การสร้างคำ


การสร้างคำตามแนวคิดใหม่

การสร้างคำ

การสร้างคำ คือ การรวมหน่วยคำตั้งแต่  ๒  หน่วยขึ้นไปเข้าเป็นคำคำเดียว หน่วยคำที่นำมารวมกันมีทั้งที่เป็นคำคำเดียวกันและต่างชนิดกัน ดังนี้

๑.  คำที่สร้างขึ้นด้วยหน่วยคำที่มีความหมายแตกต่างกัน เรียกว่าคำประสม

๒.  คำที่สร้างขึ้นด้วยหน่วยคำเติม เรียกว่าคำประสาน

๓.  คำที่สร้างขึ้นด้วยหน่วยคำที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกันหรือตรงกันข้ามกันเรียกว่าคำซ้อน

๔.  คำที่สร้างขึ้นด้วยหน่วยคำซ้ำกันเรียกว่า คำซ้ำ

๕.  คำที่สร้างขึ้นด้วยหน่วยคำภาษาบาลีและสันสกฤตเรียกว่า คำสมาส

 

คำประสม

คำประสม หมายถึงคำที่เกิดจากการนำหน่วยคำอิสระที่มีความหมายต่างกันอย่างน้อย ๒ หน่วยมารวมกัน เกิดเป็นคำใหม่คำหนึ่ง มีความหมายใหม่ คำประสมมีลักษณะดังนี้

๑.  คำประสมเป็นคำที่มีความหมายใหม่ ต่างจากความหมายที่เป็นผลรวมของหน่วยคำที่มารวมกัน แต่มักมีเค้าความหมายของหน่วยคำเดิมอยู่ เช่น

น้ำแข็ง เป็นคำประสมมีความหมายว่า “น้ำที่เป็นก้อนเพราะถูกความเย็นจัด”  เป็นความหมายใหม่ที่มีเค้าความหมายเดิมของหน่วยคำ น้ำ และ แข็ง

หนังสือพิมพ์  เป็นคำประสมมีความหมายว่า “สิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าวสารและความเห็นแก่ประชาชน มักออกเป็นรายวัน”  เป็นความหมายใหม่ที่มีเค้าความหมายเดิมของหน่วยคำ หนังสือ และพิมพ์

๒.  คำประสมจะแทรกคำใด ๆ ลงระหว่างหน่วยคำที่มารวมกันนั้นไม่ได้ ถ้าสามารถแทรกคำอื่นลงไปได้ คำที่รวมกันนั้นจะไม่ใช่คำประสม เช่น

ลูกช้างเดินตามแม่ช้าง  ข้อความว่า ลูกช้าง แปลว่า “ลูกของช้าง”  สามารถแทรกคำว่า ของ ระหว่างลูกกับช้างเป็น ลูกของช้างได้ ดังนั้น ลูกช้างในประโยคนี้จึงไม่ใช่คำประสม

เจ้าแม่ช่วยลูกช้างด้วย  คำว่า “ลูกช้าง” เป็นคำสรรพนามแทนตัวผู้พูด เมื่อพูดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์” ไม่สามารถแทรกคำใด ๆลงไประหว่างคำลูก กับช้างได้ ลูกช้างในประโยคนี้จึงเป็นคำประสม

๓.  คำประสมเป็นคำคำเดียว หน่วยคำที่เป็นส่วนประกอบของคำประสมไม่สามารถย้ายที่หรือสลับที่ได้ เช่น

เขานั่งกินที่  ไม่สามารถย้ายคำว่า กิน หรือ ที่ ไปไว้ที่อื่นได้ คำว่า กินที่ จึงเป็นคำประสม

๔.  คำประสมจะออกเสียงต่อเนื่องกันไปโดยไม่หยุดหรือเว้นจังหวะระหว่างหน่วยคำที่เป็นส่วนประกอบ เช่น

กาแฟเย็น ถ้าออกเสียงต่อเนื่องกันไป หมายถึง “กาแฟใส่นมใส่น้ำแข็ง” เป็นคำประสม ถ้ามีช่วงเว้นจังหวะระหว่าง กาแฟ กับ เย็น หมายถึง “กาแฟร้อนที่ทิ้งไว้จนเย็น” เป็นประโยค

๕.  คำประสมบางคำไม่มีความสัมพันธ์ทางวากยสัมพันธ์ระหว่างหน่วยคำที่เป็นส่วนประกอบ เช่น

กินน้ำ ไม่เป็นคำประสม เพราะหน่วยคำ กิน กับน้ำ มีความสัมพันธ์ทางวากยสัมพันธ์แบบกริยากับกรรม

กินใจ เป็นคำประสม หน่วยคำว่า กิน กับ ใจ ไม่มีความสัมพันธ์ทางวากยสัมพันธ์

ส่วนประกอบของคำประสม

หน่วยคำที่มารวมกันเป็นคำประสมอาจจะเป็นคำนาม คำกริยา คำจำนวนนับ คำลำดับที่ หรือคำบุพบท เมื่อนำคำชนิดนั้น ๆมาประกอบกันแล้ว ส่วนใหญ่จะได้คำประสมที่เป็นคำนามหรือคำกริยา ดังตัวอย่าง

คำประสมที่เป็นนาม

๑.  นาม + นาม

        วัวนม                         วัวพันธุ์ที่เลี้ยงไว้เพื่อรีดนม

        หูช้าง                         กระจกติดข้างรถยนต์เป็นรูปคล้ายหูของช้าง สำหรับเปิดรับลม

        หมูกระทะ                ชื่ออาหารประเภทหนึ่ง

        รถไฟฟ้า                    รถไฟที่แล่นบนทางยกระดับ

๒. นาม + ลักษณนาม

        น้ำแข็งก้อน              น้ำแข็งชนิดที่ทำเป็นก้อนเล็ก ๆ

        บะหมี่ซอง                บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่บรรจุในซอง

๓. นาม + กริยา 

        มือถือ                         โทรศัพท์ที่ติดตัวไปได้ โทรศัพท์เคลื่อนที่

        กล่องดำ                     กล่องบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับการบินในเครื่องบิน

๔.  นาม + กริยา + นาม

        บัตรเติมเงิน              บัตรโทรศัพท์ที่ใช้ชำระค่าโทรศัพท์มือถือล่วงหน้า ใช้โทรศัพท์ได้

                                            ตามมูลค่าของบัตร ภายในเวลาที่กำหนด

        แปรงสีฟัน                แปรงที่ใช้สำหรับทำความสะอาดฟัน

 

๕.  นาม + กริยา + กริยา

        สารกันบูด                 สารเคมีที่ใช้ผสมอาหารเพื่อให้เก็บได้นาน

        บ้านจัดสรร               บ้านซึ่งรัฐหรือเอกชนสร้างขายเงินผ่อน

๖.  นาม + บุพบท + นาม

        รถใต้ดิน                    รถไฟที่แล่นอยู่ในดิน

๗.  กริยา + กริยา

        กันชน                        ส่วนของรถยนต์ที่อยู่หน้าและท้ายรถ ป้องกันไม่ให้

                                            รถเกิดความเสียหายเวลารถชน

        ห่อหมก                     ชื่ออาหาร ใช้เนื้อปลาผสมกับน้ำพริกและกะทิกวนให้เข้ากัน

                                            ห่อแล้วนึ่ง

๘.  กริยา + นาม

        บังตา                          เครื่องบังประตูทำด้วยไม้หรือกระจก ความสูงเหนือระดับสายตา

๙.  บุพบท + นาม

        ในหลวง                    พระเจ้าแผ่นดิน

        ใต้เท้า                         สรรพนามบุรุษที่  ๒  แทนผู้ที่นับถืออย่างสูง

คำประสมที่เป็นกริยา

๑.  กริยา + กริยา

        ซักแห้ง                      ทำความสะอาดเสื้อผ้าวิธีหนึ่งด้วยสารเคมี

        เป็นต่อ                       มีโอกาสดีกว่าในการต่อสู้หรือการแข่งขัน

๒.  กริยา + นาม

        ยกเมฆ                       พูดให้น่าเชื่อโดยคิดสร้างหลักฐานประกอบขึ้นมาเอง

        ขายเสียง                    ยินยอมลงคะแนนเสียงให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อแลกกับสิ่งของ

                                            และเงิน ; มีอาชีพเป็นนักร้อง

๓.  กริยา + นาม + กริยา

        ตีบทแตก                   แสดงได้สมบทบาท

๔.  กริยา + บุพบท

        เป็นกลาง                  ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง

๕.  กริยา + บุพบท + นาม

        กินตามน้ำ                 โกงกินร่วมไปกับผู้อื่น ทั้ง ๆที่อาจจะไม่มีเจตนาโกงกินแต่แรก

 

 

๖.  นาม – กริยา 

        ตาแข็ง                        ไม่ง่วง

        หัวอ่อน                      ว่าง่าย, ยอมตามง่าย

๗.  นาม + กริยา + นาม

        น้ำท่วมปาก               พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น

 

ความหมายของคำประสม

คำประสมมีความหมาย  ๓  ลักษณะ คือ

            ๑.  มีความหมายใกล้เคียงกับหน่วยคำเดิมที่มาประกอบกัน

            ๒.  มีความหมายเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากความหมายของหน่วยคำเดิม

            ๓.  มีความหมายเปรียบเทียบ

มีความหมายใกล้เคียงกับหน่วยคำเดิมที่มาประกอบกัน

            เช่น

            งูพิษ               งูประเภทหนึ่งที่มีพิษ

            ยางลบ                ยางที่ใช้ลบข้อความ

มีความหมายเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากความหมายของหน่วยคำเดิม

            เมื่อนำคำมารวมกันแล้วมีความหมายซึ่งต้องขยายความ เช่น

            หน้าอ่อน           ดูอายุน้อยกว่าอายุจริง

            ห่อหมก             ชื่ออาหาร ใช้เนื้อปลาผสมกับน้ำพริกและกะทิกวนให้เข้ากัน

                                        ห่อแล้วนึ่ง

มีความหมายเปรียบเทียบ

         เช่น

            หมาวัด               ผู้ชายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าผู้หญิงที่ตนหมายปอง

            ไข่แดง               ผู้ชายที่เด่นอยู่ท่ามกลางผู้หญิง

คำประสมบางคำอาจจะมีความหมายเป็น  ๒  อย่าง เช่น ความหมายเปรียบเทียบ กับความหมายใกล้เคียงกับคำเดิม หรือความหมายใกล้เคียงกับคำเดิมกับความหมายเฉพาะ เช่น

หมาวัด                       หมายถึง        หมาที่อาศัยอยู่ในวัด ความหมายใกล้เคียงกับคำเดิม

หมาวัด                       หมายถึง        ชายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าหญิงที่ตนหมายปอง

                                                            ความหมายเปรียบเทียบ

ไข่แดง                       หมายถึง        ส่วนประกอบของไข่ที่มีสีเหลืองหรือสีแดง

                                                            ความหมายเฉพาะ

ไข่แดง                       หมายถึง        ผู้ชายที่เด่นอยู่ท่ามกลางผู้หญิง

                                                            ความหมายเปรียบเทียบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำประสาน

คำประสาน หมายถึง คำที่สร้างขึ้นด้วยการรวมหน่วยคำเติมกับหน่วยฐานเข้าเป็นคำใหม่คำหนึ่ง

ลักษณะของคำประสาน

คำประสาน เป็นคำที่เติมหน่วยคำเติมเข้าข้างหน้า หรือข้างหลังหน่วยฐานซึ่งเป็นหน่วยหลัก หน่วยฐานอาจเป็นหน่วยคำไม่อิสระ คำประสม คำซ้อน คำสมาสหรือกลุ่มคำก็ได้ เช่น

หน่วยคำเติม +  หน่วยคำไม่อิสระ              นัก - + - เลง                        นักเลง

หน่วยคำเติม + หน่วยคำอิสระ                     นัก- + ร้อง                            นักร้อง

หน่วยคำเติม + คำประสม                             นัก- + เดินขบวน                นักเดินขบวน

หน่วยคำเติม + คำซ้อน                                  นัก- + แสวงหา                   นักแสวงหา

หน่วยคำเติม + คำสมาส                                นัก- + จิตวิทยา                    นักจิตวิทยา

หน่วยคำเติม + กลุ่มคำ                                   นัก- + ผสมพันธุ์สัตว์         นักผสมพันธุ์สัตว์

หน่วยคำอิสระ + หน่วยคำเติม                     ทุน + -นิยม                          ทุนนิยม

คำประสานที่มีหน่วยคำเติมอยู่หน้า

คำประสานซึ่งมีหน่วยคำเติมอยู่หน้าหน่วยฐานมีจำนวนมากที่สุด คำประสานประเภทนี้แบ่งได้เป็น  ๖  กลุ่ม  ดังนี้

คำประสานที่เป็นอาการนาม

คำประสานที่เป็นอาการนาม สร้างขึ้นด้วยหน่วยคำเติมหน้า ๓ หน่วย คือ การ-, ความ-, และภาวะ-

การ เป็นหน่วยคำเติมซึ่งใช้เติมหน้าคำกริยาทำให้เป็นอาการนาม เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน                                                    คำประสาน

                การ- + เรียน                                                             การเรียน

                การ- + ปกครอง                                                      การปกครอง

ความ เป็นหน่วยคำเติมซึ่งใช้เติมหน้าคำกริยาคุณศัพท์และกริยาอื่น  ทำให้เป็นคำประสานที่มีความหมายเป็นนามธรรม

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน                                                    คำประสาน

                ความ- + รัก                                                              ความรัก

                ความ- + เสียสละ                                                    ความเสียสละ

 

 

ภาวะ เป็นหน่วยคำเติมซึ่งใช้เติมหน้าคำกริยาและคำนามทำให้เป็นเป็นคำประสานที่มีนามธรรม เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน                                                    คำประสาน

                ภาวะ- + เศรษฐกิจตกต่ำ                                        ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

                ภาวะ- + น้ำตาลในเลือดมาก                                ภาวะน้ำตาลในเลือดมาก

คำประสานที่เป็นนามสามัญ

คำประสานที่เป็นนามสามัญสร้างขึ้นจากคำเติมหลายหน่วย ดังนี้

คำประสานซึ่งหมายถึง “คน” สร้างขึ้นด้วยหน่วยคำเติม ผู้-,  ชาว-, นัก-, ช่าง-,

ผู้- เป็นหน่วยคำเติมหน้าคำกริยาหรือกริยาวลี ทำให้ได้คำประสานหมายถึง “คนที่ทำกริยาหรืออาการนั้น ๆ” เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

ผู้-           นำ                                                   ผู้นำ

ผู้-            เห็นเหตุการณ์                              ผู้เห็นเหตุการณ์.

ชาว- ใช้นำหน้าคำนามหมายถึง “คนที่อยู่ในที่นั้น ประกอบอาชีพนั้น สังกัดสถาบันนั้น หรือ เป็นคนชาตินั้น เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

ชาว-      บ้าน                                                ชาวบ้าน

ชาว-       เกษตรที่สูง                                    ชาวเกษตรที่สูง

นัก-  ใช้นำหน้าคำกริยา กริยาวลี หรือคำนาม ทำให้เกิดคำประสานที่มีความหมายว่า “ผู้ที่มีความชำนาญ ผู้ทีมีอาชีพ หรือมักทำสิ่งนั้น ๆ เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

นัก-        บริหาร                                           นักบริหาร

นัก-        สะสมแสตมป์                              นักสะสมแสตมป์

นัก-        ดนตรี                                             นักดนตรี

นัก-        โภชนาการ                                   นักโภชนาการ

ช่าง- ใช้นำหน้าคำนาม ทำให้เกิดคำประสานมีความหมายว่า “ผู้ที่มีความชำนาญในการช่างนั้น ๆ” เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

ช่าง-      ปูน                                                  ช่างปูน

ช่าง-       กระจก                                           ช่างกระจก

คำประสานซึ่งหมายถึง “อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้” สร้างขึ้นด้วยหน่วยคำเติม ที่-, เครื่อง- ดังนี้

ที่- จะใช้นำหน้าคำกริยาหรือกริยาวลี ทำให้เกิดคำประสานที่หมายถึง “สิ่งหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการนั้น ๆมักเป็นอุปกรณ์มีขนาดเล็กหรือไม่สลับซับซ้อน” เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

ที่-           เย็บกระดาษ                                  ที่เย็บกระดาษ

ที่-           เขี่ยบุหรี่                                         ที่เขี่ยบุหรี่

เครื่อง-  ใช้นำหน้าคำกริยาหรือกริยาวลีทำให้เกิดคำประสานที่หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการนั้น ๆมักเป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่หรือมั่นคงแข็งแรง” เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

เครื่อง-              ปั่นไฟ                                เครื่องปั่นไฟ

เครื่อง-              กรองน้ำ                             เครื่องกรองน้ำ

คำประสานที่เป็นคำนามราชาศัพท์

คำประสานที่เป็นคำนามราชาศัพท์ สร้างขึ้นด้วยหน่วยคำเติมหน้า พระ- พระราช- ดังนี้

พระ- และ พระราช- เป็นหน่วยคำเติมหน้า ที่นำหน้าคำนามแล้วทำให้เป็นคำประสานที่เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

พระ-             เกตุ                                         พระเกตุ

พระ-              หัตถ์                                       พระหัตถ์

พระราช-       บิดา                                        พระราชบิดา

พระราช-       ชนนี                                      พระราชชนนี

คำประสานที่เป็นคำกริยา

คำประสานที่เป็นคำกริยาสร้างขึ้นด้วยหน่วยคำเติมหน้า ขี้-,ช่าง, ทรง-, บรม- หมายถึง “มักทำอย่างนั้น” สร้างขึ้นด้วยคำเติมหน้า ขี้-, ช่าง-, บรม-

ขี้- เป็นหน่วยคำเติมหน้าซึ่งใช้เติมหน้าคำกริยาหรือกริยาคุณศัพท์ สร้างคำประสานซึ่งมีความหมายว่า “ซึ่งมักทำเช่นนั้น” เป็นความหมายในทางไม่ดี เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

ขี้-                   งอน                                        ขี้งอน

ขี้-                    เบื่อ                                         ขี้เบื่อ

 

ช่าง- เป็นหน่วยคำเติมหน้าคำกริยาเพื่อสร้างคำประสานที่มีความหมายว่า “ซึ่งมักทำเช่นนั้น”   เป็นความหมายค่อนไปในทางดีหรือไม่ดีก็ได้ เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

ช่าง-              ฟ้อง                                        ช่างฟ้อง

ช่าง-               ประดิษฐ์                                ช่างประดิษฐ์

บรม- เป็นหน่วยคำเติมหน้าคำกริยาทำให้เป็นคำประสาน มีความหมายว่า “เป็นเช่นนั้นอย่างยิ่ง” คำประสานกลุ่มนี้ใช้เป็นคำแสดง เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

บรม-             โง่                                           บรมโง่

บรม-              ขี้เกียจ                                     บรมขี้เกียจ

คำประสานที่เป็นคำกริยาราชาศัพท์

คำประสานที่เป็นคำกริยาราชาศัพท์สร้างขึ้นด้วยหน่วยคำเติมหน้า ทรง- ดังนี้

ทรง- ใช้นำหน้าคำกริยาทั่วไป หรือนำหน้ากริยาวลีทำให้เกิดคำประสานเป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

ทรง-              ชมเชย                                   ทรงชมเชย

ทรง-               เยี่ยมเยียน                              ทรงเยี่ยมเยียน

ทรง- ใช้นำหน้าคำนามทำให้เกิดคำประสานเป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

ทรง-              ม้า                                           ทรงม้า

ทรง-               เรือใบ                                     ทรงเรือใบ

ทรง- ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เกิดคำประสานเป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

ทรง-              พระอุตสาหะ                       ทรงพระอุตสาหะ

ทรง-               พระประชวร                        ทรงพระประชวร

คำประสานที่เป็นคำวิเศษณ์

คำประสานที่เป็นคำวิเศษณ์สร้างขึ้นด้วยหน่วยคำเติมหน้า อย่าง-, โดย-, ดังนี้

อย่าง- เป็นหน่วยคำเติมหน้าคำกริยาหรือกริยาวลี ทำให้เกิดคำประสานทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์ เช่น

 

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

อย่าง-            ดี                                             อย่างดี

อย่าง-             หวุดหวิด                               อย่างหวุดหวิด

โดย- ใช้นำหน้าคำกริยา ทำให้เกิดคำประสานที่เป็นคำวิเศษณ์ เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

โดย-              ละม่อม                                  โดยละม่อม

โดย-               ไม่ตั้งใจ                                 โดยไม่ตั้งใจ

 

คำประสานที่มีหน่วยคำเติมอยู่หลัง

หน่วยคำเติมที่ปรากฏอยู่หลังหรือท้ายคำประสาน เป็นหน่วยคำที่รับมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ได้แก่หน่วยคำเติม –นิยม, -กร ดังนี้

-นิยม หน่วยคำเติมนี้มาจากคำภาษาบาลีและสันสกฤตว่า นิยม /niyama/ ใช้ในความหมายว่า “ลัทธิ, ความเชื่อ” จึงใช้ประกอบท้ายคำนาม ทำให้เกิดคำประสานซึ่งหมายถึง “ความเชื่อ ความชอบ, ความพอใจ” เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

จิต-                 -นิยม                                      จิตนิยม

สังคม             -นิยม                                      สังคมนิยม

-กร  หน่วยคำเติมนี้มาจากคำภาษาบาลีว่า กร /kara/  แปลว่า “ผู้กระทำ” ในภาษาไทยนำมาใช้เป็นหน่วยคำเติมหลัง เพื่อให้มีความหมายว่า “ผู้ทำ” เช่น

หน่วยคำเติม + หน่วยฐาน =  คำประสาน

เกษตร-          -กร                                         เกษตรกร

พัฒนา            -กร                                         พัฒนากร

 

 

 

 

 

 

 

 

คำซ้อน

คำซ้อนหมายถึง คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาเรียงต่อกัน โดยแต่ละคำนั้นมีความสัมพันธ์กันในด้านความหมาย อาจมีความหมายเหมือนกัน คล้ายกัน ทำนองเดียวกัน หรือตรงกันข้ามกันก็ได้ จุดประสงค์ของการซ้อนคำเพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจน ได้แก่

แยกคำที่มีเสียงพ้องกัน เช่น ฆ่าฟัน ราคาค่างวด ข้าทาส

เพื่อเสริมความหมาย เช่น เล็กน้อย นุ่มนิ่ม

เพื่ออธิบายความหมายของคำในภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศ เช่น พัดวี เสื่อสาด ภูตผี ทรัพย์สิน แสวงหา เป็นต้น

ลักษณะความหมายของคำซ้อน

คำที่นำมาซ้อนจะมีความหมายประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้

-ความหมายเหมือนกัน หมายถึง คำที่นำมาซ้อนกันนั้นหมายถึงสิ่งเดียวกัน หรือเป็นอย่างเดียวกัน เช่น เร็วไว ทรัพย์สิน

-ความหมายคล้ายกัน หมายถึง คำที่นำมาซ้อนกันนั้นมีความหมายใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทำนองเดียวกัน พอที่จะจัดเข้าในกลุ่มเดียวกันได้ เช่น อ่อนนุ่ม ภาษีอากร

-ความหมายตรงกันข้ามกัน หมายถึงคำที่นำมาซ้อนกันนั้นมีความหมายคนละลักษณะกัน หรือคนละลักษณะกัน เช่น ผิดถูก ตื้นลึกหนาบาง

จำนวนคำในคำซ้อน เมื่อพิจารณาจำนวนคำที่นำมาซ้อนอาจมี ๒ คำ หรือ ๔ คำ หรือ ๖ คำ ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้

-คำซ้อน  ๒ คำ หมายถึง คำซ้อนที่ประกอบด้วยคำ ๒ คำ เช่น บ้านเมือง ฟ้าฝน 

-คำซ้อน ๔ คำ หมายถึง คำซ้อนที่ประกอบด้วยคำ  ๔  คำ อาจมีบางคำที่มีมากกว่า  ๑  พยางค์ ก็ได้ เช่น

        คำซ้อนที่  ๔  คำเรียงกัน เช่น ถ้วยโถโอชาม  เย็บปักถักร้อย

        คำซ้อนที่ประกอบด้วย  ๔ คำ แยกกันเป็น  ๒  คู่ ซึ่งมักจะมีเสียงคล้องจองกันระหว่างพยางค์ที่  ๒  กับที่  ๓  เช่น ทุกข์โศกโรคภัย 

        คำซ้อน  ๔  ที่มีคำที่  ๑  กับคำที่  ๓  หรือคำที่  ๒  กับคำที่  ๔  ซ้ำกัน เช่น อ่อนอกอ่อนใจ คิดใหม่ทำใหม่

คำซ้อน  ๖  คำ  หมายถึงคำซ้อนที่ประกอบด้วยคำ  ๖  คำ โดยที่บางคำอาจมีมากกว่า  ๑  พยางค์ก็ได้ คำซ้อน ๖ คำ จะแบ่งเป็นส่วนละ  ๓  คำ มีเสียงคล้องจองกันระหว่างส่วนหน้ากับส่วนหลัง และมีคำซ้ำกันในส่วนทั้งสองนั้นด้วย เช่น เลือกที่รักมักที่ชัง กำแพงมีหูประตูมีช่อง

ที่มาของคำซ้อน คำที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นคำไทยซ้อนกับคำไทย คำไทยซ้อนกับคำต่างประเทศหรือคำต่างประเทศซ้อนกันเอง

-คำไทยซ้อนกับคำไทย เช่น  บ้านเมือง เดือดร้อน

-คำไทยซ้อนกับคำต่างประเทศ

        คำไทยซ้อนกับคำภาษาบาลี – สันสกฤต เช่น

                -ไทย + บาลี- สันสกฤต  เช่น ข้าทาส

                -บาลี – สันสกฤต  +  ไทย เช่น โจรผู้ร้าย

        -คำไทยซ้อนกับคำภาษาเขมร เช่น

                -ไทย + เขมร เขียวขจี

                -เขมร + ไทย  ขจัดปัดเป่า

        -คำไทยซ้อนกับคำภาษาอังกฤษ เช่น พักเบรก แจกฟรี

        -คำต่างประเทศซ้อนกัน

                -คำบาลีสันสกฤ<

หมายเลขบันทึก: 420018เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2011 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)
น.ส ชนาพร เราอิสระการ เลขที่36 ม.5/5

เข้ามาเรียนทางอินเตอร์เน็ตทำให้เข้าใจเเละรู้เรื่องขึ้นมากกว่าเดิม

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ ..

นางสาว ชนาพร เราอิสระการ เลขที่36 ม.5/5

นางสาวพรนิภา ราชธานี

เลขที่13 ม.5/2

ได้ความรู้เยอะค่ะ

นางสาวเจนจิรา ปัญญาใส ม.5/2 เลขที่ 38

น.ส.ศิริลักษณ์ ทองใหม่

ม.5/4 เลขที่ 3

นางสาวกรกช สีเจริญวัฒนา ม.5/2 เลขที่ 37

ได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นค่ะ

อาจารย์..*--

 

นางสาวกรกช  สีเจริญวัฒนา ม.5/2 เลขที่ 37

นางสาวพรภณา กอบการ เลขที่ 8 ชั้น ม. 5/2

การสร้างคำตามแนวคิดใหม่นี่น่าสนใจดีนะคะ

( ขอบคุณคะอาจารย์ )

น.ส. วรรณิศา จันทโกมุท

ได้ความรู้เพียบเลยค่ะอาจารย์

น่าสนใจกว่าในหนังสือเรียนปกติอีก

ลืมเลขที่ค่ะ

น.ส.วรรณิศา จันทโกมุท ม.5/2 เลขที่ 34 ค่ะ

น.ส.ยุวภา   เอี่ยมวงศ์   เลขที่ 39   ม.5/2

นาย กำธร สุกรี

ม.5/4 เลขที่ 1

ได้ความรู้มากมายค่ะ

น.ส.พรสวรรค์  อุปลา  เลขที่ 5 ม.5/2

ขอบคุณค่ะอาจารย์ความรู้เยอะจังค่ะ

น.ส.อาทิตยา  คะหะวงค์

เลขที่ึ 7  ม.5/2

ขอบคุนสำหรับความรู้คร๊

นางสาว จิตรานุช งิ้วใหญ่

ม.5/2 เลขที่ 12

น.ส. สุภาวดี ศิริรักษ์

ได้ความรู้เเละสาระมากมายเลยค่ะ

 

นางสาว สุภาวดี ศิริรักษ์

เลขที่27 ม.5/5

น.ส.สกุลรัตน์ บาลจ่าย

ขอบคุณค่ะสำหรับ

ความรู้ที่ อ.มอบให้หนู

น.ส.สกุลรัตน์ บาลจ่าย

ม.5/5 เลขที่22

 

หนูได้ความรู้จากในนี้เยอะเลยค่ะ

นางสาวเพ็ญธิดา เลิศไกร เลขที่ 33 ม.5/2

ได้ความรู้เยอะทีเดียวเลยค่ะ

นางสาวกิตติมา มุ่ย เลขที่ 16 ม.5/2

อ่านเรื่องคำประสมที่คุณลุงยกตัวอย่างคำว่า กาแฟเย็น หากหมายถึงกาแฟใส่นมใส่น้ำแข็งจะเป็นคำประสม ทำให้หนูนึกตัวกาแฟที่มีส่วนผสมที่ต่างกัน คือ กาแฟใส่นม หรือกาแฟใส่น้ำตาลแล้วชงในน้ำร้อนจะเรียกว่ากาแฟร้อน กาแฟใส่นมใส่น้ำแข็ง เรียกว่า กาแฟเย็น แต่ทำไมกาแฟใส่น้ำตาลใส่น้ำแข็ง ไม่เรียกว่ากาแฟเย็นด้วย แต่เรียกว่า โอเลี้ยง คำๆ นี้เป็นคำชนิดใดคะ ถ้าแยกคำ โอ หมายถึง สระเสียงยาว หรือ ส้มชนิดหนึ่ง หรือ ปลาชนิดหนึ่ง เลี้ยง หมายถึง ดูแล เอาใจใส่ เมื่อเอาสองคำนี้มารวมกันมีความหมายคนละเรื่องกันเลย ก็ไม่น่าจะเป็นคำประสมนะคะ

หนูยังติดใจเรื่องกาแฟอยู่นะค่ะ กาแฟที่มีส่วนผสมคอฟฟี่เมท(ภาษาไทยต้องเขียนว่า คอฟฟี หรือ คอฟฟี่คะ) คอฟฟี่ แปลว่า กาแฟ เมท แปลว่า เพื่อน เมื่อรวมกันก็แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า เพื่อนกาแฟ (แปลจากหลังมาหน้า จะมีของเป็น เพื่อนของกาแฟ ก็ไม่ได้เพราะไม่มีเครื่องหมายแสดงความเป็นเจ้าของ) ทำไมคำที่นิยมเขียนข้างกล่องคอฟฟี่เมทจึงเขียนว่า ครีมเทียม คะ ไม่เห็นจะเกี่ยวกับคำศัพท์เดิมเลย

ช่วงนี้พอดีสอนเรื่องชนิดของคำอยู่ แต่เนื้อหาที่มีเยอะมาก จะสรุปให้นักเรียนเข้าใจง่ายๆยาก แต่ดีที่มีของอาจารย์รองรับอยู่อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ และใช้กับนักเรียนได้ ถือว่าโชคดีมาก ขอบคุณมากค่ะ ที่เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีได้ทั้งผู้เรียนและผู้ที่ศึกษา

มีเนื้อหาดีๆเยอะ ว่างๆจะมาศึกษาบ่อยๆ

ได้ทบทวนก่อนสอบ

นายณัฐกรณ์ พิทักษ์วงศ์ ม.5/2 เลขที่3

จาสอบแล้วรีบอ่านๆ

นางสาวปาริชาติ พัฒนศิลป์

ม.5/2 เลขที่15

ครับครูพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาม.44 เลขที่ 50

ดีครับครูพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาม.44 เลขที่50

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท