สาระสำคัญโมเดลคุณภาพ


สาระสำคัญของโครงการพัฒนาโมเดลการจัดการคุณภาพ
                        แผนที่ความคิดกับสัมผัสทั้ง  5

Mind  Mapping  with The  Five  Sense



      1. ความเป็นมาและความสำคัญ
              ทุกคนย่อมต้องการพัฒนาความสามารถทางด้านความจำหรือมีปัญหาในการจำและความสามารถในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันของสมองที่มีเซลล์เป็นล้าน ๆ  เซลล์ต่างนั้นร่วมเป็นเครือข่ายซึ่งสมองซีกและซีกขวาที่มีระบบการทำงานที่แตกต่างกันสมองซีกซ้าย  เป็นเกี่ยวกับเรื่องรายการ  ลำดับ  เหตุผล  เส้น  ตัวเลข  คำ  และการวิเคราะห์   ส่วนสมองซีกขวานั้น มิติ   จังหวะ   การมีจินตนาการ   สี  ภาพรวม    การสังเคราะห์   ซึ่งจากการวิจัยที่เกี่ยวกับสมองพบว่าคนเรามีวิธีการเรียนรู้ในการจดบันทึกเป็นเส้นตรงและในสมองซีกซ้ายเพียงด้านเดียวโดยเด็ก ๆสามารถมองจินตนาการได้ดีกว่าผู้ใหญ่   ทำไมการเรียนการสอนชอบให้นักเรียนจดตามครูในกระดานแล้วนำไปท่องแล้ว แทนที่จะให้นักเรียนสรุปหรือค้นคว้าทำเป็นแผนที่ความคิดหรือแผนผังทางด้านความคิด Mind  Mapping                   เพื่อพัฒนาสมองซีกขวาโดยเฉพาะในการจดจำคำศัพท์ในบทเรียนการจดตามครูในกระดานกับครูเป็นผู้ป้อนแล้วให้นักเรียนสรุปหาคำศัพท์ขึ้นมาเองจากบทเรียนแล้ววาดภาพ  ใช้สีสันที่สวยงามตามใจชอบ  ลากเส้นตามความต้องการเรียงลำดับก่อนหลัง  แล้วทำให้จินตภาพออกแล้ว  สามารถจำศัพท์ในภาษาต่าง ๆ    ได้มากขึ้น  โดยจะต้องเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่เด็ก ๆ  ไม่ต้องท่องศัทพ์แบบนกแก้วนกขุนทอง  เป็นการต่อยอดพัฒนาอาจมีการใช้สัมผัสทั้ง  5  ในการออกเสียงคำศัพท์สนุกไปกับระบบเสียง  การแสดงกิริยาท่าทางของนักเรียน  การดมกลิ่น   การดู   สัมผัสด้วยมือ  การรับรส  เป็นต้น ในการทำ Mind  Mapping  ได้ด้วย

            จุดเริ่มต้นของการพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ในวิชาภาษาต่างประเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  พบว่าส่วนใหญ่จดตามครูในกระดานดำให้เด็กอ่านครูอ่านให้ฟังแล้วนักเรียนอ่านและออกเสียงตามครูนักเรียนอาจว่าตามครูแต่ว่าตามไปอย่างนั้นแต่พอเริ่มถามว่าคำนี้อ่านว่าอะไรทุกคนจะนิ่งไปพักหนึ่งกว่าตอบหรือ หรือตอบไม่ได้เลยเพราะบังคับให้จำ  แต่ถ้าทำเองเป็นผังความคิดเอง  Mind  Mapping  หรือสรุปเรื่องที่เรียนมาแล้ว และจดจำระบบเสียงโดยสนุกไปกับเสียงในภาษาอังกฤษพร้อมทั้งมีการแสดงท่าทางของนักเรียนและอาจให้นักเรียนได้สัมผัสแตะต้องอาจจะสิ่งของในคำศัพท์ที่เรียนมาประกอบการเรียนการสอนทวนคำศัพท์บ้างจาก     Mind  Mapping   ที่นักเรียนไปเรียนมา

            สำหรับปัญหาที่แท้จริงคือการจดจำศัพท์แบบเดิมนักจำคำศัพท์ไม่ได้  เด็กชอบวาดรูปใช้จินตนาการ  ระบายสี  ทำเส้น  ตกแต่ง  เพราะบุคคลที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะจำเป็นภาพคือจะมีการวาดภาพในการช่วยจำ

            ความสำคัญของการพัฒนาความสนใจในการจดจำนั้นร่วมมีความสำคัญกับเศรษฐกิจและสังคมถ้าทุกคนนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาเชื่อมโยงในการแก้ปัญหาขัดแย้งทางด้านความคิด  โดยการทำเป็น  Mind Mapping   ดังที่  ศ.นพ. ประเวศ  วะสี  กล่าวว่า“  ปัญหาสำคัญที่สุดของมนุษย์คือ การเห็นแบบแยกส่วน  คิดแบบแยกส่วนและทำแบบแยกส่วนทำให้เขาไปติดอยู่อย่างน่าสลดสังเวช  นำไปสู่การไม่เป็นปกติละวิกฤต  หวังว่าจะใช้แผนที่ความคิด หรือ  Mind  Mapping   นี้นำไปสู่การเห็นทั้งหมด  คิดอย่างเชื่อมโยง   และทำอย่างเชื่อมโยงหรือบูรณาการ  เพื่อทำให้ชีวิตแลวิกฤตมีการพัฒนาอย่างยั้งยืน” 

ในการการพัฒนาความสามารถในการจดจำสามารถทำการวิจัยนักเรียนไม่สามารถคิดอย่างเป็นระบบได้รู้จักเพียงท่องจำไม่มีการจัดระบบความคิด เป็นการเรียนที่น่าเบื่อการเรียนที่สนุกไปการเล่นการคิดแบบเชื่อมโยงความคิด  ช่วยด้านความจำ  รู้จักการวิเคราะห์    สังเคราะห์ในบทเรียน  นักเรียนจะต้องคิดเป็น  ทำเป็น  แก้ปัญหาเป็น  การพัฒนาความสามารถของเด็กถ้าได้เริ่มการคิดอย่างเป็นระบบสมองเกิดการพัฒนา  สามารถทำสิ่งรอบตัวได้เพิ่มมากขึ้น  เพราะการเรียนรู้ของเด็กมีมากพัฒนาเพิ่มขึ้นถ้าครูให้โอกาสให้ลองฝึกทำตั้งแต่ยังเด็ก

 

2. โจทย์และคำถามวิจัย

     2.1  โจทย์วิจัย 

การพัฒนาความสามารถในการจดจำศัพท์ในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2 โดยการใช้ Mind  Mapping  with The  Five  Sense

 

2.2  คำถามวิจัย

นักเรียนงง  ไม่เข้าใจ   ไม่ตั้งใจเรียน   สนในสิ่งอื่น   คือทำอย่างไรในความเป็นครูเรียกความสนในใจจากเด็กเหล่านั้นให้หันมาสนใจในเนื้อหาที่เรียน   ยิ่งถ้าเป็นวิชาที่เขาไม่ชอบแล้วการที่จะทำให้ชอบนั้นเป็นเรื่องที่อยากสำหรับเด็กนักเรียน  ครูทำอย่างไร?     นักเรียนทำอย่างไร  ?    เดินทางสายกลางดีที่สุด    ครูมีหน้าที่สอน สรุป  นักเรียนจากเรื่องที่เรียนหรือคำศัพท์วันนี้มาส่งครูเป็นการบ้าน เป็น    Mind  Mapping with The  Five  Sense   การปลูกฝังการคิดอย่างเป็นระบบภาพทำให้พัฒนาศักยภาพของนักเรียนไปในทางที่ดีด้วย  นักเรียนจำศัพท์ไม่ได้  ปัจจัยจากนักเรียนไม่สนใจเรียน    ไม่มีสื่อการสอน   น่าเบื่อ    โดยเป้าหมายแล้วเพื่อพัฒนาความ

สามารถในการจดจำออกมาโดยอาศัย    แผนที่ความความคิด Mind  Mapping  with The  Five  Sense   โดยการเชื่อมโยงคำศัพท์ต่าง   ๆ  โดยอาศัยจินตนาการ  สำหรับเด็กแล้วเรื่องที่ง่าย ๆมาก ให้นักเรียนมองเห็นภาพรวมของคำศัพท์ในบทเรียนโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้  

จากmodel ที่ศึกษาสามารถจดจำศัพท์ได้อย่างไรการจดจำศัพท์ได้มากนั้นเราผู้ให้ต้องทำตัวเหมือนเด็ก  แค่ใช้จินตนาการและสัมผัสทั้ง  5  The  Five  Sense  มากกว่าการใช้พื้นที่สมองในการจำเพียงแค่เริ่มคิดเริ่มทำ

 

3. เป้าหมายและวัตถุประสงค์การวิจัย
เป็นการเชื่อมโยงจากโจทย์และคำถามวิจัยมากำหนดเป็นเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของเรื่องที่วิจัยโดยทั่วไปจะแยกเป็น
3.1   เป้าหมายของการวิจัย

         การพัฒนาความสามารถจดจำคำศัพท์วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้แผนที่ความคิดกับสัมผัสทั้ง 5     Mind Mapping  with  The  Five  Sense   นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี  2  จำนวน  13  คน   โรงเรียนบ้านคลองตูก

 

3.2  วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.  เพื่อส่งเสริมการวิเคราะห์สังเคราะห์และการโยงเชื่อมความคิด
2.  เพื่อพัฒนาการจดจำศัพท์ในบทเรียน

3.  เพื่อเสริมสร้างการจดบันทึกให้เป็นภาพ

4.  เพื่อพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

5.  เพื่อจัดการกับปัญหาได้อย่างเป็นระบบยืดหยุ่น

 

 

4. นวัตกรรมที่พัฒนา

  -  นวัตกรรมที่ใช้  คือ     แผนที่ความคิดกับสัมผัสทั้ง 5     Mind Mapping  with  The  Five  Sense   

    W – Who ใคร       การพัฒนาความสามารถของนักเรียนในการจดจำคำศัพท์โดยใช้แผนที่ความคิด

SAT  Mind  Mapping 

    W – What – อะไร    การพัฒนาทางด้านความจำ ความสามารถให้เป็นภาพรวมคิดอย่างเป็นระบบ  การเชื่อมโยงคำศัพท์เพื่อพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์  การจดจำศัพท์ในบทเรียน  พัฒนาด้านสมอง  สามารถนำไปปรับใช้ได้ในงานทุกระบบเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการเรียนเพิ่มมากขึ้น

   W – Where ที่ไหน    ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนบ้านคลองตูก    จำนวน  13  คน

   W – When – เมื่อไร  นักเรียนต้องการมีความรู้ความเข้าใจพัฒนาการจดจำศัพท์เพิ่มมากขึ้น  การมองภาพรวมทำให้มองเห็นศักยภาพของตนเองรูปภาพและเส้นสีการแตกกิ่งจะทำให้สนใจเทคนิคการ  Mind  mapping   เชื่อมโยงคำศัพท์การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือ ความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า“ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและสนุกกับการออกเสียง  การแสดงท่าของนักเรียน  การได้สัมผัสในรูป  รส  กลิ่น  เสียง    เป็นต้นกับคำศัพท์ที่ได้เรียน”  Mind Mapping  with  The  Five  Sense   

   W – Why – ทำไม   เลือกใช้นวัตกรรมนี้เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จดจำศัพท์และมองภาพในภาพรวม  การใช้เส้น  สี  ภาพวาดต่าง ๆ  การออกเสียง  แสดงอากัปกริยาต่าง ๆ และเรียนไปพร้อมกับการได้แตะต้องกับสิ่งที่นักเรียนว่านี้หรือคือการเรียนที่สนุก

 How  อย่างไร  ลักษณะการเขียนผังความคิด เทคนิคการคิดคือ นำประเด็นใหญ่ หลัก แล้วต่อด้วยประเด็นรองในชั้นถัดไป

-หัวเรื่องที่เป็นข้อใหญ่ใจความได้รับการกลั่นกรองจนตกผลึกเป็นภาพ  “แก่นแกน” ตรงกลาง
-ประเด็นสำคัญกระจายเป็นรัศมีออกมาเป็น  “ก้าน” หรือ กิ่งแก้ว  แตกแขนงออกจาก  “แก่นแกน”
-กิ่งที่แตกแขนงออกมาแต่ละกิ่งรองรับ  คำไข/ภาพ โดยมีเส้นเชื่อมเป็นรายละเอียดออกมารอบๆ
-กิ่งก้านต่างๆต้องเชื่อมต่อยึดโยงกันดุจกิ่งไม้หรือรากไม้

-ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด

-เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน

-คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ

การสร้าง Mind Mapping
        1.   เริ่มด้วยภาพสีตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
        2.   ใช้ภาพให้มากที่สุดใน Mind Mapping ของคุณ ตรงไหนที่ใช้ภาพได้ให้ใช้ก่อนคำ หรือรหัส    เป็นการช่วยการทำงานของสมอง ดึงดูดสายตา และช่วยความจำ
       3.    ควรเขียนคำบรรจงตัวใหญ่ๆ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ จะช่วยให้เราสามารถประหยัดเวลาได้ เมื่อย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง
      4.   เขียนคำเหนือเส้นใต้ แต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่นๆ เพื่อให้ Mind Map มีโครงสร้าง
พื้นฐานรองรับ
     5.   คำควรมีลักษณะเป็น "หน่วย" เปิดทางให้ Mind Map คล่องตัวและยืดหยุ่นได้มากขึ้น
     6.   ใช้ สี ทั่ว Mind Mapping เพราะสีช่วยยกระดับความคิด เพลินตา กระตุ้นสมองซีกขวา
    7.    เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ควรปล่อยให้สมองคิดมีอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 

5  . ประโยชน์ที่ได้รับ

Mind Mapping  with  The  Five  Sense   ช่วยให้การเรียนการสอนง่ายและสนุกสนานได้ ใช้เตรียมการสอน  เพราะจะทำให้สามารถสอนแบบธรรมชาติและเป็นระบบและวางแผนรายปี  ช่วยให้ครูเห็นแผนการสอนตลอดทั้งปีการศึกษาวางแผนรายภาคเรียน  ช่วยให้ครูรู้ว่าภาคนี้จะสอนอะไรบ้างวางแผนรายวัน  ลงรายละเอียดทบทวนบทเรียนเดิมที่จะสอนนักเรียนการสอน  เป็นการใช้ขณะสอนนักเรียนในชั้นเรียน
การสอบของนักเรียน  เป็นการวัดความรู้  ความสามารถ  ความเข้าใจของนักเรียนได้ดี
โครงการ/โครงงาน  ใช้ทำกิจกรรม  หรือ นิทรรศการ  หรือ วางแผนงาน

ในด้านการเรียนการสอน

- ช่วยให้นักเรียนสนใจเรียน
- รู้สึกว่าการเรียนเป็นเรื่องธรรมชาติ  สร้างสรรค์สนุกสนาน
- ไม่ซ้ำซาก  ยืดหยุ่น  ปรับเปลี่ยนได้ง่าย
- นักเรียนรับรู้และเรียนรู้ได้ดีขึ้น
- นักเรียนเข้าใจได้ลึกซึ้งกว่าเดิม
- กระดาษลดลง
- ลดปัญหาการนำเสนอความคิดที่ยาก

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นศักยภาพการใช้แผนที่ความคิดและสัมผัสทั้ง 5 และวาดภาพประกอบการเรียน    ช่วยให้การบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพเกิดการสื่อสารได้สองทาง 

 

 

 

 

นางสาววิภาดา    ทองเกลี้ยง   รหัส  5455708002     เลขที่  2 

นักศึกษาปริญญาโท  สาขาการบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา 

 

คำสำคัญ (Tags): #โมเดลคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 456582เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท