วิธีวิทยาการวิจัย และศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ
วิธีวิทยา (Methodology) หมายถึง วิทยาการหรือการศึกษาที่มีระบบเกี่ยวกับวิธีการหรือเทคนิควิธี คำว่า “วิธีวิทยาการวิจัย” จึงมีความหมายครอบคลุมระเบียบวิธีดำเนินการทุกขั้นตอนในการวิจัย
ได้แก่ การกำหนดปัญหาวิจัยการศึกษาและรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การกำหนดสมมติฐานการวิจัย การกำหนดกลุ่มประชากรและการเลือกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือวิจัย การรวบรวม การนำเสนอ การวิเคราะห์และการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งรวมอยู่ในวิธีวิทยา ทางสถิติ ตลอดจนเทคนิควิธีการวัดและการประเมินผล
วิธีการวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิจัยการศึกษามี 2 ประเภท คือ
- วิธีวิทยาการวิจัยขั้นพื้นฐาน
- วิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง
วิธีวิทยาการวิจัยขั้นพื้นฐาน มีเนื้อหาสาระครอบคลุมเฉพาะด้าน ได้แก่
- วิจัยแบบบรรยาย (descriptive research)
- การวิจัยทดลอง/การวิจัยกึ่งทดลอง (experimental/quasi- experimental research) ที่มีแบบแผน
- ด้านการวัดที่ใช้ทฤษฎีการวัดแบบดั้งเดิม (classical test theory)
- ด้านการประเมินผลเฉพาะหลักการและโมเดลเบื้องต้นในด้านสถิติ
วิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง มีเนื้อหาสาระครอบคลุมแบบแผนการวิจัยที่ซับซ้อนมากขึ้น
- ด้านการวัดมีสาระเกี่ยวกับทฤษฎีรายข้อ (item response theory) และการประยุกต์ใช้
- ด้านการประเมินผลมีเทคนิควิธีการและโมเดลการประเมินใหม่ๆ
- ด้านสถิติมีเทคนิคการวิเคราะห์กับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ตัวแปรพหุนาม (multivariate relationship)
วิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูงด้านการวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิจัย มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- มีการคำนวณอย่างเข้มข้น ต้องมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการปฏิบัติงาน
- บูรณาการจากวิธีวิทยาการวิจัยหลายสาขา
- ลักษณะวิธีวิทยาการวิเคราะห์ที่มีการผ่อนคลายข้อตกลงเบื้องต้น (relax assumptions)
- ลักษณะวิธีวิทยาการวิเคราะห์ที่ใช้งานได้กว้างขวาง มีความทั่วไป (generality) มากขึ้น
- ลักษณะวิธีวิทยาการวิคเราะห์มีความถูกต้อง และมีความไว (accuracy
and sensitivity)
มีความแกร่ง (robust) มากขึ้นกว่าเดิม
วิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง ครอบคลุมวิธีวิทยาการ 4 ด้าน คือ
- ด้านการกำหนดแบบแผนการวิจัย
- การวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) และการวิจัยเพื่อวางแผนการศึกษา
- การวิจัยเชิงจำลอง (Simulation Research)
- การวิจัยอนาคต (Future Research) ได้แก่ การวิจัยอนาคตแบบ (Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR)) การวิจัยโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ (Cross-Impact Analysis) การวิจัยโดยใช้เทคนิคการสร้างภาพอนาคต (Scenarios) การวิจัยโดยใช้กระบวนการอนาคตปริทัศน์ (Future Scanning Process)
- การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้แก่ การศึกษาหลายกรณี และการศึกษาหลายพื้นที่ (Multicase and Multisite Studies) เทคนิคการวิจัยโดยการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group Research) การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
- การสังเคราะห์งนวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-Analysis)
- การศึกษาหน่วยตัวอย่างเดียว (Single Subject Study)
3. วิธีวิทยาด้านการวัดและประเมิน วิทยาการด้านการวัด ได้แก่ ทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ (Item – Response Theory = IRT) และวิธีวิทยาการวัดด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Educational Measurement)
การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
1. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative
Research) มีรากฐานมาจากปรัชญาแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม
(Naturalism)
เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ
เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ
และสรุปต่างๆ
มีการใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น
แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต
การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น
ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
2. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative
Research) มีรากฐานมาจากปรัชญาแนวคิดแบบปฏิฐานนิยม
(Phenomenalism) เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษาสังเกต
และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก
ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม
และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์
ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์
แหล่งอ้างอิง
- มนัส สุวรรณ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. พิมพ์ที่ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ , กรุงเทพฯ . 2544.
- ยุทธ ไกยวรรณ์ . พื้นฐานการวิจัย (ฉบับปรับปรุงใหม่) . สุวีริยาสาส์น, กรุงเทพฯ . พิมพ์ครั้ง ที่ 4 . 2545.
- รัตนะ บัวสนธ์. (2552) ปรัชญาวิจัย. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- http://www.tu.ac.th/org/socadm/sw224/cd61603/assignment2/apai2.htm