การเพาะเลี้ยงปลากัดและการเปลี่ยนเพศปลากัดด้วยฮอร์โมน


การเพาะเลี้ยงปลากัด การเปลี่ยนเพศปลากัดด้วยฮอร์โมน

* การเพาะเลี้ยงปลากัด *

             ปลากัดเป็นปลาพื้นเมืองของไทยเราโดยแท้  เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วปลากัดได้ถูกนำมาเลี้ยงไว้เพื่อเป็นเกมส์กีฬาเท่านั้น  โดยนิยมเลี้ยงปลากัดตัวผู้ไว้กัดต่อสู้กัน  บางทีอาจมีการพนันขันต่อกันบ้างเป็นธรรมดา  ซึ่งการกัดปลาเป็นเกมส์กีฬาที่รู้จักกันดีทั้งเด็กและผู้ใหญ่  ปลากัดนี้นับได้ว่ามีความสามารถพิเศษที่จะปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกๆแห่ง  เป็นปลาที่มีเลือดนักสู้ที่ทรหดมากมีนิสัยหวงที่และก้าวร้าว  ชอบความเป็นหนึ่ง  ไม่ยอมให้ปลาอื่นล่วงล้ำเข้ามา  ถ้ามีผู้บุกรุกจะพองตัวกางครีบ  ฉีกเหงือกขึ้นสีจัดแล้วพุ่งตัวเข้าใส่ทันที  กัดกันจนแพ้ชนะกันไปข้างหนึ่ง  บางครั้งถึงกับเสียชีวิตก็มี  จึงได้ชื่อว่า  เป็นปลายอดนักสู้จากเมืองสยาม “  และได้รับความสนใจจากนักเลี้ยงปลาทั่วโลก

            ปลากัดถือได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดชนิดเดียวเท่านั้น  ที่มีลักษณะรูปพันธุ์  และมีสีสันแปลกตาสวยงามมาก  เป็นปลาที่มีความงดงามอันจะช่วยสร้างความเพลิดเพลินและสาระประโยชน์ให้ไม่น้อยทีเดียว

 * ขั้นตอนการผลิตปลากัด *

            ขั้นที่  1  เตรียมพ่อแม่พันธุ์วางไข่  ความลึกน้ำ  10 - 20  เซนติเมตร  มีการใส่สาหร่าย  จอก  โดยใช้ขันพลาสติก  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  8  นิ้ว

            ขั้นที่  2  ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลากัดในอัตราส่วน  1 :1  หลังจากเทียบคู่  1  สัปดาห์  เมื่อปลาวางไข่ให้นำพ่อแม่พันธุ์ปลาออก

            ขั้นที่  3  ปล่อยทิ้งไว้  3  วัน  ไข่ฟักออกเป็นตัววันที่  4  ให้ไข่แดงต้มสุกจนปลาอายุ  7 -10  วัน  แล้วจึงเริ่มให้ไรแดงเป็นอาหาร

            ขั้นที่  4  หลังจากลูกปลาอายุ  1  ถึง  1  เดือนครึ่ง  ทำการคัดแยกปลาใส่ขวดแยกเพศแล้วแยกไว้คนละด้านไม่รวมกัน  คัดปลาผิดปกติไม่สวยเป็นปลาเหยื่อประมาณ  20  % 

            ขั้นที่  5  เลี้ยงปลาจนอายุได้  3  เดือนเป็นต้นไป  เริ่มทยอยขายตามตลาดและผู้รวบรวมส่งรังปลา

* การใช้ฮอร์โมนเปลี่ยนเพศปลากัด *   

 

            ในปัจจุบันการเลี้ยงปลากัดเป็นที่สนใจของเกษตรกรเป็นอย่างมาก  เพราะว่าสามารถส่งออกขายต่างประเทศซึ่งทำรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างดี  แต่โดยทั่วแล้วไปในปลากัดแม่หนึ่งๆจะให้ลูกปลาซึ่งเป็นเพศเมียประมาณ  2  เท่าของเพศผู้  และปลากัดเพศผู้จะมีราคาสูงกว่าปลากัดเพศเมียประมาณ  5 – 6  เท่า ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนเปลี่ยนปลากัดให้เป็นเพศผู้จึงมีความสำคัญเเก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจไม่น้อย  เพราะจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายปลาเพิ่มขึ้น

            ฮอร์โมนที่ใช้ในการเปลี่ยนเพศปลากัดให้เป็นปลากัดเพศผู้ซึ่งได้ผลดีนั้นมีชื่อเรียกทางการค้าว่า “ ฮาโลเทสติน  “ (Halotestin) ซึ่งมีขายทั่วไปตามร้านขายยา  โดยฮอร์โมนนี้จะมีลักษณะเป็นเม็ดกลมขนาดเล็ก  มีน้ำหนักเม็ดละ  5  มิลลิกรัม  ราคาเม็ดละประมาณ  4  บาท  เราสามารถให้ปลากินฮอร์โมนนี้โดยการบดฮอร์โมนให้ละเอียดแล้วผสมน้ำละลายให้เข้ากัน  แล้วใช้น้ำยาฮอร์โมนแช่กับลูกไรทิ้งไว้ให้น้ำยาซึมเข้าประมาณ  20  นาที  แล้วนำไปให้ลูกปลากัดกินซึ่งมีวิธีการทำดังนี้

      นำฮอร์โมน  2  เม็ด  บดให้ละเอียด   ผสมน้ำ  50  ซี.ซี. คนให้ละลายน้ำยาฮอร์โมนเก็บไว้ในตู้เย็น  อุณหภูมิ  4 องศาเซลเซียส  นำฮอร์โมนแช่ลูกไร  20 นาที  นำลูกไรไปให้ลูกปลากินให้ลูกปลากัดกิน (เริ่มเมื่ออายุ 3 วัน)    ติดต่อกัน 14 วัน  แล้วสามารถแยกปลากัดตัวผู้ใส่ขวด                                                                                                                  

                                                                                                    

            อัตราการใช้ฮอร์โมน

  1. นำลูกปลากัดที่มีอายุ  3  วันลงเลี้ยงในภาชนะที่ไม่ให้มีอาหารธรรมชาติอื่นเกิดขึ้นได้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลากัดไปกินอาหารอื่นแล้วไม่ยอมกินลูกไรที่แช่น้ำยาฮอร์โมน  จะทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนเพศ
  2. ในช่วงลูกปลากัดมีอายุ  3  วัน จนถึงอายุ  9  วันนี้จะให้ลูกไรที่แช่น้ำยาฮอร์โมนวันละ  1  ครั้งโดยให้ลูกไร  1  ช้อนชา / น้ำยาฮอร์โมน  1  ซี.ซี. / ลูกปลากัดจากแม่ปลา  1  คลอก

   3.ในช่วงอายุลูกปลา  10  วันจนถึงอายุ  16  วัน  ให้ลูกไรที่แช่น้ำยาฮอร์โมนวัน ละ  2  ครั้ง (เช้า-เย็น) โดยให้ลูกไร  1  ช้อนชา / น้ำยาฮอร์โมน  2  ซี.ซี. / ลูกปลากัดจากแม่ปลา  1  คลอก

   4.หลังจากที่ได้ให้ลูกไรแช่น้ำยาฮอร์โมนติดต่อกันเป็นเวลา  14  วันแล้วจึงหยุดให้ลูกไรที่แช่น้ำยาฮอร์โมน  หลังจากนี้ให้เลี้ยงลูกปลากัดด้วยอาหารตามปกติ

   5.ผลที่ได้หลังจากที่ให้ลูกปลากัดกินลูกไรที่แช่น้ำยาฮอร์โมนติดต่อกันเป็นเวลา  14  วันแล้วจะได้ผลว่าสามารถเปลี่ยนลักษณะภายนอกของลูกปลากัดให้เป็นเพศผู้ได้ทั้งหมด  สังเกตได้จากปลากัดทุกตัวมีครีบที่ยาวขึ้น  ออกสีสรรเข้มสวยงาม  และมีนิสัยในการต่อสู้เหมือนปลากัดเพศผู้ทุกประการ

หมายเลขบันทึก: 446605เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ถูกใจมากครับ

สวัสดีคับ

นาย ธงชัย แซ่หลี่ ปวช.3/4 คับ

ถูกใจมากครับ

สวัสดีคับ อาจารย์

ได้ความรู้มากครับ

ได้ความรู้มากมาย

นาย วีรพันธ์ เมืองธรรม

สัวดีคับอาจารย์บรรชรผมคิดว่าการเพราะเลี้ยงปลากัดน่าจะให้ประโยชน์ต่อหลายๆ คน

นายวีรพันธ์ เมืองธรรม ปวช. 3/4 เลขที่ 9

สุดยอดเลยครับ

ขอบคุงครับ

ทำให้เข้าใจในงานการเลี้ยงดีคับ

นาย นัฐวัติ ทรายคำ

ขอบคุณที่ให้กับปลากัด

งานที่ให้ผมทำผมทำเสร็จแล้วนะครับ

นาย เสาร์แก้ว ปุ๊ดไข่

หาได้แล้วคับผม

นางสาวเยาวลักษณ์ สมบูรณ์

เยี่ยมมากค่ะ

นาย กิตติพงษ์ โดงย็น

อาจารณ์ เยียมมากครับ

ได้ความรู้หลายอย่างมากคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท