วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี


สำหรับวิชาภาษาไทย ๒ ชั้น ม. ถ

วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม


๑. ความหมายของการวิเคราะห์วรรณกรรม
การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาตรวจตรา แยกแยะและประเมินค่า ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อผู้วิเคราะห์ในการนำไปแสดงความคิดเห็น อภิปรายข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นทราบ ด้วยว่าใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีประโยชน์อย่างไร ต่อใครบ้าง ผู้วิเคราะห์ มีความเห็นอย่างไร เรื่องที่อ่านมีคุณค่าด้านใดบ้างและแต่ละด้านสามารถนำไปประยุกต์
ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง

๒. แนวในการวิเคราะห์วรรณกรรม
การวิเคราะห์วรรณกรรมมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติอย่างกว้าง ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมงานเขียนทุกประเภท แต่ละประเภท ผู้วิเคราะห์ต้องนำแนวการวิเคราะห์ไปปรับใช้ ให้เหมาะสมกับงานเขียนแต่ละชิ้นงานซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งประพนธ์ เรืองณรงค์ และคณะ (๒๕๔๕ : ๑๒๘) ได้ให้หลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการวิเคราะห์วรรณกรรม ดังนี้
๒.๑ ความเป็นมาหรือประวัติของหนังสือและผู้แต่ง เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ
๒.๒ ลักษณะคำประพันธ์
๒.๓ เรื่องย่อ
๒.๔ เนื้อเรื่อง ให้วิเคราะห์เรื่องในหัวข้อต่อไปนี้ตามลำดับ โดยบางหัวข้ออาจจะมี หรือไม่มีก็ได้ตามความจำเป็น เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก วิธีการแต่ง ลักษณะการเดินเรื่อง การใช้ถ้อยคำ สำนวนในเรื่องท่วงทำนองการแต่ง วิธีคิดสร้างสรรค์ ทัศนะหรือมุมมองของผู้เขียน เป็นต้น
๒.๕ แนวคิด จุดมุ่งหมาย เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง ซึ่งต้องวิเคราะห์ออกมาก
๒.๖ คุณค่าของวรรณกรรม โดยปกติจะวิเคราะห์ตามหัวข้อต่อไปนี้
๑) คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือ ความไพเราะของบทประพันธ์ ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ ความรู้สึกและจินตนาการตามรส ความหมายของถ้อยคำและภาษาที่ผู้แต่งเลือกใช้
เพื่อให้มีความหมายกระทบใจผู้อ่าน
๒) คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ แนวความคิดและกลวิธีนำเสนอ
๓) คุณค่าด้านสังคม วรรณคดีและวรรณกรรมจะสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมและวรรณคดีที่ดีสามารถจรรโลงสังคมได้อีกด้วย
๔) การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันผู้อ่านสามารถนำแนวคิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้


การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์
วรรณศิลป์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งช่วยส่งเสริมให้วรรณกรรมมีคุณค่าน่าสนใจ คำว่า “วรรณศิลป์” หมายถึง ลักษณะดีเด่นทางด้านวิธีแต่ง การเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน ลีลา
ประโยค และความเรียงต่าง ๆ ที่ประณีต งดงาม หรือมีรสชาติเหมาะสมกับเนื้อเรื่องเป็นอย่างดี วรรณกรรมที่ใช้วรรณศิลป์ชั้นสูงนั้นจะทำให้คนอ่านได้รับผลในทางอารมณ์ความรู้สึก
เช่น เกิดความสดชื่น เบิกบาน ขบขัน เพลิดเพลิน ขบคิด เศร้าโศก ปลุกใจ หรืออารมณ์อะไร ก็ตามที่ผู้เขียนต้องการสร้างให้เกิดขึ้นในตัวผู้อ่าน นั่นคือ วรรณศิลป์ในงานเขียน ทำให้ผู้อ่าน เกิดความรู้สึกในจิตใจและเกิดจินตนาการสร้างภาพคิดในสมองได้ดี
การวิเคราะห์งานประพันธ์จึงควรพิจารณาวรรณศิลป์เป็นอันดับแรกแล้วจึงวิจารณ์ว่ามีคุณค่าหรือน่าสนใจเพียงใดหากงานประพันธ์นั้นเป็นประเภทบทร้อยกรอง ผู้อ่านที่จะ
วิเคราะห์วิจารณ์ ควรมีความรู้บางอย่าง เช่น รู้บังคับการแต่งบทร้อยกรองรู้วิธีใช้ภาษาของกวี รู้วิธีสร้างภาพฝันหรือความคิดของกวี เป็นต้น ความรู้ดังกล่าวนี้จะช่วยให้เข้าใจบทร้อยกรอง
ได้มากขึ้น

สะท้อนถึงอารมณ์โกรธแค้นและสะเทือนใจ

...ยิ่งคิดเดือดดาลทะยานใจ             ฉวยได้กระดานชะนวนมา
ร่างฟ้องท่องเทียบให้เรียบร้อย           ถ้อยคำถี่ถ้วนเป็นหนักหนา...

มีการพรรณณาถึงเรื่องฝันร้าย

...ครั้งนี้น่าจะมีอันตราย                   ฝันร้ายสาหัสตัดตำรา
พิเคราะห์ดูทั้งยามอัฐกาล                 ก็บันดาลฤกษ์แรงเป็นหนักหนา
มิรู้ที่จะแถลงแจ้งกิจจา                    กอดเมียเมินหน้าน้ำตากระเด็น...

ใช้ถ้อยคำเกิดความเศร้าสะเทือนใจสงสารในชะตากรรมของตัวละคร

...วันนี้แม่จะลาพ่อพลายแล้ว                   จะจำจากลูกแก้วไปสูญสิ้น
พอบ่ายก็จะตายลงถมดิน                        ผินหน้ามาแม่จะขอชม
เกิดมาไม่เหมือนกับเขาอื่น                      มิได้ชื่นเชยชิดสนิทสนม...
...ร่ำพลางนางกอดพระหมื่นไวย               น้ำตกไหลซบเซาไม่เงยหน้า
ง่วงหงุบฟุบลงกับพสุธา                         กอดลูกยาแน่นิ่งไม่ติงกาย ฯ

 

 

 

 

การบรรยายโวหาร
           
ฟ้าขาวดาวเด่นดวงสว่าง                      จันทร์กระจ่างทรงกลดหมดมฆสิ้น
จึงเซ่นเหล้าข้าวปลาให้พรายกิน             เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว

เชิงเปรียบเทียบ

อีวันทองตัวมันเหมือนแก้ว                  ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยว
ใครจะควรสู่สมอยู่กลมเกลียว                          ให้เด็ดเดี่ยวรู้กันแต่วันนี้

                                                  อยุธยายศล่มแล้ว              ลอยสวรรค์ ลงฤา
                    สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-         เจิดหล้า
                    บุญเพรงพระหากสรรค์             ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                    บุญเพรงพระหากสรรค์             ฝึกฟื้นใจเมือง

  กรุงศรีอยุธยาล่มสลายไปแล้ว  กลับลอยลงมาจากสวรรค์อีกครั้งหนึ่ง  นั่นคือกรุงเทพมหานคร  พระราชอาสน์  พระปรางค์  ประดับประดาด้วยแก้วมณีงามเด่นในโลก  เป็นเพราะผลบุญพระมหากษัตริย์ได้ทรงกระทำไว้แต่เก่าก่อน  พระพุทธศาสนาจึงได้เจริญรุ่งเรือง  ช่วยปิดทางแห่งความชั่ว  เปิดทางสู่ความดีงาม  ฟื้นฟูจิตใจราษฎรให้พ้นจากความงมงายในบาปต่าง ๆ
คำศัพท์
          สิงหาสน์              ราชอาสน์หรือที่ประทับของพระราชา  มีลักษณะเป็นรูปจำลองของราชสีห์
          บุญเพรง                 บุญเก่า
          บังอบาย                  ปิดทางไปสู่ความชั่ว
          เบิกฟ้า                     เปิดทางไปสู่ความดี
          ฝึกฟื้นใจเมือง          ฟื้นฟูจิตใจชาวเมืองให้พ้นจากความทุกข์


                                  เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น         พันแสง
                    รินรสพระธรรมแสดง               ค่ำเช้า
                    เจดีย์ระดะแซง                       เสียดยอด
                    ยลยิ่งแสงแก้วเก้า                  แก่นหล้าหลากสวรรค์
                       พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าแสงอาทิตย์  ประชาชนฟังธรรมะด้วยความซาบซึ้งใจทุกเช้าค่ำ  เจดีย์มากมายสูงเสียดฟ้า  แลดูเห็นแสงแวววาวยิ่งกว่าแสงจากแก้ว 9 ประการ  เป็นความงามที่โดดเด่นในโลก  พระพุทธศาสนาเป็นหลักของโลก  จนทำให้เป็นที่มหัศจรรย์แก่สวรรค์
คำศัพท์
          พันแสง                       มีแสงนับพัน  หมายถึง  พระอาทิตย์ผู้มีนามว่า  สหัสรังสี
          แก้วเก้า                      แก้วเก้าประการ  หรือที่เรียกว่า  นพรัตน์, นวรัตน์  ได้แก่  เพชร  ทับทิม  มรกต  บุษราคัม  โกเมน  
                                             นิล  มุกดา  เพทาย  และไพฑูรย์
          แก่นหล้า                     เป็นหลักของโลก  หมายความว่า  งามเป็นจุดเด่นของแผ่นดิน
          หลากสวรรค์               เป็นที่อัศจรรย์ใจของเทวดาบนสวรรค์

กวีแทรกอารมณ์ขันในการแต่ง

            ขุนช้างเห็นข้าไม่มาใกล้                      ขัดใจลุกขึ้นทั้งแก้ผ้า
แหงนเถ่อเป้อปังยืนจังกา                                 ย่างเท้าก้าวมาไม่รู้ต้ว
ยายจันงันงกยกมือไหว้                                   นั่นพ่อจะไปไหนพ่อทูนหัว
ไม่นุ่งผ่อนนุ่งผ้าดูน่ากลัว                                 ขุนช้างมองดูตัวก็ตกใจ

มาดูสำนวนจาก เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนที่ยกมานี้ เป็นฉากคืนแต่งงานของพลายแก้วกับนางบัวคลี่

การนำเหตูการณ์จากธรรมชาติมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพอีกอย่างหนี่งที่ไม่ต้องแปล

เกิดพยับพยุห์พัดอัศจรรย์                   สลาตันเป็นระลอกกระฉอกฉาน
ทะเลลึกดังจะล่มด้วยลมกาฬ                            กระทบดานกระแทกดังกำลังแรง
สำเภาจีนเจียนจมด้วยลมซัด                              สลุบลัดเลียบบังเข้าฝั่งแฝง
ไหหลำแล่นตัดแหลมแคมตะแคง                   ตลบตะแลงเลาะเลียมมาตามเลา
ถึงปากน้ำแล่นส่งเข้าตรงร่อง                           ให้ขัดข้องแข็งขืนไม่ใคร่เข้า
ด้วยร่องน้อยน้ำคับอับสำเภา                             ขึ้นติดตั้งหลังเต่าอยู่โตงเตง
พอกำลังลมจัดพัดกระโชก                                กระแทกโคกกระท้อนโขดเรือโดดเหยง
เข้าครึ่งลำหายแคลงไม่โคลงเคลง                    จุ้นจู๊เกรงเรือหักค่อยยักย้าย
ด้วยคลองน้อยเรือถนัดจึงขัดขึง                        เข้าติดตรึงครึ่งลำระส่ำระสาย
พอชักใบขึ้นกบรอกลมตอกท้าย                       ก็มิดหายเข้าไปทั้งลำพอน้ำมา
พอฝนลงลมถอยเรือลอยลำ                               ก็ตามน้ำแล่นล่องออกจากท่า
ทั้งสองเสร็จสมชมชื่นดั่งจินดา                        ก็แนบหน้าผาศุกมาทุกวัน

ความไพเราะ

๑.การเล่นคำ การส่งสัมผัสด้วยคำตาย ให้ความรู้สึกสะเทือนใจ

“จะว่าโศกโศกอะไรที่ในโลก               ก็ไม่โศกใจหนักเหมือนรักสมร

จะว่าหนักหนักอะไรในดินดอน                        ถึงสิงขรก็ไม่หนักเหมือนรักกัน”


๒. การเลือกสรรคำมาใช้
เลือกคำที่มีเสียงเสนาะ คือ คำที่จะใช้แฝงลีลา จังหวะอ่อนเนิบ นิ่มนวลหรือเร่งเร้า รุนแรง ตามที่กวีต้องการร่ายทอดอารมณ์หรือบรรยากาศออกมาสู่ผู้อ่าน

ตัวอย่าง บรรยากาศที่สวยเงียบ นิ่มนวล แฝงลีลาอ่อนโยนชวนเคลิบเคลิ้ม

“หนาวอารมณ์เรื่อยเฉื่อยเฉื่อยชื่น                    ระรวยรื่นรินรินกลิ่นเกสร

แสนสงสารบ้านเรือนเพื่อนที่นอน                    จะอาวรณ์อ้างว้างอยู่วังเวง”

ตัวอย่าง บรรยากาศหรืออารมณ์ที่รุ่มร้อน รุนแรง กวีก็เลือกใช้คำและลีลาที่ แข็งกร้าว

เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร    ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน    ก็มาเป็น

ศึกบ่ถึงและมึงก็ยังมิเห็น         จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น    ประการใด

อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ      ขยาดขยั้นมิทันอะไร   ก็หมิ่นกู

(สามัคคีเภทคำฉันท์)

ก. การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงหรือเห็นภาพ ทำให้เกิดความไพเราะและสะเทือนอารมณ์ตามไปด้วย เช่น
ตัวอย่าง

ไผ่ซออ้อเอียดเบียดออด       ลมลอดไล่เลี้ยวเรียวไผ่

ออดแอดแอดออดยอดไกว                แพใบไล้น้ำลำคลอง

(คำหยาด – เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)


ข. ใช้คำน้อยแต่กินความมาก เป็นการกล่าวอย่างกระชับ แต่มีเจตนาจะให้สื่อ ความหมายคลุมกว้างขวางออกไปยิ่งกว่าที่กล่าวไว้นั้น เช่น

ตัวอย่าง           “อันของสูงแม้ปองต้องจิต ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ”


คำว่าของสูง มีความหมายตามศัพท์ หมายถึง สิ่งที่อยู่สูง ๆ แต่เจตนาของผู้ส่งสาร มีความหมายกว้างออกไปอีก หมายถึง สิ่งที่สูงค่ายิ่ง
คำว่าปีนป่าย มีความหมายตามศัพท์ หมายถึง การไต่ไปสู่ที่สูง แต่เจตนาของผู้ส่งสาร มีความหมายกว้างออกไปอีก หมายถึง ความพยายาม ความมุ่งมั่น อดทน ต่อสู้อย่าง
ไม่ย่อท้อ
ค. การเล่นคำ คือการนำคำพ้องรูปพ้องเสียง มาร้อยกรองเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดเสียงไพเราะน่าฟัง ถ้านำมาใช้ในบทพรรนา หรือบทคร่ำครวญ ก็จะทำให้เกิดความสะเทือน อารมณ์ เช่น

ตัวอย่าง                  รอนรอนสุริยะโอ้                 อัสดง

                      เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง                      ค่ำแล้ว

                                รอนรอนจิตจำนง                           นุชพี่ เพียงแม่

(กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้ง)

ง. การใช้คำอัพภาส คือ การซ้ำคำชนิดหนึ่ง โดยใช้พยัญชนะซ้ำเข้าไปข้างหน้า เช่น ริก เป็นระริก ยิ้ม เป็น ยะยิ้ม แย้ม เป็น ยะแย้ม เช่น

ตัวอย่าง                    “เพื่อชื่นชมรมณีย์กับชีวิต    ที่จะคิดที่จะทำตามคิดเห็น
                ระเรื่อยเรื่อยเฉื่อยฉ่ำลืมลำเค็ญ          ลืมความเป็นปรัศนีย์ขอชีวิต”
(วารีดุริยางค์ ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)



จ. การเล่นเสียงวรรณยุกต์ คือ การนำคำที่มีพยัญชนะต้น สระ ตัวสะกดอย่างเดียวกัน แต่    ต่างวรรณยุกต์กัน นำมาเรียงไว้ใกล้กัน ทำให้เกิดเสียงไพเราะดุจดนตรี เช่น

ตัวอย่าง             “สกัดไดใดสกัดน้อง       แหนงนอน  ไพรฤา

                  เพราะเพื่อมาราญรอน        เศิกไซร้

                   สละสละสมร                  เสมอชื่อ ไม้นา

                   นึกระกำนามไม้               เหม่นแม้นทรวงเรียม”

(ลิลิตตะเลงพ่าย)

๓. กวีโวหารและสำนวนโวหาร
การใช้กวีโวหารและสำนวนโวหารจะช่วยสร้างความไพเราะ ซึ่งทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในจิตหรือจินตภาพขึ้น ผู้แต่งอาจกล่าวอย่างตรงไปตรงมา หรือกล่าวเป็นโวหารภาพพจน์
ก็ได้ ซึ่งอาจใช้ได้หลายลักษณะ ดังนี้
ก. การเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมย อาจทำได้ ๒ วิธีคือ
วิธีที่ ๑ การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะมีคำแสดงความหมาย อย่างเดียวกันกับคำว่าเหมือน ปรากฏว่า ได้แก่คำว่า เสมือน เปรียบเหมือน ดุจ ประดุจ ดั่ง
ดุจดัง เพียง ราว เป็นต้น

ตัวอย่าง                                  "แม้มีความรู้ดั่ง                สัพพัญญู

                                         ผิบ่มีคนชู                        ห่อนขึ้น"

                                                 "ความรักเหมือนโรคา        บันดาลตาให้มืดมน

                                        ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคคะใดใด"


วิธีที่ ๒ การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักจะมีคำว่า คือ หรือ เป็น ปรากฏ อยู่ เช่น

ตัวอย่าง                  “เงินตราหรือคือกระดาษ                ผู้สร้างขึ้นมาซิอนาถ        หลงใหลเป็นทาสอำนาจเงิน”

                                “แม้เธอเป็นดวงดารา         ฉันจะเป็นฟ้ายามราตรีกาล”

                                “ขอกายเจ้าจงเป็นเช่นต้นไม้   ยืนอยู่ได้โดยภพสงบนิ่ง

                          เพื่อแผ่ร่มเป็นหลักให้พักพิง แต่งดอกพริ้งผลัดฤดูอยู่ชั่วกาล”


ข. การใช้บุคลาธิษฐาน หมายถึง การสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้มีกิริยาอาการของมนุษย์ เช่น

ตัวอย่าง

    “มองซิมองทะเลเห็นลมคลื่นเห่จูบหิน      บางครั้งมันบ้าบิ่นกระแทกหินดังครืน ๆ”

     “หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ              แพนดอกฉ่ำช้อยช่อวิจิตร”
คำที่เป็นกิริยาของคน...............................................................................................................
ค. การใช้สัญลักษณ์หรือสิ่งแทนสัญลักษณ์ หมายถึง สิ่งหนึ่งที่ใช้แทนอีกสิ่งหนึ่ง
ตัวอย่าง

 สีขาว หมายถึง .....................................................................................................................
สีดำ หมายถึง ........................................................................................................................
ดอกกุหลาบ หมายถึง ........................................................................................................
เมฆหมอกหมายถึง อุปสรรค ความเศร้า
นกขมิ้น หมายถึง .....................................................................................................................
ง. การกล่าวเท็จ (อธิพจน์)เป็นการเน้นความรู้สึกบางอย่างให้ชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดความแปลก และเรียกร้องความสนใจได้ดี
ตัวอย่าง

                    “ถึงโลกแตกแหลกเป็นผงคลี                        รักเต็มปรี่ไม่มีรู้คลาย”

แปลความ........................................................................................................................................
                   “จะเอาโลกมาทำปากกา  จะเอานภามาแทนกระดาษ
        เอาน้ำหมดมหาสมุทรแทนหมึกวาด     ประกาศพระคุณไม่พอ”
กล่าวถึงเรืองอะไร........................................................................................................................
จ. การใช้โวหารปฏิพากย์ (โวหารขัดแย้ง) คือ การนำคำที่มีความหมายขัดแย้งกันมาเรียงต่อกัน
ตัวอย่าง

                                “ความหวานชื่นอันขมขื่น”
                           “ใกล้หัวใจแต่ไกลสุดฟ้า”
                           “ในความมืดอันเวิ้งว้างสว่างไสว …..”


 คุณค่าด้านเนื้อหา
สาระของวรรณกรรม คือ ประโยชน์อันเป็นผลพลอยได้ที่ได้รับจากวรรณกรรม นอกเหนือจากความบันเทิงใจ
๑.คุณค่าด้าน แนวคิดและค่านิยมจากวรรณกรรม
แนวคิดที่ปรากฏในวรรณกรรม หมายถึง ความคิดสำคัญของเรื่องที่ให้ประโยชน์ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมแก่มนุษยชาติและสังคม เช่น แนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อ เรื่องบุญกรรม ความรักชาติ ความกตัญญูกตเวที ความซื่อสัตย์ เป็นต้น
ตัวอย่าง

                                    สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ         ในตน
                    กินกัดเนื้อเหล็กจน                            กร่อนขร้ำ
                        บาปเกิดแต่ตนคน                              เป็นบาป
                        บาปย่อมทำโทษซ้ำ                            ใส่ผู้บาปเอง  (โคลงโลกนิติ)

แนวคิด.โคลงบทนี้แสดงแนวคิดว่า ผลของความชั่วเป็นสิ่งร้ายกาจ ทำลายผู้ประพฤติชั่ว เหมือนสนิมที่กัดกินเนื้อเหล็กจนกร่อนผุ ผู้ที่ทำบาปทำชั่วก็จะเป็นโทษภัยแก่ผู้นั้นเอง

๒. สาระด้านหลักฐานความเป็นจริง
เนื้อหาที่เป็นหลักฐาน ทำให้ผู้อ่านได้ทราบความจริงเกี่ยวกับความ เปลี่ยนแปลง ทุก ๆ ทางของสังคม ค่านิยมและทัศนะของบุคคลในสมัยที่วรรณกรรม เรื่องนั้นเกิดขึ้น(ค่านิยม หมายถึง ความรู้สึก ความคิด หรือความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มนุษย์เชื่อว่า มีความหมายหรือมีความสำคัญต่อตนหรือกลุ่มของคน ค่านิยมจะเป็นตัวกำหนด พฤติกรรมแบบแผนการดำเนินชีวิตของบุคคล )เช่น ค่านิยมเรื่องการทำบุญทำทาน การชอบ ความสนุกสนานรื่นเริง การนิยมใช้ของต่างประเทศ ความจงรักภักดีต่อชาติ ฯลฯ เช่น ในเสภาขุนช้างขุนแผนกล่าวถึงพิธีโกนจุกว่า
ตัวอย่าง                  “ทองประศรีดีใจได้ฤกษ์ยาม             ได้สิบสามปีแล้วหลานแก้วกู
                           จะโกนจุกสุกดิบขึ้นสิบค่ำ                แกทำน้ำยาจีนต้มตีนหมู
                           พวกเพื่อนบ้านวานมาผ่าหมากพลู    บ้างปัดปูเสื่อสาดลาดพรมเจียม
                           ทั้งหม้อเงินหม้อทองสำรองตั้ง          มีทั้งสังข์ใส่น้ำมนต์ไว้จนเปี่ยม
                           อัฒจันทร์ชั้นพระก็ตระเตรียม           ตามธรรมเนียมฆ้องกลองฉลองทาน”

 

ตัวอย่างวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี  ด้านเนื้อหา

   คำนมัสการครุณานุคุณในแต่ละตอนมีความดีเด่นด้านเนื้อหา  ดังนี้

    คำนมัสการพระพุทธคุณ  มีเนื้อหาสำคัญ  คือ  การสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า  โดยกวีได้กล่าวยกย่องพระพุทธเจ้าไว้ว่า  ทรงพระพุทธเจ้าไว้ว่า  ทรงพระคุณอันประเสริฐ 3 ประการ  คือ

   พระปริสุทธิคุณ  คือ  พระพุทธเจ้าทรงปราศจากกิเลส  และไม่เกี่ยวข้องกับความมัวหมองหรือราคีใด ๆ
                                   หนึ่งในพระทัยท่าน                    ก็เบิกบานคือดอกบัว
                              ราคีบพันพัว                                  สุวคนธกำจร

               พระกรุณาธิคุณ  คือ  พระพุทธเจ้าทรงมีพระกรุณามากมายเหมือนกับน้ำในมหาสมุทร  ทรงช่วยเหลือมนุษย์ให้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยการแนะแนวในการดับทุกข์  เพื่อมุ่งไปสู่ความสุขอันแท้จริง  คือ  พระนิพพาน
                                   องค์ใดประกอบด้วย                    พระกรุณาดังสาคร
                              โปรดหมู่ประชากร                           มละโอฆกันดาร
                                   ชี้ทางบรรเทาทุกข์                     และชี้สุขเกษมสานต์
                              ชี้ทางพระนฤพาน                            อันพ้นโศกวิโยคภัย

               พระปัญญาธิคุณ  คือ  พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาญาณอันลึกซึ้ง  ทรงคิดค้นและทำความเข้าใจในทุกสิ่งที่ได้ทรงพบเสมอ
                                   ......................                    ...................................
                              เห็นเหตุที่ใกล้ไกล                         ก็เจนจบประจักษ์จริง

               พระพุทธเจ้าจึงทรงเป็นผู้มีพระคุณแก่เราอย่างสูงสุด  เนื่องจากพระองค์ทรงแสวงหาหนทางหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงให้แก่มนุษย์  ทรงสั่งสอนให้มนุษย์กระทำแต่ความดี  ละเว้นความชั่ว  และประทานหลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มนุษย์ประพฤติตนในทางที่ควร  ซึ่งจะทำให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข

          คำนมัสการพระธรรมคุณ  พระธรรม  คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว  ได้มีพระกรุณาแสดงพระธรรมเทศนาสั่งสอนสรรพสัตว์  เพื่อช่วยยกระดับจิตใจให้งดงามและทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข  กวีจึงกล่าวสรรเสริญพระธรรมคุณว่าเป็นบ่อเกิดแห่งความดี (คุณากร)  ที่ช่วยส่องทางสว่างให้แก่จิตใจของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
                                   ธรรมะคือคุณากร                         ส่วนชอบสาธร
                              ดุจดวงประทีปชัชวาล
                                   แห่งองค์พระศาสดาจารย์               ส่องสัตว์สันดาน
                              สว่างกระจ่างใจมนท์ ฯ
          ดังนั้นพระธรรมจึงมีพระคุณต่อพุทธศาสนิกชน  เนื่องจากการปฏิบัติตามหลักธรรมจะก่อให้เกิดประโยชน์และความสุขแก่ทั้งตนเองและสังคม

          คำนมัสการพระสังฆคุณ  ถ้าพระพุทธองค์ไม่ได้สถาปนาคณะสงฆ์ขึ้น  หลักธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบจะสูญสิ้นไปพร้อมกับการปรินิพพาน  พระสงฆ์จึงมีบทบาทสำคัญและมีพระคุณโดยเฉพาะแก่พุทธศาสนิกชน  เพราะหากไม่มีพระสงฆ์ก็ไม่มีผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา  ดังที่กวีกล่าวสรรเสริญไว้ว่า
                                   สงฆ์ใดสาวกศาสดา                    รับปฏิบัติมา
                              แต่องค์สมเด็จภควันต์
                                                                 ............................
                                   สมญาเอารสทศพล                    มีคุณอนนต์
                              อเนกจะนับเหลือตรา

          คำนมัสการมาตาปิตุคุณ  บิดามารดา  เป็นผู้มีพระคุณแก่เราโดยตรง  เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเราโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน  ตั้งแต่เราเกิดมาท่านก็ให้ความรักความเมตตาเอาใจใส่ดูแลห่วงใยโดยบริสุทธิ์ใจ  คอยแนะนำตักเตือนชี้ทางที่ดีให้แก่เรา  เมื่อเราทุกข์หรือเจ็บไข้ได้ป่วย  ท่านก็ทุกข์ด้วย  แม้จะต้องทำงานด้วยความเหนื่อยยากก็ยอมสู้ทน  กวีจีงกล่าวสรรเจริญพ

หมายเลขบันทึก: 419071เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2011 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 07:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นาย วฤทธวัส สุชาติพงส์

ดีมากคับ

 

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูล จะนำไปใช้ประโยชน์ด้านการศึกษาต่อไป

ด.ญ.เสาวลักษณ์ แก้วธานี

ไม่มีคุณค่าด้านปัญญาหรอคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท