สุนทรียสนทนา


 สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ทุกคนวันนี้  จีราพัชร มีเรื่องดี ๆ นำมาฝากค่ะ เป็นเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับสุนทรียสนทนา  เรื่องง่าย ๆ ที่เรา ๆ ก็ทำกันได้ดี แต่ไม่ง่ายสำหรับบางคนอ่าน และศึกษาดูนะคะ...

Dialoque : สุนทรียสนทนา

            Dialogue มาจาก ภาษากรีกว่า “Dialogos” โดยคำว่า Logos หมายถึง คำ (The word) หรือ “ ความหมายของคำ ” และคำว่า “dia” หมายถึง “ ทะลุปรุโปร่ง ” ไม่ได้หมายความว่า “ สอง ” ดังนั้น การสนทนาจึงสามารถเกิดได้จากการกระทำของคนหลายคนไม่ใช่แค่สองคน บางครั้งแม้มีเพียงคนเดียวก็สามารถทำได้ หากแม้เราตั้งใจที่จะฟังเสียงของตนเองที่เปล่งออกมา

การสนทนาแบบ Dialogue เป็นการรับฟังวิธีคิด วิธีการให้คุณค่า ความหมายของคนอื่นต่อสิ่งที่พูด เพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ละทิ้งสิ่งที่แต่ละคนยึดถือ เพื่อผ่าข้ามพรมแดนแห่งตัวตนไปพร้อมๆกัน

ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความสามารถเฉพาะของอวัยวะรับสัมผัสที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ความสามารถของตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ของมนุษย์นั้น ถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การที่มนุษย์มี ” ใจ ” หรือ “ สัมผัสที่หก ” ทำให้มนุษย์สามารถสัมผัสสิ่งรอบตัวได้ละเอียดลึกซึ้งกว่าสิ่งมีชีวิตแบบอื่นๆ

แนวคิดและหลักการเบื้องต้นของ Dialogue

หลักการของ Dialogue คือ การพูดคุยกันโดยไม่มีหัวข้อ หรือวาระที่ตายตัวล่วงหน้า ไม่มีประธาน ไม่เหมือนการประชุมอย่างมีเป้าหมายเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน คนในวงสนทนาสามารถพูดอะไรก็ได้ ถามอะไรก็ได้ ส่วนคนอื่นๆ จะตอบหรือไม่ตอบก็ได้

การเข้าไปในวง Dialogue ทุกคนต้องให้ความเคารพต่อบรรยากาศของความสงบ ปล่อยอารมณ์ให้ผ่อนคลาย พูดเรื่องอะไรก็ได้ ส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงการแนะนำและการตอบคำถาม เพราะคำถามที่เกิดขึ้นเป็นคำตอบในตัวของมันเอง นอกจากนี้ Dialogue ไม่อนุญาตให้มีการโต้แย้ง หรือสนับสนุน จนเกิดการปะทะกันทางความคิด

อีกประการหนึ่งคือ การฟังให้ได้ยิน โดยไม่พยายามใส่ใจว่า เสียงนั้นเป็นเสียงของใคร แค่กำหนดใจให้รู้ได้ว่าเสียงที่ได้ยินคือ เสียงของกัลยาณมิตรของเราคนหนึ่ง ที่ปรารถนาจะได้ยินได้ฟังแต่สิ่งดีๆ

นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินเสียงต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาอาจเป็นเสียงของตนเอง เสียงของคนในวงสนทนา หรือเสียงจากธรรมชาติ อาจมีความคิดบางอย่างเกิดขึ้น วาบขึ้นมาในใจ และความคิดนั้นอาจถูกนำไปใช้ในการเริ่มต้นของการทำอะไรบางอย่างที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมในอนาคตก็ได้

หลักปฏิบัติ Dialogue
•  ฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังให้ได้ยิน
•  มีความเป็นอิสระ และผ่อนคลาย
•  ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีผู้นำ และไม่มีผู้ตาม

การจัดการวงสนทนาที่ดี แบบ Dialogue

การจัดการวงสนทนา ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ซึ่ง อาจารย์ โสฬส ศิริไสย์ ได้แนะนำแนวทางแบบรวบรัดภายใต้คำพูดสั้นๆว่า SPEAKING ดังนี้

     1. S Setting หมายถึง ฉาก สถานที่ และเวลาของการทำ Dialogue ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ กล่าวคือ การจัดสถานที่ ควรจัดให้นั่งเป็นวงกลม ให้ทุกคนในวงสนทนาหันหน้าเข้าหากัน เพื่อให้สามารถมองเห็นหน้า ซึ่งกันและกันได้หมดทุกคน และให้มีพื้นที่ว่างพอที่ให้ทุกคนจะสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวก ถ้าหากมีทิวทัศน์ที่สวยงานที่เป็น “ ต้นทุน ” ทางธรรมชาติที่ดีอยู่แล้ว ควรใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด โดยเปิดม่านเพื่อให้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ และปลดปล่อยอารมณ์และเป็นที่พักสายตา

     2. P Process หมายถึง กระบวนการ Dialogue เป็นเรื่องของกระบวนการ (Process Determinism) ซึ่งเป็นไปตามเหตุและปัจจัยไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ ผู้เข้าร่วมวงสนทนาต้องมีสติอยู่เสมอ สิ่งที่พูดไม่มีการสรุปหรือสร้างความคิดรวบยอด เพื่อหาคำตอบสุดท้าย และให้ทุกคนคิดเหมือนกันหมด แต่ถ้าผู้เข้าร่วมวงเชื่อมั่นในเรื่องของกระบวนการ จะเห็นว่า คำตอบจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และเป็นหน้าที่ของผู้เข้าร่วมวงที่จะทำความรู้จักกับคำตอบนั้นด้วยตนเอง คำตอบบางอย่างรู้ได้เฉพาะตัว อธิบายให้ใครฟังไม่ได้

     3. E Ends หมายถึง เป้าหมาย Dialogue ไม่อนุญาตให้แต่ละคนนำเป้าหมายส่วนตัว หรือวาระส่วนตัวเข้าไปใช้ นอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อการฟัง เรียนรู้ตนเอง และเรียนรู้ผู้อื่นเท่านั้น นอกจากนี้จะต้องหลีกเลี่ยงมิให้มีการตั้งผลลัพธ์ไว้ล่วงหน้า ไม่นำสิ่งที่เชื่ออยู่ในใจออกมาโต้แย้งประหัตประหารซึ่งกันและกัน Dialogue จึงเหมาะสมสำหรับเริ่มต้นทำงานที่มีความซับซ้อน หลากหลาย หรือต้องการแก้ไขปัญหาที่ยากร่วมกัน Dialogue จึงไม่มีการโอ้อวด ไม่แนะนำสั่งสอน หรือหวังจุดประกายให้คนอื่นคิดตาม รวมทั้งไม่โต้แย้ง หรือยกยอปอปั้น หรือตำหนิติเตียน

      4. A Attitude หมายถึง การมีเจตคติที่ดีต่อคนอื่น มีจิตใจที่เปิดกว้าง มีความสุขที่ได้ยินได้ฟังและได้เรียนรู้จากผู้อื่น Dialogue คือชุมชนสัมมาทิฐิ ไม่เริ่มต้นด้วยการประณามคนอื่น การเสนอแนะให้คนอื่นทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือการพูดถึงปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การโต้เถียง การปกป้อง และการมุ่งเอาชนะกัน

5. K Key Actor หมายถึง คณะทำงานที่อยู่เบื้องหลัง ผู้ทำหน้าที่ประสานงาน สร้างฉาก และค้นหาผู้ที่เหมาะสมจะมานั่งพูดคุยกัน เพื่อวัตถุประสงค์ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะรวมความถึง Facilitator ผู้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้เป็นไปตามหลักการของกระบวนการ รวมทั้งแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที โดยสุภาพและไม่ทำให้ผู้ร่วมวงสนทนารู้สึกเสียหน้า

       6. I Instrument หมายถึง เครื่องมือของ Dialogue คือ จะต้องช่วยลดทอนความเป็นทางการของการใช้ภาษาให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงถ้อยคำแบบพิธีการ เช่น ขออนุญาตพูด เพราะการพูดนี้ไม่ต้องขออนุญาตใคร หากผู้พูดคนก่อนพูดจบและมีความเงียบเกิดขึ้นก็สามารถแทรกตนเองขึ้นมาพูดได้โดยอัตโนมัติ แต่สิ่งที่จะต้องระวังคือพูดสิ่งใดออกไป สิ่งนั้นจะย้อนกลับมาเข้าสู่ตนเอง ทำให้รู้สึกได้ภายหลัง

      7. N Norms of Interaction หมายถึงบรรทัดฐานของการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งจะต้องมีความเท่าเทียมกัน ทั้งในแง่ของคำพูดและการปฏิบัติ กล่าวคือ จะต้องหลีกเลี่ยงคำพูดและการประทำทางวาจาใดๆที่แสดงว่าตนเองเหนือกว่า หรือด้อยกว่าคนอื่น วัจนะกรรมที่แสดงความเหนือกว่าได้แก่ คำพูดแบบแนะนำ อบรม สั่งสอน โอ้อวด ยกตนข่มท่าน ส่วนคำพูดที่แสดงความด้อยกว่าคนอื่น เช่น คำพูดแบบวิงวอนร้องขอ คำแนะนำและความช่วยเหลือจากผู้อื่น

    8. G Genre หมายถึง ประเภทของการพูดคุย Dialogue ไม่ใช่การพูดคุยแบบพิจารณาถกเถียงหรือโต้แย้ง ไม่ใช้การบรรยายไม่ใช่การประชุมที่มีประธานทำหน้าที่วินิจฉัย สั่งการ หรือมีเป้าหมายวาระไว้ล่วงหน้า แต่เป็นการพูดคุยแบบเปิด ไม่มีเป้าหมาย และวาระ เพื่อสร้างความหมายร่วมกัน แต่หากเป้าหมายจะเกิดขึ้นตามมาในภายหลังก็คงไม่มีใครห้าม แต่ต้องเกิดภายใต้บริบทของการสร้างความหมายร่วมกัน

Dialogue หรือบทความนี้ ไม่ใช่เป็นคำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาอันสลับซับซ้อนบนโลกใบนี้ได้ทุกเรื่อง แต่ Dialogue เป็นเพียงการเริ่มต้นของ “ สัมมาทิฐิ ” เพื่อการแก้ปัญหาที่มนุษย์สร้างขึ้น นับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

     ดังนั้น การทำ Dialogue จึงควรทำอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ คนในวงสนทนาจะเป็นกระจกเงาให้กันและกัน อย่างปราศจากอคติ เพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละคนเรียนรู้ตนเอง และแก้ไขปรับปรุงตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกัน และอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข สามารถทำงานที่ยากๆที่ไม่สามารถจัดการด้วยวิธีการธรรมดาได้

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ7
หมายเลขบันทึก: 414407เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2010 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • การนำรูปลงในบันทึกทำแบบนี้นะครับ
  • ไปที่เมนูของ ….
  • ไปที่ไฟล์อัลบัม
  • กดนำไฟล์ขึ้น
  • browse หาภาพจากเครื่อง(ตั้งชื่อภาพเป็นภาษาอังกฤษนะครับ)
  • กดบันทึก
  • ไปที่บันทึก
  • กดแก้ไขบันทึก
  • ข้างล่างมีเขียนว่า
  • แทรกรูปภาพ
  • กดที่แทรกภาพ
  • จะเห็นภาพปรากฏ
  • กดที่ภาพ
  • ภาพจะไปอยู่ที่บันทึก
  • กดบันทึกเก็บ
  • เดี๋ยวจะตามมาดูนะครับ

ก่อนนำภาพขึ้นต้องย่อภาพให้เหลือประมาณ 500x400 ก่อนนะครับ

ไปอ่านต่อที่นี่นะครับ

ย่อรูปภาพ

http://gotoknow.org/blog/katti/255954

ตกแต่งบล็อก                   

http://gotoknow.org/blog/katti/199894

ย่อรูปแต่งรูปพี่ดาวคนสวยใจดี

ถ้าวางใจเป็นกลาง ปราศจากอคติ ยอมรับความเห็นของคนอื่นมาพิจารณา สุนทรียสนทนาย่อมเกิดขึ้น ความร่วมมือและความสุขจะตามมา

เรียน....คุณพี่จิรพัชร.....ครับ

ขอบคุณสำหรับความสำคัญของสุนทรียสนนา ที่มอบไว้ให้ศึกษาครับ

สุนทรียสนทนานี่ใช้ทุกวงการจริงจริงนะครับ

ที่บ้านผมค้าขายตามชนบทนี่แหละครับ ใช้ประจำครับ...แต่จากมาจากใจนะครับ

ผมเคยถามแม่ผมว่า "แม เจ้า เป็นหยังเว่ากับเด็กน้อยดีแท่"

แปลว่า ทำไมพูดกับเด็กดีจัง บางครั้งเด็กซื้อของนานมาก 1 ชั่วโมง 1 บาท ยังเลือกไม่ได้เลยครับ"

(แต่เงินทุกบาททุกสตางค์สำคัญจริงจริงนะครับ)

แม่ตอบว่า "ลูก วันนี้เป็นเด็กก็ลูกค้าของเรา วันหน้าเป็นวัยรุ่นก็ลูกค้าของเรา สุดท้ายเป็นผู้ใหญ่และแก่เฒ่าก็ลูกค้าของเรานะ"

ถ้าเราพูดดี เค้าก็มาหาเรานั่นแหละ"

คำตอบของแม่ผม ทำให้ผมทราบว่า 30 ปีที่ผ่านมา ท่านค้าขายและเลี้ยงผมกับน้องมาได้อย่างไร

ผมว่า "นี่คือ สุนทรียสนทนาของแม่ผมครับ"

มีใช้ทุกวงการเลยครับคุณพี่

เนื้อหาบันทึก เป็นหลักวิชาการดีนะครับ จะเก่าหรือใหม่ ก็ช่วยสร้างองค์ความรู้ให้เกิดแก่มวลมนุษยชาติได้

เรียน ศน.เฉลิมชัย

อะไรเก่าไป ใหม่มา แล้วก็นำของเก่า ๆ มาใช้อีกค่ะ แฟชั่นย้อนยุกต์ยังมี ขยะรีไซเคิลก็มีราคาใช่ไหมคะท่าน

อ.บรรจบ

ได้แม่ดีนะคะ แม่คงพูดเพราะนะคะ ลูกชายเองยังพูดเพราะเล๊ย รู้แล้ว ๆ ว่า อ.บรรจบ เหมียนไผ.. (เหมือนใคร)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท