Archy
นาย อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน

เมืองสาวัตถี


เมืองสาวัตถี อานันทโพธิ พระเชตวันมหาวิหาร อนาถบิณฑิกเศรษฐี

เมืองสาวัตถี

ประวัติศาสตร์เมืองสาวัตถี

เมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล เจ้าผู้ครองนคร คือพระเจ้าปเสนทิโกศล พระพุทธองค์ได้เสด็จมาประทับที่นี่ทั้งหมด ๒๕ พรรษา อยู่ที่เชตะวันมหาวิหาร ๑๙ พรรษา และอยู่ที่บุพพาราม ๖ พรรษา มีประชากร ๗ โกฏิ ปัจจุบันเหลือเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร ๓๒ เอเคอร์ พระพุทธเจ้าเสด็จไปสาวัตถีครั้งแรกปลายพรรษาที่ ๒ ต้นพรรษาที่ ๓ สิ้นสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช  วัดเชตะวันก็ยังคงเจริญรุ่งเรืองอยู่  พระองค์ก็ได้เสด็จมาในปี พ.ศ. ๒๓๖ และในปี พ.ศ. ๒๔๐ ปักเสาอโศกไว้ที่นี้ มีหลักฐาน ๖ ต้น คือ ณ สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์, เชตะวันมหาวิหาร, บุพพาราม, บ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี, บ้านขององคุลีมาล, ที่พระสารีบุตรได้แสดงธรรม

พ.ศ. ๙๔๔ – ๙๕๓ หลวงจีนฟาเหียน ได้มาจาริกธรรม บันทึกว่าตัวเมือง

ถูกทิ้งร้างแต่ พระเชตวันยังเป็นสำนักสำคัญที่มีถึง ๗ ชั้น

พ.ศ. ๑๑๗๓ – ๑๑๘๖ หลวงจีนถังซัมจั๋งมาบันทึกว่าตัวเมืองร้างมานาน พระเชตวันก็เริ่มมีพระสงฆ์น้อยลง ผู้คนก็น้อยลง

พ.ศ. ๑๓๙๐ พระเจ้ามหิปาละ ได้ทำการบูรณะวัดเชตวันขึ้นมาใหม่

พ.ศ. ๑๕๖๐ กองทัพอิสลาม นำโดย มะหะหมัด ดัชนี ได้ยกทับมาทำลายล้างพระเชตวัน

พ.ศ. ๑๖๕๐ พระนางกุมาราชเทวี พระมเหสีของพระเจ้าโควินทจันทร์แห่งมหานครกาโมช ได้ทำการบูรณะใหม่

พ.ศ. ๑๖๗๑ อิสลามในราชวงศ์ทาสปกครองอินเดีย ได้ยกทับมาตีทำลายทุกสิ่งทุกอย่างฝังลงไว้ใต้พื้นปฐพี จนไม่เหลือซากใดๆ ร้างหายไปเกือบ ๗๐๐ ปี

พ.ศ. ๒๔๐๕ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจเมืองสาวัตถีขุดค้นหลักฐานตามบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน และหลวงจีนถังซัมจั๋ง

พ.ศ. ๒๔๕๒ เซอร์จอร์น มาร์แชล ได้ขุดค้นพบหลักฐานทั้งหมดจนปรากฏ

ณ ปัจจุบันนี้

สถานที่สำคัญ

          ๑.  วัดเชตวันมหาวิหาร คนท้องถิ่นเรียกว่า “สาเหต”      

๒.  พระมูลคันธกุฎี       ๓.  กุฏิเหล่าพระอรหันต์           ๔.  สังฆสภา             

๕.  ต้นโพธิ์อานนท์       ๖.  ศาลาโรงธรรม

          ๗.  ตัวเมืองสาวัตถึเป็นเขตพระราชฐานของพระเจ้าปเสนทิโกศล

     คนท้องถิ่นเรียกว่า “มาเหต”

          ๘.  วัดบุพพาราม        

๙.  มัลลิกาอาศรม

          ๑๐. บ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี              

๑๑. สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์

          ๑๒. ที่ธรณีสูบคนบาป                               

๑๓. บ้านท่านปุโรหิตาจารย์บิดาองคุลีมาล

ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์

          เป็นจุดที่พระพุทธองค์แสดงยมกปาฏิหาริย์ปราบเดียรถีย์ หรืออีกนัยหนึ่งคือลัทธิเชนนั่นเอง ตั้งอยู่ริ่มถนนเข้าเมืองสาวัตถี ห่างจากวัดพระเชตวันประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นสภาพเนินดินที่ใหญ่โต เดิมเป็นสถูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้รับการขุดค้นไปแล้วบางส่วน

วัดพระเชตวัน, อานนท์โพธิ์

          เป็นอารามที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณแถบนี้ สร้างในบริเวณที่เดิมของเจ้าเชต ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล อนาถบิณฑิกะมี นามเดิมว่า “สุทัตตะ” เป็นพ่อค้าชาวเมืองสาวัตถี ได้ไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์ และได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสนาจนบรรลุโสดาบัน จึงอาราธนาพระองค์มาโปรดชาวเมืองสาวัตถี เมื่อพระองค์เสด็จมาแล้ว จึงได้ซื้อที่ของเจ้าเชต ในเบื้องต้นถูกโก่งราคาอย่างหนักด้วยการให้เศรษฐีปูทองคำเต็มบริเวณ เศรษฐีทำตามจนเจ้าเชตทึ่ง และเห็นใจจึงขายให้พร้อมกับขอร้องให้ใช้นามตนเองตั้ง จนกลายเป็นเชตวนาราม พระองค์ประทับอยู่ที่นี่นานทีสุดถึง ๑๙ พรรษา ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองสาวัตถี จังหวัดสราวัสดี รัฐอุตตรประเทศ ปัจจุบันนิยมเรียกว่าศราวัสตี อันเป็นามตามภาษาสันสกฤต ส่วนคำว่า    “สาวัตถี” ตามนามบาลีมีคนรู้จักน้อยมาก ส่วนภายในพระเชตวัน มีกุฎิปลูกสร้างอยู่มากมาย ทั้งพระมูลคันธกุฎีของพระพุทธเจ้า และอานนทโพธิ์ซึ่งพระมหาโมคคัลลานะนำมาจากพุทธคยามาปลูกไว้ที่นี่ จึงนับว่าเป็นต้นไม้ที่เก่าแก่มากที่สุดต้นหนึ่ง

บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

          เป็นซากบ้านโบราณภายในเขตพระราชฐานเมืองสาวัตถี คำว่า “อนาถบิณฑิกะ” แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวสำหรับผู้ไม่มีที่พึ่ง เป็นเศรษฐีมั่งคั่งที่สุดและยากจนที่สุดในคราวเดียวกัน เป็นมหาอุบาสกที่ค้ำ๙พระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า เป็นผู้สร้างเชตวันมหาวิหารถวายพระพุทธองค์ ปัจจุบันเหลือเพียงซากโบราณให้เราได้เห็นกฎแห่งอนิจจัง

บ้านท่านปุโรหิตาจารย์บิดาขององคุลีมาล

          เชื่อกันว่าเป็นซากคฤหาสน์ของพราหมณ์ปุโรหิต ผู้เป็นบิดาของจอมโจรองคุลีมาลหรืออหิงสกะ หลังจาก ๗ ขวบ บิดาจึงให้ไปศึกษาศิลวิทยาที่เมืองตักศิลา

วัดบุพพาราม

          สร้างโดยวิสาขามหาอุบาสิกา ธิดาของธนัญชัยเศรษฐี เป็นหญิงที่สมบูรณ์ด้วยเบญจกัลยาณี อายุได้ ๗ ขวบ บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระพุทธองค์มาประทับที่วัดนี้ถึง ๖ พรรษา ตรัสพระธรรมเทศนาหลายพระสูตร ปัจจุบันนี้ อารามถูกแม่น้ำอจิรวดีเซาะจนพังเกือบไม่เหลืออะไรเป็นหลักฐาน

พระสูตรต่างๆ

          พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรที่เมืองสาวัตถีทั้งสิ้น ๘๗๑ พระสูตร คือ เชตวันมหาวิหาร ๘๔๔ พระสูตร นอกนั้นเป็นของบุพพาราม ๒๓ พระสูตร และของอื่นๆ อีก ๔ พระสูตร เป็นพระสูตรในสังยุตตนิกาย ๗๓๖ พระสูตร, มัชฌิมนิกาย ๗๕ พระสูตร, อังคุตตรนิกาย ๕๔ พระสูตร และทีฆนิกาย ๖ พระสูตร เช่น มงคลสูตรธชัคคสูตร, ทสธัมมสูตร, สาราณียธรรมสูตร, อหิราชสูตร, เมตตานิสังสสูตร, คิริมานนทสูตร, ธัมมนิยามสูตร, อปัณณกสูตร, อนุตตริยสูตร, พลสูตร, มัคควิภังคสูตร, โลกธัมมสูตร, ทสนาถกรณธัมมสูตร, อัคคัปปสาทสูตร, ปธานสูตร, อินทริยสูตร และสัปปุริสธัมมสูตร ฯลฯ

บุคคลสำคัญ

          ๑.  พระเจ้าปเสนทิโกศล                    ๒.  อนาถบิณฑิกเศรษฐี

          ๓.  วิสาขามหาอุบาสิกา                    ๔.  องคุลีมาล

          ๕.  ปฏาจาราเถรี                            ๖.  กีสาโคตรมี

          ๗.  พระกุมารกัสสปะ                       ๘.  พระพาหิยเถระ

          ๙.  พระสิวลีเถระ                            ๑๐.เศรษฐีตีนแมว

          ๑๑.ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยรัฐ ๓๐ รูป      ๑๒.วังคีสพราหมณ๊

การเดินชมเชตะวัน

เขตสังฆาวาส

   ๑.  หมู่กุฏิภิกษุชาวโกสัมพี                       ๒.  หมู่กุฏิพระอุบาลี-ราหุล

   ๓.  ธัมมิการามที่พิจารณาอธิกรณ์ประจำวัด    

   ๔.  เจดีย์อรหันต์ ๘ ทิศ ต้นกำเนิดสรภัญญะ

   ๕.  กุฏิพระสิวลีเถระ                               ๖.  กุฏิพระมหากัสสปะ

   ๗.  กุฏิพระมหาโมคคัลลานะ                     ๘.  กุฏิพระองคุลีมาล

   ๙.  กุฏิพระอานนท์                                 ๑๐.กุฏิพระสารีบุตร

   ๑๑.อานนทโพธิ์                                    

   ๑๒.ราชิการาม หรือ สำนักของภิกษุณี

เขตพุทธาวาส

      ๑.  พระคันธกุฎีฤดูหนาว                         ๒.  พระคันธกุฎีฤดูร้อน

      ๓.  พระคันธกุฎีฤดูฝน                            ๔.  ศาลาโรงธรรม (อุโบสถ)

      ๕.  ธรรมสภา (สถานที่ฟังธรรมของชาวเมือง) ๖.  บ่อน้ำพุทธมนต์

สารธรรมสำคัญ

          ๑.  มงคล ๓๘ ประการ                              

๒.  อานิสงส์เมตตา ๑๑ ประการ

          ๓.  เบญจกัลยาณี ๕ ประการ                      

๔.  โอวาท ๑๐ ข้อ ที่ธนัญชัยเศรษฐีสอนวิสาขา

          ๕.  ไม่ควรดูหมิ่น ๔ อย่างว่าเล็กน้อย (กษัตริย์-งู-ไฟ-ภิกษุ)

          ๖.  พรจาการถวายผ้ากฐิน                          

๗.  การถวายผ้าอาบน้ำฝน

          ๘.  อาคันตุกภัตต์                                    

๙.  คมิกภัตต์

          ๑๐.คิลานภัตต์

 

 

ความโกรธเกิดจากความไม่อดทน
Anger comes as a result of intolerance.
กัณหชาดก / Kanhajataka

หมายเลขบันทึก: 449603เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท