โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ กัมพูชา-พม่า-สปป.ลาว-เวียดนาม-ไทย-จีนตอนใต้ (ยูนนาน) Greater Mekhong Subregional (GMS)


โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ กัมพูชา-พม่า-สปป.ลาว-เวียดนาม-ไทย-จีนตอนใต้ (ยูนนาน) Greater Mekhong Subregional (GMS)

โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ กัมพูชา-พม่า-สปป.ลาว-เวียดนาม-ไทย-จีนตอนใต้ (ยูนนาน) Greater Mekhong Subregional (GMS) [1]

1 กรกฎาคม 2554

ความเป็นมา

โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekhong Sub-region - GMS) เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ หรือหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ คือ ประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา, ราชอาณาจักรไทย, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สาธารณรัฐเวียดนาม, สหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาชนจีน (มณฑลยูนนาน) มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้าน 3 แสน ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ พื้นที่ของยุโรปตะวันตก มีประชากรรวมกันประมาณ 250 ล้านคน เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank - ADB) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก กลุ่มประเทศ GMS เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการนี้มีชื่อเต็มว่า GMS Economic Corridors หรือก็คือ ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน, ยกระดับการครองชีพ, การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน, การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสการแข่งขันในเวทีการค้าโลก ผ่านกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน คือ สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงระหว่างกัน (Connectivity) เพื่อให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) โดยการรวมกลุ่มกันในอนุภูมิภาค (Community) [2]

ประกอบไปด้วย 9 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน เกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ แผนงานลำดับความสำคัญสูง (Flagship Programs) จำนวน 11 แผนงาน (กรมการค้าต่างประเทศ, 2550)

ต่อมาปรับสาขาความร่วมมือใหม่ให้กระชับ เหลือ 6 สาขา คือที่จะยกระดับเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สังคมในภูมิภาคนี้ ในสาขาการค้าและการลงทุน สาขาการท่องเที่ยว สาขาพลังงาน สาขาประมง สาขาคมนาคมขนส่ง สาขาเทคโนโลยี

ศักยภาพของไทยภายใต้กรอบความร่วมมือ GMS [3]

จุดแข็งของไทยภายใต้กรอบความร่วมมือ GMS (Logistic Digest, 2550)

1) ที่ตั้งของไทยเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคอินโดจีน และ จีนตอนใต้

2) จีนตอนใต้ต้องการแสวงหาเส้นทางการขนส่งสู่กลุ่มประเทศยุโรป และ ตะวันออกกลาง

3) ในกลุ่ม GMS ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากกว่าประเทศอื่นๆทั้งด้าน โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ การเมือง ทรัพยากรมนุษย์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ

4) ไทยตั้งอยู่บนเส้นทางการขนส่ง EWEC และ NSEC


จุดอ่อนของไทยภายใต้กรอบความร่วมมือ GMS (Logistic Digest, 2550)

1) การขนส่งจากจีนตอนใต้มายังไทยต้องผ่าน สปป.ลาว หรือ สหภาพพม่า

2) ไทยขาดหน่วยงานหลักในการนำและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม


โอกาสของไทยภายใต้กรอบความร่วมมือ GMS (Logistic Digest, 2550)

1) ความร่วมมือ GMS เป็นโอกาสสำคัญที่จะผลักดันให้อินโดจีนพัฒนาเศรษฐกิจแบบรวมกลุ่มโดยมีจีน และ ไทยเป็นผู้ผลักดัน


ข้อจำกัด ของไทยภายใต้กรอบความร่วมมือ GMS (Logistic Digest, 2550)

1) ความแตกต่างของรากฐานการปกครอง และพื้นที่ทางเศรษฐกิจ

2) ความหวาดระแวงระหว่างกัน


เศรษฐกิจโลกปัจจุบัน เป็นไปตามกระแสการจัดระเบียบโลกใหม่ (New World Orders) และตามกระแสโลกภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งประกอบไปด้วย เรื่อง ประชาธิปไตย เรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและเรื่องการค้าเสรี (Free Trade Area = FTA)

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศตามภูมิภาคต่าง ๆ เป็นผลมาจากแนวคิดเรื่อง การค้าเสรีประเทศในย่านภูมิภาคเดียวกัน (region) จึงมีความพยายามรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจกัน (Economics Co-operation) สำหรับประเทศไทย ได้มีความพยายามรวมกลุ่มเป็นเขตเศรษฐกิจในชื่อต่าง ๆ กัน หรือที่เรียกกันว่า "เหลี่ยมเศรษฐกิจ" (Economics Zone) เริ่มตั้งแต่ "สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ" (Quadrangle Economic Cooperation : China – Myanmar – Laos – Thailand, 1992) "ห้าเหลี่ยมเศรษฐกิจ" (Bangladesh – India – Myanmar – SriLanka – Thailand Economic Cooperation BIMST – EC, 1997)"หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ" (Hexa Economic Zones) หรือ ความร่วมมือ "สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ" ระหว่างสิงคโปร์ – มาเลเซีย – อินโดนีเซีย (SIJORI, 1990) หรือ ความร่วมมือ "สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ" ระหว่างภาคใต้ของไทย กับภาคเหนือของมาเลเซียและภาคเหนือของเกาะสุมาตรา (IMT – GT)


ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

จากการศึกษา "โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ กัมพูชา-พม่า-สปป.ลาว-เวียดนาม-ไทย-จีนตอนใต้ (ยูนนาน) Greater Mekhong Subregional (GMS)" ในเบื้องต้น ประกอบกับการค้นคว้าข่าวสารข้อมูลเพิ่มเติม พบว่า ประเทศไทย มีความได้เปรียบ และมีศักยภาพในหลาย ๆ ด้าน

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economics Co-operation) ถือเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตามหลักทฤษฎีของ "การค้าเสรี" (Free Trade) ซึ่งมีแนวคิดมาจากยุคพาณิชย์นิยม (Mercantilism) Adam Smith ที่ส่งเสริมให้มีการค้าเสรีขึ้น ปรากฏว่า ประเทศนักล่าอาณานิคมต่าง ๆ ก็หันมาทำการค้าโดยการมุ่งผลิตเพื่อขายให้มากที่สุด ทำให้ยุคต่อมาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เกิดในอเมริกาเหนือและยุโรป ในปี ค.ศ. 1929 หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และแพร่สะพัดความสูญเสียไปยังนานาประเทศทั่วโลก

จึงเกิดแนวคิดใหม่ว่า การเกิด "การค้าเสรี" นั้น ไม่สามารถเป็นไปได้ทางปฏิบัติฉะนั้นจึงหันมาส่งเสริมให้เกิดการค้าเสรีแบบใหม่ โดยการก่อตั้งองค์การค้าระหว่างประเทศ (International Trade Organization=ITO) ขึ้น แต่ก็ไม่สามารถจัดตั้งองค์กรดังกล่าวขึ้นมาได้ เพราะสหรัฐอเมริกาถอนตัว จนในที่สุดก็ได้มีข้อตกลง GATT (General Agreement on Tariffs and Trade) หรือ ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ในปี 1947 และพัฒนามาจนเกิดเป็นองค์กรการค้าโลก (World Trade Organization=WTO) ในการประชุม GATT รอบที่ 8 รอบอุรกวัย ที่เมืองมาราเกซ ประเทศมอรอคโค เมื่อปี 1994

การเกิด WTO ทำให้มีการเกิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Area=FTA) ต่าง ๆ ขึ้นมากมายทั่วโลก เพื่อหวังจะให้เกิดการค้าเสรีให้มากขึ้น โดยเริ่มเป็นจุด ๆ หรือเป็นเขต เป็นภูมิภาคไปแต่อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคต่าง ๆ หรือ ประเทศต่าง ๆ ก็มีขีดความสามารถ หรือศักยภาพ (Potential) ที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดพื้นที่ ทรัพยากรธรรมชาติ ประชากร และสถานะทางเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกันมากการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็น "ภูมิภาค" เริ่มจากเล็ก ๆ จึงเกิดขึ้น ด้วยมีพื้นฐานเศรษฐกิจสังคมที่ใกล้เคียงกัน เช่น "ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแต่เดิมนั้น เรียกว่า "ความร่วมมือทางเศรษฐกิจสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ" หรือ "ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน" มี 4 ประเทศ คือ จีนตอนใต้(มณฑลยูนนาน) พม่า ไทย และ ลาว ต่อมาได้ขายขอบข่ายไปครอบคลุมประเทศล่มแม่น้ำโขงทั้งหมด รวม กัมพูชา และ เวียดนามด้วย รวมเป็น 6 ประเทศ จึงเรียกว่า "ความร่วมมือหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ"

ประเทศไทยได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากเป็นหน้าด่านรับกระแสการแผ่ขยายทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศจีน และประเทศอินเดีย ซึ่งถือเป็นประเทศตลาดเกิดใหม่(BRICS=Brazil Russia India China South Africa emerging market) ที่มีศักยภาพทางด้านการผลิตมาก เนื่องจาก มีทรัพยากร และกำลังแรงงานการผลิตที่เหลือเฟือนอกจากนั้น ยังเป็นตลาดรองรับกำลังการผลิตแก่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ด้วยและปัจจุบัน ประเทศไทยส่งสินค้าเข้าประเทศจีนมากเป็นอันดับสองของ ASEAN ฉะนั้น แนวโน้มในอนาคต ตลาดการค้าต้องพัฒนาไปยังแหล่งที่มีลูกค้า(ผู้บริโภค)ที่มีมาก เช่น จีน อินเดีย หรือแม้กระทั่งอินโดนีเซีย เป็นต้น

และใน 1 มกราคม 2558 (2015) ก็จะเกิด AEC=ASEAN Economics Community หรือ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" ซึ่งถือเป็นการพัฒนารูปแบบการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่งตัวอย่างเช่น EU=European Union (สหภาพยุโรป) ก็พัฒนามาจาก EC=European Economics Community (ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป) เช่นกันก่อนจะถึงปี 2558 ประเทศไทยต้องเตรียมตัวปรับโครงสร้างรองรับไว้โดยเฉพาะด้านกฎหมาย "การค้าและการลงทุน" เช่นในเรื่อง MFN , NT และอาจจะรวมไปถึงกฎหมาย "เรื่องสิ่งแวดล้อม" ซึ่งมีการคุ้มครองด้วย

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ก่อให้เกิด "การค้าและการลงทุน" จากต่างประเทศ จึงเกิด "การค้าเสรี และ การลงทุนเสรี" ขึ้นกฎหมายที่บังคับใช้ต้องสามารถนำมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ หรือ ที่เรียกว่า "National Interest" ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแรงงานต่างด้าวที่ต้องเปิดเสรี ทำให้มีการเคลื่อนย้าย "ปัจจัยการผลิต" อย่างเสรีและในขณะเดียวกัน ต้องคำนึงถึงเรื่อง "สิทธิมนุษยชน" และ "สิ่งแวดล้อม" ควบคู่กันไปตามกระแสโลก (New World Orders) ด้วย

การเปิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบน รวมกับมณฑลของจีน 5 มณฑล (ยูนนาน,เสฉวน,กุ้ยโจว, กวางสีและเขตปกครองตนเอง) ซึ่งขนาดตลาดของ 5 มณฑล รวมกัน 350 ล้านคน และเมื่อรวมกับประชากรในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจแล้ว มีรวมกว่า 450 ล้านคน ถ้ารวมจีน, อินเดีย, ปากีสถานและ Southeast Asia ทั้งหมด ประชากรกว่า 3,000 ล้านคน เกินกึ่งของประชากรโลก ถือได้ว่าย่านภูมิภาคนี้เป็นแหล่งการผลิต และแหล่งการตลาดที่สำคัญยิ่งของโลก

ข้อคิดจากผู้รวบรวมเอกสารชุดนี้ก็คือนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาคนี้ เป็นนโยบายที่ดีหากมีการผลักดันอย่างต่อเนื่องจากรัฐบาลแล้วจะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์ทางเศรษฐกิจ สังคม การคมนาคมทั้งทางบก ทางอากาศ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยมีศักยภาพที่ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ในเรื่องทำเลที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และทรัพยากรบุคคลที่มีมิตรไมตรีภายใต้วัฒนธรรมแห่งความยืดหยุ่นสูง หากแต่ว่าประเทศไทยเรายังขาดความเสถียรภาพทางการเมืองที่เป็นตัวผลักดัน ตรงนี้คืออุปสรรคสำหรับประเทศไทย [4]


ปัญหาอุปสรรคโครงการ GMS

(1) การสร้างเขื่อนจำนวน 8 เขื่อนบนแม่น้ำโขงตอนบน ในจังหวัดยูนานของประเทศจีน [5]

(2) การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหารให้เป็นเมืองท่องเที่ยวชายแดน [6] จากผลการวิจัยของภาณุรังษี เดือนโฮ้ง (2550) สรุปดังนี้

1. จังหวัดมุกดาหารมีความเหมาะสมสำหรับการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการค้า การคมนาคมและการท่องเที่ยวชายแดนเปรียบเสมือนประตูสู่อินโดจีน โดยมีข้อได้เปรียบด้านภูมิประเทศที่เอื้อต่อการเป็นเมืองการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวชายแดนที่สะดวกต่อการเดินทางไปลาวและเวียดนาม

2.แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวชายแดนที่สอดคล้องกับการพัฒนาจังหวัด คือ การเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวข้ามแดนกับลาวและเวียดนาม การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศ ควรนำเสนอรูปการท่องเที่ยวแบบผสมผสานพร้อมกับส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม เทศกาลและมหกรรมต่างๆ ให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว

3. ผลกระทบจากการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาวข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ได้แก่ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ผลกระทบด้านการท่องเที่ยว ผลกระทบต่อแผนการพัฒนาและนโยบายการพัฒนาจะก่อให้เกิดการดำเนินงานด้านแผนการพัฒนา ผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม ส่งผลในระยะยาวต่อทัศนคติ จิตสำนึกและวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น ผลกระทบด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้าง การดำรงชีวิตประจำวันที่ก่อให้เกิดของเสีย มลพิษ ขยะ น้ำเสีย การขนส่งที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ เสียงรบกวน


อ้างอิงค้นคว้าเพิ่มเติม

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2547). การวางและจัดทำผังประเทศและผังภาคประเทศไทยและการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคต. (เอกสารประกอบการสัมมนาระดับภาค ครั้งที่ 1 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงแรมตักศิลา จ.มหาสารคาม). กรุงเทพฯ:กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย.

กัลปพฤกษ์ เกื้อเกตุ. (2541). การวางแผนความพร้อมเพื่อรองรับการเติบโตการท่องเที่ยวชายแดน : กรณีศึกษา เมืองหนองคาย. วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมือง. กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.(2547). รายงานการศึกษาขั้นสุดท้าย โครงการศึกษาความเหมาะสมเพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพฯ:มปพ.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.(2547). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาการพัฒนามุกดาหารเป็นศูนย์กลาง รวบรวม แปรรูปและกระจายสินค้า. กรุงเทพฯ:การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

เจษฎา สุวัตถิ. (2538). แนวทางการพัฒนาเมืองหนองคายเพื่อรองรับผลกระทบจากสะพานมิตรภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต การวางแผนภาคและเมือง กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ม.ล. ชาญโชติ ชมพูนุท. "ทุนมนุษย์ภาคพลังงานและสิ่งแวดล้อมในกลุ่มประเทศ GMS." 25 มิถุนายน 2554. [Online]., Available URL : http://www.gotoknow.org/blog/chanchot-chira/445924

ปรีชา แดงโรจน์. (2544). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัทไฟว์แอนด์ไฟว์พริ้นติ้ง จำกัด.

ภาณุรังษี เดือนโฮ้ง. (2550). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหารให้เป็นเมืองท่องเที่ยวชายแดน. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

คณะกรรมการควบคุม : รองศาสตราจารย์เรณู ศรสำราญ, อาจารย์ ดร.นลินา ประไพรักษ์สิทธิ์

http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Eco_Pla_Man/Panurangsri_D.pdf

ศุภชัย วรรณเลิศสกุล. เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน : โอกาสและอุปสรรคสำหรับการลงทุนจากประเทศไทย (Savan-Seno Special Economic Zone: Opportunities and Obstacles for Investment from Thailand) วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที12 ฉบับที่1 มกราคม – เมษายน 2553. [Online]. Available URL : http://www.ubu.ac.th/~research/UBUJournal/DB_Journal/fileupload/12109.pdf

สภาธุรกิจไทย-ลาว (Thailand - Laos Business Council : TLBC)

http://thailaosbiz.com/index.php?option=com_content&task=view&id=20&Itemid=34


[1] Gotoknow.org, 16 กรกฎาคม 2554.

[2] กระทรวงการต่างประเทศ, "กรอบความร่วมมือ : โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง Greater Mekong Subregion (GMS)", http://www.mfa.go.th/main/th/world/7/19897-โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม.html&ศูนย์ส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว, สำนักงานพาณิชย์จังหวัดมุกดาหาร, "ทำความรู้จัก GMS ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง", http://www.moc.go.th/opscenter/md/?p=613

[3] กนกพร สุรการค้า, "การศึกษาเพื่อพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์เพื่อรองรับ เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ และ เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก", 2551. & "โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS)", 18 สิงหาคม 2552,http://logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=885:gms&catid=40:logistics&Itemid=87

[4] ผศ.ชมพู โกติรัมย์, "ประเทศไทยกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในระดับอนุภูมิภาค", มปป.

[5] "เขื่อนแม่น้ำโขงตอนบนในประเทศจีน : อันตรายของคนหลายล้านในแม่น้ำตอนล่าง", แปลและเรียบเรียงจากเอกสารของ International Rivers Network โดย ธีระพงศ์ โพธิ์มั่น SEARI, http://www.livingriversiam.org/4river-tran/4mk/upper_Mekong_dam.doc & อาคม(นามแฝง), "เขื่อนแม่น้ำโขง :การยึดครองผลประโยชน์เบ็ดเสร็จของจีน", 3 เมษายน 2550. http://www.oknation.net/blog/akom/2007/04/03/entry-1

[6] ภาณุรังษี เดือนโฮ้ง. (2550). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหารให้เป็นเมืองท่องเที่ยวชายแดน. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ . คณะกรรมการควบคุม : รองศาสตราจารย์เรณู ศรสำราญ, อาจารย์ ดร.นลินา ประไพรักษ์สิทธิ์ http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Eco_Pla_Man/Panurangsri_D.pdf

หมายเลขบันทึก: 449381เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2011 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มกราคม 2015 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

This GMS cooperation looks good on paper (of a white book?)

But does it come because China has built at least 8 hydro-electric dams blocking the Me Khong River flow and reduce water availability to the Lower Me Khong Regions (Laos, Thailand, Cambodia and Vietnam)?

Give us back the water first, then we can talk ;-)

Monitoring, Fixing and Sustaining Thailand’s Competitiveness  
http://www.thairath.co.th/content/eco/270854
ไทยรัฐออนไลน์
โดย บัญชา ชุมชัยเวทย์
25 มิถุนายน 2555, 05:30 น.

คนไทยน้อยคนในปัจจุบันที่จำได้ว่า อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเคยอยู่อันดับ 3 ของโลกเมื่อยุคกลาง 2530 จากยุคนั้นถึงทุกวันนี้ อันดับที่เคยโดดเด่น และน่าทึ่งกลับมีแต่ทรงกับทรุดอยู่ในระดับ 30 กว่าๆของโลกเทียบกับอีก 178 ประเทศทั่วโลก เกิดอะไรขึ้นกับระดับความสามารถในการแข่งขันของเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทย ที่นับวันจะต้องเตรียมปรับปรุงกันแบบขนานใหญ่ เพื่อเข้าสู่เขตเศรษฐกิจใหม่ๆที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในพื้นที่ของตัวเองอย่าง AEC ...

ทุกวันนี้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบเหรียญสหรัฐก็ลอยตัว แบบว่ามีแทรกแซงตามระยะๆ ก็เป็นไปตามกลไกตลาดเงินที่ประเทศส่วนใหญ่พัฒนากันแล้ว ถ้าจะพูดถึงตลาดรับจ้างผลิตสินค้า ประเทศไทยก็เลิกแทบจะหมดแล้วครับ แม้จะยังตอบตัวเองไม่ชัดว่าเข้าใจวิธีคิดในการผลิตแล้วสร้างยี่ห้อตัวเอง เป็นยังไง? ถ้าจะบอกว่าผ่านหลายยุคหลายสมัยของสารพัดรัฐบาล ที่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคลังล้วนแต่ถูกเชิญไปกล่าวปาฐกถาบนเวทีโน่น นี่ นั่น เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ที่ได้ยินเหมือนฟังแผ่นเสียงตกร่อง อย่างเช่น ต้องรวมกลุ่มผลิต ต้องเกาะเป็นกลุ่มทำตลาด แบบ Cluster ก็ทำกันแล้ว แม้จะยังงงกับความเข้าใจของทั้งคนกล่าวปาฐกถา และคนฟังปาฐกถาว่า ตกลงพูดถูกต้อง และทำถูกทางหรือเปล่า? ในแง่คุณภาพแรงงานที่ทำกันมา ทุกวันนี้แรงงานไทยไม่ทำงานพื้นฐานแบบเดิมอีกต่อไป แต่ขยับขึ้นไปรับงานที่ต้องใช้ฝีมือมากขึ้น แต่ไม่มีทั้งรัฐบาล และนายจ้างจะมาสอน ฝึก หัด ตกผลึกให้กลายเป็นอาชีพมากกว่าแค่ทำงานรายวัน ที่สำคัญ ยังขอค่าแรงเพิ่มเมื่อครบทุกวันแรงงาน? หรือจะเป็นการยกเครื่องระบบภาษีครั้งใหญ่ ที่แทบไม่เคยได้ยินบริษัทชั้นนำต่างชาติพร้อมจะยกนิ้วโป้ง แล้วพูดว่า OK คุณมาถูกทางแล้ว แต่ก็กลับไปได้ยินกระแสข่าวมากมายว่า ต้องเพิ่มช่องทางใหม่ในการเก็บภาษี ก็ไม่ต่างจาก ต้องเก็บทุกเม็ด แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการเช็คภาษีทุกวินาที? หรือถ้าจะโทษการเมืองแบบกีฬาสี ที่ปฏิรูปการนำเสนออย่างเหนือชั้น เมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา จนทำให้นักการเมืองสายอาชีพ  และสายสมัครเล่น ลืมหน้าลืมหลังกับอันดับความสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายที่เป็นประโยชน์ และปลดล๊อคศักยภาพทางเศรษฐกิจไทยที่แฝง(อยู่นาน) จนแทบจะไม่ได้ใช้กัน

ในอนาคต ขีดความสามารถในการแข่งขันบนพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่ๆ ได้รับการใส่ใจจากรุ่นสู่รุ่นโดยเฉพาะในต่างประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ที่ต้องอาศัยการยกเครื่องขีดความสามารถในการแข่งขันใหม่ๆ เพื่อสร้างทั้งสินค้า และบริการที่มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน ก็สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยาวนานมากขึ้น อีกทั้ง สลัดทิ้งวิธีคิดเดิมๆที่ไม่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน และในอนาคต เพราะ โลกร้อนด้วยน้ำมือมนุษยชาติขึ้นทุกวินาที ทุกวัน และทุกปี ดังนั้น การขยับ หรือสลัดทิ้ง เวทีการแข่งขันทางเศรษฐกิจในรูปแบบเดิมที่โลกในยุคหนึ่งอุณหภูมิยังเย็นสบาย แผ่นดินไหวไม่ถี่ คลื่นยักษ์สึนามิไม่เกิดขึ้นบ่อย พายุหิมะไม่ถล่มสร้างความเสียหายมาก และยาวนาน ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องจำเป็น และต้องทำ เพื่อเป้าหมายสำคัญ 2 อย่าง คือ เมื่อโอกาสทางเศรษฐกิจ และธุรกิจในยุคโลกร้อนเปิดให้เห็น ธุรกิจต่างๆต้องรีบคว้า เพื่อรักษาทั้งวงจรธุรกิจ และผลกำไรที่ปฏิสเธไม่ได้ว่าต้องทำกันต่อไป

อย่างสุดท้าย คือ สถานะเศรษฐกิจของประเทศที่จะยกระดับเทียบชั้นกับนานาชาติ สามารถสร้างมาตรฐานการแข่งขันในเวทีโลก ที่ป้องกันการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าเชิงโลกร้อนในอนาคต คำถาม(ที่ไม่สุดท้าย) คือ คุณ และรุ่นลูกรุ่นหลานพร้อมหรือยังกับสนามแข่งขันในเขตเศรษฐกิจใหม่ๆ เพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันเมืองไทย

 


 

รบกวนขอข้อมูลแปดเหลี่ยมเศษฐกิจหน่อยค่ะ

ตอบ คุณ [email protected]คำว่า “เหลี่ยมเศรษฐกิจ” เป็นเรื่องของ “เขตเศรษฐกิจการค้าเสรี” หรือ FTA - Free Trade Area ที่จะมีการสร้างกลุ่ม FTA กันไปตาม “ภูมิภาคหรือเขตหรือย่าน” (ภูมิภาค- Region รวม อนุภูมิภาค - Sub region) ต่าง ๆ ตามระบบใหม่ที่โลกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ‘Globalization’(โลกาภิวัตน์) ตามทฤษฎี “การจัดระเบียบโลกใหม่”(New world Orders) ลองเอาไทยเป็นศูนย์กลางแล้วนับไปทีละชาติลองไล่ดู ตามชื่อที่เรียกสามเหลี่ยมมรกต (Emerald Triangle Cooperation) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อ 3 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา (จุดหลี่ผี)สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : IMT- GT) คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย
สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (Quadrangle Economic Cooperation = QEC or UPMEC= Upper Mekong Economic Cooperation) คือ ไทย พม่า ลาว จีน (ยูนนาน)ห้าเหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS= Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) คือ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือ โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregional Economic Cooperation = GMS-EC) คือ ไทย พม่า ลาว จีน (ยูนนาน) กัมพูชา เวียดนามเจ็ดเหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือ ความริเริ่มอ่าวเบงกอล หรือ ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMST-EC = Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) (เดิมมี 5 ประเทศ ขยายเพิ่ม ภูฎาน และ เนปาล) คือ ไทย พม่า บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา ภูฎาน เนปาล แปดเหลี่ยมเศรษฐกิจ (PAN BEIPU WAN) คือ ไทย จีน เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท