Pre Lesson Study ที่เพลินพัฒนา(๒)


 

Meaningful การเรียนรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน (ต่อ)

 

  • ผู้นำไม่อาจยึดที่ตัวเองอย่างเดียว ถ้าไม่เปิดตัวเองก็จะไม่เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
  • แผนที่ดีประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์และหลักคิดต่างๆ
  • การเปิดเผยความรู้สึกของแต่ละคนออกมาจะช่วยให้เข้าใจกันมากขึ้น
  • การร่วมกันคิดทำให้ปรับทัศนคติร่วมกันได้ ก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
  • Pre Lesson Study ถือเป็นการเปิดพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกัน
  • เปิดใจ เปิดความรู้สึก และเปิดความคิดอย่างสมดุล
  • เคารพขอบเขตของกันและกัน
  • รูปแบบการเรียนรู้ การรับรู้ และการเปิดใจของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
  • ต้องทะลุกำแพงของความรู้สึก ความคิดของกันและกัน
  • ปฏิสัมพันธ์บน Lesson Study ต้องอยู่บนฐานของจิตตปัญญา ใช้กระบวนการสื่อสารแบบใจถึงใจ
  • ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการพูดคุย และการสาธิต
  • เวลาที่สาธิตจะเกิดสถานการณ์สดที่ทำให้ได้เรียนรู้มากขึ้น
  • ไม่ใช่แค่ Pre เพื่อแผน แต่เป็น Pre เพื่อกลยุทธ์ด้วย
  • การเขียนแผนเป็นการจัดระบบความคิด และเป็นการคุมเป้าหมายของเรา
  • Lesson Study จะทำให้ครูผู้นิเทศมีการพัฒนามากขึ้นผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

Reflection การสะท้อนคิด

 

  • หลายประเด็นที่แลกเปลี่ยนกันก่อให้เกิดคำถามและการเรียนรู้ขึ้นมาแต่ยังสรุปความคิดไม่ทัน
  • ต้องกลับไปทบทวนเพื่อดูว่า “เราพลาดในจุดไหน”
  • เรียนรู้วิธีการทำงานของครูจริงๆ
  • การมีคนมาร่วมทำงานถือว่าดีได้แลกเปลี่ยน มีหลายๆ มุมที่ให้เราได้ปรับ และคิดได้กว้างขวางขึ้น
  • เกิดการตรวจสอบตัวเองผ่านประสบการณ์

 

 

Review (ครูเล็กผู้บันทึกฝากไว้ให้คิด)

 

  • สุดท้าย เมื่ออ่านอย่างใคร่ครวญแล้ว ลองทบทวนตัวเองอีกครั้งว่า

        “เราเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่”

  • ถ้าเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติม ครั้งหน้ามาแลกเปลี่ยนให้กันและกันนะคะ

 

ครูเล็กจบการบันทึกไว้เพียงเท่านี้

 

ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งในกระบวนการของ Lesson Study คือ "My observation is ......"  จากจุดสังเกตการณ์ของฉัน ฉันเห็นอะไร

 

เรื่องสำคัญที่ดิฉันได้เรียนรู้คือ Lesson Study เป็นกระบวนการของ Collaborative Learning บนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน และลึกลงไปถึงการเรียนรู้เชิงใจ และกว้างไกลไปถึงการมี meta cognition ร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ลึกซึ้งมากๆ

 

ประเด็นที่ดิฉัน และเพื่อนครูได้เรียนรู้จากการเข้าไปทำความรู้จักกับ Lesson Study จึงมีมากมาย

 

เอาไว้จะค่อยๆ นำมาเล่าสู่กันฟังไปทีละตอนนะคะ

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 421332เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2011 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตามต่อจากบันทึกแรก ได้ความรู้ดีจังนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ ยังมีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้คุณอุ้มบุญได้ติดตามอีกหลายตอนเลยค่ะ :)

สำหรับเพลินพัฒนเองก็ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ได้ผนวกเอาทั้ง KM จิตตปัญญา และการพัฒนาครู มาทำให้เป็นเรื่องเดียวกันไปบนกระบวนคิด และวิธีการของ Lesson Study ที่คิดว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ และการยกระดับความรู้ + การพัฒนาทักษะของครูที่มีพลังมากรูปแบบหนึ่งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท