เอกลักษณ์...อัตลักษณ์... ความเหมือนและความต่างที่ต้องใช้ให้ถูกต้อง


การใช้คำทั้งสองคำนี้..แสดงให้เห็นวิวัฒนาการของ "การใช้คำภาษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์" ที่การสื่อสารจากโลกออนไลน์รวดเร็วขึ้นได้ดังใจ อัตลักษณ์ จึงเป็น ลักษณะเด่น-จุดขาย -สัญลักษณ์-รวมทั้งแสดงเอกลักษณ์แฝงไว้ด้วยในอัตลักษณ์ องค์กร ของทุกสิ่งในโลก ไม่เว้นแม้กระทั่ง "โรงเรียน"

ความหมายของคำว่า อัตลักษณ์

              อัตลักษณ์ ตามความหมายของคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติ

               คำว่า อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต (อัด-ตะ) ซึ่งหมายถึง ตน หรือ ตัวเอง กับ ลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว. คำว่า อัตลักษณ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า identity (อ่านว่า ไอ-เด็น-ติ-ตี้) หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือ จำได้ เช่น นักร้องกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์ทางด้านเสียงที่เด่นมาก ใครได้ยินก็จำได้ทันที. สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง. โลกาภิวัตน์ทำให้อัตลักษณ์ของสังคมไทยเปลี่ยนไป.

                 หากดูจากอีกแหล่งทีมา   จะมีความหมายที่คล้ายๆ กันคือ
อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต กับคำว่า ลักษณ์ อัต มาจากคำว่า อตฺต แปลว่า ตน ตัวเอง อัตลักษณ์ จึงแปลว่า ลักษณะของตนเอง ลักษณะของตัวเอง เป็นศัพท์ที่คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติให้ตรงกับคำ ภาษาอังกฤษว่า character เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลซึ่งรวมสติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติที่แสดงออกเป็นลักษณะนิสัยของบุคคลนั้น แต่ปัจจับัน มีการนำคำว่าอัตลักษณ์ไปใช้แทนคำว่า ตน ตัว เช่น หนังสือเรื่องนี้ปรากฏอัตลักษณ์ของนักเขียนแจ่มแจ้งทีเดียว ครูควรช่วยนักเรียนให้พัฒนาอัตลักษณ์ของเขาได้อย่างเหมาะสม นั้นเอง

           คำว่า เอกลักษณ์ มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า ลักษณะที่เหมือนกันหรือมีร่วมกัน เช่น ชุมชนนี้มีเอกลักษณ์อยู่ที่การทอผ้าจก หมายความว่าคนในชุมชนนี้มีอาชีพทอผ้าจกเหมือนๆ กันหมด อย่างไรก็ดี คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่า “เอกลักษณ์” ในความหมายว่าลักษณะอันเป็นเฉพาะ มีหนึ่งเดียวของสิ่งๆ หนึ่งดังที่ผมกล่าวไปแล้วข้างต้น เช่น ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย

            ตำราหลายเล่มให้ความหมายคำว่า อัตลักษณ์ ไว้ว่าคุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของบุคคล องค์กร สังคม ชุมชน หรือประเทศนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่น และศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่ทั่วไปหรือสากลกับสังคม อื่นๆ พูดง่ายๆ คือลักษณะที่ไม่เหมือนกับของคนอื่นๆ

“อัตลักษณ์”  หมายถึง สมบัติเฉพาะตัว หากมองเพียงแค่รูปศัพท์ “อัตลักษณ์” จึงเหมาะจะนำมาใช้หมายถึงลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่า ส่วนคำว่า “เอกลักษณ์” มีคำว่า “เอก” ซึ่งหมายถึง หนึ่งเดียว จึงน่าจะหมายความว่าลักษณะหนึ่งเดียว (ของหลายๆ สิ่ง) หรือลักษณะที่ของหลายๆ สิ่งมีร่วมกัน ซึ่งเป็นความหมายแรกตามพจนานุกรมนั่นเอง
อย่างไรก็ดี คนไทยโดยส่วนใหญ่ยังนิยมใช้คำว่า “เอกลักษณ์” ในความหมายว่าลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครอย่างกว้างขวาง ส่วนคำว่า “อัตลักษณ์” นั้นมักจะใช้ในวงแคบๆ เช่นแวดวงวิชาการเท่านั้น และบางครั้งก็ใช้แบบมีความหมายโดยนัย(แฝง)
            เช่น “เอกลักษณ์” เป็นสิ่งตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
            ส่วน “อัตลักษณ์” สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีหลายสิ่งตามความจริงที่ปรากฎ  ดูหลาย ๆ ด้าน หลาย ๆ มิติ ของสิ่งนั้น
...................แต่กระนั้นก็ยังไม่มีข้อบัญญัติการใช้ที่ชัดเจนนัก

ได้อ่านความเห็นและคำชี้แจงจาก สมศ. ต้นเรื่องของการใช้ ๒ คำนี้ในการประเมินรอบ ๓ ดังนี้

สมศ. ได้ประกาศเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม(พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘)ซึ่งประกอบด้วย ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม เพื่อให้สถานศึกษามีความเข้าใจความหมายและการเก็บรวบรวมข้อมูลและเตรียมความ พร้อมด้านข้อมูลเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามดังนั้น จึงขอให้ความเข้าใจเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นกับ ผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธานวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด อัตลักษณ์ เป็นตัวบ่งชี้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประเมินในสองรอบที่ผ่านมาที่ได้มี การตรวจสอบปรัชญาปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษา ว่ามีการกำหนดไว้หรือไม่เท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติทุกสถานศึกษาจะต้องกำหนดไว้ตั้งแต่เมื่อก่อตั้งสถานศึกษา ส่วนการประเมินภายนอกรอบสามจะประเมินผลว่าตัวผู้เรียนว่ามีคุณลักษณะเป็นไป ตามสาระที่กำหนดไว้ในปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจหรือไม่ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าสถานศึกษากำหนดปรัชญาไว้ว่า "ความรู้คู่คุณธรรม" นักเรียนหรือบัณฑิตที่จบมาต้องมีความรู้ เป็นคนดีมีจิตสาธารณะ หรือสถานศึกษาด้านการอาชีวศึกษากำหนดปรัชญาไว้ว่า "อดทน มุ่งมั่น สู้งาน" แล้วผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีลักษณะอดทนตั้งใจ มุ่งมั่น และสู้งาน ก็ถือว่าบรรลุอัตลักษณ์โดยจะนำผลมาพิจารณาตามหลักเกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละ ระดับการศึกษาต่อไป ในการเก็บข้อมูลเรื่องอัตลักษณ์นั้น สถานศึกษาจะต้องกำหนดเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อใช้ประเมินผลความเป็นอัตลักษณ์ของสถานศึกษา โดยอาจจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาคมภายในสถานศึกษา หรือทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากบุคลากรภายใน ต่อคุณลักษณะของผู้เรียนที่สะท้อนปรัชญา ปณิธานวิสัยทัศน์ พันธกิจที่กำหนดหรือไม่ และให้ระดับคะแนนตามระดับผลกระทบที่ดีต่อชุมชนท้องถิ่น และระดับการยอมรับจากชุมชนหรือหน่วยงานภายนอก ผลที่ได้จากการดำเนินการจะส่งผลดีให้สถานศึกษาได้ทบทวน พิจารณาและดำเนินการต่อไปอย่างมีเป้าหมายชัดเจน สำหรับระดับอุดมศึกษาสถาบันและคณะจะต้องกำหนดอัตลักษณ์เป็นเรื่องเดียวกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า "หนึ่งสถานศึกษา หนึ่งอัตลักษณ์"

ส่วน เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่ง ของสถานศึกษาหรือความสำเร็จของสถาบัน ดังนั้น อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ จึงไม่เหมือนกัน แต่สำหรับระดับอุดมศึกษาเอกลักษณ์ กับอัตลักษณ์ของสถาบันกับคณะ จะเหมือนกันหรือต่างกัน หรือส่งผลถึงกันก็ได้ ยกตัวอย่าง เอกลักษณ์ของคณะต่างๆในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น วิศวกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์สถาปัตยกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันแต่เอกลักษณ์ในภาพรวมของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยจะต้องเหมือนกัน

กล่าวได้ว่า ทั้งอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ถือเป็นตัวช่วยในการประเมินรอบสามนี้ และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาได้ชูจุดเด่นหรือจุดต่างของสถานศึกษาให้คนทั่วไป ได้รับทราบและรู้จักตัวตนของสถานศึกษามากขึ้น

ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.facebook.com/pageonesqa

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
ชั้น 24 อาคารพญาไทพลาซ่า เลขที่ 128 ถนนพญาไท
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2216-3955โทรสาร 0-2216-5044-6
http://www.onesqa.or.th

หมายเลขบันทึก: 450615เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2011 07:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

  • มาอ่านความหมายให้เข้าใจ
  • เพราะต้องไปทำโครงการที่รองรับ "อัตลักษณ์" ของ สมศ.
  • แล้วต้องไตร่ตรองหาเอกลักษณ์ของโรงเรียน 
  • ก็..ต้องตีความ...กันไป
  • ขอบคุณความรู้ที่นำมาแบ่งปัน 

 

* ตามมาอ่านบันทึกที่กำลังค้นหาความหมายที่ถูกต้องอยู่ค่ะ

* กำลังสับสนและกังวลกับการกำหนดอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของโรงเรียน

* คงต้องรีบๆๆๆ ดำเนินการให้ทันต่อการเข้าประเมินของ สมศ. ในปลายปี

* ขอบคุณนะคะสำหรับการแบ่งปัน

ที่โรงเรียนผมก็กำหนดประชาพิจารณ์ไปแล้วครับ

ยังสบสนกลับคำที่ว่า "หนึ่งสถานศึกษา(โรงเรียน) หนึ่งอัตลักษณ์"

ผมว่า มันมี ๑ อยู่แล้ว พูดทำไม แต่ประเด็นก็คือ

ใน อัตลักษณ์...ของทุกสิ่งในโลก

....มันน่าจะมีหลายมิติ หลายด้าน..หลายเหลี่ยม..

ให้โรงเรียน เขามองตนเองได้กว้างขึ้น......

อยากทราบว่า คำว่า”อัตลักษณ์”ใครเป็นผู้ประดิษฐ์และนำมาพูด และ ใช้ จนถึงขั้นบังคับใช้ในโรงเรียนและสำนักข่าวทั่วไปถึงทั่วประเทศ นั่นแหละคือปัญหาของคำว่าอัตลักษณ์ มายังไง..??เพราะคำว่าเอกลักษณ์ คุ้มภูมิภาคทั้งหมดแล้วทั้งในส่วน”เอกวจนะ “หรือ”พหุวจนะ”ทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวมใช้มาเป็นร้อยปีทำไมถึงเพิ่งจะมีคำว่าอัตลักษณ์ใครเป็นผู้บัญญัติแต่งตั้งวลีนีีขึ้นมาคนนั้นหละคือ ที่มาของปัญหานี้.???และยังมีการสนับสนุนให้ใช้คำนี้อย่างมีนัยยะสำคัญ ..???ต้องการบัญญัติคำนี้เพื่ออะไรและยังมีการบังคับใช้ให้ทำอัตลักษณ์ในโรงเรียนและนักเรียนเพราะโรงเรียนแถวบางกรวยนนทบุรี เช่น รร วัดซองพลู ,วัด บางอ้อยช้าง, อื่นๆก็ถูกบังคับจาก”สพฐ”ให้ทำอัตลักษณ์ของนักเรียนและโรงเรียนส่งเหมือนกันและที่สำคัญ..???ถ้าไม่ทำก็ไม่ผ่านประเมิน..??นี่คือการบังคับการเชิงนโยบาย..???มันผิดปกติอย่างมากมาย..??ไม่สงสัยอะไรบ้างหรือ.???มันมีนัยยะชี้นำอะไรหรือเปล่า..???อยากทราบว่าอัตลักษณ์มีที่มาอย่างไร

ติดตามสอบถามได้ที่.. danny (แดนนี่)

https://www.facebook.com/danny.tungvanitch

อยากทราบว่า คำว่า”อัตลักษณ์”ใครเป็นผู้ประดิษฐ์และนำมาพูด และ ใช้ จนถึงขั้นบังคับใช้ในโรงเรียนและสำนักข่าวทั่วไปถึงทั่วประเทศ นั่นแหละคือปัญหาของคำว่าอัตลักษณ์ มายังไง..??เพราะคำว่าเอกลักษณ์ คุ้มภูมิภาคทั้งหมดแล้วทั้งในส่วน”เอกวจนะ “หรือ”พหุวจนะ”ทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวมใช้มาเป็นร้อยปีทำไมถึงเพิ่งจะมีคำว่าอัตลักษณ์ใครเป็นผู้บัญญัติแต่งตั้งวลีนีีขึ้นมาคนนั้นหละคือ ที่มาของปัญหานี้.???และยังมีการสนับสนุนให้ใช้คำนี้อย่างมีนัยยะสำคัญ ..???ต้องการบัญญัติคำนี้เพื่ออะไรและยังมีการบังคับใช้ให้ทำอัตลักษณ์ในโรงเรียนและนักเรียนเพราะโรงเรียนแถวบางกรวยนนทบุรี เช่น รร วัดซองพลู ,วัด บางอ้อยช้าง, อื่นๆก็ถูกบังคับจาก”สพฐ”ให้ทำอัตลักษณ์ของนักเรียนและโรงเรียนส่งเหมือนกันและที่สำคัญ..???ถ้าไม่ทำก็ไม่ผ่านประเมิน..??นี่คือการบังคับการเชิงนโยบาย..???มันผิดปกติอย่างมากมาย..??ไม่สงสัยอะไรบ้างหรือ.???มันมีนัยยะชี้นำอะไรหรือเปล่า..???อยากทราบว่าอัตลักษณ์มีที่มาอย่างไร

ติดตามสอบถามได้ที่.. danny (แดนนี่)

https://www.facebook.com/danny.tungvanitch

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท