Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษากับพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม ๒


แพรภัทร ยอดแก้ว. 2553. นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางจริยธรรมกับทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม” ในการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 7 วันที่ 7 ธันวาคม 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

จากการวิเคราะห์ข้อมูล  สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

๑.      ปัจจัยส่วนบุคคล 

ตารางที่ ๒         จำนวนและร้อยละของนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสยาม 

            จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล

     (n = ๓๓๓)

ปัจจัยส่วนบุคคล

จำนวน (คน) 

ร้อยละ

เพศ

 

 

              ชาย

๖๖

๑๙.๘

              หญิง

๒๖๗

๘๐.๒

รวม

๓๓๓

๑๐๐.๐

คณะ

 

 

              วิศวกรรมศาสตร์

๑๗

๕.๑

              บริหารธุรกิจ

๙๒

๒๗.๖

              นิติศาสตร์

๒๒

๖.๖

              ศิลปศาสตร์

๑๗

๕.๑

              วิทยาศาสตร์

๐.๖

              นิเทศศาสตร์

๕๕

๑๖.๕

              พยาบาลศาสตร์  

๑๐๓

๓๐.๙

              เภสัชศาสตร์

๒๕

๗.๕

รวม

๓๓๓

๑๐๐.๐

ระดับการสอบธรรมศึกษา

 

 

              ชั้นตรี

๓๒๓

๙๗.๐

              ชั้นโท

๑.๕

              ชั้นเอก

๑.๕

รวม

๓๓๓

๑๐๐.๐

ประสบการณ์ในการสอบธรรมศึกษา

 

 

              เคยสอบ

๑๒๒

๓๖.๖

              ไม่เคยสอบ

๒๑๑

๖๓.๔

รวม

๓๓๓

๑๐๐.๐

ระดับการศึกษา

 

 

              ปริญญาตรี

๓๒๔

๙๗.๓

              ปริญญาโท

๒.๔

              ปริญญาเอก

๐.๓

รวม

๓๓๓

๑๐๐.๐

  

จากตารางที่ ๒  พบว่า  พบว่า นักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน  ๒๖๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๒ คณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน ๑๐๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๙  ระดับการศึกษาธรรมศึกษา  ชั้นตรี จำนวน ๓๒๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๐  ประสบการณ์ในการสอบธรรมศึกษา เคยสอบ  จำนวน ๑๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๖ ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน ๓๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๓

 

๒.      ทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษา

ตารางที่  ๓        แสดงค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

            ร้อยละ และระดับทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษาของนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสยาม

 

ทัศนคติ

×̅

S.D.

ร้อยละ

ระดับทัศนคติ

ทัศนคติโดยรวม

๔.๑๒

.๓๕

๙๑.๙

ดี

     วิชาพุทธประวัติ

๔.๑๘

.๓๙

๕๗.๗

ดี

     วิชาธรรมวินัย

๔.๑๒

.๓๙

๘๘.๐

ดี

     วิชาศาสนพิธี

๔.๑๕

.๔๒

๘๖.๒

ดี

     วิชาเรียงความกระทู้ธรรม

๔.๐๕

.๔๘

๘๑.๑

ดี

 

จากตารางที่ ๓  พบว่า นักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม  ส่วนใหญ่มีระดับทัศนคติโดยรวม  อยู่ในระดับดี   (×̅ = ๔.๑๒)  คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๙  และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ๑. วิชาพุทธประวัติ  ๒. วิชาธรรมวินัย  ๓. วิชาศาสนพิธี และ ๔. วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม มีระดับทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษา  อยู่ในระดับดี

 

๓.      พฤติกรรมทางจริยธรรม

 

ตารางที่ ๒         แสดงค่าเฉลี่ยและระดับพฤติกรรมทางจริยธรรม

ของนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสยาม จำแนกตามบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ 

 

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ 

ตัวอย่าง

พฤติกรรมทางจริยธรรม

×̅

S. D.

ระดับ

๑. ทาน

การให้ทรัพย์สิน เงินทอง สิ่งของ  ให้หนังสือธรรม ให้คำแนะนำ  ให้คำปรึกษา ให้อภัยผู้อื่น

๓.๘๙

.๖๗

ดี

๒. ศีล

การรักษาระเบียบวินัย,ถือศีล ๕ หรือศีล ๘ , การไม่เบียดเบียนผู้อื่น, การบวชพระ บวชเนกขัมมะ

๓.๕๘

.๗๖

ปานกลาง

๓. ภาวนา

สวดมนต์,ทำสมาธิ,เจริญวิปัสสนา, แผ่เมตตา,เจริญสติ

๓.๖๕

.๙๕

ปานกลาง

๔. อปจายนะ

ความอ่อนน้อมถ่อมตน,การกราบ,การไหว้,แสดงความเคารพ

๔.๒๓

.๗๑

ดี

๕. เวยยาวัจจะ

จิตอาสา,ช่วยเหลือเพื่อน,ช่วยงานส่วนรวม, ช่วยทำงานสังคม  ช่วยงานวัด

๓.๘๘

.๗๗

ดี

๖. ปัตติทาน

แผ่ผลบุญหรือความดีที่ทำให้ผู้อื่น, กรวดน้ำ

 

๓.๘๐

.๘๖

ดี

๗. อนุโมทนา

ชื่นชม ยินดี อนุโมทนา ในความดีที่ผู้อื่นทำและในบุญที่ผู้อื่นทำ

๔.๐๗

.๗๐

ดี

๘.ธัมมัสสวนะ

ฟังธรรม,ศึกษาธรรม,รับฟังข้อคิดที่ดีงาม, ฟังซีดีธรรม, อ่านหนังสือธรรม

๓.๔๕

.๙๔

ปานกลาง

๙.ธัมมเทสนา

แสดงธรรม,สนทนาธรรม,เผยแผ่ธรรมะ/ข้อคิดที่ดี, ให้ข้อคิดดีๆ คำแนะนำดีๆ จากธรรมแก่ผู้อื่น

๓.๓๖

๑.๐๐

ปานกลาง

๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์

มีความเห็นถูกต้อง,รู้หลักความดี,รู้หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา,รู้วิธีสร้างสุขที่แท้จริง

๓.๘๓

.๗๘

ดี

พฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวม

๓.๗๗

.๕๘

ดี

 

จากตารางที่ ๔  พบว่า  นักศึกษา  มหาวิทยาลัยสยาม ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวม อยู่ในระดับดี  (×̅ = ๓.๗๗)  และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ด้านทาน  ด้านอปจายนะ ด้านเวยยาวัจจะ ด้านปัตติทาน ด้านปัตตานุโมทนา และด้านทิฏฐุชุกัมม์ มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรม  อยู่ในระดับดี ส่วนด้านศีล ด้านภาวนา ด้านธัมมัสสวนะ และด้านธัมมเทสนา มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรม  อยู่ในระดับปานกลาง 

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้

 

จากการรวบรวมแนวคิด  ทฤษฎี  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและผลการวิจัยในครั้งนี้  คณะผู้วิจัยขอเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในแต่ละประเด็น เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษากับพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสยาม ดังนี้

 

. พฤติกรรมทางจริยธรรม  จากผลการวิจัย  พบว่า  นักศึกษา  มหาวิทยาลัยสยาม ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวม อยู่ในระดับดี และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ด้านทาน  ด้านอปจายนะ ด้านเวยยาวัจจะ ด้านปัตติทาน ด้านปัตตานุโมทนา และด้านทิฏฐุชุกัมม์ มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรม  อยู่ในระดับดี ส่วนด้านศีล ด้านภาวนา ด้านธัมมัสสวนะ และด้านธัมมเทสนา มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรม  อยู่ในระดับปานกลาง 

ดังนั้น  มหาวิทยาลัยสยามควรสนับสนุนให้มีการศึกษาธรรมศึกษาต่อไปในนักศึกษาทุกระดับชั้น  เพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสยามให้ดีมากขึ้น  โดยให้พระสงฆ์เข้ามาอบรมธรรมศึกษาและอบรมการปฏิบัติธรรมในมหาวิทยาลัย  นอกจากนั้น  ควรสนับสนุนให้นักศึกษาได้มีโอกาสไปปฏิบัติธรรมที่วัดมากยิ่งขึ้น  เพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมด้านศีล ด้านภาวนา ด้านธัมมัสสวนะ และด้านธัมมเทสนา ให้มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรม  อยู่ในระดับดี

๒. ทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษา  ของนักศึกษา  จากผลการวิจัย  พบว่า นักศึกษา  มหาวิทยาลัยสยาม  มีระดับทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษา  อยู่ในระดับดี  และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ด้านวิชาพุทธประวัติ  ด้านวิชาธรรมวินัย  ด้านวิชาศาสนพิธี และด้านวิชาเรียงความกระทู้ธรรม นักศึกษามีทัศนคติมีต่อการศึกษาธรรมศึกษาอยู่ในระดับดี 

  เนื่องจากทัศนคติส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคล  เมื่อนักศึกษามีทัศตคติที่ดีต่อการเรียนธรรมศึกษา จึงช่วยพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษาให้ดีมากขึ้น  ดังนั้น  มหาวิทยาลัยสยามควรสนับสนุนให้มีการศึกษาธรรมศึกษาต่อไป

. การเปรียบเทียบระดับทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษากับพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสยาม  พบว่า  นักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษาของนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสยาม มีพฤติกรรมทางจริยธรรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑  สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษา  เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรม  หากมีระดับทัศนคติสูง ก็จะทำให้มีพฤติกรรมทางจริยธรรมที่สูงขึ้นไปด้วย โดยเฉพาะด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์  ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการกระตุ้นทางปัญญานั้นมีผลอย่างเห็นได้ชัดว่าทำให้นักศึกษามีพฤติกรรมทางจริยธรรมสูงขึ้น

. การหาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษากับพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสยาม พบว่า ทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษากับพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑  ซึ่งจากผลการวิจัยนี้  ยิ่งเป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า การพัฒนาทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษานั้นจำเป็นต้องให้ความสำคัญควบคู่กันกับการพัฒนาด้านพฤติกรรมจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง

            จากผลการวิจัยดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า การพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยสยามให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ในสังคมปัจจุบัน  คือ เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมนั้นเป็นภาระสำคัญที่มหาวิทยาลัยโดยผู้บริหารการศึกษาควรให้ความสำคัญ  โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาทุกคณะ ทุกชั้นปีมีโอกาสในการศึกษาธรรมศึกษา และแนวทางหนึ่งที่สามารถเป็นส่วนเสริมการพัฒนาตนในกระบวนการศึกษาของนักศึกษาได้ คือ การสนับสนุนให้มีการจัดโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวกับจริยธรรม  การปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง  โดยมหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการจัดเองหรือส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมของวัดหรือองค์กรต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน เป็นต้น

 

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป

 

            เพื่อให้ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น  คณะผู้วิจัยใคร่ขอเสนอข้อเสนอแนะการวิจัยในครั้งต่อไป ดังนี้

            1.  ควรศึกษาตัวแปรอิสระอื่นๆ ที่มีความสำคัญและอาจมีผลต่อพฤติกรรมทางจริยธรรมกับทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษาของนักศึกษา  มหาวิทยาลัยสยาม  เช่น ความฉลาดทางอารมณ์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์   ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม ความพึงพอใจในการเรียน บุคลิกภาพ เป็นต้น

            2. ควรศึกษาเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมและปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษา ของนักศึกษา ที่มีการศึกาธรรมศึกษาในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ของประเทศ

            3. ควรศึกษาทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษาและพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษาที่ไม่ได้เข้าเรียนวิชาธรรมศึกษา เพื่อหาสาเหตุปัจจัยและพฤติกรรมทางจริยธรรมของกลุ่มนักศึกษาที่ไม่ได้เรียน แล้วนำผลการศึกษาวิจัยมาเปรียบเทียบกัน

            4.  ควรมีการศึกษาวิจัยโดยใช้การผสานวิธีวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลด้วย เช่น การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถามปลายเปิด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ลึกและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

            5. ในการประเมินครั้งนี้ใช้แบบการประเมินตัวเอง ดังนั้น ในการวิจัยครั้งต่อไป อาจจะใช้วิธีการประเมินจากหลายแหล่งร่วมกันได้ เช่น อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษา พระอาจารย์ผู้สอนธรรมศึกษา  และเพื่อนร่วมห้อง เป็นต้น

 

เอกสารอ้างอิง

 

พระพรหมมุนี. ๒๕๕๐. ปลื้ม"โจ๋"แห่เรียนธรรมศึกษา ยอดเข้าสอบพุ่ง๑.๖ แสนคน. ข้อมูลข่าวโดยหนังสือพิมพ์ข่าวสดออนไลน์ ฉบับวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ หน้า ๓๐ http://www.dmh.go.th/sty_libnews/news/view.asp?id=๘๓๔๑

ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมเพื่อพัฒนาสังคม. ๒๕๕๒. สถิติผลสอบธรรมศึกษา  สนามสอบมหาวิทยาลัยสยาม.

กรุงเทพมหานคร: วัดทองนพคุณ.

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๕๒.   โครงการสอบธรรมศึกษาปี ๒๕๕๐. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสยาม.

อำนาจ บัวศิริ. ๒๕๕๐. ชาวพุทธรุ่นใหม่แห่เรียนธรรมศึกษา๑.๖ล้านคน.ข้อมูลข่าวโดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ http://www.komchadluek.net/๒๐๐๗/๑๑/๒...news_id=๑๗๕๖๗๓

 

หมายเลขบันทึก: 436550เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2011 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท