แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล


ปะการังเทียม

แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล  (ปะการังเทียม)

          ประเทศไทยซึ่งมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน  คือ ฝั่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิค  มีจังหวัดติดชายทะเลถึง  22  จังหวัด  ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำจึงมีมากและมีความหลากหลาย   ประเทศโดยเคยติดอันดับ  1 ใน  10  ในการทำการประมงทะเล  แต่ปัจจุบันความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวได้ลดลงไปอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ  เช่น   การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร   การพัฒนาเครื่องมือทำการประมงที่ทันสมัยสามารถทำการประมงได้ครั้งละมากๆ  และที่สำคัญคือ การทำการประมงอย่างขาดจิตสำนึกโดยการทำการประมงบางอย่างทำลายแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  เช่น  ปะการัง  ซึ่งปะการังเปรียบเหมือนบ้านที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำ  ทำให้การทำการประมงของชาวประมงในปัจจุบันไม่คุ้มทุน

          จากเหตุและผลที่กล่าวมา  กรมประมงจึงได้มีแนวคิดที่จะฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำให้มีดังเดิม   จึงได้คิดจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ  (Artificial  Habitats)   หรือปะการังเทียม  (Artificial  Reefs)  โดยมีวัตถุประสงค์  ดังนี้

1.       ดึงดูดสัตว์น้ำทำให้เกิดเป็นแหล่งทำการประมงที่มี ประสิทธิภาพ

2.       ปกป้องสัตว์น้ำวัยอ่อนขนาดเล็ก  เกิดเป็นแหล่งเลี้ยงตัวของสัตยว์น้ำให้ปลอดภัยจากเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูง  เช่น  อวนลาก  อวนรุน

3.       เพิ่มผลผลิตทรัพยากรสัตว์น้ำในธรรมชาติ  เกิดเป็นระบบนิเวศใหม่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นตามระบบห่วงโซ่อาหาร

4.       เกิดเป็นแหล่งอาศัยใหม่ของสัตว์น้ำเป้าหมายที่ต้องการให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลแบ่งเป็น  2  แบบ  คือ

          1.    แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลพื้นที่ขนาดเล็ก  จัดสร้างในพื้นที่  1  ตารางเมตร  ให้เป็นแหล่งทำการประมงหน้าหมู่บ้านสำหรับชุมชนประมงขนาดเล็ก  งบประมาณในการก่อสร้าง  แห่งละ  3  ล้านบาท  ใช้แท่งคอนกรีตขนาด  1.5  เมตร   จำนวน  700   แท่ง

      2.       แหล่งอาศัยทะเลพื้นที่ขนาดใหญ่  จัดสร้างในพื้นที่  30 - 50  ตารางกิโลเมตร  เพื่อการเพิ่ม

ผลผลิตสัตว์น้ำ  เป็นแหล่งทำการประมงสำหรับชุมชนประมงในเขตหลายตำบลติดต่อกัน  งบประมาณในการก่อสร้าง  แห่งละ  20  ล้านบาท  ใช้แท่งคอนกรีตขนาด  1.5  เมตร  จำนวน  5,400  แท่ง  แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลพื้นที่ขนาดใหญ่  ทำให้สัตว์น้ำมีโอกาสเจริญเติบโตได้นานขึ้น  ไม่ถูกจับขึ้นมาก่อนเวลาที่ควร  โดยมรที่อาศัยหลบภัยเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สามารถรอดพ้นจากการถูกจับโดยเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูง  เช่น  อวนลาก  อวนรุน  หรือไม่ถูกจับคราวละมาก ๆ  จากเครื่องมืออวนล้อมจับ

การเลือกสถานที่จัดสร้าง

1.       มีความลึกของน้ำทะเล  6  เมตร  ขึ้นไป

2.       พื้นทะเลไม่เป็นโคลนเหลว  ทำให้เกิดการจมตัวของวัสดุ

3.       ไม่อยู่ใกล้ปากแม่น้ำที่มีการเปลี่จยนแปลงความเค็มของน้ำทะเลอย่างรวดเร็วในฤดูน้ำหลาก

4.       ไม่เป็นพื้นที่ซึ่งมีปริมาณตะกอนแขวนลอยในน้ำมากทำให้ตะกอนทับถมที่ผิวของวัสดุ  จนสิ่งมีชีวิตประเภทเกาะติดไม่สามารถอยู่อาศัยได้

5.       ไม่กีดขวางการสัญจรทางน้ำ

6.       ไม่เป็นพื้นหวงห้ามเพื่อการใช้ประโยชน์อื่น ๆ  ทางทะเล  เช่น  เขตร่องน้ำเดินเรือ  เขตจอดเรือ เขตพื้นที่ท่าเรือ  เขตสัมปทานขุดแร่และก๊าสธรรมชาติ  เขตสัมปทานรังนก  เป็นต้น

7.       ไม่เป็นพื้นที่ที่อาจกระทบต่อปัญหาความมั่นคงของประเทศ เช่นเขตทหาร  พื้นที่ฝึกซ้อมทางทะเล  เขตชายแดนระหว่างประเทศ  เป็นต้น

ขั้นตอนการจัดสร้าง

1.       เลือกสถานที่ดำเนินการ

2.       กำหนดพิกัดตำแหน่งพื้นที่ร่วมกับชาวประมงในพื้นที่เป้าหมาย

3.       สำรวจสภาวะทางการประมงและสิ่งแวดล้อม

4.       ของความเห็นชอบพื้นที่จัดสร้างจากกองทัพเรือและของสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำจากกรมการขนส่งทางน้ำและพานณิชยนาวี

5.       ดำเนินการจัดสร้างโดยการจ้างเหมาประกวดราคา

6.       ควบคุมการจัดสร้างให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด

7.       ประชาสัมพันธ์พิกัดพื้นที่จัดสร้างให้ชาวประมงทราบ

8.       รายงานผลการจัดสร้างให้หน่วยงานต่าง ๆ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4512เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2005 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท