จีน : การสร้างฐานะของสาธารณรัฐประชาชนจีน กับทางเลือกใหม่ในภาวะสงครามเย็น (ค.ศ. 1945 – 1980)


ในขณะที่โลกต้องประสบกับภาวะสงครามเย็น (ค.ศ. 1945 – 1991)  ที่เป็นสงครามทางอุดมการณ์ทางความคิดระหว่างลัทธิคิมมูนิสต์ที่นำโดยโซเวียตรัสเซียกับกับฝ่ายเสรีนิยมที่นำโดยอเมริกา ใวนระหว่างที่สองมหาอำนาจแสวงหาพรรคพวกโดยการให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและการทหาร แข่งขันทางด้านการข่าว และเร่งผลิตอาวุธร้ายแรง แต่จีนกลับสร้างประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนเกิดความั่นคงและกลายเป็นทางลือกใหม่ของประเทศโลกที่สาม จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจได้ในที่สุด อธิบายได้ดังนี้

 

การสร้างฐานของสาธารณรัฐประชาชนจีน 

                ปี 1949 – 1955  ช่วงแห่งการฟื้นฟูประเทศ

                ปี 1945 จีนได้เปผลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมูนิสต์ พร้อมกับดำเนินนโยบายกระซับมิตรกับสหภาพโซเวียตโดยลงนามใน สนธิสัญญาสันติภาพ 30 ปี มีสาเหตุสำคัญคือ รัฐบาลคอมูนิสต์จีนยังไม่มีประเสถียรภาพที่ดีพอในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ เพราะเพิ่งสิ้นสุดสงครามที่ญี่ปุ่นรุกราน และสงครามกาลางเมืองกับฝ่ายจีนคณะชาติ  เศรษฐกิจจีนทรุดโทรมจนไม่สามารถช่วยตนเองได้ ดังนั้น สหภาพโซเวียตซึ่งเป็นผู้นำของโลกคอมมูนิสต์จึงเข้ามาช่วยเหลือจีนตั่งแต่ปี ค.ศ. 1945 – 1954  แต่จีนมุ่งให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศมากกว่าการเผยแพร่ลัทธิคอมมูนิสต์ไปต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน จีนก็ไม่เข้าร่วมกับฝ่ายโลกเสรีที่นำโดยอเมริกาที่สนับสนุนจีนคณะชาติ จีนมองว่าอเมริกาและจีนคณะชาติจะเข้าแทรกแซง

                ปี 1955 – 1965 ช่วงแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

                จีนมีความมั่นคงทางการเมืองแล้ว จึงให้ความสนใจในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ แต่นโยบายการสนับสนุนบวนการคอมมูนิสต์ในภูมิภาคต่าง ๆ เช่นทำให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างพรมแดน ธิเบตและอินเดียในช่วงปี ค.ศ. 1957-1961 อีกทั้งผู้นำจีนและรัสเซียเกิดความขัดแย้งกัน ในปี ค.ศ. 1961 จีนจึงดำเนินนโยบายอิสระไม่ขึ้นกับรัสเซียอีกต่อไป และพร้อมจะแข่งขัน

                จีนสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศที่กำลังพัมนาโดยสร้างกระแสต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมไปพร้อม ๆ กับการให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจการเมืองแก่ ปากีสถาณ อัฟกานิสถาณ พม่า รีลังกา และเวียดนาม โดยเน้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรม และการค้าขาย จนประเทศต่าง ๆ เหล่านี้กลายเป็นฐานเสียงที่สำคัญในเวทีองค์การสหประชาชาติ จีนได้เข้าร่วมในปี 1965

                ปี 1965 -1976  ยุคแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอันเข้มแข็งและการปฏิวัติวัฒนธรรม

                จีนปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ ก่อให้เกิดความไม่สงบจากกลุ่มอุรัษณ์นิยมและกลุ่มหัวก้าวหน้า มีการปราบปรามอย่างรุนแรง ทำให้เศรษฐกิจถดถอย ภาพพจน์ในสายตาชาวโลกไม่ดีนัก อีกทั้งยังเกิดกรณีพิพาทระหว่างพรมแดนกับรัสเซียช่วงทศวรรษที่ 1970 จีนจึงกลับมาให้ความสัมพันธ์กับการสร้างมิตรประเทศอีกครั้ง เช่นการสร้างความสัมพันธ์กับแคนนาดา อีกทั้งในปี ค.ศ. 1970 จีนได้เชิญนักปิงปองของอมเริกาเข้ามาแข่งขันกับนักปิงปองในจีน เรียกว่า “ทูตปิงปอง” จนนำไปสู่ แถลงการเซี่ยงไฮ (Shang Communique) เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับโลกเสรีครั้งสำคัญ

                ปี 1976 – 1979 การปฏิวัติทางการเมือง และการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจโลก

                เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ คือ นายโจวเอินไหล และเหม๋าเจอตุง ได้เสียชีวิตลง เกิดการแย่งชิงอำนาจภายในพรรคคอมมูนิสต์ กลุ่มนาย หว่างโก๊ะฟง (ฮั่วกั๋วเฟิง ) และ เต้งเสี่ยวผิง มีชัยชนะ รัฐบาล “หว่าง-เต้ง” มีนโยบายบริหารประเทศแบบ สี่ทันสมัย (Four Modernization) คือ

                 -  พัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                 -  ปฏิวัติโครงสร้างการปกครองของรัฐบาลกลาง จัดตั้งองค์กรต่าง ๆ ภายในพรรค

                 -  ลดอำนาจข้าราการ  สร้างระบบเกษียญอายุ เปิดโอกาสให้นรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน ปราบปรามคอร์รัปชัน

                 -  ใช้ระบบสหกรณ์แทนระบบคอมมูนส์

                ทางด้านการเมือวจีนยังรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ โดยใช้ “ทฤษฎีสามโลก” (Theory of Three World) แบ่งโลกออกเป็นสามกลุ่มคือ

                โลกที่ 1 : กลุ่มมหาอำนาจ เป็นประเทศจักรวรรดินิยม เช่น เอมริกา รัสเซีย

                โลกที่ 2 : กลุ่มจักรวรรดินิยมชั้นรอง ได้แก่ แคนนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรีย นิวซีแลนด์และบางประเทศในยุโรป

                โลกที่ 3 : กลุ่มประเทสกำลังพัฒนา ที่อยู่ใน เอชีย แอฟริกา และ อเมริกา

                จีนให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศโลกที่สาม เชื่อว่า เป็นกลุ่มที่มีพลังในการปฏิวัติ และมีพลังในการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองระหว่างประเทศได้ จีนจึงเป็นทางเลือกใหม่ให้กับประเทสโลกที่สาม โดยสร้างความสัมพันธ์เข้าไปช่วยเหลือ ทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม มากกว่าจะมุ่งเข้าครอบงำอุดมการณ์ทางการเมือง

                กล่าวโดยย่อ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 จีนได้พัฒนาประเทศขึ้นมาตามลำดับทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจปี ค.ศ. 1976 ทำให้รายได้มวลรวงมของประเทศเพิ่มขึ้น จีนมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นอันดับ 6 ของโลก 

               ปัจจุบัน จีนกลายเป็นมหาอำนาจโลก ทางวด้านเศรษฐกิจ จีนมีประชาการมากกว่า 1,300 ล้านคน จึงมีกำลงในการซื้อมาก ทั้งโลกอยากค้าขายกับจีน จีนมีอำนาจต่อรองมหาศาล และจะกลายเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกในอีกไม่นาน

 

 

เติ้งเสี่ยวผิง

 

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

หนังสือประกอบการเขียน

มาตยา อิงคนารถ. ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ = History of modern China : HI 462. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2540.

น้ำเงิน บุญเปี่ยมโลกร่วมสมัย = Contemporary world : HI 405. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.

http://th.wikipedia.org/wiki/เติ้ง_เสี่ยวผิง.

 

หมายเลขบันทึก: 458104เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2011 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แก้ไขตรงนี้ดวยครับ

จีนมีประชาการมากกว่า 1,300 คน

ตกคำว่าล้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท