กับ...ชีวิตที่ยอมรับได้...จริงหรือ??

 เรียนเพื่อน ๆวันนี้คุยกับเพื่อนเรื่อง “คาดหวัง” มีผู้รู้ได้กล่าวเรื่องความคาดหวังดังต่อไปนี้

ความหมายของความคาดหวัง 

          1. Finn. (1962,p.390) อธิบายว่า   ความคาดหวังหมายถึง  การประเมินค่าบุคคลหรือตนเองด้านจิตใต้สำนึก   และใช้ความคาดหวังนั้นมาเป็นแนวทางในการกำหนดตนเองด้านจิตใต้สำนึก   และใช้ความคาดหวังนั้นมาเป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมที่จะมีต่อบุคคลที่ตนคาดหวัง   หรือต่อตนเองในลักษณะที่ตนคิดว่าถูกต้อง

          2. Funk & Wagnalls. (1963,p.239) อธิบายว่าความคาดหวังหมายถึง  ความคาดหวังต่อการกระทำหรือสถานการณ์  ว่าเป็นความเชื่อมั่นที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าน่าจะมีน่าจะเป็นอย่างที่คิดไว้

          3. Getzels , James & Ronall. (1964, p.390-398) อธิบายว่าความคาดหวังหมายถึง   ความคาดหวังของบุคคลย่อมแตกต่างกัน   เพราะแต่ละคนมีความคิดและความต้องการต่างกัน   อันทำให้พฤติกรรมทางสังคมที่ถูกกำหนดจากความคาดหวังของบุคคลอื่นและความต้องการส่วนตัวของตนเองต่างกันด้วย

          4. Reeder. (1971,p.157)อธิบายว่า ความคาดหวัง   หมายถึง  ท่าทีของบุคคลที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตัว  โดยความคาดหวังหรือความต้องการให้บุคคลนั้น   ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ตนต้องการ

ความสำคัญของความคาดหวัง 

   Russell. (1956,p.156) กล่าวว่า “ความคาดหวังจัดเป็นทัศนคติอีกรูปแบบหนึ่งที่มีผลต่อ...การคิดของบุคคล”


ประเภทของความคาดหวัง 

     Hurlock. (1973,p.184-185) ความคาดหวังที่บุคคลตั้งไว้   มีทั้ง ความคาดหวังในระยะสั้นและความคาดหวังในระยะยาว   และยังมีความคาดหวังในทางบวกและความคาดหวังในทางลบ  ความคาดหวังจะนำไปสู่พฤติกรรมที่แตกต่างกันไป


พลังของความคาดหวัง 

     Hurlock. (1973, p.185-186) ความเข้มข้นหรือความรุนแรงของความคาดหวังขึ้นอยู่กับ เป้าหมาย ที่ต้องการอยู่ใกล้หรือไกลจากตัวเรามากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับความสำคัญของเป้าหมาย   ถ้าหากได้มายากลำบากต้องต่อสู้มากก็จะทำให้เกิดพลังความหวังสูงขึ้น   ส่วนเป้าหมายที่สูงเกินความสามารถ   อาจทำให้เกิดความท้อใจได้  


มิติของความคาดหวัง  

   Bandura (1997,p. 84-85) อธิบายความคาดหวังที่เกี่ยวกับความสามารถบุคคล เป็น 3 มิติ   ดังนี้

          มิติที่ 1 ปริมาณความคาดหวัง (Magnitude) ความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถของตนในการกระทำพฤติกรรมหนึ่งจะแตกต่างไปในแต่ละบุคคล  

          มิติที่ 2 การแผ่ขยาย (Generality) ความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถของตนอาจจะแผ่ขยายจากสถานการณ์หนึ่ง   ไปสู่สถานการณ์อื่นในปริมาณที่แตกต่างกัน       

          มิติที่ 3   ความเข้ม (Strength) ความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถของตนมีความเข้มข้นน้อยคือ ไม่มั่นใจในความสามารถของตน  เมื่อไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง   จะทำให้ความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถของตนลดลง   แต่ถ้ามีความเข้มหรือมั่นใจมากบุคคลจะมีความบากบั่นมานะพยายามแม้จะประสบความล้มเหลวบ้างก็ตาม


พัฒนาการของความคาดหวัง 

    Herlock. (1973,p.187-191) กล่าวว่า ความคาดหวังของบุคคลเกิดได้จาก

      1. การฝึกฝนในวัยต้น (Early Training) ก่อนเข้าสู่วัยรุ่นบิดามารดาจะฝึกฝนให้ลูกได้รับความสำเร็จในตนเอง   โดยบิดามารดาจะตั้งความคาดหวังไว้    

      2. ความทะเยอทะยานของบิดามารดา (Parental  Ambitions) บิดามารดามักจะใฝ่ฝันหรือหวังให้ลูกเป็นอะไร ตั้งแต่เด็กยังไม่คลอด  สิ่งที่บิดามารดาหวังให้ลูกเป็นอย่างไรจะเป็นแบบที่หล่อหลอมความคาดหวังของบิดามารดาที่มีต่อเด็กตลอดชีวิต    

      3. ความคาดหวังจากบุคคลภายนอก (Expectation  of  Significant  Outsiders) ความคาดหวังจะได้รับอิทธิพลจากบุคคลที่คิดว่าสำคัญ

      4.  การแข่งขันกับเพื่อน (Competition  with  Others) ความคาดหวังบางอย่างมีพื้นฐานมาจากการอยากชนะคน

       5.  วัฒนธรรมจารีตประเพณี (Cultural  Traditions) ในสังคมประชาธิปไตย   เชื่อว่าเด็กมีศักยภาพในการคิดและการกระทำ  

       6.  สื่อมวลชน (Mass Media) สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อความคาดหวังของวัยรุ่น   รวมทั้งการรับเอาแบบอย่างของบุคคลในอุดมคติ  

        7.  ประสบการณ์ (Past  Experiences) ถ้าบุคคลมีความจำกัดในประสบการณ์ ทำให้ไม่สามารถประเมินความสามารถที่แท้จริงได้ถูกต้องในด้านความคาดหวัง

        8.   ความสนใจและค่านิยม (Interests  and Values) ความสนใจมีอิทธิพลเหนือความคาดหวัง   2 ประการคือ

          - ความสนใจเป็นสิ่งตัดสินว่าความคาดหวังนั้นพัฒนาขึ้นอย่างไร

          - ความสนใจเป็นสิ่งบอกถึงระดับความคาดหวัง

องค์ประกอบของความคาดหวัง

          Lewin & Others. (1944,p.133) กล่าวว่า  องค์ประกอบพื้นฐาน   ในการสร้างระดับความคาดหวัง   ได้แก่มาตรฐานของสังคม   แรงผลักดัน  ความขัดแย้ง    การตัดสินใจ   ลักษณะของพฤติกรรม   ค่านิยม   ความสำเร็จ   ความล้มเหลว   และพัฒนาการของบุคลิกภาพ


ปัจจัยที่ทำให้ความคาดหวังแตกต่างกัน

          Hurlock. (1973,p.191-194) บุคคลมีความคาดหวังต่างกัน ทั้งสิ่งที่คาดหวังและระดับของความคาดหวัง   อันเนื่องจากปัจจัยต่อไปนี้คือ  วัฒนธรรม (Cultural  Ideals)  ประเภทของครอบครัว (Kind  of  Family)  สถานภาพทางสังคม (Ordinal  Position) วินัย (Discipline) สถานภาพในกลุ่ม (Group  Status) การใช้กลไกทางจิต (Use  of  Escape  Mechanisms) การบอกความคาดหวัง (Verbalization  of  Aspirations) ความล้มเหลวและความสำเร็จในอดีต (Past  failures  and  Successes) เพศ (Sex) เชาว์ปัญญา (Intelligence) บุคลิกภาพ (Personality)


 

       หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านนะคะ
                สมศรี  นวรัตน์
                รพ.บ้านลาด จ.เพขรบุรี
หมายเลขบันทึก: 465582เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2011 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หมายถึงว่า ผลลัพธ์ติดลบเสมอเลยนะครับ

สวัสดครับ

คาดหวังน้อยจะได้ไม่ผิดหวังใช่ไหมครับ

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวความคาดหวังครับ

 เรียน ท่าน อจ.โสภณ เปียสนิท ที่เคารพอย่างสูง

  - ขอบคุณท่านมากที่เป็นแฟนพันธ์แท้...ของหมอเปิ้นจริงๆๆๆๆ...ขอบคุณมากอีกคร้ัง

  - ในความเป็นจริง.....ความผิดหวัง....ผลลัพธ์ "ไม่ได้ติดลบเสมอไป" หลอกนะคะ....

   โดยมีข้อแม้ว่า....ถ้าเรา........

          1) ตัวเราต้อง "ลดความคาดหวัง" ลงบ้าง (ในระดับที่ตัวเรา/คนๆนั้นจะสามารถลดได้/กระทำได้)

         2) ลดตัวหาร  หรือ "ยอมรับความเป็นจริง" (ให้ได้/ให้มากขึ้น).... "ตามความเป็นจริง" ที่เกิดขึ้นแล้ว...ณ.เวลานั้นๆ

         3) มองเรื่อง "ความผิดหวัง" ว่า ===> เป็นเีื้รื่อง "ปกติของมนุษย์ทุกคน"ที่ต้องได้พบ...มาก..น้อยต่างกันไป (ตามกรรม/การกระทำ)

         4) ถ้ามองข้อ 1- 4  คิดว่า "ความผิดหวัง" น่าจะ ==> ตามสมาการ  ที่ได้เขียนไว้นะคะ ลองมาทำข้อที่ 5 ดูนะคะ

          5) การมอง "ความผิดหวัง"  ซึ่งเป็นการมอง "เชิงลบ" (เชิง- ) ก็ขอให้เปลี่ยนเป็น ===> "สิ่งที่ท้าทาย"(Challenge) หรือ เป็น "เชิงบวก" (เชิง+)

    ขออธิบายอย่างนี้ไม่ทราบว่า จะดี...จะถูกหรือไม่? นะคะ ตามสติปัญญาที่มีน้อยนิดนะคะ

         6) สรุปแล้ว===> ก็ควรจะ "การจัดการ" ของ พระพุทธเจ้า คือ..."หลักของธรรมะ"  มาใช้นั้นเอง

  ถ้าจะพูดยาวไปแล้วนะคะ....ยังไงๆๆๆๆๆ....ขอขอบคุณท่าน อจ.โสภณ  ที่มีปฎิสัมพันธ์ทางวิชาการ(Interaction) ..นำไปสู่==> ความรู้ใหม่(New Knowledge)...  แนวคิดใหม่...(New Ideas) นะคะ

       ขอบคุณคะ

 เรียนคุณ ทิมดาบ

    - ถูกต้องแล้วคะ ==> คาดหวังน้อย ==> จะได้ไม่ผิดหวัง

    - แต่==> เป็นเรื่องยากมากคะ ===> ส่วนน้อย ที่คนทำอะไรแล้ว..ที่ไม่มีคำว่า "ไม่คาดหวัง" แต่อยากเป็น "ความหว้งเชิงบวกและสร้างสรรค์" ===> จะดีมากคะ เช่น พ่อแม่ คาดหวัง ในตัวลูก เป็นคนดี เป็นเด็กดีของสังคม

   - ขอบคุณมาก นะคะ สำหรับ คำติชม(Feed Back)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท