ความชื้นของอากาศ


           ความชื้นของอากาศ  คือ  ปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศบริเวณใดบริเวณหนึ่ง  ซึ่งมีสัดส่วนที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ ถ้าอากาศมีความชื้นต่ำ น้ำจะเกิดการระเหยได้มาก  เสื้อผ้าที่ตากไว้จะแห้งเร็ว  แต่ถ้าอากาศมีความชื้นสูง  น้ำจะระเหยได้น้อย  เสื้อผ้าที่ตากไว้จะแห้งช้า  ขณะที่น้ำเกิดการระเหยจะทำให้อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมลดต่ำลง  เนื่องจากน้ำที่ระเหยจะดูดความร้อนจากสิ่งต่าง ๆไปใช้ในการระเหยนั่นเอง  เช่น  อุณหภูมิของเทอร์มอร์มิเตอร์เปียกลดต่ำลง  อุณหภูมิของน้ำในตุ่มดินเผาลดต่ำลง  เป็นต้น  การที่น้ำในตุ่มดินเผาเย็นกว่าน้ำที่เก็บในภาชนะอื่นนั้น  เนื่องจากตุ่มดินเผามีลักษณะรูพรุน  ซึ่งน้ำสามารถระเหยออกมาได้ จึงทำให้อุณหภูมิของตุ่มและน้ำลดต่ำลง  น้ำในตุ่มดินเผาจึงเย็นกว่าดังกล่าว

          อากาศอิ่มตัว  คือ  อากาศที่มีไอน้ำอยู่เต็มที่และไม่สามารถรับเพิ่มได้อีกแล้ว  ณ  อุณหภูมิหนึ่ง

ปัจจัยที่มีผลต่อการระเหย 

1.  อุณหภูมิ   เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น  การระเหยจะเกิดเร็วขึ้น

2.  พื้นที่ผิว  ถ้าพื้นที่ผิวหน้ามากขึ้นการระเหยจะเกิดได้ดี

3.  ความชื้นในอากาศ  ถ้าในอากาศมีความชื้นสูง  การระเหยจะเกิดได้ยาก

4.  ชนิดของสาร ของเหลวที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงจะมีค่าความร้อนแฝงสูงกลายเป็นไอได้ยาก  ความดันไอต่ำ แต่จุดเดือดสูง

      เมื่อโลกได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์  น้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ บนโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยอยู่ในอากาศปะปนกับแก๊สต่าง ๆ ปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศนี้  เรียกว่า  ความชื้นของอากาศ

      ปริมาณไอน้ำที่อากาศรับไว้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของบรรยากาศ  ถ้าอุณหภูมิสูงอากาศจะรับไอน้ำได้มาก  ถ้าอุณหภูมิต่ำอากาศจะรับไอน้ำได้น้อย  ถ้าอากาศอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถรับไอน้ำได้อีก  แสดงว่าอากาศขณะนั้นอิ่มตัวด้วยไอน้ำ  เรียกสภาวะนี้ว่า  อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ  หรืออากาศอิ่มตัว  ซึ่งเป็นสภาวะที่อากาศมีความชื้นมากที่สุด

        อากาศ  1  ลูกบาศก์เมตร  ณ อุณหภูมิต่าง ๆกัน จะรับไอน้ำได้ดังนี้

  • ที่อุณหภูมิ  10  องศาเซลเซียส  อากาศรับไอน้ำได้มากที่สุดประมาณ  9.3  กรัม
  • ที่อุณหภูมิ  20  องศาเซลเซียส  อากาศรับไอน้ำได้มากที่สุดประมาณ  17.5  กรัม
  • ที่อุณหภูมิ  30  องศาเซลเซียส  อากาศรับไอน้ำได้มากที่สุดประมาณ  30.5  กรัม

การวัดความชื้นของอากาศ

เรามีวิธีบอกค่าความชื้นของอากาศได้  2 วิธี  คือ

       1 ) ความชื้นสัมบูรณ์  ( absolute  humidity ) หมายถึง  อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำอากาศกับปริมาตรของอากาศนั้น  ณ อุณหภูมิเดียวกัน มีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ( g / m3 )

                ความชื้นสัมบูรณ์ ( AH )      =   มวลของไอน้ำในอากาศ

                                                          ปริมาตรของอากาศ  ณ  อุณหภูมิเดียวกัน

ตัวอย่าง  อากาศในที่แห่งหนึ่งมีปริมาตร  8  ลูกบาศก์เมตร ณ อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส มีไอน้ำอยู่ 32  กรัม  ความชื้นสัมบูรณ์มีค่าเท่าไร

                ความชื้นสัมบูรณ์ =   32   กรัม

                                             8  ลูกบาศก์เมตร

                                      =     4  กรัมต่อลูกบาศก์เมตร

                2 ) ความชื้นสัมพัทธ์  ( relative  humidity )  คือ  ปริมาณเปรียบเทียบระหว่างมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้นกับมวลไอน้ำในอากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน ( นิยมบอกค่าความชื้นสัมพัทธ์เป็นร้อยละ )

                ความชื้นสัมพัทธ์ ( RH )     = มวลของไอน้ำที่มีอยู่จริง     ×   100



 

                 มวลของไอน้ำในอากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน

ตัวอย่าง   ที่อุณหภูมิ  27  องศาเซลเซียส  อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ  180  กรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ขณะนั้น มีไอน้ำอยู่จริงเพียง  135  กรัมต่อลูกบาศก์เมตร  ความชื้นสัมพัทธ์มีค่าเท่าไร

                ความชื้นสัมพัทธ์      =    135  กรัมต่อลูกบาศก์เมตร     ×   100

                                                 180  กรัมต่อลูกบาศก์เมตร  

                                           =    75 %

อุปกรณ์ที่ใช้วัดความชื้นของอากาศ

    กาหาค่าความชื้นในอากาศวัดเป็นความชื้นสัมพัทธ์โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า  ไฮโกรมิเตอร์

( hygrometer )  ซึ่งมีทั้งแบบเส้นผมและแบบกระเปาะเปียก – กระเปาะแห้ง

     1.  ไฮโกรมิเตอร์แบบเส้นผม  ใช้หลักการยึดหดตัวของเส้นผม (เส้นผมที่สะอาดปราศจากไขมัน)   ถ้าค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงเส้นผมจะยืดตัวออก  เมื่อค่าความชื้นสัมพัทธ์ต่ำเส้นผมจะหดตัวสั้นลง

2. ไฮโกรมิเตอร์แบบกระเปาะเปียก – กระเปาะแห้ง  หรือไซโครมิเตอร์ ( psychrometer)  ประกอบด้วยเทอร์มอมิเตอร์  2  อัน  กระเปาะเทอร์มอมิเตอร์อันหนึ่งหุ้มด้วยผ้าชื้น จึงเรียกว่า กระเปาะเปียก  ผลต่างระหว่างอุณหภูมิกระเปาะแห้งและกระเปาะเปียกจะสามารถนำมาคำนวนค่าความชื้นสัมพัทธ์ได้     ดังในตารางที่  1

ตารางแสดงค่าความชื้นสัมพัทธ์คิดเป็นเปอร์เซ็นต์                   

                        อุณหภูมิเทอร์มอมิเตอร์

                                        กระเปาะแห้ง                                     

ผลต่างของ                                  ( 0c )    

 อุณหภูมิ  ( 0c )    

 

 

10-14

 

 

15-19

 

 

20-24

 

 

25-29

 

 

30-34

 

 

35-39

 

 

40-44

0.5

1.0

1.5

2.0

2.5

3.0

3.5

4.0

4.5

5.0

6

7

94

89

83

77

72

67

61

56

51

46

36

26

95

90

86

81

76

72

67

63

58

54

46

38

96

92

88

83

80

75

72

68

64

60

63

46

96

93

89

85

82

78

75

71

68

62

57

51

97

93

90

86

83

78

77

74

71

68

62

57

97

94

91

88

85

80

79

76

73

71

65

60

97

94

91

89

86

83

81

78

76

73

68

63

ที่มา :  ( ปิ่นศักดิ์  ชุมเกษียน 2546 , 81 )

ตัวอย่าง    อ่านค่าอุณหภูมิจากเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะแห้งได้  29  องศาเซลเซียส

                อ่านค่าอุณหภูมิจากเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะเปียกได้  25  องศาเซลเซียส

               ดังนั้น  ผลต่างของอุณหภูมิ  คือ  29 – 25  =  4  องศาเซลเซียส

               จากตารางที่  1  เราสามารถหาค่าความชื้นสัมพัทธ์ได้ดังนี้

1. แนวนอนสังเกตอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะแห้งในช่อง  25 – 29

2. แนวตั้งสังเกตผลต่างของอุณหภูมิในแถว  4.0

3. ตัวเลขที่ตัดกันในแนวนอนและแนวตั้ง คือ 71 ดังนั้นค่าความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 71 %

      เมื่ออากาศมีความชื้นมากจะทำให้น้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ระเหยได้น้อย รวมทั้งเหงื่อจากตัวเราด้วย  ทำให้เรารู้สึกอึดอัดและเหนียวตัว  แต่ถ้าอากาศมีความชื้นน้อย  น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆจะระเหยได้มาก  เหงื่อจากตัวเราระเหยได้มาก  ทำให้รู้สึกเย็น  จนบางครั้งอาจทำให้ผิวหนังแห้ง

      ความชื้นในอากาศมีประโยชน์อย่างมาก  เนื่องจากไอน้ำส่วนหนึ่งจะกลายเป็นฝน  ซึ่งฝนจะตกได้ก็ต่อเมื่ออุณหภูมิเหมาะสมและมีปริมาณไอน้ำในอากาศเพียงพอ  ปัจจัยที่ช่วยให้อากาศมีความชื้นอยู่เสมอคือ  ต้นไม้  เพราะใบไม้มีการคายน้ำออกสู่อากาศ ดังนั้น  เราจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์ป่าไม้ไว้ เพื่อช่วยให้อากาศมีความชื้นและทำให้ฝนตกตามฤดูกาล

 

(ผู้สนใจ สามารถดาวน์โหลด ชุดฝึกฉบับเต็มได้ที่ ไฟล์)

หมายเลขบันทึก: 438663เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2011 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากรุ้ประโยชน์ของความชื้นหน่อยคัฟ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท