Pre Lesson Study ที่เพลินพัฒนา(๑)


 

จากจุดเริ่มต้นที่เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ ที่ ผศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะ ได้กรุณาเดินทางมาหลายร้อยกิโลเมตร เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะครูโรงเรียนเพลินพัฒนา ในเรื่อง “การศึกษาชั้นเรียน” (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach)

 

ญี่ปุ่นใช้ Lesson Study เป็นกระบวนการพัฒนาครูมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๐ จนกระทั่งกลายมาเป็นระบบการพัฒนาวิชาชีพครู และวัฒนธรรมการเรียนการสอน และวัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วมกันของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน  (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Lesson Study นวัตกรรมการพัฒนาครูให้เรียนรู้ไปบนหน้างานจริง http://gotoknow.org/blog/krumaimai/365037 และตอนถัดจากนี้ไปอีก ๕ ตอน)  เนื่องจาก "การศึกษาชั้นเรียน(Lesson Study) เป็นระบบที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา และการทำให้การกำหนดปัญหานำไปสู่แรงจูงใจ และ การกำหนดกรอบในการทำงานของกลุ่มครู"

 

จากนั้นครูเพลินพัฒนากลุ่มหนึ่ง นำโดยคุณครูปาด – ศีลวัต ศุษิลวรณ์  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ก็ไปเข้าร่วมงานสัมมนา APEC- Chiang Mai International Symposium 2010 : Innovation of Mathematics Teaching and Learning through Lesson Study - Connection between Assessment and Subject Matter ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

 

หลังจบการสัมมนา กลุ่มครูทั้ง ๘ คนจะมาสรุปประเด็นที่ได้เรียนรู้ร่วมกันทุกเย็น ซึ่งเมื่อดิฉันนำมาเรียบเรียงอีกครั้ง ก็ได้ชุดความรู้ความเข้าใจที่มีความหนาถึง ๕๐ กว่าหน้าทีเดียว

 

หลังจากที่กลับมาจากเชียงใหม่คุณครูคณิตศาสตร์กลุ่มนี้ ก็ได้ทดลองนำแนวคิดลงสู่ชั้นเรียน ซึ่งเป็นขั้นเริ่มต้นที่ยังไม่ครบกระบวนดีนัก แต่ถึงกระนั้นก็ยังก่อการเรียนรู้ที่งอกงามและขยายออกไปยังครูที่เข้าร่วมกลุ่มการศึกษาชั้นเรียนอย่างมาก ดังที่คุณครูเล็ก – ณัฐทิพย์ ผู้ช่วยหัวหน้าช่วงชั้นที่ ๒ ที่เป็นคุณครูแกนนำการจัดการความรู้ได้บันทึกประเด็นที่น่าสนใจไว้ ดังนี้

 

รวบรวมความคิด ความเข้าใจ
Pre Lesson Study

ครูเล็ก (บันทึก)

 

Question  สถานการณ์ปัญหา

  • จะทำอย่างไรให้คนเกิด First Hand Knowledge และ First Hand Experience
  • ศิลปะการทำแผนการเรียนการสอนที่ดีควรเป็นอย่างไร
  • รูปแบบในการเตรียมความพร้อมให้กับคนในการทำ Pre Lesson Study เป็นอย่างไร

 

Meaningful การเรียนรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน

  • Pre Lesson Study เป็นเรื่องของการพัฒนาคนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่แค่แผน
  • Lesson Study เพื่อ Open Approach จะไม่ใช่เพื่อได้แผนการสอนที่ตกผลึกแบบสมบูรณ์
  • กระบวนการ Pre Lesson Study ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับคน
  • เกิด First Hand Knowledge (ความรู้ความเข้าใจที่สร้างขึ้นมาด้วยตนเอง)
  • เรียนรู้ เข้าใจ เชื่อมโยงตัวตน ตัววิชา ความคิดของตนเอง
  • เรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้กับสิ่งที่เราจะไปทำ
  • ทุกคนต้อง Connect กันและกัน
  • เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ของเขา
  • ผู้นำไม่อาจยึดที่ตัวเองอย่างเดียว ถ้าไม่เปิดตัวเองก็จะไม่เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
  • เรียนรู้ เข้าใจ เชื่อมโยงตัวตน ตัววิชา ความคิดของตนเอง
  • เรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้กับสิ่งที่เราจะไปทำ
  • ทุกคนต้อง Connect กันและกัน
  • เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ของกันและกัน

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 421283เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2011 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ...อยากเห็นการนำแนวคิดเเช่นนี้ ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติที่บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม..เริ่มที่ รร.เพลินพัฒนาก่อนนะคะ..

ขอบคุณค่ะ... งานนี้ยังอีกไกล และต้องการคนมีใจรักในการเรียนรู้ มาเป็นเพื่อนร่วมเรียนรู้ด้วยกัน

ถ้าหากพอจะเห็นเค้าว่าพอจะทำได้ชัดเจนเมื่อใด ก็อยากจะลองขยายผลไปยังโรงเรียนอื่นๆ ที่สนใจด้วยค่ะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท