การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยจิตเวช


Phase แรกนี้ น่าจะเป็นขอบเขตถึง วิถีการดูแลผู้ป่วย...ปัญหา อุปสรรค ไปจนตลอดถึงความรู้สึกของผู้ดูแลและชุมชนที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวชนี้

       ช่วงนี้เรากำลังวุ่นวายกับการดำเนินการโครงการเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการที่ทาง สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) เร่งรัดให้รีบดำเนินการ (ตามประสาเทศกาลใกล้สิ้นปีงบประมาณ...ที่จำเป็นต้องรีบสะสาง) พี่เขียวกับพี่เบิร์ดกำลังถกกันอย่างนักว่าจะดำเนินการอะไร อย่างไร...

...
       จนได้รายละเอียดของขอบเขตที่ควรดำเนินการแล้ว...พี่เบิร์ดจึงถามว่ากะปุ๋มจะ ผนวกเข้าไปในส่วนที่กำลังดำเนินงาน R2R ไหม..เพราะเราสามารถได้งบประมาณมาสนับสนุนได้..ดิฉันก็เลยรีบตอบรับและนำมาดำเนินการต่อเลย...ก็ถือโอกาสคุยกับพี่เขียวเรื่องพื้นที่ที่จะลงไปศึกษากระบวนการทางปัญญา...แต่งานนี้คงต้องแยกออกจากกัน สำหรับพื้นที่ที่จะลง "การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยจิตเวชนี้" เราเลือกโซนในการดำเนินการ...โดยพื้นที่ที่เราเลือกมานี้ มีเกณฑ์ว่า...

...
       เป็นพื้นที่ที่มีปัญหา หมายถึง มีจำนวนผู้ป่วยมาก การเข้าถึงบริการเข้าถึงได้ยาก และจำนวนผู้ป่วยที่มีปัญหาอาการไม่คงที่ ซึ่งตกลงเราก็ได้พื้นที่ตำบลเดิด เป็นพื้นที่ที่จะลงไปศึกษา เพราะจากสภาพปัญหาที่เราศึกษาเขตพื้นที่นี้อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลยโสธร มีผู้ป่วยทางจิตจำนวนเยอะ และกระจัดกระจาย ส่งผลให้เกิดการเข้าถึงบริการทำได้ยาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในความก้าวหน้าในอาการของผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยในเขตพื้นที่นี้ค่อนข้างมีอาการไม่คงที่...การดำเนินโรคไปไม่ถึงอาการระดับดีขึ้นสักที..

...
       จึงปรึกษากันว่า...ลองเข้าศึกษาถึงตัวผู้ป่วยและครอบครัวอย่างแท้จริงเลยดีกว่า...น่าจะได้ข้อมูลหรือรายละเอียดที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับภาวะการเจ็บป่วยดียิ่งขึ้นดังนั้นวันพฤหัสที่จะถึงนี้...เราได้นัดพื้นที่..ในการเข้าไปพุดคุยทำ focus group ในกลุ่ม อสม. ชาวบ้านหรือญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึง อบต. ด้วย...ในประเด็น "การดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน"...

       โดยใน Phase แรกนี้ น่าจะเป็นขอบเขตถึง วิถีการดูแลผู้ป่วย...ปัญหา อุปสรรค ไปจนตลอดถึงความรู้สึกของผู้ดูแลและชุมชนที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวชนี้...จากนั้นได้ข้อสรุปอย่างไร...ใน Phase ต่อไปเราก็ลงไปหาแนวร่วมเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการดูแล...ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 44804เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2006 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • เห็นหัวข้อแล้วต้องรีบเข้ามาอย่างด่วนเลยครับ
  • เผื่อ Dr.Ka-poom จะมีเทคนิควิธีสำหรับฟื้นฟูผู้ป่วยจากอาการอาหารเป็นพิษบ้างครับ
  • เพราะตอนนี้จะกินอะไรก็ไม่กล้าเลยครับ
  • กลัวน้ำหนักลดครับ ถ้ากินได้น้อยอย่างทุกวันนี้ครับ
  • ถ้ามีอะไรแนะนำบอกด้วยนะครับ
  • ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ท่านปภังกรคะ...

กระปุ๋มถนัดทางจิตมากกว่าทางกายคะ...

อยากจะแนะนำ...ก็กล้วๆ..กล้าๆ...อายๆ..คะ...

หากฟื้นฟูสภาพทางจิตๆ...ใจๆ...นี้ถนัดนักแลคะ...

ขอบพระคุณนะคะ...ที่แวะเวียนมา

 

หวัดดีครับ คุณกระปุ๋ม ดีใจที่ได้เจองานที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลจิตเวช กำลังศึกษาอยู่ว่าจะแลกเปลี่ยนความรู้กันได้อย่างไร (ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่นักก็ขอให้รุ่นพี่แนะนำด้วยละกัน)

สำหรับผมตอนนี้เรียนจิตเวชอยู่ที่ออสเตรเลีย ก็ไปเจออะไรใหม่ๆ อยากจะแลกเปลียนครับ

ไม่ทราบว่า ตอนนี้มีเครืองมืออะไรในการประเมินคนไข้บ้างครับ อย่าง global funcitoning assessment, family support หรือ need assessment

ขอโทษนะครับพี่ใช้ทับศัพท์ เพราะผมไม่รุ้ว่าตอนนี้ในภาคปฏิบัติได้ทำอะไรไปถึงไหน 

เมื่อต้นปีผมทำรายงานส่ง พยายามหาข้อมูลในเมืองไทย แต่กระจัดกระจายมาก รูปแบบการดูแลผุ้ป่วยก็ไม่ชัดเจน ก็เลยคิดเอาว่า ไม่น่าจะมีเครืองมือที่ชัดเจน

ขอคำแนะนำดว้ยค้าบ

คุณ ck508....

ยินดีอย่างยิ่งที่ได้คนคอเดียวกันในงาน...สนใจประเด็นเดียวกันมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้...ในเรื่อง "ฅนจิตเวช"....นี้

....

สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผู้ป่วยในเชิง clinical term นั้นนักจิตวิทยาคลินิคและจิตแพทย์...ใช้เครื่องมือ Global Assessment of Functional (GAF) scale และเราใช้ทุกตัวที่คุณ ck508 กล่าวถึง...

เมื่อสักครู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่เบิร์ดนักจิตวิทยาคลินิก เธอบอกว่าเป็นมาตรฐานทั่วโลกนะคะ...ที่ใช้ในการประเมินทางด้านclinical term....

...

อย่างไรแลกเปลี่ยนรู้มาได้นะคะ...

ขอบคุณคะ

ถูกเจ้ากะปุ๋มบอก ( หรือบังคับก็ไม่รู้เพราะบอกว่า เจ๊ !เข้ามาตอบใน Blog นี้นะ ^ ^ ) ให้มาตอบใน Blog นี้ เอ้า..เอาก็เอา

คุณ ck 508 ..จากการอ่านไม่แน่ใจว่าคุณต้องการทราบถึงเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจตามแกนทั้ง 5 แกนของ Multi Axis หรือเปล่า หรือต้องการทราบถึงการตั้ง Case  Formulation เพื่อวางแผนการรักษาถ้ายังไงลองติดต่อมาอีกทีนะคะ จะได้ตอบถูก

เอ้า...งานนี้คุณ ck508 คุยกับพี่เบิร์ดแล้วกันนะคะ...นักจิตวิทยาคลินิก...ตัวจริงเสียงจริง...จากเมืองเชียงฮาย...

ยินดีครับ ทั้งคุณพีเบิร์ดและคุณกะปุ๋ม

ตอนนี้ที่ออสฯใช้ multi axis สำหรับประเมินคนไข้ (ตอนไปใหม่ๆ ผมก็เหวอเหมือนกันเพราะบ้านเราใช้ ICD10 หรือไม่ก็เป็นแบบผสมผสานของ WHO ที่เป็นDSM IV-TR แถมใช้แบบลูกผสมอีกต่างหาก 555) พร้อมทั้ง GAFscale ส่วนเวลาทำ case managment เราใช้ need assessment ของ CANSAS ครับ

สำหรับการดูแลคนไข้ตอนนี้ เขาได้ทำโปรแกรม CRM (collaborative rehabilitation model)  โดยนำโมเดล Change Model ร่วมกันกระบวนการให้คำปรึกษาที่เรียกว่า Motivational Interview  และมีการมอบหมายงานให้คนไข้เอาไปทำเรียกว่า Home assignment  มีการนำเสนอผลของโปรแกรมแล้ว

แล้วผมจะรวบรวมแล้วเสนอให้ในบอร์ดผมนะครับ

คุณคนไกลบ้าน...

ขอบคุณนะคะ...ที่นำมาแลกเปลี่ยนต่อยอด...

กะปุ๋มและพี่เบิร์ดจะรอแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ...

หรือว่ามีอะไรดีดีทางโน้น...ก็ช่วยบอกเล่าให้ทราบด้วยนะคะ...

ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท