การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : ปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญยิ่ง
หวน พินธุพันธ์
การปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญยิ่งที่มีผลต่อการพัฒนาคนให้เป็นคนเก่งคนดีได้นั้น ผู้เขียนคิดว่าหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาจะต้องปฏิรูปการเรียนการสอนหรือปฏิรูปการเรียนรู้เป็นอันดับแรก โดยครูอาจารย์ในทุกสถานศึกษาจะต้องเลิกการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง เปลี่ยนเป็นยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สาระสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น เป็นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยเน้นประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ พร้อมทั้งคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นการปฏิรูปการเรียนรู้จึงควรเริ่มที่สถานศึกษาทุกแห่ง ดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการประกันคุณภาพภายในผสมผสานอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ถ้าหากจะกล่าวโดยสรุปของหลักสำคัญของการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะต้องคำนึงถึงหลักที่สำคัญ ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แยกเป็นข้อๆรวม 7 ข้อ ดังนี้
1. ความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
|
จะเห็นได้ว่าทั้ง 7 ข้อนี้เป็นหลักสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ผู้สอนควรคำนึงถึงอย่างยิ่ง ส่วนวิธีสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น เราทราบเราคุ้นกันมานานแล้ว ครูอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษามาทางศึกษาศาสตร์-ครุศาสตร์เคยเรียนมาแล้วทุกคน เช่น วิธีสอนแบบแก้ปัญหา หรือ วิธีสอนตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ หรือ วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีสอนที่มีลักษณะคล้ายกันมาก คือเริ่มจากทำให้ผู้เรียนสามารถทราบปัญหาก่อน แล้วคิดตั้งสมมติฐาน จากนั้นก็เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลและนำผลสรุปไปใช้ ตามลำดับ วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนถามนำ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนแสวงหาคำตอบได้ ทั้งนี้โดยกระทำสืบเนื่องไปตามขั้นตอนที่สำคัญ คือการเข้าใจปัญหา พิสูจน์หลักการและตัดสินข้อสรุปต่างๆ และนำผลสรุปไปใช้ วิธีสอนแบบแบบอุปนัย เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนอธิบายจากข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่มองเห็นได้ หรือให้ผู้เรียนทำการทดลอง แล้วตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นภายหลัง วิธีสอนแบบหน่วย เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนทำการค้นคว้าหาข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์โดยทำกันเป็นกลุ่ม จากนั้นให้นำมารายงานให้เพื่อนฟังในชั้น วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนช่วยกันคิดช่วยกันวิเคราะห์ช่วยกันอภิปรายหาข้อสรุปจากประเด็นปัญหาที่ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันคิดขึ้น วิธีสอนแบบมอบโครงงานให้ทำ เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ โดยทำเป็นโครงงานแล้วเขียนเป็นรายงานหรือภาคนิพนธ์เสนอต่อผู้สอน วิธีสอนแบบบูรณาการ เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมวิชาใดวิชาหนึ่งผสมผสานกับวิชาอื่นๆ หรือเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆด้วย เช่นผู้เรียนเรียนวิชาภาษาไทย ก็ให้ทำกิจกรรมทั้งในวิชาภาษาไทย และทำกิจกรรมในวิชาสังคมศึกษา ศิลปศึกษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ไปพร้อมๆกันด้วย หรือเป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทุกด้านพร้อมๆกัน คือพัฒนาการทั้งทางกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม นอกจากนี้ยังมีวิธีสอนที่น่าสนใจ ที่อาจารย์ทางศึกษาศาสตร์ได้ค้นคว้าทดลองและสร้างรูปแบบ การสอนขึ้นมา เช่น วิธีสอนแบบวรรณี เป็นวิธีสอนที่รองศาสตราจารย์วรรณี โสมประยูร อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ค้นคว้าทดลองและสร้างรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาขึ้น และได้เผยแพร่เข้าสู่วงการศึกษาอย่างเป็นทางการมาแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 และ การสอนแบบจิตปัญญา ซึ่ง ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ทำการศึกษามาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 - 2542 และได้อธิบายขยายความว่า การสอนแบบจิตปัญญา เป็นการสอนที่มุ่งถึงจิตใจของผู้เรียนที่ต้องเรียนอย่างมีความสุข ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางปัญญา วิธีการสอนจะเน้นอยู่ที่กิจกรรมการสอนของครู ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองวิธีสอนแบบต่างๆที่ผู้เขียนกล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนเป็นวิธีสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทั้งสิ้น แต่เป็นที่สังเกตว่า เมื่อผู้ที่สำเร็จการศึกษาออกไปเป็นครูอาจารย์แล้ว ก็ไม่นำไปใช้ ทั้งๆที่เคยเรียนรู้มา เคยทดลองสอน เคยฝึกสอน บางคนอาจลืมไปหมดแล้วก็ได้ เมื่อทำการสอนยังคงสอนแบบยึดครูเป็นศูนย์กลางไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อเรามีนโยบายปฏิรูปการศึกษากันแล้ว จึงน่าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน ปรับปรุงการสอน โดยนำเอาวิธีสอนเหล่านี้มาใช้กันอย่างจริงจังได้แล้ว ผู้เขียนขอยกตัวอย่างที่น่าสนใจอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เสนอยุทธศาสตร์การเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญไว้อย่างน่าสนใจ ผู้เขียนคิดว่าจะนำไปใช้ได้เช่นกัน มีบางข้อคล้ายๆกับที่กล่าวมาแล้ว ยุทธศาสตร์ดังกล่าว มี 5 ข้อด้วยกัน ดังนี้
1. การเรียนแบบร่วมมือ เป็นวิธีการเรียนที่ให้นักเรียนทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆเพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ และทางด้านจิตใจ ช่วยให้นักเรียนเห็นคุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคลของเพื่อนๆ เคารพความคิดเห็นและความสามารถของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนตลอดจนรู้จักช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนๆ
|
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่เป็นรูปธรรม ที่ครูอาจารย์จะนำไปใช้ได้เช่นกัน โดยแยกออกเป็นกลุ่มวิชาต่างๆให้เห็นชัดเจนได้ดังนี้
1. กลุ่มคำนวณ ได้แก่วิชา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมีคำนวณ และวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ธรรมชาติของวิชาคำนวณต้องการความเข้าใจในกฎ ในทฤษฎีบทและที่มาของเนื้อหา ไม่ใช่การท่องจำสูตรคำนวณโดยไม่เข้าใจ แต่เป็นการเรียนรู้ที่มาของการพิสูจน์ และการทำแบบฝึกหัดที่หลากหลาย ดังนั้นผู้เรียนต้องเรียนรู้ที่มาของการพิสูจน์ และทำแบบฝึกหัดที่หลากหลายมากๆ
|
ที่น่าสนใจอีกแง่มุมหนึ่งที่ครูอาจารย์จะนำไปใช้ได้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆที่ปฏิรูป
การเรียนรู้ โดยได้ถ่ายทอดความรู้สึกถึงความต้องการของการเรียนแบบที่เรียกว่า "เรียนแบบยึดผู้เรียนเป็น
สำคัญ" ซึ่งเผยแพร่ในรายการ "เช้าวันนี้" ทางโทรทัศน์ ททบ. 5 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2544 มี น.ส.พักตร์
ประไพ เกียรติอุทัย ชั้น ม 6 ร.ร.คณะราษฎร์บำรุง ปทุมธานี น.ส.สิริพักตร์ สุวรรณทัต ชั้น ม. 6 และ ด.ช.ธนธิป บุญยธิดา ชั้น ม.3 ร.ร.ราชวินิตมัธยม กรุงเทพมหานคร และด.ญ.สุรีรัตน์ อ่ำมาลี ชั้น ป. 6 ร.ร.วัดใหญ่ไทร นนทบุรี นักเรียนทั้ง 4 คนนี้ได้สรุปความหมายและวิธีการของการเรียนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ว่า
"ชอบให้ครูปฏิรูปการเรียนการสอน เพราะทำให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง โดยครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นตลอดเวลา เป็นการเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน ทำให้พวกเรามีความสุขในเวลาเรียน เช่น วิชาสังคมศึกษา เราได้ลงไปสัมผัสกับของจริง สถานที่จริง เกิดความรู้สึกหวงแหนและอยากที่จะอนุรักษ์มรดกไทยให้คงอยู่ไว้นานๆ การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ได้มีโอกาสทำโครงงาน เก็บภาพต่างๆจากสถานที่จริง ผู้เรียนเกิดความรักและรู้ซึ้งถึงบรรยากาศเก่าๆ พร้อมนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นโฮม -เพจลงบนคอมพิวเตอร์ ทำให้พวกเราต้องศึกษาวิธีทำและเรียนรู้ระบบทั้งหมด ส่งผลให้เกิดกระบวนการทำงาน รู้จักแบ่งบทบาทหน้าที่กันและกัน เป็นต้น" น.ส.พักตร์ประไพ กล่าวเพิ่มเติมว่า "การเรียนแบบนี้จะสำเร็จได้ นอกจากขึ้นอยู่กับคุณครูแล้ว ผู้เรียนถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน เด็กควรมีโอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตั้งแต่ยังเล็กๆ เช่น การเรียนวิชาชีววิทยา คงไม่ต้องไปท่องจำในตำราทั้งหมด อาจใช้วิธีจำแบบแยกเป็นหมวดหมู่ จากส่วนใหญ่ไปส่วนเล็ก จากส่วนเล็กไปส่วนย่อย จำแนกเป็นลำดับขั้นตอน วิธีนี้ทำให้เข้าใจเนื้อหาและรายละเอียดวิชาได้ดีกว่าการท่องทีละตัว ส่วนวิชาเคมี ต้องทดลองและสัมผัสด้วยตัวเอง จะทำให้เราทำได้ และวิชาฟิสิกส์ ต้องหมั่นทำโจทย์บ่อยๆ" น.ส.สิริพักตร์ ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "วิชาคณิตศาสตร์ ได้เรียนรู้จาก Sheet ที่อาจารย์แจกให้ก่อน แล้วนำโจทย์มาคิดวิเคราะห์และพิสูจน์ด้วยตนเอง จะเข้าใจมากกว่าการเรียนแบบเดิมๆที่ผ่านมา ที่ยึดหนังสือเป็นตัวตั้ง ผลการเรียนเปลี่ยนแปลงไป นอกจากความรู้ที่ได้รับสำหรับใช้ในห้องเรียนแล้ว ความรู้เหล่านั้นยังสามารถนำกลับมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย"ยังมีการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ครูอาจารย์น่าลองนำไปใช้ได้อีก ผู้เขียนขอใช้คำว่า "หลัก 5 ค." ได้
แก่ ค้น คว้า คิด คาย คณะ ขออธิบายรายละเอียด ดังนี้
1. ค้น หมายถึงให้ผู้เรียนค้นเนื้อหาความรู้จากห้องสมุด จากอินเตอร์เน็ต ไปถามคนในชุมชน ไปถามผู้รู้จากหน่วยงานต่างๆ ไปศึกษานอกสถานที่ตามสถานที่ต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า "ค้น" ทั้งสิ้น
|
ถ้าหากให้ผู้เรียนทำได้ทำกิจกรรมตั้งแต่ 1 ค. ถึง 5 ค. อาจไม่ครบทั้ง 5 ค. ก็ได้ แสดงว่าเป็นการเรียน การสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแล้ว จากแนวคิดและตัวอย่างทั้งหมดนี้จึงกล่าวได้ว่า หัวใจของการปฏิรูปการศึกษาคือการปฏิรูปการเรียนรู้นั่นเอง ที่ผ่านมาการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนท่องจำ ทำให้การเรียนเป็นเรื่องยาก น่าเบื่อหน่าย ทำให้เด็กไม่ฉลาด คิดไม่เป็น ทำงานไม่เป็น ดังนั้นผู้สอนจะต้องหาทางทำเรื่องการเรียนรู้ให้เป็นเรื่องสนุก และสามารถพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ผู้เรียนเป็นตัวตั้ง อย่างไรก็ตามการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้นั้น ผู้สอนจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแล้ว ผู้สอนไปไหนก็ได้ ปล่อยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมกันตามลำพัง ผู้สอนจะต้องใกล้ชิดผู้เรียน จะต้องคอยชี้แนะ คอยให้กำลังใจ และดึงในสิ่งที่ผู้เรียนไม่รู้ เช่น ศักยภาพของตัวเด็กออกมาให้เด็กได้รู้ เพื่อเป็นการเสริมจุดเด่นของเด็ก และช่วยแก้ปัญหาในจุดอ่อนของเด็กด้วย หวังว่าครูอาจารย์คงจะปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยทั่วกันนะครับ
ที่มา : หวน พินธุพันธ์.บทความการศึกษา.[เข้าถึงได้จาก]; http://www.moobankru.com/teacharticle3.html
|
วิเคราะห์บทความเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน
ชื่อบทความ การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : ปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญยิ่ง
ผู้เขียน หวน พินธุพันธ์
สาระสำคัญของบทความ : หัวใจของการปฏิรูปการศึกษาจะต้องปฏิรูปการเรียนการสอนหรือปฏิรูป การเรียนรู้เป็นอันดับแรก โดยครูอาจารย์ในทุกสถานศึกษาจะต้องเลิกการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง เปลี่ยนเป็นยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สาระสำคัญของการปฏิรูป การเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น เป็นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม การเรียนรู้ โดยเน้นประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ พร้อมทั้งคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นการปฏิรูปการเรียนรู้จึงควรเริ่มที่สถานศึกษาทุกแห่ง ดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการประกันคุณภาพภายในผสมผสานอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ผู้เขียนได้เสนอหลักการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เรียกว่า"หลัก 5 ค." ได้แก่ ค้น คว้า คิด คาย คณะ และกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นให้นักเรียนทำกิจกรรมโดยผู้สอนจะต้องใกล้ชิดผู้เรียน คอยชี้แนะ คอยให้กำลังใจ และดึงในสิ่งที่ผู้เรียนไม่รู้ เช่น ศักยภาพของตัวเด็กออกมาให้เด็กได้รู้ เพื่อเป็นการเสริมจุดเด่นของเด็ก และช่วยแก้ปัญหาในจุดอ่อนของเด็กด้วย
ความคิดเห็นต่อบทความ : เป็นบทความที่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญหรือยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางต่อครูได้เป็นอย่างดี โดยมีการบอกถึงหลักสำคัญในการจัดกิจกรรมที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แต่ละกลุ่มวิชาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหากครูได้ศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งก็สามารถนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตน
สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ : จากการศึกษาบทความ เรื่อง การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : ปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญยิ่ง นั้น สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้มีดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นหัวใจสำคัญสู่การปฏิรูปการศึกษา ในฐานะที่เป็นครูจึงควรศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญให้ละเอียดลึกซึ้ง เพื่อนำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนเก่งและคนดี เป็นครูที่มีหน้าที่ มีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา 2. การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สามารถทำได้โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนแบบประสบการณ์ การเรียนแบบอภิปัญญา การเรียนแบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนแบบทำโครงการ ซึ่งจากการศึกษาและประสบการณ์ในการสอนพบว่านักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนรู้และสามารถจดจำที่เรียนรู้ได้นานกว่าการท่องจำ
3. ได้เห็นยกตัวอย่างการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่เป็นรูปธรรมทุกวิชา ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งต้องสอนทุกกลุ่มสาระวิชา แต่ไม่ได้ถนัดทุกกลุ่มสาระ จึงได้แนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับกลยุทธ์ในการสอนให้ดียิ่งขึ้น
4. การปรับประยุกต์ใช้หลัก 5 ค ได้แก่ ค้น คว้า คิด คาย คณะ สำหรับใช้ในเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา เช่น เรื่อง ส่วนประกอบของพืช กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โดยการให้นักเรียนลงพื้นที่สำรวจส่วนประกอบของพืช หากนักเรียนไม่เข้าใจสามารถสอบถามเพื่อน พี่ ภารโรง และครูได้ จากนั้นให้นักเรียนวาดภาพหรือเขียนส่วนประกอบของพืชมาร่วมกันอภิปราย ลักษณะและหน้าที่ของส่วนประกอบของพืช และทำใบงาน เป็นต้น