ถอดบทเรียน nonaka


ถอดบทเรียนงาน ถอดรหัส nonaka วันที่  29  เมษายน  2554  ณ  โรงแรมริชมอนด์  จังหวัดนนทบุรี  จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม  (สคส) 

ชมภาพบรรยายกาศได้ที่นี้ครับ  (คลิ๊ก)

...........................................

ก.  เนื้อหาความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ 

 

1.  สรุปความรู้จากเอกสารแจก

 

1.1  หลักคิดของ  ศาสตราจารย์  อิคูจิโร  โนนากะ  (Prof.Nonaka) 

 

1.1.1  การจัดการองค์กรที่เหมาะสมต่อการจัดการความรู้  คือ  แบบ  “กลาง-ขึ้น-ลง”  (Middle-Up-Down)  ซึ่งเน้นการใช้พนักงานหรือผู้บริหารระดับกลางเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อน  โดยที่พนักงานระดับกลางจะเป็นผู้เชื่อมโยงวิสัยทัศน์หรือความฝันของผู้บริหารระดับสูง  เข้ากับความจริงหรือการปฏิบัติของพนักงานระดับล่าง  ซึ่งขัดแย้งกับตำราบริหารของโลกตะวันตก  ที่มักกล่าวว่าผู้บริหารระดับกลางเป็นพนักงานกลุ่มที่เรียกว่า  “เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์”  ไม่ค่อยมีประโยชน์ทำให้เสียเงิน

 

1.1.2  การแลกเปลี่ยนความเอาใจใส่กัน  (Care),  การแลกเปลี่ยนความรัก  (Love),  การแลกเปลี่ยนความไว้เนื้อเชื่อใจกัน  (Trust)  และการแลกเปลี่ยนความปลอดภัย  (Safety)  เป็นเรื่องใหญ่มาก  เพราะคือทุนทางสังคม  (Social  Capital)  ถ้าไม่มี  4  ตัวนี้  เราจะไม่มีการแลกเปลี่ยน  tacit  knowledge  กัน  เพราะคนไม่ไว้ใจ  รู้สึกไม่ปลอดภัย  รู้สึกว่าถูกละเลย  หรือถูกปฏิบัติไม่ได้  โดยเฉพาะสังคมตะวันตก  พอใช้  IT  มากๆเข้าก็ละเลยทุนทางสังคม  ซึ่งทุนทางสังคมก็คือ  high-emotional  knowledge  ซึ่งคนที่เป็นผู้นำเป็นผู้บริหารจะต้องเน้นตัวนี้ให้มากๆแล้วเขาก็จะสามารถจูงใจให้คนในทีมมาแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

 

1.1.3  Ba  concept  หมายถึง  สถานที่ที่กลุ่มคนมาอยู่รวมกันและทำการแลกเปลี่ยนความรู้  ประสบการณ์ระหว่างกัน  โดยต้องการบรรลุเป้าหมายเดียวกัน  การพูดคุยดังกล่าวจะเป็นการพูดคุยในสถานการณ์และบรรยากาศแบบไม่เป็นทางการ  เช่น  ห้องกาแฟสำหรับพนักงาน  ลานพักผ่อนอเนกประสงค์  มุมสูบหรี่ที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ  การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์  การจัดงานท่องเที่ยวประจำปี  เป็นต้น 

 

1.2  หลักคิดของ  ศาสตราจารย์นายแพทย์  วิจารณ์  พานิช

 

1.2.1  การประเมินที่เอาใจใส่คน  และความรู้  Performance  Review  มีจุดอ่อนตรงที่มีลักษณะครอบจักวาล  (One-size-fits-all)  ขาดความละเอียดอ่อน  ไม่คำนึงถึงบริบทที่แตกต่าง  และเป็นการค้นหาข้อบกพร่องเพื่อแก้ไข  นำไปสู่การเล่นเกมหรือแทงข้างหลังได้ง่าย

 

1.2.2  การประเมินองค์กร/หน่วยงาน  ควรเปลี่ยนจากประเมินจาก  100%  quantitative  เป็น  80%  qualitative  โดย  1)  เน้นการประเมินผลสำเร็จตามแผน  โดยประเมินกระบวนการบรรลุผล  มากกว่าตัวผลกำไร  2)  กำหนดแผนและผลลัพธ์ของแต่ละงาน  ไม่เกิน  8  ตัว  วัดผลสำเร็จตามมาตรา  5  ระดับ  3)  ให้คุณค่าแก่กระบวนการสำคัญ

 

1.2.3  การประเมินบุคคล  ควรใช้  3  ตัวชี้วัด  คือ  1)  ผลลัพธ์ของหน่วยงาน  2)  ผลงานของบุคคล  3)  การพัฒนาทักษะของบุคคล  .....  องค์กรเรียนรู้ต้องเอาใจใส่ประเมินการสร้างและสั่งสมความรู้  หรือปัญญาปฏิบัติที่จำเป็นสำหรับ  อนาคต  ไว้ใช้งาน 

 

1.3  หลักคิดของ  ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด     

    

1.3.1  ระบบบริหารงานในปัจจุบันนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าผู้บริหารต้องการอะไร มักจะใช้วิธีการตั้ง  KPI  ขึ้นมา  ภายใต้สมมติฐานที่ว่าถ้ามี  KPI  แล้วทุกคนก็จะให้ความสนใจกับเรื่องนั้นๆ  นี่เป็นการมองที่ผิวเผินมาก  คือแค่ตั้ง  KPI  ไว้  แล้วก็ใช้  KPI  เหล่านี้ “ไล่บี้” คนทำงานใช้การประเมินเพื่อดูว่าคนนั้นคนนี้เดินไปตามตัวชี้วัดหรือไม่  โดยที่ไม่ได้เอ่ะใจด้วยซ้ำไปว่านี่คือต้นเหตุของการหลอกกันไปหลอกกันมาภายในองค์กร คือผู้บริหารหลอกใช้คนทำงานผ่านการตั้ง  KPI  ส่วนคนทำงานก็หลอกผู้บริหารผ่านการทำผลงาน (ปลอมๆ) เพื่อให้เห็นว่าเป็นไปตาม KPI พูดง่ายๆ ก็คือพลังงานที่คนในองค์กรใช้กลับกลายไปอยู่ที่เรื่องการ “หลอกกันไปหลอกกันมา” ซะเป็นส่วนใหญ่ จนแทบจะไม่มีใครรู้ว่าอะไรจริงอะไรไม่จริงอีกต่อไป  แล้วอย่างนี้สิ่งที่ทุกคนอยากได้ สิ่งที่เขียนไว้ใน “ค่านิยม” องค์กร  (อย่างสวยหรู)  เช่น  เรื่องความไว้เนื้อเชื่อใจ  (Trust)  เรื่องความเอาใจใส่กัน (Care)  จะเกิดขึ้นได้อย่างไร?

 

2.  สรุปความรู้จากการเข้าร่วมในช่วงต่างๆ

 

2.1  เวลา  09.00-10.30  น.  การเสวนาหัวข้อ  ตกผลึก  Nonaka  :  ภาวะผู้นำและการประเมินแนวใหม่  

 

2.1.1  สรุปความรู้จากศาสตราจารย์นายแพทย์  วิจารณ์  พานิช

 

1.  การที่หน่วยงานจะตกผลึกความรู้ภายในองค์กรได้นั้น  สิ่งสำคัญอันดับแรกคือการสร้างบรรยากาศ  โดยไม่เน้นการประเมินเพื่อคำตอบว่า  ถูก  หรือ  ผิด

 

2.  ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรนั้น  จะต้องนำไปลองปฏิบัติหรือต่อยอด  หรือที่เรียกว่า  ปัญญาปฏิบัติ  (Practical  Wisdom,  Phronesis)  และต้องเป็นการปฏิบัติแบบ  ร่วมหมู่  จึงจะเกิดความลึกซึ้งที่แท้จริง

 

3.  องค์กรต้องสร้างวิธีการหรือเครื่องมือเพื่อมองเรื่องต่างๆที่แตกต่าง  หลากหลาย  แล้วนำมา  share  เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม

 

4.  ผู้นำที่ดีควรสมดุลด้วย  ความคิด  (idea)  และ  อุดมการณ์  (ideal)

 

5.  ผู้นำ  หมายถึงบุคลากรทุกคนทุกระดับในองค์กร

 

6.  ผู้นำองค์กรต้องมองทั้งปัจจุบัน  และอนาคตอันไกล  เพื่อความอยู่ได้อย่างยั่งยืนขององค์กร

 

7.  ภาวะผู้นำในปัจจุบัน  คือ  เข้าใจการเปลี่ยนแปลง  ความไม่แน่นอนสังคมเศรษฐกิจ  เทคโนโลยี  คู่แข่ง  ความต้องการที่เปลี่ยนไป

 

8.  ชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์กร  ควรมีอยู่  2  ส่วน  คือ  1)  งานประจำ/KPI  และ  2)  งานสนุก/งานที่ชอบ/การเรียนรู้/การพัฒนา/คุณค่าต่อสังคมที่หน่วยงานเกี่ยวข้อง

 

9.  ความเป็นผู้นำสามารถสอนได้โดยไม่ต้องส่งไปเข้าหลักสูตรฝึกอบรม  แต่สามารถสร้างกระบวนการฝึกฝนที่เนียนอยู่ในงานประจำ  เช่น  กระบวนการหมุนเวียนคน

 

10.  องค์กรในปัจจุบันเป็นองค์กรที่ซับซ้อน  complex  เมื่อเรามองว่าเป็นองค์กรแบบเส้นตรง  เราก็จะเห็นว่ามีคนอยู่  3  ระดับเท่านั้น  คือ  เจ้านาย  เรา  ลูกน้อง  และหากว่าเรามององค์กรซับซ้อน  เราก็จะมองว่าทุกคนในองค์กร  คือ  เพื่อนร่วมงาน 

 

2.1.2  สรุปความรู้จากศาสตราพิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

 

1.  Leadership  =  cognitive  +  emotion

 

2.  องค์กรเล็กมีข้อได้เปรียบคือสามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

 

3.  ความแตกต่างระหว่างแนวคิดของ  ศ.โนนากะ  กับ  ตะวันตก

 

3.1  ศ.โนนากะ=เน้น  พนักงานระดับกลาง  สูง  และล่าง  /  ตะวันตก=เน้น  CEO

 

3.2  ศ.โนนากะ=เน้นทุกคน/  ตะวันตก=เน้น  HR

 

3.3  ศ.โนนากะ=เน้นความสุข/  ตะวันตก=เน้น  KPI

 

3.4  ศ.โนนากะ=เน้นการสร้างบรรยายกาศการเรียนรู้ภายในองค์กร/  ตะวันตก=เน้นการฝึกบุคลากรเข้าอบรมในหลักสูตร

 

2.2  เวลา  10.45-12.00  น.  การเสวนาหัวข้อ  ประเมินที่ใส่ใจคนและสร้างศิลปะ

 

2.2.1  สรุปความรู้จากคุณสุรพงษ์  ศุภจรรยา

 

1.  การที่ลูกค้ามีความพึงพอใจ  นั้นหมายถึง  รู้สึกว่าคุณค่ามีความสำคัญกว่ามูลค่า  และในทางตรงกันข้ามเกิดความไม่พึงพอใจ  หมายถึง  รู้สึกว่ามูลค่าสำคัญกว่าคุณค่า

 

2.  หลักคิดของการแลกเปลี่ยนรู้เรียนของบริษัท  NOK  คือ  รู้  ทำ  เข้าใจ  ถ่ายทอด

 

3.  บริษัท  NOK  มีการกำหนดสมรรถนะหลักของคนในองค์กร  คือ  QUICK  =  Quality  awareness  /  Unity  and  teamword  /  Innovation  /  Cost  awareness  /  Knowledge  และนำมาพิจารณาจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพตามสมรรถนะที่กำหนดไว้แบบมีส่วนร่วม

 

4.  หน้าที่ของเจ้านาย  คือ  การเติมเต็มส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ของลูกน้อง

 

2.2.2  สรุปความรู้จากนายแพทย์ชาตรี  เจริญศิริ

 

1.  อัตวิสัยน์  คือ  การเรียนรู้ตนเอง  และสนหัดสนทนากับผู้อื่น

 

2.  บุคลากรในองค์กรควรมีทักษะในการฟังอย่างตั้งใจ  (deep  listening)  จึงจะทำให้องค์กรพัฒนาและเกิดนวัตกรรม

 

2.3  เวลา  13.00-15.00  น.  การเสวนาหัวข้อ  การประเมินแบบ “คู่ขนาน” ประสบการณ์จากภาคราชการ

 

2.3.1  สรุปความรู้จากนายแพทย์สมศักดิ์  ชุณหรัศมิ์

 

1.  การจัดการความรู้ของกรมอนามัย  ไม่เน้นเพื่อตอบ  KPI  ของ  กพร.  เท่านั้น  แต่เน้นเรื่องคุณภาพของกิจกรรมมากกว่าปริมาณของการจัดกิจกรรม  หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เป็นโครงการ  หรือ  project

 

2.  ผลกระทบในแง่ดีของการนำ  KM  มาใช้ในกรม  คือ  คนดีขึ้น  คนเก่งขึ้น  องค์กรเรียนรู้

 

3.  กรมใช้เครื่องมือ  KM  ที่เรียกว่า  ธารปัญญา  (river  diagram)  มาเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนา

 

2.3.2  สรุปความรู้จากนายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์

 

1.  บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการความรู้ของกรมสุขภาพจิต  คือ  CEO,  CKO,  KM  Teamกลาง,  KM  Teamหน่วยงานย่อย

 

2.  กรมสุขภาพจิตใช้เครื่องมือ  KM  เป็นตัวขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

 

3.  การได้มาซึ่งความรู้ของกรมสุขภาพจิตคือ  การวิจัยงานประจำ  (R2R)  และการจัดการความรู้  (KM)

 

4.  กรมสุขภาพจิตมีหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร  คือ  “หลักสูตรการพัฒนาจิตใจในองค์กร”  เพื่อการพัฒนาตนเอง  ทีมงาน  องค์กร  เน้นเรื่องของสมาธิ  และสติ  เป็นการฝึกที่เนียนอยู่กับงานประจำตั้งแต่เข้างานจนเลิกงาน

 

5.  การประชุมของหน่วยงานภายในองค์กร  จะใช้หลักการสุนทรียสนทนา  การฟังอย่างลึกซึ้ง  และการคิดเชิงบวก  ซึ่งก่อนการประชุมจะมีการทำข้อตกลงกติการร่วมกันก่อน

6.  การประเมินบุคลากรของกรมสุขภาพจิตเน้นหลักการ  คือ  มองข้ามจุดอ่อน  หาจุดดี  ทำให้บุคลากรที่ถูกประเมินรู้สึกถึงคุณค่าในตัวตนเอง

 

2.4  เวลา  15.15-16.30  น.  การเสวนาหัวข้อ  ประเมิน  ประหาร  จิตวิญญาณ  การพัฒนา

 

2.4.1  สรุปความรู้จาก  ดร.ประพนธ์  ผาสุกยืด

1.  ระบบการประเมินที่ดีควรเริ่มจากการเท่าเทียมกันระหว่างผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน  และมีการร่วมกำหนด  KPI 

 

2.  ผลการประเมินของลูกน้อง  หรือ  ผู้ถูกประเมินนั้น  จะออกมาดีหรือไม่นั้น  เจ้านายหรือผู้ประเมิน  ควรมีส่วนรับผิดชอบผลนั้นด้วย

 

3.  การประเมิน  KPI  หรือ  เกณฑ์ที่เป็นเชิงคุณภาพ  ควรใช้เครื่องมือ  story  telling  จากผู้ถูกประเมินสู่ผู้ประเมิน  เนื่องจากบางสิ่งบางอย่างนั้นมันมีเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก  ความภาคภูมิใจเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

 

4.  สิ่งที่จะทำให้องค์กรพัฒนา  คือ  การใช้เครื่องมือของ  KM  ขับเคลื่อน  KPI

 

2.4.2  สรุปความรู้จากคุณทรงผล  เจตนาวณิชย์

 

1.  หลักการประเมินตาม  KPI  ในปัจจุบันนั้นทำให้ผู้ที่ถูกประเมินขาดความคิดสร้างสรรค์  ลดความมั่นใจ  ลดความใฝ่รู้  รู้สึกว่าคุณค่าในตนเองต่อสังคมมีน้อย  แต่ทางออกที่คู่ขนานกันไปคือ  การหนด  KPI  ร่วมกันระหว่างผู้ที่ประเมินและผู้ถูกประเมิน

 

2.  การประเมินตาม  KPI  นั้นยังไม่ส่งเสริมต่อกระบวนการจัดการความรู้  เนื่องจากผลการประเมินที่ออกมา  ยังไม่มีคำตอบหรือข้อมูลของ  “ทำไม  อย่างไร

 

3.  เจ้านาย  หรือ  ผู้ประเมิน  มักคาดหวังให้ผู้ถูกประเมินทำได้ตามศักยภาพของผู้ประเมิน

 

................................................. 

ข.  สิ่งที่สามารถนำมาต่อยอดในศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา 

 

1.  สำรวจภาวะความสุขการทำงานในองค์กรบุคลากรศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา  เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาวางแผนการจัดการการเรียนรู้ภายใน

 

2.  ปรับเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา  ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.2554  ครั้งที่  2  และพัฒนาสู่ปีงบประมาณ  พ.ศ.2554  แบบมีส่วนร่วม  โดยตัวชี้วัดแบ่งเป็น  3  กลุ่ม  คือ  ตัวชี้วัดผลลัพธ์ของศูนย์ฯ  ตัวชี้วัดผลงานของบุคคล  ตัวชี้วัดการพัฒนาทักษะของบุคลากร

 

3.  สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์  (Tacit  Knowledge)  โดยยึดหลักคิด  คือ  แลกเปลี่ยนความเอาใจใส่กัน  (Care),  แลกเปลี่ยนความรัก  (Love),  แลกเปลี่ยนความไว้เนื้อเชื่อใจกัน  (Trust)  และแลกเปลี่ยนความปลอดภัย  (Safety)

               

หมายเลขบันทึก: 438384เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2011 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณมากครับ อยากรู้เรื่องโนนากะมานานแล้ว

จิตสาธารณะเป็นคำที่สวยงาม แต่ใครได้นั้นสวยงามกว่า และมีคุณค่ามากครับ

nonaka  เอาไปเอามาผมก็รู้ว่า  คือ  การชื่นชมคุณค่าในตัวคน  ครับ

ขอบคุณครับคุณลุง  วอญ่า  สุขภาพแข็งแรงนะครับ

  • สวัสดีครับ คุณ กัมปนาท
  • แวะมาทักทายและให้ กำลังใจครับผม
  • เป็นเพื่อนกับ อ.ไพฑูรย์ ดวงฤทธิ์ ไหมครับ

สวัสดีครับคุณครูฐานิศวร์  ผลเจริญ  ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

ผมอายุนิดเดียวครับ 33 ปี  แต่ยังไม่รู้จัก อ.ไพฑูรย์  ดวงฤทธิ์  แต่การข้างหน้าอาจจะได้เจอและรู้จักกันครับ  แบบb2b หรือ f2f  ก็อาจเป็นได้ 

ผมคงเป็นรุ่นลูก  หรือรุ่นน้องท่านมั้งครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากครับที่นำเรื่องราวดีๆ มีสาระมาลง ได้ข้อคิดเพิ่มมากเลยครับ ให้กำลังใจครับ

พี่ก็เข้าร่วมฟังด้วยในวันนั้น

ขอบคุณมากๆ สำหรับบทสรุป

สุดยอดเลยค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท