แลกเปลี่ยน เรียนรู้ (KM) ข้ามหน่วยงาน


ถ้ามีโอกาสอย่างนี้อีก จะไม่ปล่อยผ่าน

                    พูดกับเพื่อนอยู่เสมอว่า  ถ้าเราอยู่แต่ในรั้ว  อาณาเขต หน่วยงาน   เรื่ององค์ความรู้ ทักษะ ต่าง ๆ ของเรา  ไม่มีโอกาสได้พัฒนา มีแต่ทรงกับทรุด (อาการน่าเป็นห่วง)  ถ้าเราไม่ได้ออกไปดู สัมผัส  เรียนรู้ โลกภายนอกกับเขาบ้าง  เราก็เหมือนกับอึ่งอ่างในกะลา  เดี๋ยวนี้วิทยาการ  เทคนิคใหม่ ๆ  เกิดขึ้นและมีการนำมาใช้กันมาก  กว้างขวางขึ้น  ถ้าเรามัวแต่อยู่ในรั้วสำนักงานฯ  ไม่นานก็อาจเป็นคนตกยุคไปเลย  จริงอยู่เดี่ยวนี้โลกออนไลน์มีการบทบาทกับความรู้มากขึ้น  แต่ถ้าเราไม่ได้ออกไปเรียนรู้ สัมผัสพบเห็น  แลกเปลี่ยนกับโลกภายนอกบ้าง  เราก็ขาดความมั่นใจ  และยังมีอีกหลาย ๆ อย่าง  ที่ในโลกออนไลน์ ไม่มี หาไม่ได้ หาไม่เจอ   แต่ในพื้นที่ของเกษตรกร มีให้เราเก็บเกี่ยวอีกมาก....

                   วัฒนธรรมของการปฏิบัติงานราชการ(ส่วนใหญ่)  ในการออกไปปฏิบัติงาน  เรียนรู้ภายนอก  ค่อนข้างยาก  ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลาย  ๆ อย่าง  ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร  ผู้บังคับบัญชา  เพื่อร่วมงาน  ทีมงาน  ตัวเราเอง  วัฒนธรรมองค์กร  ที่เป็นสิ่งกำหนด และส่วนใหญ่ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้เราได้ทำตามที่คิด...

                   แต่ช่องเล็ก ๆ  บางโอกาส  ก็มีบ้าง  ใช่ว่าจะไม่มีเอาเสียเลย   และแล้วก็พบช่องทาง โอกาสนั้นเข้าจนได้  เมื่อคุณจำนงค์  เพชรอนันต์  ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอาชีพการเกษตรสุราษฎร์ธานี  (พืชสวนเดิม)  ได้โทรมาปรึกษา  เรื่องการจัดการความรู้  และชวนให้ไปร่วมทำเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับทีมงานของท่าน ในเรื่องการจัดการคุณภาพการผลิตพืช  (ลองกอง , มะละกอ และทุเรียน)  เห็นว่าโอกาสดี  ที่จะได้เรียนรู้กับทีมนักวิชาการจากหน่วยงานอื่น และกับเกษตรกรในพื้นที่  เราจะได้เรียนรู้การทำงานของเพื่อน ๆ บ้าง  ก็ตอบตกลงท่านไปทันที  และโอกาสดีที่ผู้บริหารของเรา ก็ไม่ว่าอะไร  อนุญาตให้ทำงานนี้ได้

                   เมื่อได้ไฟเขียว  จากผู้บังคับบัญชา  ก็ร่วมวางแผนการทำเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมงานจากพืชสวน  พี่ขาว คุณอภัยพงศ์  คงหอม  , คุณประกอบ  คงเขียว  และน้องแอน คุณกันยากร  เพชรรัตน์ นักวิชาการจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรสุราษฎร์ธานี (พืชสวน)   ประสานงานกับพื้นที่กำหนดเวลาลงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกร

 

-  เรื่องการจัดการคุณภาพการผลิตลองกอง ต.เขาวง  อำเภอบ้านตาขุน

-  เรื่องการจัดการคุณภาพการผลิตมะละกอ  อำเภอคีรีรัฐนิคม

-  เรื่องการจัดการคุณภาพการผลิตทุเรียน ต.ขุนทะเล  อำเภอเมืองฯ

         3 เวที  3  พื้นที่  ต้องมีการปรับเทคนิค  ปรับวิธีการ  ปรับรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้ง 3  เวที  เพราะเกษตรกรแต่ละเวที  ไม่เหมือนกัน  ประสบการณ์ , อายุ  , ความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะแลกเปลี่ยน , วัตถุประสงค์, ความมุ่งหวังของเกษตรกร  จึงต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์  แต่อยู่ในกรอบการจัดการคุณภาพการผลิตพืช  3  เวทีผ่านไปด้วยดี  หลังจากจบแต่ละเวที ก็มีการทำ AAR  เพื่อปรับกลยุทธ์วิธีการในครั้งต่อไป  สำหรับข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยน  ก็รับปากไว้ว่าจะคืนให้พื้นที่และสำนักงานเกษตรอำเภอต่อไป

          จากการทำงานบูรณาการงาน KM  ครั้งนี้  ได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ  อีกหลายอย่าง  รู้วิธีการทำของเพื่อนจากหน่วยงานอื่น ๆ , การประสานงาน , การแบ่งมอบภารกิจ , การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ,  การนำ-อำนวยการในการทำเวที , การแก้ไขปัญหา-เหตุการณ์เฉพาะหน้า  

 

           ถ้ามีโอกาสอย่างนี้อีก  จะไม่ปล่อยผ่าน  ขอเรียนรู้กับหน่วยงานอื่นอีก  เพราะงานอย่างนี้  มีเข้ามาไม่บ่อยนักในระบบ    ขอขอบคุณ  ผอ. จำนง  เพชรอนันต์  และทีมงานที่ใช้บริการ และคงจะมีภาค 2 อีกครั้ง

         ....การได้พัฒนาคน  ก็จะพัฒนางานและพัฒนาองค์กรในที่สุด....... 

 

                                                                            ชัยพร  นุภักดิ์

 

หมายเลขบันทึก: 451958เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2011 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คุณหนุ่ม

  • ว่างๆ ข้ามมาทางนี้บ้างซี

 

สวัสดีครับ พี่จง

  • มารับที่นี่ แล้วจะเข้าไป คับ
  • เสียดายอยู่ไกลไปหน่อย
  • ไม่งั้นคงแอบไปเรียนรู้ด้วยคน
  • ...มะละกอสวยจัง
  • อิอิ
  • ถ้าอยู่ใกล้กันก็ดีนะ
  • จะได้รบกวน ได้บ่อยๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท