Balanced Scorecard (BSC)


Balanced Scorecard (BSC)

                            Balanced  Scorecard (BSC)

         BSC  เป็นเครื่องมือแปลงแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติการ  BSC  สามารถใช้ได้กับธุรกิจทุกๆ  ขนาด  และทุกๆ  ระดับในองค์กร  โดยจะมีดัชนีวัดผลสำเร็จทางธุรกิจหรือ  Key  Performance  Indicators  (KPI)  เป็นเครื่องที่ใช้วัดความสำเร็จของกลยุทธ์ในแต่ละกิจกรรมยองขององค์กร 

         Balanced  Scorecard  กำหนดมุมมองสำคัญไว้  2  ด้าน   ดังนี้

         1.  มุมมองด้านการเงิน  มีตัวดัชนีชี้วัด  เช่น    การวัดยอดขาย  ยอดการผลิต  ต้นทุนการผลิต  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  ความสามารถในการหารายได้  อัตราส่วนทางการเงิน 

         2.  มุมมองด้านที่ไม่ใช่การเงิน  ได้แก่

              -  ด้านลูกค้า   มีดัชนีชี้วัด  เช่น  จำนวนลูกค้า  (เก่า,ใหม่)  ส่วนแบ่งตลาด  ความพึงพอใจของลูกค้า

              -  ด้านกระบวนการภายใน  มีดัชนีชี้วัด  เช่น  เปอร์เซ็นต์ของระบบฐานที่มีการพัฒนาขึ้น  ความสามารถในการผลิต  ระยะเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตรงเวลา  จำนวนสินค้าคงคลัง

              - ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม  มีดัชนีชี้วัด  เช่น  การพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน  ความพึงพอใจของพนักงาน  การเรียนรู้ที่จะทำให้ระบบการทำงานเร็วขึ้น

         ขั้นตอนในการจัดทำ  Balanced  Scorecard

         การสร้าว  Balance  Scorecard  มีขั้นตอนที่องค์กรต้องให้ความสำคัญเพราะการวางแผนการดำเนินงานที่ดีจะทำให้กิจการสามารถทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพ  ขั้นตอนที่สำคัญประกอบด้วย

  1. การวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาสและอุปสรรค  (SWOT  Analysis)  ขององค์กร  เพื่อให้ทราบถึงสถานะพื้นฐานขององค์กร
  2. การพัฒนาวิสัยทัศน์ (Vision)  ขององค์กร  ผู้บริหารจะมีวิสัยทัศน์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรู้  ความสามารถและประสบการณ์ของผู้บริหาร
  3. การกำหนดมุมมอง(Perspective)  ด้านต่างๆ  ที่จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินกิจการ  มุมมองของแต่ละกิจการ  จะแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของการดำเนินงาน
  4. การกำหนดกลยุทธ์  (Strategy) และวัตถุประสงค์ (Objective)  ในมุมองต่างๆ  โดยเรียงลำดับความสำคัญ  เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร  โดยมุมมองต่างๆ  จะประกอบด้วยมุมมองด้านการเงิน (Financial  Perspective  )  มุมมองด้านลูกค้า (Customer  Perspective)  มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal  Process  Perspective  )  และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning  and  Growth  Perspective) 
  5. การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ด้านต่างๆ  ในลักษณะของเหตุแผล (Cause  and  Effect  Relationship)  เพื่อสร้างเป็นแผนที่ทางกลยุทธ์ (Strategy  Map)
  6. การกำหนดตัวชี้วัด (Key  Performance  Indicators :KPIs)  และเป้าหมาย  (Target) สำหรับแต่ละมุมมองพร้อมทั้งเรียงลำดับความสำคัญ
  7. การจัดทำแผนปฏิบัติการ  (Action  Plan)

        องค์กรต่างๆ  ได้ให้ความสำคัญกับการนำ  BSC   ไปใช้ในการประเมินผลและสามารถนำกลยุทธ์จากผู้บริหารระดับสูงไปสู่การปฏิบัติจริง Kaplan  และ  Norton  ได้มองประเด็นที่จะนำมาช่วยในการวิเคราะห์  BSC  ซึ่งจะประกอบด้วย  4  หัวข้อหลัก ๆ  คือ

    1.  วัตถุประสงค์  (Objective  )  สิ่งที่องค์กรมุ่งหวังหรือต้องการเพื่อบรรลุมุมมองแต่ละด้าน

    2.  ตัวชี้วัด (Measures   หรือ  Key  Performance  Indicators : KPIs) จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดว่าองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ในมุมมองแต่ละด้านหรือไม่

   3.  เป้าหมาย  (Target)  ตัวเลขเป้าหมายที่องค์กรใช้ชี้วัดในมุมมองแต่ละด้าน

   4.  แผนงานที่จะจัดทำ(Initiatives)  แผนงานหรือกิจกรรมเบื้องต้นของมุมมองแต่ละด้าน  ซึ่งยังไม่ใช่เป็นแผนปฏิบัติการที่มีรายละเอียดในการปฏิบัติจริงๆ 

                                        ....................................

 

คำสำคัญ (Tags): #balanced scorecard#bsc
หมายเลขบันทึก: 419713เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2011 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท