ความจำและการพัฒนาทักษะการเรียน


ทำอย่างไรฉันจึงจะจำได้แม่นและเรียนได้ตามที่ตั้งใจ

ความจำและการพัฒนาทักษะการเรียน

ความจำ เป็นกระบวนการในการเก็บข้อมูล หรือสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้น ภายในช่วงเวลาหนึ่ง อาจจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพียงเสี้ยววินาที หรือนานตลอดชีวิตเลยก็ได้
ระบบความจำของมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.ความจำในระบบการรู้สึกสัมผัส (Sensory memory) เป็นความจำที่เกิดขึ้นในกระบวนการรับความรู้สึกของมนุษย์และสัตว์ เช่น ความจำของภาพติดตาที่เกิดขึ้นในการดูภาพยนตร์  และความจำของเสียงที่เราได้ยินเป็นประโยคยาวๆ  เป็นต้น
2.ความจำระยะสั้น (Short term memory : STM) เป็นความสามารถของมนุษย์ในการจำสิ่งเร้าต่างๆ ได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ อาจเพียงไม่ถึง 10 วินาที และจะจำสิ่งเร้าได้จำนวนจำกัด ประมาณ 5 – 9 chunk เท่านั้น ลักษณะของความจำประเภทนี้จะเป็นการจำเพียงชั่วคราว  เพื่อใช้ประโยชน์ในขณะนั้นเท่านั้น  เมื่อหมดประโยชน์ที่จะใช้สิ่งที่จำแล้ว ก็จะลืม
ทฤษฎีที่อธิบายความสามารถของความจำประเภทนี้ได้ดี คือ ทฤษฎีการกระบวนสาร (Information processing theory) กล่าวคือ ภายในจิตของคนเรา เปรียบเหมือนกับกล่องใบหนึ่งที่มีพื้นที่ที่จะสามารถรับจำสิ่งเร้าได้ในเวลาอันจำกัด ได้ในปริมาณที่จำกัด หากจำเป็นจะต้องจำสิ่งต่างๆ จำนวนมากกว่าที่จะสามารถรับได้ จะส่งผลให้สิ่งที่จะจำอยู่เดิมนั้น ถูกผลักออกไปจากพื้นที่ความจำ หรือ อีกกรณีหนึ่งคือไม่สามารถจะจำสิ่งใหม่ได้
3.ความจำระยะยาว (Long term memory : LTM) เป็นความสามารถในการจำสิ่งต่างๆ ไว้เป็นระยะเวลานาน แต่เมื่อเราไม่ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่จำเป็นเวลานานๆ  ก็จะทำให้เกิดอาการลืมได้เช่นกัน แต่เมื่อได้รับการกระตุ้นหรือชี้แนะ ก็จะทำให้จำได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง หรือ เกิดการจำที่เร็วขึ้นกว่าการจำในครั้งแรก เรียกว่า การเรียนซ้ำ (Relearning)

วิธีการพัฒนาประสิทธิภาพของการจำ
1.การใช้แผนภูมิ หรือ ผังงาน
2.การเชื่อมโยงความคิดกับข้อมูลที่ต้องการรักษาไว้
3.การจำเป็นมโนภาพ โดยลำดับเหตุการณ์ หรือสถานที่ในสถานการณ์ต่างๆ
4.สร้างความผูกพันกับอารมณ์ หรือสร้างความหมาย
5.ใช้เครื่องช่วยเตือนความจำ
6.การจำแนก แบ่งกลุ่ม หรือจัดหมวดหมู่
7.การใช้คำสัมผัสหรือกลอน เพื่อช่วยจำ
8.การใช้อักษรย่อ หรือคำใบ้
9.การฝึกใช้ และบริหารสมองเป็นประจำ

การพัฒนาทักษะการเรียน
    การเรียน เป็นกระบวนการในการพัฒนาตนเองทั้งในด้านความคิดและทักษะ โดยมีการปรับรูปแบบของการปฏิบัติของเรา ต่อสิ่งเร้าต่างๆ ที่เข้ามากระตุ้น ด้วยวิธีการใหม่ๆ  เพื่อความเหมาะสมและเกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันมีการจัดรูปแบบการการเรียนการสอนออกเป็นประเภทต่างๆ มากมาย เช่น
•การเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการ,
•การเรียนการสอนแบบศึกษาจากประเด็นปัญหา,
•การเรียนการสอนแบบสาธิตให้ดู,
•การเรียนการสอนแบบบรรยาย,
•การเรียนการสอนแบบให้ทำโครงการศึกษาในสิ่งที่ตนเองสนใจ,
•การเรียนการสอนแบบสัมมนา,
•การเรียนการสอนแบบฝึกภาคสนาม,
•การเรียนการสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย,
•การเรียนการสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ,
•การเรียนการสอนแบบปฏิบัติ,
•การเรียนการสอนแบบรวดรัด(Tutorial group),
•การเรียนการสอนแบบระดมสมอง เป็นต้น

ลักษณะการเรียนการสอนแต่ละประเภท จะมีจุดเด่นต่างๆ กันไป ตามวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ตามวิธีการพัฒนาทักษะในการเรียนของแต่ละประเภทก็มีลักษณะร่วมกัน คือ ขึ้นอยู่กับ
1.ตัวผู้เรียน
1.1ความต้องการและแรงจูงใจในการเรียน
1.2ความพร้อมทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ
1.3ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
1.4การฝึกหัด ทบทวน
1.5ระดับสติปัญญา และความสามารถเฉพาะด้านของผู้เรียน
2.ตัวผู้สอน
3.บรรยากาศในการเรียนการสอน
4.สื่อและอุปกรณ์ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ
5.ปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือสภาวะคุกคามในการเรียนการการสอน

เทคนิคและวิธีการพัฒนาทักษะการเรียน
1.ในการฟังบรรยาย ควรจดบันทึกสรุปหัวข้อโดยสังเขป และหัวข้อย่อย ตลอดช่วงการฟัง
2.ฟังโดยจับใจความสำคัญ และจดย่อๆ
3.เวลาจดอาจข้ามคำบางคำที่ไม่จำเป็น แต่ต้องเข้าใจเมื่ออ่านในภายหลัง
4.พยายามเว้นที่ว่างบนหน้ากระดาษให้มาก เพื่อใช้ในการตั้งคำถามตนเองในภายหลัง หรือเพิ่มเติมตัวอย่างที่ทำให้เข้าใจมากขึ้น
5.ฟังด้วยความตั้งใจ โดยใช้อวัยวะรับสัมผัสทุกส่วนที่สามารถทำได้
6.สร้างคุณลักษณะของการเป็นผู้เรียนที่ดี
6.1มีสิ่งกระตุ้นในการเรียน
6.1.1มีความปรารถนา
6.1.2มองเห็นคุณค่าและประโยชน์
6.1.3วางแผนอาชีพไว้คร่าวๆ
6.1.4มีเหตุผลในการเข้าเรียน
6.2สร้างวิธีการเรียนที่ดีในชั้นเรียน
6.2.1เข้าใจวิธีการที่อาจารย์สอน
6.2.2ถาม
6.2.3ทบทวน
6.2.4เตรียมเรื่องก่อนเข้าเรียน
6.2.5วิพากษ์วิจารณ์แบบก่อประโยชน์
6.2.6ถ้าขาดเรียน จะต้องใช้เวลามากในการชดเชย
6.2.7เตรียมตัวสอบล่วงหน้าอย่างเหมาะสม
6.2.8ระงับใจไม่ให้ตื่นเต้นเวลาสอบ
6.3สร้างแผนในการทำงาน
6.3.1กำหนดตารางในการอ่านหนังสือ หรือทำงาน
6.3.2ไม่อ่านหนังสือนาน หรือสั้นจนเกินไป
6.3.3กระตือรือร้น
6.3.4พักผ่อนเมื่อจำเป็น
6.3.5มีที่เฉพาะสำหรับอ่านหนังสือ
6.3.6ไม่วอกแวก หรือเสียสมาธิ
6.4รักษาตนเอง
6.4.1รักษาสุขภาพ
6.4.2ตรวจร่างกายเป็นระยะ
6.4.3นอนเป็นเวลา และเหมาะสมกับระดับอายุ
6.4.4รับประทานอาหารให้เพียงพอและครบตามหลักโภชนาการ
6.4.5ออกกำลังกายกลางแจ้ง
6.4.6มีเพื่อนสนิทที่สามารถพูดคุยได้ทุกเรื่อง
7.พัฒนาเทคนิคในการอ่าน
7.1เทคนิค SQ3R
7.1.1Survey    สำรวจ
7.1.2Question    ตั้งคำถาม
7.1.3Read    อ่าน
7.1.4Recite    ท่อง
7.1.5Review    ทบทวน
7.2เทคนิค P.A.T
7.2.1Preview    อ่านบทนำ หรืออ่านแบบคร่าวๆ
7.2.2Attacking    ขีดเส้นใต้ หรือเน้นสิ่งที่สำคัญ
7.2.3Testing    ตั้งคำถาม ถามตนเองในแต่ละย่อหน้า
7.3โยงความรู้ แล้วทำให้ความรู้ใหม่นั้นเชื่อมโยงกับความรู้เก่าอย่างแตกฉาน
7.4ปรับการอ่าน โดยการกวาดสายตา แทนการอ่านออกเสียง
7.5ทบทวนและสรุป จาการอ่านสารบัญหรือแผนภูมิต้นไม้ที่เราสร้างขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย

คำสำคัญ (Tags): #เทคนิคการจำ
หมายเลขบันทึก: 443886เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2011 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท