นับดาวเรียนรู้ KM ปฏิบัติ ดวงที่ 2


จุดเด่นในการทำ KM ของกรมราชทัณฑ์ และกรมศุลกากร

             คนเริ่มแก่ จะเล่าแต่เรื่องอดีตเสมอนะคะ ผู้เขียนขอเล่าเรื่อง จุดเด่นในการทำ KM ของกรมราชทัณฑ์ และกรมศุลกากร ที่ผู้เขียนสัมผัสได้ ในเวที "มหกรรม KM ราชการไทย ก้าวไกลสู่ LO" เมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา ในฐานะคุณลิขิต

             ท่านอธิบดี กรมราชทัณฑ์ และทีมงาน เล่าว่า... งานราชทัณฑ์ ต้องใช้ทั้ง ศาสตร์และศิลป์ ต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงาน มิใช่เพียงแค่ตำรา เช่น "ความรู้เรื่อง ผู้ต้องขังใช้เลื่อยตัดลูกกรงไว้ เทคนิคของผู้คุม ต้องใช้ไม้ตะบองแตะลูกกรง ฟังเสียงดัง แปะๆ เป็นการตรวจสอบก็จะทราบได้"   

             ข้าราชการที่ทำงาน 10-20 ปี จะมีประสบการณ์สั่งสมในตัวมากมาย ทำอย่างไร? คนรุ่นเก่าถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่ได้ จึงใช้เทคนิค KM ทดลองหารูปแบบที่เหมาะสมของกรมฯ แล้วเริ่มขยายผล ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ต้องยั่งยืนและเนียนในเนื้องาน เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ต่อเนื่อง มิใช่ทำเพราะมีคำสั่งให้ทำ เมื่อยั่งยืน ก็เป็น LO ได้

             กรมฯใช้ KM ในการพัฒนาข้าราชการ โยงไปสู่ HRD เช่นการฝึก ผอ. เรียนรู้การจัดเก็บคลังความรู้ การใช้เรื่อง Competency คน เชื่อมโยงกับ KM และเรื่องความรู้งานในหน้าที่ เป็นต้น  คนจะสนใจทำ KM เมื่อเห็นประโยชน์ จากการทำงานของเขา มีการจัดหลักสูตรฝึกอบรม จากความรู้ที่กลั่นกรองได้ โดยเก็บความรู้ มาจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละเรื่อง หรือวงชุมชนนักปฏิบัติ   มีกิจกรรม ที่จัดขี้น ในกรมฯ เพื่อส่งเสริม คุณกิจได้พัฒนาทักษะ การเล่าเรื่อง การนำเสนอเป็นต้น

             ในกรมฯ มีข้าราชการเกษียณ คนรุ่นปัจจุบัน และคนรุ่นใหม่ ที่เพิ่งเข้ามาทำงาน เข้ามาร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย

             ผู้เขียนได้สัมผัส ลปรร.กับ  ผอ.วารุณี เกษกาญจน์ สถาบันพัฒนาข้าราชการราชทัณฑ์ ในช่วงเช้าก่อนเริ่มงาน บริเวณจุดแสดงนิทรรศการ    ดูท่าน มีความกระตือรือร้น มีความสุข ตื่นเต้น เหมือนพบช่องทาง...

             ผู้เขียนแนะนำให้ท่านแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอด การดำเนิน KM   ผู้เขียนพบว่า อีกสักครู่ ท่านได้ยืนสนทนากับ ท่านผู้ว่าฯ จากนครฯ ที่บูธติดกันนั่นเอง

             สำหรับ กรมศุลกากรนั้น ท่านผู้อำนวยการรัชนีวรรณ และทีมงาน เล่าว่า การเริ่มต้น KM ของกรมฯ เนื่องจาก เป็นหน่วยงานต้นแบบของ กพร. จะมีที่ปรึกษาจาก สถาบันเพิ่มผลผลิต มาช่วยเหลือ มีการอบรมบุคลากร KM คืออะไร? จริงๆ ในกรมฯ มีสภากาแฟทุกเช้า มีการ ลปรร.กัน แต่ไม่ทราบว่า เป็น KM

             หน้าที่ของกรมฯ คือ "การจำแนกพิกัดศุลกากร" ความรู้ที่ติดตัวคน คือ "พิกัด" ต้องเก็บภาษีในอัตราพิกัดอย่างไร? เพราะของอย่างเดียวกัน อาจเก็บภาษีไม่เหมือนกัน มีการทำชุมชนนักปฏิบัติที่มีผู้ทำจริง มาเล่า ในการ share ความรู้กัน จะมีการกลั่นกรอง ซึ่งหัวข้อการ ลปรร. นี้ มีประโยชน์ต่อข้าราชการหน่วยจัดเก็บภาษีทุกท่าน

             ผู้เขียนมองว่า กรมฯเด่น ในด้าน การจัดพื้นที่อำนวยให้เกิด ชุมชนนักปฏิบัติ มาพูดคุยกัน เช่น สภากาแฟ ห้องสมุดเล็ก ที่มีเทคโนโลยีพร้อม การฝึก และการใช้ Facilitator การประชาสัมพันธ์สื่อสาร และดึงดูด ให้กลุ่มสนใจ ลปรร. และสนใจ คลังความรู้ 

             มีเทคนิคการดึงดูด ให้ผู้บริหารระดับสูงเข้ามาร่วม ซึ่งทีมวิทยากรสรุปว่า จะไปปรับ กระบวนการ KM เป็นแบบไม่เป็นทางการมากขึ้น และเรียนรู้ต่อยอดจาก เวทีครั้งนี้

...เป็นที่น่ายินดี อย่างยิ่ง ต่อการพัฒนา KM ในวงราชการไทยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 41602เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2006 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ความรู้เก่าของผู้อาวุโสถ้ามีการบันทึกไว้หรือมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับคนรุ่นใหม่อยู่เสมอ ความรู้เหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติอย่างมหาศาลเลยครับ
  • ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณค่ะ อาจารย์ขจิต ระวัง ลปรร. กับคนแก่ แล้วจะแก่เร็วนะคะ เป็นประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ริไปฝึกวิทยายุทธ กับผู้อาวุโสตั้งแต่เด็ก และประลองยุทธ กับเหล่ายอดฝีมือทั้งแก่ และไม่แก่ จนตัวเองเปลี่ยนแปลงเป็น...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท