ในตอนก่อนๆได้กล่าวถึงการดูพระสมเด็จโดยรวม ที่เริ่มจากพระสมเด็จวัดพลับ แต่ก็เน้นไปที่การดูพระสมเด็จวัดระฆังของท่านสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังษี ที่มีระดับความนิยมสูงสุดในจำนวนพระสมเด็จทั้งหมดกว่า ๒๐ วัด ที่รวมถึงระดับพระอาจารย์ของท่าน และรุ่นศิษย์ของท่าน
ที่มีทั้งพิมพ์ที่ส่วนใหญ่จะแตกต่างกัน แต่เนื้อ โดยเฉพาะมวลสารแตกต่างกัน
โดยเฉพาะพระสมเด็จบางขุนพรหม ที่เป็นพระสมเด็จที่มีการสร้างอย่างรวดเร็ว หลายพิมพ์ งานฝีมือทั้งพิมพ์และการกดพิมพ์แบบรีบเร่ง ทำให้ด้อยความงดงามไปบ้าง
และมีการบรรจุกรุไว้ประมาณ ๘๐ กว่าปี ก่อนหน้านี้ ยังมีคนไปลักลอบ "ตกเบ็ด" นำพระออกไปจำนวนหนึ่ง และมีการลักลอบขุดกรุแล้วนำออกไปอีกก่อนการเปิดกรุอย่างเป็นทางการในปี ๒๕๐๐ โดย พณฯ จอมพลประพาส จารุเสถียร
ที่ทำให้มีการแบ่งเป็นพระกรุเก่า ก่อนการเปิดกรุปี ๒๕๐๐ และ พระกรุใหม่ ที่ได้จากการเปิดกรุและประทับตราวัด (รูปเจดีย์ พระสวย จัดจำหน่าย ตราวงกลม พระไม่สวยแจกกรรมการ) ไว้เป็นหลักฐาน
ดังนั้นแม้เนื้อจะมีอายุใกล้เคียงกัน แต่ก็ผ่านสภาพแวดล้อมมาต่างกันอย่างมากมาย รวมทั้งสภาพการถูกน้ำท่วมขังกรุในปี ๒๔๘๕ ที่ทำให้เกิดคราบกรุหนาขึ้นไปอีก กับพระที่อยู่ส่วนล่างของกรุ
ความแตกต่างเหล่านี้ ได้สร้างความหลากหลายให้กับพระสมเด็จบางขุนพรหม
โดยเฉพาะในประเด็นของลักษณะคราบกรุ ที่มีปะปนอยู่กับฟองเต้าหู้
การเกิดเนื้อปูดก็จะมากกว่าของวัดระฆัง
ดังนั้นจึงต้อง
- สังเกตฟองเต้าหู้ที่ปูดออกมาจากในเนื้อ ที่มีลักษณะ "หลากอายุ" ในก้อนเดียวกัน ก้อนเกิดใหม่จะมีสีอ่อน (สีขาวสะอาด หรืออ่อนกว่า) ที่ปลาย อายุมากที่ฐาน (สีเข้มขึ้นเรื่อย)
- มีเนื้อใน (ถ้ามองเห็น)ออกสีน้ำตาลเหลือง
- คราบฟองเต้าหู้ติดแน่่นกับเนื้อ และคราบกรุ อันเกิดจากการงอกแบบหินอ่อนงอกมาคลุมผิวของปูนเปลือกหอย
- ความหนาของคราบจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่อยู่ในกรุ และที่ตั้งของพระในกรุ
- ถ้าเป็นกรุใหม่ มีตราด้านหลังจะช่วยให้ดูได้ง่ายขึ้น
- เมื่อเนื้อ คราบกรุ ผิวเคลือบ และเนื้อปูดงอก ผ่านชัดเจนแล้วจึงค่อยมาพิจารณาความถูกต้องของพิมพ์
การดูพิมพ์สำหรับมือใหม่จะทำได้ค่อนข้างยาก เพราะพิมพ์หลากหลายมาก แต่ละพิมพ์ก็ยังมีหลายบล็อก
บล็อกหนึ่งยังมีการกดเพี้ยน (แบบรีบเร่ง) ได้อีกมาก


ที่จำเป็นต้องฝึกความเคยชินเล็กน้อยก็จะสามารถแยกพระสมเด็จบางขุนพรหมออกจากพระโรงงานได้โดยไม่ยากนัก
เพราะพระโรงงานจะใช้วิธีชุบกาวทอด ให้มีลักษณะคล้ายคราบกรุ
แต่จะเป็นสีเดียว หรืออายุเดียว
ไม่มีเนื้อหลากอายุ ไม่มีคราบกรุ มีแต่สารเค มีโปะ
อะไรที่ก้ำๆกึ่งๆ วางไว้ก่อน อย่าเสี่ยงหยิบครับ
ขอให้โชคดีครับ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. แสวง รวยสูงเนิน ใน เรียนประวัติศาสตร์จากของเก่า
คำสำคัญ (Tags)#การจัดการความรู้#km ธรรมชาติ#บางขุนพรหม#พระสมเด็จ#การดูพระแท้#พระเนื้อผง#การตีเก๊
หมายเลขบันทึก: 435305, เขียน: 13 Apr 2011 @ 22:39 (), แก้ไข: 27 Feb 2013 @ 22:57 (), สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน, ดอกไม้: 14, ความเห็น: 76, อ่าน: คลิก
ขออาจารย์สร้างสถาบันวงการพระ กวาดขยะให้น้อยลงด้วยสงสาร
คนไม่รู้ถูกเอาเปรียบมาช้านาน เบอร์โทรท่านแจ้งได้ไหมใคร่สนทนา
วิโรจน์ พูลสุข 084-1382675