ชาวกูยจอมพระ


โลญสราวุธ กอนสำพรัจ กอนเจากูย สะมา มอโพนอาจีงกรูง กำโลงพืด บรูตองเเพระ กะดีพระวิหาร ปะทูล กำโลง พละกำมะเตง ปะกำ มะ เตง ดัว ทะปอง ปรอ


ชาวกูย, กวย ,โกย อาศัยอยู่หนาเเน่นที่สุดที่จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษเเละบุรีรัมย์ของประเทศไทยเเละเเขวงสะหวันนะเขต สาละวัน เซกอง จำปาศักดิ์ ทางภาคใต้ของประเทศลาว เเละจังหวัดพระวิหารเสียมเรียบกำปงธม สตรึงเเตรง ทางภาคเหนือของประเทศกัมพูชาชาวกูย มีภาษาพูดเป็นของตัวเองเเต่ไม่มีภาษาเขียนภาษากูย คล้ายๆกับภาษาโส้ ภาษาบรู ภาษากะตัง ที่ใช้สื่อสารกันในตอนใต้ของประเทศลาวหรือ (ลาวเทิง)ชาวกูยเเต่ละท้องที่จะเรียกตัวเองว่า( กูย ,กวย ,โกย )สำเนียงจะเป็นไปตามเเต่ละท้องถิ่นที่ชาวกูยอาศัยอยู่เเต่ละท้องที่นั้นๆถึงอย่างไรก็ตามถึงจะพูดเเบบไหนคำทั้งหมดนี้มีความหมายว่า ( คน , มนุษย์ )

ชาวกูยมีความสามารถในการคล้องช้างป่ามาฝึกเเละเลี้ยง (การโพนอาจีงกรูง ) การคล้องช้างป่าของชาวกูยอาจีงจอมพระมีต้นกำเนิดที่ ( บรูตองเเพระ กะดีพระวิหาร ) หรือเทือกเขาพนมดงรักบริเวณเขาพระวิหาร ( เมื่อประมาณ 1200 กว่าปีที่เเล้ว อยู่ในสมัยเจนละบก ) เป็นเมืองโบราณย่านบรรพชนบรรพบุรุษชาวกูยอาจีงจอมพระพระครูปะกำ ( พละกำโลงพืด หรือพระประธานใหญ่ ) ผู้ที่คิดค้นกฎระเบียบการคล้องช้างป่าของชาวกูยอาจีงจอมพระภรรยาลูกชายเเละลูกสาวกำเนิดที่บริเวณเขาพระวิหาร ภรรยาพระครูปะกำชื่อว่า ( โคกวาดี ) ลูกชายชื่อว่า ( กอง )ลูกสาวชื่อว่า ( ศรีราวรรณ ) ณ ปัจจุบันลูกหลาน ( มอ โพนอาจีงกรูง บรูตองเเพระ กะดีพระวิหาร )ยังดำรงอยู่ที่หมู่ 1 บ้านจอมพระ หมู่ 5 บ้านศรีจอมพระ , หมู่ 4 บ้านดงบัง , หมู่ 13 บ้านศรีดงบัง,หมู่ 6 บ้านกระทุ่มเกษตร หมู่บ้านทั้งหมดนี้คือ ( จอมพระ ) ในปัจจุบัน

 


” ตัวอย่าง ภาษาปะกำ ของชาวกูยช้างจอมพระที่ใช้สื่อสารระหว่างการไปคล้องช้างป่า “ 
ภาษาปะกำ ภาษาไทย

เทวเดีย ช้างป่า ใจดี พริก กรีโกรด กินข้าว กรีอวน ดื่มน้ำ อวน น้ำ กำโพด ไฟ ใจตาย เกลือ ทนะ ช้างต่อ ขี้เฒ่า ขี้ช้าง เจลย อาจีงไพร ช้างป่าที่คล้องได้ 
 


 

ปล.ภาษากูย เเต่ละท้องที่พูดสำเนียงเเตกต่างกันบางคำก็พูดไม่เหมือนกันนี้เป็นภาษากูยบ้านจอมพระ

 

 

1.คำที่ใช้เรียกญาติเเละคนทั่วไป

ภาษากูย ภาษาไทย

กำโลง ประธาน เตง เจ้านาย โลญ นาย เตง นาง เคอะ , พงเคอะ เขา , พวกเขา พงเนา พวกเขา มะหัย เรา พงหัย พวกเรา เพะ , อาเเมะ เเม่ โพะ , อานุ พ่อ นุตา ตาทวด , ปู่ทวด เเมะเยย ยายทวด , ย่าทวด เพาะ ตา,ยาย กอจ ปู่ ,ย่า เจา หลาน จุส เหลน โปล หนุ่ม  กะมอล สาว กอนเพลาะ ลูกเเฝด ครุ ผู้ชาย  กะปัย ผู้หญิง กะเนีย เพื่อน  กะมอน ลูกของพี่ , ลูกของน้อง  ซาย พี่ เเซม น้อง เเซมซาย พี่น้อง ซายโปล พี่ชาย  ซายกะมอล พี่สาว นุพืด ลุง เเมะพืด ป้า เเซมโปล น้องชาย  เเซมกะมอล น้องสาว นุเเกด น้าผู้ชาย เป น้าผู้หญิง กอนคัล ลูกคนโต กอนสำพรัจ ลูกคนเล็ก อาญี้ อาผู้ชาย  เเมะเเกด อาผู้หญิง เญียด ญาติ กะมัน ลูกสะใภ้ ปะตีม ลูกเขย กะยะ สามี   เเดล ภรรยา ออง พี่เขย กะเเลบ พี่สะใภ้ กอนงา เด็กเล็ก กอนเเนน เด็ก พู แฟน กะมอย เเขก , ผู้มาเยี่ยมเยือน มราก มิตรสหาย เญียดมราก ญาติมิตร


 

2.งานพิธีกรรมเเละศาสนา

ภาษากูย ภาษาไทย

พละกำโลง พระประธาน พละกำมะเตง พระเจ้า กำโลง พละกำมะเตง ประธานพระเจ้านาย,ประธานพระเจ้านาง สะพะ , พะ สวัสดี ,ไหว้ พละ พระ อกมัย ข้างขึ้น กำมะเตง เจ้า ปัจกะษัย ข้างเเรม บุนเสราะ งานทำบุญหมู่บ้าน มอม พระสงฆ์ ยะชี เเม่ชี ยะจุ ปู่ตา กอนจู เณร บูด บวช วัวบุน ทำบุญ เซอเบียด ใส่บาตร มูดพาซา เข้าพรรษา เราะพาซา ออกพรรษา เซาะดุงกะมัย งานขึ้นบ้านใหม่ เวียะบูด งานบวช ปรอย,เวียะซัดเต งานเเต่งงาน บุนกะโมย งานศพ

 


 

3.คำที่ใช้ เรียกร่างกาย

ภาษากูย ภาษาไทย

เขียม ร่างกาย ผุ หนวด เซาะ ผม กะธิ รักเเร้ กะนอ ปาก กะลู สะดือ ปรอ หัว กลองซัน เหงือก กันตอล หู กะเซาะ เส้นผม ตะโพง คิ้ว กะเเปล สะโพก กรี หน้าผาก คัลครูง อก มัท ตา กะลางเยิง ฝ่าเท้า กลองมัท ลูกตา สะเเบะ หนัง มุ จมูก เเกง เอว กะบัม เเก้ม กะเบียง คาง กะดัว กราม กอด ก้น กะเเนง ฟัน ไปรโตง หัวใจ ตะ ลิ้น กะพะ กะเพาะ ตะกอง คอ หรวม ตับ เเบรง เเขน ปรอกรอล หัวเข่า เต มือ หรวย ลำไส้ กมเต นิ้วมือ เยิง เท้า เคระ เล็บ พุง ท้อง ฮาม เลือด ฮัง กระดูก ปา ไหล่ เตาะ นม ตอดเเกง ศอก เดิรเยิง ส้นเท้า เมียม ปอด ฮังเบรียน ซีกโครง ลู น่อง เเม็ด ถุงน้ำดี กะเปลาะ สมอง


 

4.สัตว์

ภาษากูย ภาษาไทย

คาว หมี เเซลอายู ตัวนิ่ม เทราะ วัว กะตาม ปู กรี ควาย กาซูม กุ้ง ยวด กวาง ชะเเมะ พังพอน ตะกอด ตะกวด กะโลย ไส้เดือน กลอ หอย กะมอม เต่า เทีย เป็ด กะปา ตะพาบ ทรูย ไก่ สะโมย มด จอ หมา ครูน ปลวก อะลิก หมู กรอง มดเเดง เเจม นก อาจีงคช ช้างเผือก กอย กิ้งก่า กลาง เหยี่ยว ขัวขัว กิ้งกือ หมีด อีเเร้ง พลาบพลาบ ผีเสื้อ กะอา อีกา กาวเขียง เเมงป่อง อะเเซะ ม้า ยีบ จิ้งหรีด ตอกเเก ตุ๊กเเก กะเเหบ ตะขาบ จอกจอก จิ้งจก กะซัน งู โพง เเมงกูดจี่ อาจีง ช้าง อะเตล จักจั่น ระเมียะ เเรด ดุง ปลาไหล เฌอร เสือ กูด กบ หมัว ยุง กูดตะ คางคก เปรย หนอน กูดอีง อึ่งอ่าง กอนเนียง หนอนไหม กา ปลา ยิล ค้างคาว ชะเลิง ปลิง ซีบ เเมลงสาบ พรีว จระเข้ ฮอง ตัวต่อ กะลอง ลิง ขีล ผึ้ง ธูย ชะนี กะนัย หนู จังเกาะ เม่น อาปอ เก้ง  ยวด กวาง กะทีง กระทิง เทราะกรูง วัวเเดง กำปรอก กระรอก กะซันเเพระบลุ งูเห่า กะซันสะเเบกกรี งูจงอาง จอจอก หมาจิ้งจอก


 

5.พืชผักผลไม้

ภาษากูย ภาษาไทย

ไผลอะลวง ผลไม้ เนา มะตูม เยาะ ส้ม ตองสะเเตก ถั่วดิน เขียบ น้อยหน่า อะเเนล ขนุน ระนัด สัปรด โตงมะพร้าว ฆ๋อง มะม่วง ธูด มะยม เปรี๋ยด กล้วย สะเดีย ฝรั่ง เครีย พุดซา ผละเพรา กะเพรา เเพล มะขาม บรอพา โหรพา กะวีง ย่านาง ป้อง มัน อะซีบ ยี่หร่า มีด ขมิ้น กะเพา ฟักทอง กะซาย ขิง อะโล ใบเเมงลัก กะเชียล กะชาย กะดึ ฟัก อะราว เผือก อะโนง บวบ เเกรล เเตงกวา อะปรีง กลอย เเกรลโปง เเตงโม ตรีเชอ เห็ดฟาง เเกรลเเงล เเตงไทย ตรี เห็ด เมรอง ข่า เถ พริก กะทึมกะเซา หอมเเดง อะเตรง บุก กะทึมซอ กระเทียม บัง หน่อไม้ มราจ พริกไทย


 

6.คำศัพท์ทั่วไป

ภาษากูย ภาษาไทย

ประ เงิน เบลีย ขาว เเยง ทองคำ กอม , กะเเวง ดำ ทะโปน, โตน ตาม ปะทูล , เต บอก , กล่าว ถนนา ถนน ขัล ขันน้ำ กรุง เมือง กรุงขะเเมร์ เมืองเขมร เพลรุณละ ตอนเช้า ซา รุ่น,สมัย เนียง , เกอดเนียง เคราะห์ , มีเคราะห์ เพลตะไง ตอนบ่าย เพลกะบือ ตอนเย็น เพลสะเดา ตอนกลางคืน ตูล สกุลเงิน , ก้อน กะดี วัด , ปราสาท คอ กางเกง ฮับ เสื้อผ้า ทวล รับ กะนีง เคียงข้าง ชิก ผ้า ซะอาด หล่อ , สวย เพล , เพลเวเลีย เวลา เพลเนีย เมื่อใด หงะ ข้าง กอนเเสง ผ้าเช็ดหน้า จมมรือ โรค จมมรือสาระเบียด โรคระบาด วอง ที่นั่งบนหลังช้าง กะเนียง คุก คาน สวรรค์ พัก ฝ่าย เเกก , มัทเเกก เหล่ , ตาเหล่ ดุง บ้าน โปล หลังคา ทะเวียร ประตู ครวง บันได ระตอง ผนัง เทียรทึก จั่วบ้าน พะโนล ป่าช้า กีจะเกียร สัปเหร่อ วายวอน สูญสิ้น คอมเหง , เหง บังคับ มราบ ขู่ เเซนซู สินสอด กะโลยกลาง รุ้งกินน้ำ ประแปลง พยายาม มอ , มออาจีง ควาญ , ควาญช้าง เพียโล คนพาล หัวเเจก ศาลา สันเเทด ใกล้เคียง ปะชิ เเต่งตั้ง ปะซัง ฝึกฝน จันรม หมู่ , กอง เเปน เก่ง,ฉลาด ชู โง่ ซางขาง ตรงข้าม เเบน สะสม เบียง คลอง บังเเหด ประมาท ครอง ขยัน จำเมรอะ ขี้เกียจ ปะเเห สะเพร่า ปะลอ มักง่าย มละ ประนีประนอม ไกรอาเรอะ ชอบ,ถูกใจ กอนกลีด จักรยาน  เเพลก คล้ายคลึง  พาย ข่าว  บอระบาท สาสน์ มะเนอะ พัด สะมา เชื้อสาย วอง ตระกูล สะโลก ซื่อสัตย์ ระเนียม ทุ่ง บอระพูด วิญญาณ กะฮอล เฝ้า เลว โสด จะมุง พูด จะมุงโซล พูดจา โซล วาจา กะชอ ล่อล่วง เเยล เข้าใจ บิเเยล ไม่เข้าใจ ทะโทง ติดต่อ  เพท ท่าทาง เคราะเนียม เคราะห์ เเปนเเต เเต่ว่า ยวลปาย เพราะว่า เซอเผลอ มั่ว กะเเชว ครึกครึ้น สะดม วางยา ไกรสะดม โดนวางยา ตะลอง จับจอง เบาะบอง ยกเลิก จุล พุง เปิร หา เปิรจา หากิน ลัว การไหลของน้ำ รือ สูญพันธ์ุ รืย สิ้นสุด ชะไล ผ่อน ชะลีด ใช้   ลอมลอย เร่ร่อน เลียะบอง ยอมเเพ้ จะกรอย เรื่องมาก ปง เซ่นไหว้ ทูลชะนัง อันตราย  กันเชิง ให้ท้าย พะพัน เกี่ยวข้อง ซาแซ ประเพณี เวียด ต้องการ สะอี อยาก กาจปลังปอเรียจ ขาดแคลน ทูญ ไว้ทุกข์ คัลกะมอ ต้นปี  ดีกะมอ  กลางปี รูจกะมอ สิ้นปี ขูบ ครบรอบ  ดาร อุทิศ  อัปปะสก เบื่อหน่าย ปะเสอก ตกแต่ง เขยกะซาย พ่ายแพ้ กลางทรง รองรับ พาจ ล่าสุด ปะสูน สำราญ ซาระวาร พาดพิง กันทวบพริจ ยากจน กำเเปลง เร่ง พวง คลื่น ปะดำ สอน กับปัก ค้าง ชะ อาศัย เเมแรก จ่าฝูง กโรม ข้างใต้ มูยกะเทีย หนึ่งคืบ มูยขัด หนึ่งศอก มูยจอง หนึ่งวา ปะคาบ ประกบ ฉะ โชคดี เตือตอด แคระ จอม ตรง  พระ พระพุทธรูป จอมพระ ตรงพระพุทธรูป แปดแซงเเวง หายสาญสูญ ปะดาจเบาะ สละ จะลี ล่วงเลย ซูย หลงเหลือ แซดโซ ว่างเปล่า เจาะรัก เลือดออกตามไร้ฟัน พายุ โรคห่า พัด ตั้งแต่ ดาจสัน สิ้นลมหายใจ ลำ,กลำ ตัว เทราะมูยกลำ วัวหนึ่งตัว งัน ร่วม สะแวล ตระเวน บาญ อ้อมน้อม ขึน ซึ่ง จะพุจะเออก เหลือเฟือ ปงปะกำ เซ่นไหว้บรรพบุรุษ ปะลาญ ทำลาย ปรอม ตั้งใจ ทัวะ สวด ทัวะเเมน สวดมนต์ กะเพียง ละเมอ ปิกกะเพียง นอนละเมอ บองปรอ ไหว้ กะเวีย เเบ่งปัน เตราะ ตั้ง เตราะเซาะ ตั้งขึ้น พูชโบร เครือญาติ สะยอ เชื้อสาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



ความเห็น (12)

Thank you for sharing Thailand's heritage.

Is thare more about the people, custume, music, building, ...?

จำได้สมัยเด็ก ไม่ทราบว่าถูกไหม เจี๊ยโดย กินข้าว งอดเดี๊ยะ ดื่มน้ำ ท้องที่ราษีไศล ศรีสะเกษ

ครับ ผมเองก็คนส่วยหรือกวยหรือกูย มันเรียกไม่เหมือนกันแต่ละที่แตกต่างกันไป แต่บ้านผม ผมเรียกตัวเองว่ากวย หรือถ้าคนก็กวย (เกอกอนกวย) แปลว่าผมลูกส่วย แต่คำว่าเกอ เป็นคำไม่สุภาพ แปลว่า กู ยินดีที่มีส่วยเยอะ ผมคนหนึ่งที่ยังพูดภาษาบ้านตัวเองอยู่ ขึ้นรถ ลงเรือ ไม่อายที่จะพูด มีบทความหนึ่งซึ่งบอกว่าส่วยโง่ ต้องพูดภาษาอื่น มันไม่ใช่นะครับ ผมว่าเป็นการได้เปรียบต่างหาก เรามีภาษาเฉพาะของเรา แต่เราต้องเรียนรู้ภาษาอื่น และได้ดีด้วย เช่น ลาว เขมร หรือไทย อย่างตอนนี้ภาษาพูดทุกภาษาในประเทศไทยผมฟังรู้เรื่องหมด แต่พวกเขาเหล่านั้นไม่รู้ภาษาบ้านผมเลย ขอแนะนำว่าหากวันใดไทยได้ทำสงครามต้องการรหัสเพื่อสนับสนุนกองทัพ ต้องใช้ภาษาส่วยเป็นรหัส เพราะข้าศึกจะไม่รู้ว่าเราทำอะไร ขอขอบคุณ ซำ แน ยวง ตะงัย กลอย คอย เหว้า นอ ตะไม (แค่นี้ก่อน วันหน้าว่ากันใหม่)  จูงกะ คูนะ คูได (สวัสดีทุกๆคน)

....ขอขอบคุณทุกๆ คนมากๆ เลยนะะครับ ที่เข้ามาอ่านเรื่องภาษาส่วยที่ผมเขียน

ออ.. ที่ตำบลจอมพระบ้านผมมีที่ทั้งคนที่พูดภาษากวยเเละภาษากูยนะครับคือ

เเค่สำเนียงพูดเเตกกันเเค่นั้นเองเเต่ก็สามารถสื่อสารกันเข้าใจได้ครับ ดีใจมากๆ เลย ที่

ยังมีกอนกวยเเละกอนกูยยังไม่ลืมภาษาของตัวเอง ถ้าเราพูดภาษาส่วยได้เราสามารถ

เรียนรู้ภาษาอื่นได้เร็วหรือซึมซับได้เร็วครับ  เเละผมยังรักเเละห่วงเเหนภาษาเเละ

วัฒนธรรมของชาวกวยเเละกูยเป็นอย่างมากครับ

....กวยเอิด กวยจา กู นาเนีย มูด เจา เเม นือ เเม บิ ปาย ติ กอนกูย กอนกวย อะย๊ะ

ออน ระเวียล ออ คุ นะ เซิ่น ดิง ทุก ออน มี่ มี่ เกอด ประ เเยง วี ดัล .....

มะไฮ กอนกูย นะ กอนกวย เสราะผระ บิ ปาย กู บ๋วน เนีย กะฮอม ไฮ เกอด ติ เชียด กูย

กู นัง ฮอม คุ บ๋วน บิ เขย เกลอะ เชียด กูย บิ ปาย ติ กู บ๋วน เทียบ บิ ปาย ติ กู บ๋วน ที

กะฮอม จะ เกอด ติ กูย คุ ด๋วง ปัย เเน............

ชอบๆๆจัง น่าสนใจนะคะ ขอบคุณค่ะ

  บัง แปลว่า หน่อไม้ในภาษาส่วย ถ้าเป็นภาษามาลายู บัง หมายถึง พี่ชายนะคะ 


ผมดีใจจังเลยครับ ที่ยังมีคนคอยอนุรักษ์ภาษาส่วยแบบผมอยู่ คนในสมัยนี้ผมก็ไม่เข้าใจเลย ว่าจะอายทำไมแค่เป็นคนส่วย  แค่พูดภาษาส่วย  ผมว่ามันมีประโยชน์มากเลยนะครับ  มันเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งที่เราก็ได้รู้ว่าเรามีบรรพบุรุษที่มีเอกลักษณ์ทางด้านภาษาของตัวเอง  ที่ดิ้นรนต่อสู้เพื่อลูกหลานจะได้มีภาษาของตัวเองไว้ใช้  ผมเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับภาษามากครับ  ผมก็อยากให้ชาวส่วยอนุรักษ์ภาษาของตัวเองไว้  มันเป็นเหมือนรหัสลับของชาวส่วยเองที่เข้าใจได้เฉพาะคนส่วยเท่านั้น  ถึงสำเนียงหรือคำบางคำมันแตกต่างกันแต่ก็สามารถที่ทำให้เข้าใจได้  ผมก็อยากให้พวกเราช่วยกันอนุรักษ์และบอกคนส่วยคนอื่นๆ  ให้เห็นถึงความสำคัญของภาษาของตัวเอง  ผมไม่อยากให้ภาษาส่วยหมดไปจากประเทศไทยนะครับ   ช่วยกันรักษานะครับภาษาของเรา  

กวย ปรางค์กู่ ศรีสะเกษ

ก้แอบดีใจครับ  ที่ยังมีคนสนใจ และจริงจัง ที่จะะอนุรักษ์ ภาษาชนเผ่า ของเราไว้ให้ รุ่นหลังได้ ศึกษา เพราะทุกวันนี้ คนรุ่นหลังเริ่มที่จะใช้ภาษาแบบผิดๆๆไป ใช้ไทยคำ กวย(ส่วย)คำ จนทำให้ภาษากวย(ส่วย) ผิดเพี้ยนไป ผมเองไปทำงาน ต่างถิ่นเพื่อน จะชอบถามว่าบ้านอยู่ไหน พอตอบไป ว่าอยู่ ศรีสะเกษ เขาก็ว่าผมเป็น ลาว   แต่ผมแย้งทุกครั้ง ครับ ว่าไม่ใช่ ลาว   แต่ เป็ กวย เพื่อน ยิ่งงงไป ใหญ่ คนส่วนใหญ่รู้จักแต่ เขมร หรือ ขแมร เขาไม่รู้จัก ชาว กวย(ส่วย)   ดีแล้ว ครับเรา ต้องประกาศให้ชาวโลก รับรู้ ว่า ยังมีเรา ชาว กวย(ส่วย) อยู่ในแผ่นดินไทย

ขอบคุณ คุณกอนกูยโคระปะเอง เเละ กวย ปรางค์กู่ ศรีสะเกษ มากๆ นะครับที่เข้ามาอ่านเเละคอมเม้นต์ ผมอยากบอกให้ทุกคนที่เข้ามาอ่านได้รู้ประวัติ( ชาวกูยอาจีงจอมพระ ชาวกูยช้างจอมพระ ในอดีตบรรพบุรุษของผมชาวกูยจอมพระก็อาศัยอยู่ที่ศรีษะเกษ ครับ ) บริเวณเขาพระวิหาร คุณลองไปอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับชาวพื้นเมืองรอบเขาพระวิหาร ชาวพื้นพื้นเมืองเเถบเขาพระวิหาร คือ ชาวกูยช้าง บรรพบุรุษของชาวกูยจอมพระครับ ในอดีตชาวกูยจอมพระเเยกออกจากชาวกูยปรางค์กู่ กูยสำโรงทาบ กูยศรีขรภูมิ กูยตรึม กูยเเตล เพราะว่า ภาษากูยของบ้านผมชาวกูยจอมพระมีภาษาเขมรปนเยอะมากๆ ทั้งภาษาเขมรมาตรฐานที่ใช้ในประเทศกัมพูชา เเละภาษาเขมรถิ่นไทย หรือ เพียสาขะเเมร์เลอ ตัวอย่าง ภาษาเขมรที่ใช้ในประเทศกัมพูชาเเละภาษากูยจอมพระใช้เหมือนกัน เช่น ตอวา เเปลว่า เรียกร้อง กอนเเสง  เเปลว่า ผ้าเช็ดหน้า  เปร เเปลว่า ตอน ชาวกูยจอมพระพูดว่า เพร ภาษาเขมรเลอพูดว่า ปี  เเละคำว่า โละ โลญ เเปลว่า นายชาวส่วยที่เรียกตัวเองว่า กูย จะใช้คำนี้ ( โละ โลญ เเปลว่า นาย ) ซึ่งคำนี้ที่จารึกที่ปราสาทพระวิหารก็มีจารึกคำนี้ เเละภาษาเขมรโบราณที่ชาวกูยจอมพระยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบันคือ ( กนโลง คำนี้เเปลว่า ประธาน) เเต่ชาวกูยจอมพระพูดว่า ( กำโลง ) ( ชาวกวยอาเจียงบ้านเมืองลีง ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ เเละชาวกวยอาเจียงบ้านกระโพเเละบ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์พูดว่า ( กำลวง) ลองมาเปรียบเทียบคำนี้ดู ในจารึกปราสาทต่างๆทั้งปราสาทพระวิหารเเละปราสาทในประเทศกัมพูชาจารึกว่า กนโลง ทำให้ผมคิดว่าในอดีตชาวกูยจอมพระคงอาศัยอยู่ใกล้ชิดกับชาวเขมร ครับ ผมเปรียบเทียบจากภาษาที่ใช้ คำนี้ภาษาเขมรทั้งในประทศกัมพูชาเเละเขมรเลอไม่ได้ใช้เเล้วใช้คำว่า ประธาน อ่านเเบบภาษาเขมร ประเธียน  ผมภูมิใจมากๆ ครับที่เกิดเป็นชาวกูยช้างหรือกูยอาจีงได้รู้ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธ์ของตนเองเเละได้มาถ่ายทอดให้บุคคลอื่นๆ ได้รับรู้เรื่องราวเเละประวัติความเป็นมาของชาวกูยช้างจอมพระโดยไม่บิดเบือนหรือเเต่งเรื่องขึ้นเองเเต่อย่างใด  ฝากเรื่องราวต่างๆในอดีตเมื่อ 1000 กว่าปีที่เเล้วเเละประวัติชาวพื้นเมืองรอบเขาพระวิหาร คือ ชาวกูยอาจีง ชาวกูยช้างบรรพบุรุษของชาวกูยจอมพระ     ให้ทุกคนได้ไปอ่านด้วยนะครับ    เพราะมีชาวพื้นเมืองหลายคนที่อาศัยอยู่รอบเขาพระวิหารได้ดำรงตำเเหน่งต่างๆ ( กำโลง กำมะเตง  ) ในสมัยอาณาจักรขอมโบราณมากมายๆ  ข้อมูลดีๆจาก ( กอนจำมรัจ กอนเจา มอ โพนอาจีงกรูง บรูตองเเพระ ) ครับ

กอน กวย สะเร็น

มีเพื่อนอยู่จอมพระพูดส่วยเหมือนกันแต่พูดมาแต่ละทีส่วยสังขะงงเลย??

.....ทำให้ผมนึก ถึงคำพูดของคนเฒ่าคนเเก่ปู่ย่าตายายของชาวกูยจอมพระที่พูดไว้ว่า ( เบอ อัด เดีย ออน ปรอน เซาะ บรู ,เบอ อัด โดย ออน ปรอน มูด กรุง เเปลว่า ถ้าอดน้ำให้วิ่งขึ้นภูเขา , ถ้าอดข้าวให้วิ่งเข้าเมือง ) เพราะต้นกำเนิดลำน้ำลำธารอยู่ที่ภูเขา จอมพระปัจจุบันก็ไม่มีภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขา เเละคำนี้ถ้าเห็นบ้านใครสร้างบ้านหลังใหญ่ๆ ชาวกูยจอมพระจะพูดว่า ( ดุง พืด มะ กะดี ที มะ อาราม เเปลว่า บ้านใหญ่เท่าวัดปราสาทสูงเท่าโบสถ์ ) เเละเมื่อบ้านเมืองเกิดศึกสงครามบ้านเมืองไม่สงบจะพูดว่า ( กรุง กะเเตะ กะเตา ) ส่วนคำว่า ( กะดี ) คำนี้ที่ชาวกูยจอมพระเรียกปราสาทเเละวัด ผมสันนิฐานว่ามาจากภาษาสันสกฤต ( กุฏี )ที่เเปลว่า ที่อาศัยอยู่ของสงฆ์หรือเรียกศาสนสถาน เเละเป็นที่สงสัยอีกเเล้วว่าชาวกูยจอมพระได้คำนี้มาจากไหน ถ้าในอดีตเมื่อ 1000 กว่าปีที่เเล้ว บรรพบุรุษชาวกูยจอมพระคงได้รับอิทธิพลภาษามาจากศาสนาฮินดูเเละรับเอาคำเหล่า นี้มาใช้ เเต่ภาษาไทยเเละเขมร เรียกว่า วัดเเละปราสาทเหมือนกัน ส่วน ประวัติศาสตร์ชาวพื้นเมืองรอบเขาพระวิหารผู้สร้างปราสาทหินพระวิหารเเละเจ้า ของพื้นที่เเท้จริงนั้นในอดีตเมื่อ 1000 กว่าปีที่เเล้ว นั้นส่วนใหญ่นักวิชาการไทยจะใช้คำว่า ชาวพื้นเมือง จะไม่ใช้ว่า ชาวกูย ซึ่งชาวพื้นเมืองรอบปราสาทพระวิหารนั้นเป็น ( ชาวกูยอาจีง หรือชาวกูยช้าง ) ทั้งที่มีหลักฐานทางโบราณคดีคือที่จารึกศิวะศักติซึ่งจารึกไว้ที่ปรางค์ประธานปราสาทพระวิหารเป็นภาษาสันสกฤตก็บอกเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาวกูยอาจีง ที่อาศัยอยู่รอบปราสาทพระวิหารได้อย่างชัดเจน ซึ่งจารึกหลักนี้ก็จารึกโดยปราชญ์ชาวกูยอาจีงในอดีตที่อาศัยบริเวณเขาพระวิหาร จารึกต่างๆรวมทั้งที่ปราสาทพระวิหารเเละจารึกจากปราสาทต่างๆที่ประเทศกัมพูชาในเนื้อหา ในจารึกศิวะศักติ จารึกปราสาทหินตาเเก้ว จารึกปราสาทสัก ที่เมืองเสียบเรียบ ประเทศกัมพูชา จารึกเหล่านี้จารึกเป็นภาษาสันสกฤต ที่เเปลเป็นภาษาอังกฤษโดยนักวิชาการชาวตะวันตกเเล้ว ลองไปอ่านดู ผมไปอ่านมาเเล้วก็สัมพันธ์กันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันได้หมด ยกตัวอย่างคำว่า ( โละ, โลญ เเปลว่า นาย เเละ คำว่า เตง ที่เเปลว่า นาง ) คำสองคำนี้ที่จารึกปราสาทพระวิหารก็มีเเละบางปราสาทที่จังหวัดเสียบเรียบ ประเทศกัมพูชาก็มีจารึกคำทั้งสองคำนี้....... บรรพบุรุษของกูยจอมพระ ไม่ ใช่ชาวกูยหรือชาวส่วยสายอัตตปือจำปาศักดิ์ตามที่ชาวไทยหลายๆท่านได้เขียนว่า ชาวส่วยอพยพกันมาครั้งใหญ่เมื่อปลายอยุธยาเเละมาอาศัยอยู่เเถบจังหวัด ศรีสะเกษ เเละสุรินทร์ ชาวส่วยกลุ่มนี้จะเรียกตัวเองว่า ( กวย ) สัง เกตุง่ายๆผู้นำชาวส่วยที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษเเละ สุรินทร์จะเรียกชื่อนำหน้าผู้ชายว่า (เชียง สำเนียงนี้เป็นสำเนียง ชาวส่วยที่เรียกตัวเองว่า กวย ทั้งนั้น ) เเต่ยังมีชาวส่วยอีกกลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณรอบๆปราสาทเขาพระวิหารมานานนับ 1000 กว่าปีเเล้วก่อนที่จะมีการสร้างปราสาทพระวิหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ถูกกล่าวถึงเเละไม่เป็นรู้จักหรือได้รับรู้จากบุคคลทั่วไป เลยหรือเเม้เเต่ชาวส่วยด้วยกันเอง เเละนั้นก็ทำให้ปัจจุบัน ลูกหลานชาวส่วยส่วนใหญ่ก็คิดว่าบรรพบุรุษของตัวเองมาจากอัตตปือจำปาศักดิ์ เเละชาวส่วยกลุ่มที่ว่านี้ที่อาศัยอยู่บริเวณรอบปราสาทพระวิหารจะเรียกตัว เองว่า ( กูย ) เรียก น้าผู้หญิงว่า ( ปี หรือ เป ) คือ 1.ชาวกูยปรางกู่ 2.ชาวกูยสำโรงทาบ 3.ชาวกูยเเตล 4.ชาวกูยจอมพระ ชาวกูยทั้งสี่นี้ในอดีตเคยอาศัยอยู่ด้วยกันที่บริเวณเขาพระวิหารเมื่อ 1000 กว่าปีที่เเล้ว ก่อนที่ชาวกูยจอมพระจะเเยกออกจากชาว กูยปรางกู่ ชาวกูยสำโรงทาบ ชาวกูยเเตล เพราะภาษาเเละสำเนียงการพูดของชาวกูยทั้งสี่นี้พูดเหมือนกันสำเนียงเหมือน กัน เเต่ภาษาบางคำพูดของชาวกูยจอมพระจะต่างกันประมาณ 10%ซึ่งรากศัพท์สำเนียงภาษาส่วนใหญ่ของชาวกูยจอมพระก็คล้ายคลึงเหมือนชาวกูยกลุ่มนี้ ทำไมผมต้องกล่าวถึง 1.ชาวกูยปรางกู่ 2.ชาวกูยสำโรงทาบ 3.ชาวกูยเเตล เพราะชาวกูยทั้งหมดนี้เป็นเครือญาติกับชาวกูยจอมพระเเละเป็นบริวารชาวพื้น เมืองรอบปราสาทพระวิหารคือ ชาวกูยโบราณ ณ ปราสาทพระวิหาร ( พงหัย พูชสะมา มูย กะเนีย ) ไม่กล่าวถึงไม่ได้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท