ปริญญาเอก


"รู้หรือยังล่ะว่าเขาให้เราเรียนปริญญาเอกทำไม" คือ ประโยคที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านเมตตาเอ่ยถาม

"ทราบแล้วเจ้าค่ะ"

"อืม...ดี"

ที่เขาให้เราเรียนหนังสือตั้งแต่อนุบาลจนถึงปริญญาเอกนี่ ก็เพื่อให้เราได้รู้ว่าคนดีพึงเป็นอย่างไร เสียสละเป็นอย่างไร ไม่ใช่ให้เรียนเพื่อเอาใบปริญญา นั่นน่ะเป็นเพีงเบ็ดที่เขาใช้ตกเหยื่อ เราหลงไปเป็นเหยื่อไปติดเบ็ดนั้น

เราเกิดมานั้นเป็นผู้เสียสละ ไม่มีภาระอะไรไม่มีครอบครัวให้ตั้งเป้าหมายให้ไกลไปเลย ในวันนั้นข้าพเจ้าตั้งใจฟังพ่อแม่ครูบาอาจารย์ด้วยใจที่น้อมรับ

สำหรับข้าพเจ้าแล้วนี่คือคำตอบที่ลงใจอย่างยิ่งว่าเราเรียนหนังสือไปเพื่ออะไรตลอดชีวิตของข้าพเจ้าได้ก้าวเข้าไปสู่กระบวนการเรียนอย่างเป็นระบบมากมายหลายสาขาหลายระดับข้าพเจ้าต้องการแสวงหาคำตอบว่าเราเรียนไปเพื่ออะไรและทำไมเราจึงต้องเรียน แล้วเรียนไปแล้วเพื่อให้เราได้รู้อะไรกันแน่

สิ่งที่เรารู้นั้นไม่น่าจะใช่เพื่อการเลี้ยงชีพเท่านั้น

น่าจะมีมิติบางอย่างที่ลึกซึ้งลงไป

แล้วคำสอนที่ได้รับนั้นทำให้ข้าพเจ้าทราบว่าคำตอบที่ข้าพเจ้าได้เกิดแน่ใจว่านั่นน่ะไม่ได้ทำให้หลงทาง

หลายคนสงสัยว่าเรียนนั้นเพื่อฆ่าเวลา...

เพราะดูลักษณะการเรียนหนังสือของข้าพเจ้าก็ไม่ได้มุ่งมั่นว่าจบแล้วจะไปทำนั่นทำนี่ เรียนแล้วก็แล้วก็ ไม่ได้ทำอะไรก็ยังคงมีวิถีชีวิต บางคนเรียนเพื่อไปเป็นครูอาจารย์ บางคนเรียนเพื่อยกระดับฐานะทางชีวิต บางคนเรียนเพื่อรู้ให้ลึกซึ้งในองค์ความรู้สาขานั้นๆ

สำหรับข้าพเจ้าแล้วเรียนเพื่อให้รู้ว่าไม่ต้องเรียนอีกแล้วไม่ว่าจะเรียนอะไรสาขาอะไรก็ไม่ได้ทำให้เราแตกต่างไป เรียนแล้วก็แล้ว กำไรที่ได้อีกอย่างจากการเรียนที่นอกเหรือข้อมูล(Data) ก็คือ ปัญญา บางคนเรียนหนังสือไปแต่ไม่ได้ปัญญา ได้แต่ความรู้ที่เป็นชุดข้อมูลชุด Data แต่ปัญญาไม่เกิด

ข้าพเจ้ามาสังเกตดูในแวดวงของคนเรียนหนังสือน้อยคนจึงเกิดปัญญา ส่วนใหญ่จะเป็นแค่คนถ่ายผ่านความรู้เท่านั้น คนที่มีปัญญามักจะเป็นคนที่มีจิตใจดี เสียสละ ไม่ถูกครอบด้วยโลกธรรมแปด คนที่ไม่มีปัญญามักจะเป็นคนเห็นแก่ตัวเอง พวกพ้องและคนที่ตนใกล้ชิดรู้จักเท่านั่น แต่ใจที่สละออกนั้นแทบไม่มี

บทธรรมจากหลวงพ่อ

...

๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔

วังน้ำเขียว

หมายเลขบันทึก: 445150เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2011 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ

เมื่อวานเจ้าหน้าที่เขตฯ ถามหาดอกเตอร์ จะให้ไปสอน ป.โท.

เราก็คิดแบบสนุกๆ ว่า เอาคนไม่รู้ ไปสอนคนไม่รู้ สิ่งที่ได้คือ ความไม่รู้(จริง)

พบมากเวลานี้ ดอกเตอร์ ที่คิดไม่เป็น พูดไม่เป็น ฟังไม่เป็นและเขียนไม่ได้

คือ ถ่ายทอดอะไรไม่ได้เลย แต่มาดดีมาก

ดังนั้น...จึงพบว่า เมืองไทยดอกเตอร์มากที่สุด แต่ ต้องปฏิรูปรอบสอง

และเด็กอ่านไม่ออก ผลสัมฤทธิ์ต่ำทั่วประเทศ เป็นเพราะค่านิยม

ที่เราขยันใขว่ขว้า แต่เราไม่ขยันทำงานแก้ปัญหาหรือเปล่า

ดอกเตอร์ เก่ง ๆ ก็มี แต่เชื่อเถอะ น้อยลงไปเรื่อยๆ ครับ

ผมยังจำคำพูดอาจารย์ถึงประเด็นนี้ได้เสมอ

แม้จะผ่านมาครบขวบปีแล้วก็ตาม

บางครั้ง การที่เราได้คุยกันเพียงเวลาไม่ถึงห้านาที

(เพราะเวลาของอาจารย์มีคุณค่ามากมายนัก

และผมไม่อยากเหนี่ยวรั้งเวลาที่อาจารย์จะได้แบ่งปันในคนอื่น ๆ)

เราได้คุยกันหน้าห้องอาหารว่าง ของ R2R ครั้งที่ 3

แต่ได้มาคุยเรื่องนี้เพราะผมปุจฉาอาจารย์

ซึ่งอาจารย์ตอบให้ผมคิดและทบทวนกับชีวิตของตนเองอย่างมากมาย

และน่าปฏิหารย์มาก ที่บนเวที ซึ่งกระจายเสียงทุกจุดในห้องและรอบห้องประชุม

น่าจะเป็นอาจารย์เกษม วัฒนชัย นะครับ

ยิ่งทำให้ผมเชื่อมั่นว่า

ผมจะเดินทางไปข้างหน้าต่อไปอย่างไรดี ?

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ

ปุ๋มจ๋า

เรียนแล้วก็แล้ว จริงๆด้วยค่ะ

สิ่งที่ติดตัวติดหัวมา พอได้นำมาใช้กับเด็กๆ ในความดูแลของครูอย่างพี่

ฟังมากๆ สะกิดให้เขาตระหนักรู้ในตน จนนำไปสู่การตัดสินใจของเขา

ด้วยตัวเขาเอง

สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าเราไม่ใส่หัวใจลงไปด้วย

ปุ๋มเรียนมา 2 ปริญญาเอก สิ่งที่ติดหัวมาคงมากมายจนเป็นธรรมชาติ

ผสมผสานกับความคิด จิตบริสุทธิ์ของปุ๋ม จึงทำให้การถ่ายทอดสู่คนอื่นๆ

เป็นไปอย่างราบรื่น งดงาม และปลูกปัญญาให้บุคคลโดยแท้

ขอบคุณนะคะที่ได้เจอกัน เป็นเพื่อน เป็นพี่น้องกัน และรักกัน จนถึงวันนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท