การจัดทำผลงานทางวิชาการให้ผ่าน


ก.ค.ศ.กำลังจะประเมินสมรรถนะของผู้มีวิทยฐานะทั้งหลายเพื่อต่ออายุทุก ๕ ปี เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้วิทยฐานะตั้งแต่ชำนาญการขึ้นไป จะอยู่เฉยไม่ได้ ต้องพัฒนานักเรียนที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือทุกชนิด(นวัตกรรม เครื่องมือวัด)ที่นำมาพัฒนานักเรียนที่มีคุณภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และเก็บหลักฐาน ร่องรอยการทำงานทุกอย่างให้เป็นระบบ เรียบร้อย พร้อมอยู่เสมอ

การจัดทำผลงานทางวิชาการ

ก.ค.ศ.ให้ความหมายของผลงานทางวิชาการ ตามหนังสือที่ ๐๒๐๖.๓/๓ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ ว่า “ผลงานทางวิชาการ หมายถึง เอกสารหรือหลักฐานที่จัดทำขึ้นจากความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ของผู้จัดทำ โดยการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และได้นำไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางานในหน้าที่ จนเกิดผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ จึงขอแนะนำกระบวนการจัดทำผลงานทางวิชาการที่เหมาะสม ดังนี้

๑. พบปัญหาจากการจัดการเรียนรู้วิชาที่รับผิดชอบ

๒. จัดลำดับเรื่องที่เป็นปัญหาจากมากไปน้อย

๓. เลือกเรื่องที่เป็นปัญหาจำนวนหนึ่ง

๔. ศึกษาหาแนวทางการแก้ปัญหาจากเอกสารความรู้ และงานวิจัย

๕. เลือกนวัตกรรมที่เหมาะสมมาแก้ปัญหา

๖. ออกแบบและสร้างนวัตกรรม

    ๖.๑ ให้ผู้เชี่ยวชาญ ๓ คนขึ้นไป(จำนวนเลขคี่)ตรวจความตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity)

    ๖.๒ นวัตกรรมที่เรียนได้ด้วยตนเอง -หาประสิทธิภาพ(E1/E2)และประสิทธิผล(ทดลองกับนักเรียนกลุ่มอื่น)

    ๖.๓ นวัตกรรมที่ครูใช้ประกอบการสอน(หาความตรงเชิงเนื้อหาก็พอ)

๗. สร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ของนวัตกรรม แต่ละเล่ม ดำเนินการ ดังนี้

    ๗.๑ ให้ผู้เชี่ยวชาญ ๓ คนตรวจความสอดคล้องเชิงเนื้อหา

    ๗.๒ ทดลองเครื่องมือวัด

  • หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ
  • หาค่าความยากง่ายรายข้อ
  • หาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ

๘. สร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ก่อนใช้นวัตกรรม

    ๘.๑ ให้ผู้เชี่ยวชาญ ๓ คนตรวจความสอดคล้องเชิงเนื้อหา

  • ทดลอง
    • หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ
    • หาค่าความยากง่ายรายข้อ
    • หาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ

๙. สร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้หลังใช้นวัตกรรม(ข้อสอบคู่ขนานกับข้อสอบข้อ ๘)

    ๙.๑ ให้ผู้เชี่ยวชาญ ๓ คนตรวจความสอดคล้องเชิงเนื้อหา

    ๙.๒ ทดลองเครื่องมือ

  • หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ
  • หาค่าความยากง่ายรายข้อ
  • หาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ

๑๐. สร้างเครื่องมือวัดการปฏิบัติ(กรณีมีการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้)  

    ๑๐.๑ ให้ผู้เชี่ยวชาญ ๓ คนตรวจความสอดคล้องเชิงเนื้อหาของประเด็นการให้คะแนน

    ๑๐.๒ ทดลองเครื่องมือ

  • หาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ( Rubrics -หาค่าสหสัมพันธ์ของคะแนนการประเมินนักเรียนกลุ่มทดลองโดยใช้ Rubrics ที่สร้างขึ้น จากการให้คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ ๒ คน)

๑๑. สร้างเครื่องมือวัดเจตคติ(ถ้ามี)

    ๑๑.๑ ถ้าเป็นแบบสังเกตพฤติกรรม

  • ให้ผู้เชี่ยวชาญ ๓ คนตรวจความสอดคล้องเชิงเนื้อหาของประเด็นการประเมิน
  • ทดลองหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ( Rubrics -หาค่าสหสัมพันธ์ของคะแนนการประเมินนักเรียนกลุ่มทดลองโดยใช้ Rubrics ที่สร้างขึ้น จากการให้คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ ๒ คน)

                        ๑๑.๒ ถ้าเป็นแบบประเมินพฤติกรรมแบบ Rating scale

  • ให้ผู้เชี่ยวชาญ ๓ คนตรวจความสอดคล้องเชิงเนื้อหาของรายการประเมิน
  • ทดลองหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า(Alpha coefficient)

๑๒. นำนวัตกรรมมาพัฒนานักเรียนที่รับผิดชอบ

    ๑๒.๑ ทดสอบก่อนเรียนโดยใช้นวัตกรรม

    ๑๒.๒ เรียนโดยใช้นวัตกรรม

    ๑๒.๓ ประเมินทักษะการปฏิบัติ(ถ้ามี)

    ๑๒.๔ ประเมินเจตคติ(ถ้ามี)

    ๑๒.๔ทำแบบทดสอบหลังใช้แต่ละเรื่อง

    ๑๒.๕ ทดสอบหลังเรียนโดยใช้นวัตกรรม

๑๓.รายงานผลการพัฒนานักเรียนที่รับผิดชอบ

    ๑๓.๑ บทที่ ๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

  • ความคาดหวังที่ควรจะเป็น
  • ปัญหาที่พบจากการจัดการเรียนรู้(มีข้อมูลแสดง)
  • งานวิจัยยืนยันนวัตกรรมที่เลือกว่าแก้ปัญหาได้
  • วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานพัฒนานักเรียนที่รับผิดชอบ
  • ขอบเขต

     ๑)   ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

     ๒)  ขอบเขตด้านเนื้อหา

     ๓)  ขอบเขตด้านระยะเวลา

     ๔)  สถานที่ดำเนินงาน

  • นิยามศัพท์เฉพาะ(ทุกตัวแปร และ key words ของเรื่องที่ดำเนินการ)
  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ(เมื่อดำเนินงานเสร็จแล้ว)

    ๑๓.๒ บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง(เขียนด้วยภาษาของตนเอง)

  • ทบทวนทุกตัวแปรที่ทำงาน และตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
  • ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  • สรุปสังเคราะห์การทบทวนทุกเรื่อง

    ๑๓.๓ บทที่ ๓ วิธีการดำเนินงาน

  • เครื่องมือที่ใช้
  • การสร้างเครื่องมือ
  • การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

     ๑)   นวัตกรรม(ตามข้อ ๔-๖)

     ๒)  เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้(ตามข้อ ๗-๙)

  • การเก็บรวบรวมข้อมูล

     ๓)  ทดสอบก่อนใช้นวัตกรรม

     ๔)  เรียนโดยใช้นวัตกรรม

     ๕)  ประเมินการปฏิบัติ(กรณีมีการปฏิบัติ)

     ๖)   ประเมินเจตคติ(ถ้ามี)

     ๗)  ทดสอบหลังใช้นวัตกรรม

  • การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล(แสดงว่าแต่ละวัตถุประสงค์ดำเนินการอย่างไร)
  • สถิติทั้งหมดที่ใช้ในการทำงาน

    ๑๓.๔ บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล(นำเสนอผลตามวัตถุประสงค์)

    ๑๓.๕ บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

  • สรุปผลตามวัตถุประสงค์
  • อภิปรายข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์
  • นำข้อค้นพบมาให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้เกี่ยวข้อง

    ๑๓.๖ ภาคผนวก

  • รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ
  • ร่องรอยหลักฐานคะแนนความสอดคล้องของเครื่องมือทุกฉบับโดยผู้เชี่ยวชาญ
  • ร่องรอยหลักฐานคะแนนการทดลองนวัตกรรมแต่ละเรื่อง
  • ร่องรอยหลักฐานคะแนนการทดลองเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ของนวัตกรรมแต่ละเรื่อง
  • ร่องรอยหลักฐานคะแนนการทดลองเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ก่อน และหลังใช้นวัตกรรม
  • ร่องรอยหลักฐานการทดลองเครื่องมือวัดการปฏิบัติ(ถ้ามี)
  • ร่องรอยหลักฐานคะแนนการวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังใช้นวัตกรรม
  • ร่องรอยหลักฐานคะแนนการประเมินการปฏิบัติ(ถ้ามีการวัดการปฏิบัติ)
  • ร่องรอยหลักฐานการคำนวณทุกค่าที่ใช้
  • ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
  • ตัวอย่างภาพ/ผลงานของนักเรียน

     ขอให้โชคดีครับ และ ก.ค.ศ.กำลังจะประเมินสมรรถนะของผู้มีวิทยฐานะทั้งหลายเพื่อต่ออายุทุก ๕ ปี เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้วิทยฐานะตั้งแต่ชำนาญการขึ้นไป จะอยู่เฉยไม่ได้ ต้องพัฒนานักเรียนที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือทุกชนิด(นวัตกรรม เครื่องมือวัด)ที่นำมาพัฒนานักเรียนที่มีคุณภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และเก็บหลักฐาน ร่องรอยการทำงานทุกอย่างให้เป็นระบบ เรียบร้อย พร้อมอยู่เสมอ

หมายเลขบันทึก: 453841เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2011 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีครับท่าน ดร.เฉลิม ผมจากไหล่หินวิทยาครับวันนี้ค้นพบเว็ปของอาจารย์ อ่านเกี่ยวกับทำผลงงานวิชาการ อาจารย์เรียบเรียงดีมากครับ เห็นแนวทางการทำ ผมจะทำผลงานส่งครูเชี่ยวชาญต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบกี่คนครับ วันนี้ถามอาจารย์เพียงข้อเดียวก่อนนะครับ โอกาสหน้าจะถามประเด็นอื่นอีกครับ ขอบคุณมากครับ

จำนวนผู้เชี่ยวชาญควรเป็นเลขคี่ เป็นจำนวน ๓ คนขึ้นไป ระดับวิทยฐานะ ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญคือผู้ที่สอนสาขาเดียวกับเรา มีประสบการณ์การสอน เป็นครูโรงเรียนเดียวกับเราก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีวิทยฐานะสูง ๆ หรือเรียนสูง ๆ ถ้าจะส่งผลงานตามเกณฑ์ /ว๑๗(เกณฑ์ใหม่) ควรโหลดคู่มือประเมินวิทยฐานะผู้สอน จากเว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม เมนูอยู่ขวามือด้านล่าง ๆ มาอ่าน จะได้ทำงานได้อยู่ในเกณฑ์ ขอให้เชื่อเอกสารมากว่าเชื่อคนพูด สำหรับบทความเรื่องอื่น ๆ ผมมีให้อ่านที่ www.chalermfakon.multiply.com/journal สามารถโหลดไฟล์แนบไปอ่านได้ สงสัยอะไรอีก ก็ถามอีกได้นะครับ ทาง [email protected] ได้ครับ ขอบคุณที่สนใจ

สวัสดีค่ะท่าน ดร.เฉลิม บทความทางวิชาการของท่านให้วิทยาทานความรู้กับดิฉันมากมายโดยเฉพาะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ดิฉันใช้เป็นต้นแบบในการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้เลยค่ะะ ดิฉันมีข้อสงสัยเรื่อง การตรวจสอบ IOC ของนวัตกรรมที่ ดร.เฉลิมแนะนำให้ใช้ 5 Scale ค่ะ (ปกติก็จะเจอ -1,0,+1) เกณฑ์ที่ยอมรับ การตรวจสอบ IOC 5 scale เท่ากับเท่าไหร่ค่ะ

ผม mail รายละเอียดให้อาจารย์แล้วครับ

 หนูสอนคละชั้นต้องส่งแผนคละขั้นใช่รึเปล่าค๊ะ  หนูทำกำหนดการสอนแล้ว ทำเสร็จ1แผนอยากให้อาจารย์ช่วยคอมเม้นให้หน่อย

ก็ดีครับ เพราะผลงานทางวิชาการ เป็นผลงานที่ทำเพื่อแก้ปัญหางานในหน้าที่รับผิดชอบครับ

ยินดีอ่านให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท