พิสิฏฐ์ (PISIT)
อาจารย์ พิสิฏฐ์ (PISIT) วัชรินทร์ ดีบ้านโสก (DEEBANSOK)

ประเภทคดีปกครอง


ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่อง ๖ ประเภท

เขตอำนาจของศาลปกครอง  : ประเภทคดีที่อยู่ในเขตอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

          คดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของศาลปกครอง  หากผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดิอดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒  หากท่านมีความประสงค์จะพึ่งความยุติจากศาลปกครอง  ควรจะได้ทราบประเภทของคดีที่จะพึ่งบารมีของศาลท่านเป็นเบื้องต้นก่อน  คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองจำแนกออกเป็น ๖ ประเภท  ดังนี้            

(๑)  คดีที่พิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่จะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือกระทำการอื่นใด  เนื่องจากกระทำโดยเหตุ  ๘ ประการ  (๑.๑) ไม่มีอำนาจ หมายความว่าไม่กฎหมายฉบับใดให้อำนาจไว้เลย หรือมีกฎหมายให้อำนาจแต่ผู้ออกกฎหรือคำสั่ง เป็นผู้ที่กฎหมายมิได้ระบุ หรือกฎหมายให้อำนาจแต่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย  (๑.๒) กระทำการนอกเหนืออำนาจ  หมายความว่า ผู้ออกกฎหรือคำสั่งกระทำการนอกเหนือที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติได้  (๑.๓) ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หมายความว่า ข้อความในกฎหรือคำสั่งมีความขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่สูงกว่า  (๑.๔) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น เช่น รมว.ออกกฎกระทรวงต้องผ่าน ครม. คำสั่งทางปกครองที่กระทบสิทธิหรือเสรีภาพบุคคลต้องผ่านการรับฟังคู่กรณี หรือการออกคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือจะต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย  (๑.๕) โดยไม่สุจริต หมายความถึง การออกกฎหรือคำสั่งทางปกครองฯ เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือพรรคพวก  (๑.๖) เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม  หมายความว่า อธิบายด้วยเหตุผลไม่ได้อย่างสมเหตุสมผล  (๑.๗) มีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร  พิจารณาตามหลักความได้สัดส่วน  (๑.๘) ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ

(๒)  คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

(๓)  คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร  ซึ่งหมายความว่า จะต้องเป็นการละเมิดใน ๓ ลักษณะ มิฉะนั้นแล้วต้องไปฟ้องที่ศาลยุติธรรม 

(๔)  คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง   สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลที่กระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธาณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ 

(๕)  คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

(๖)  คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง 

 

คำสำคัญ (Tags): #ศาลปกครอง
หมายเลขบันทึก: 464467เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท