กระบวนการตรวจสอบและรักษาโรคเล็บเท้าติดเชื้อรา (Tinea Unguium)


การกรอเล็บจะช่วยลดระยะเวลาในการกำจัด seed ของเชื้อรา จากเดิมที่ต้องรอจนกว่าเล็บจะงอกยาวออกมาจนสามารถตัดเล็บส่วนที่มี seed ทิ้งไปได้ เราก็จะสามารถทำการทำลาย seed ของเชื้อราได้โดยตรงจากการกรอส่วนบนของเล็บที่มี seed อยู่นั่นเอง วิธีการนี้จะเป็นการประหยัดเวลาในการรักษา และช่วยให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากการที่ยังมี seed ของเชื้อราอยู่นั้น ยิ่งผ่านเวลาไปนานเท่าไหร่ โอกาสที่เชื้อราจะกลับมาแพร่กระจายอีกก็มากขึ้นตามไปด้วย

กระบวนการตรวจสอบและรักษาโรคเล็บเท้าติดเชื้อรา (Tinea Unguium)

โดย ธนพร ตันประเสริฐ และ ยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์ 

รูปที่ 1  คุณหมอวินิจฉัยและพูดอธิบายให้คนไข้เข้าใจเรื่องเล็บเท้าติดเชื้อรา

 

เมื่อคนไข้ได้เข้ามาทำการตรวจรักษา คุณหมอจะเริ่มจากการสอบถามประวัติเพื่อหาที่มาของโรคเล็บเท้าติดเชื้อรา (Tinea Unguium) โดยคำถามนั้นมีจะมีเช่น

- สังเกตเห็นความผิดปกติเมื่อไหร่

- มีการแสดงอาการเช่นใดบ้าง

- ได้ทำกิจกรรมใดบ้างที่ผิดแปลกไปจากปกติ

ฯลฯ

นอกจากนี้แล้วคุณหมอยังได้ทำการสังเกตและบันทึก ทั้งลักษณะ ขนาด รวมถึงบริเวณที่เชื้อราอาศัยอยู่ โดยข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกนำไปพิจารณาควบคู่กับผลตรวจจากแล็บเพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม แนะนำวิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง พร้อมทั้งใช้เพื่อติดตามผลการรักษาอีกด้วย

 

เล็บเท้าติดเชื้อรานั้นจะมีลักษณะโดยทั่วไปคือ เล็บจะมีความหนาขึ้นผิดปกติ ตัวเล็บจะเปลี่ยนสีไป อีกทั้งสีของเล็บจะทึบไม่มันเงา และมีรูปเล็บที่บิดเบี้ยวไป

  

รูปที่ 2 ตัวอย่างของเล็บเท้าติดเชื้อรา [1,2] 

การเก็บตัวอย่างของเชื้อราเพื่อนำมาตรวจหาประเภทของเชื้อรานั้นสามารถทำได้โดยการตัดเล็บส่วนที่เป็น Free edge หรือส่วนสีขาวออกจนกระทั่งถึง Nail plate เพื่อเก็บตัวอย่างของเนื้อเยื่อและเล็บบริเวณนั้นซึ่งมีโอกาสที่จะมีเชื้อราอาศัยอยู่สูงกว่าบริเวณ Free edge หลังจากนั้นตัวอย่างก็จะถูกนำไปเพาะเชื้อเป็นเวลา 3-6 สัปดาห์ ก่อนจะสามารถนำมาเพื่อส่องหาและเปรียบเทียบลักษณะว่าเชื้อรานั้นเป็นเชื้อราประเภทใดกันแน่ การรู้ประเภทของเชื้อรานั้นมีความสำคัญต่อการรักษาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยาแต่ละชนิดก็จะส่งผลกับเชื้อราแตกต่างกันออกไป การรู้ประเภทของเชื้อราจะสามารถทำให้สามารถจ่ายยาที่ตรงกับประเภทของเชื้อรานั้นๆ และตัวยาก็จะสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รูปที่ 3 การเก็บตัวอย่างของเนื้อเยื่อและเล็บ

รูปที่ 4 นำตัวอย่างเนื้อเยื่อและเล็บมาเพาะเชื้อ

 

รูปที่ 5 นำเชื้อราที่เพาะได้ มาตรวจหาชนิดของเชื้อรา เพื่อหายากำจัดโดยเฉพาะ

 

นอกจากการรักษาโดยการจ่ายยาแล้ว คุณหมอยังได้ทำการรักษาโดยการ “กรอเล็บ” เนื่องจากยาที่ใช้รักษานั้นมีหน้าที่เพียงหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา (ยาในกลุ่ม fungostatic)  ไม่ได้ทำลายเชื้อรานั้นไปโดยสิ้นเชิงเหมือนยาในกลุ่ม fungicidal ดังนั้นการรักษาโดยการกรอเล็บก็จะเข้ามาชดเชยหน้าที่ในส่วนที่ยาไม่สามารถทำได้โดยจะช่วยทำลายตัวต้นตอของเชื้อราหรือส่วน seed ของเชื้อราให้สิ้นซากไป

รูปที่ 6 กายวิภาคของเล็บ (ด้านตัดขวาง) [2]

 

เพื่ออธิบายหลักการรักษาด้วยการกรอเล็บให้สามารถเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของเล็บก่อน การงอกเพิ่มขึ้นของเล็บนั้นเกิดขึ้นที่ส่วน Nail Matrix และเมื่อเล็บใหม่ได้งอกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ Nail Plate ก็จะถูกดันออกไปกลายเป็นส่วนของเล็บสีขาวหรือ Distal edge of Nail Plate ที่เรามักจะตัดทิ้งกันและในการนี้ seed ของเชื้อราก็จะถูกดันออกไปเรื่อยๆ เช่นกัน (ดังภาพ 7)

 

รูปท่ี 7 แสดงการงอกของเล็บ

 

การกรอเล็บจะช่วยลดระยะเวลาในการกำจัด seed ของเชื้อรา จากเดิมที่ต้องรอจนกว่าเล็บจะงอกยาวออกมาจนสามารถตัดเล็บส่วนที่มี seed ทิ้งไปได้ เราก็จะสามารถทำการทำลาย seed ของเชื้อราได้โดยตรงจากการกรอส่วนบนของเล็บที่มี seed อยู่นั่นเอง วิธีการนี้จะเป็นการประหยัดเวลาในการรักษา และช่วยให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากการที่ยังมี seed ของเชื้อราอยู่นั้น ยิ่งผ่านเวลาไปนานเท่าไหร่ โอกาสที่เชื้อราจะกลับมาแพร่กระจายอีกก็มากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งการกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ว่ายาใดๆ ก็ตาม ต่างก็ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกาย เช่น อาจจะทำให้ตับต้องทำงานหนักขึ้น เป็นต้น ทั้งสิ้น 

 

รูปที่ 8 กรอเล็บ

 

รูปที่ 9 กรอเล็บ

 

Cladosporium spp.-A113499 IMG_0036

E.floccosum-A112630(2)

Fusarium spp.-A113823(4)IMG_0093

Hendersonula toruloidea-A114844(4)IMG_0105

M.canis-A113616 IMG_0078

M.canis-B114293(2)IMG_0110

T.mentagrophytes-A113321 IMG_0050

T.mentagrophytes-A113601(2)IMG_0436

T.rubrum-B113176(1)IMG_0320

 

 

อ้างอิง

[1] http://www.nail-shops.net/wp-content/uploads/2011/07/Fungal-nail-treatments.jpg

[2] http://media.clinicaladvisor.com/images/2008/11/10/nail1108_31808_31811.gif

[3] http://purnail.com/nail-anatomy-diagram-cross-section.jpg

 

 

คำสำคัญ (Tags): #tinea ungium
หมายเลขบันทึก: 463309เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2011 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็น petri dish แล้วขนลุกเลย - -" น่ากลัวจริงๆๆ ไม่นึกว่าเชื้อมันจะน่ากลัวได้ขนาดนี้

อาจารย์ค่ะต้องทายาด้วยหรอ ถ้าตัดเล็บอย่างเดียวมันไม่หายหรอค่ะ เพิ่มทราบเลยอ่ะ

เห็นพี่ๆกรอเล็บแล้วมันมือจังคิดถึงคนที่บ้าน อยากสมัครเป็นคนกรอเล็บจังต้องเรียนอะไรหรอคะถึงจะได้ไปทำอย่างนั้น หากมีกิจกรรมต้องการผู้ช่วยแจ้งได้นะคะ เพราะชอบงานทำความสะอาดเล็บเท้ามากๆเลยคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท