แผนผังฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ


โคลงมีลักษณะบังคับ  ๖  อย่าง  ได้แก่  คณะ  พยางค์  สัมผัส    คำเอก   คำโท    คำเป็น  คำตาย   และ   คำสร้อย

            โคลงที่นิยมแต่งกันมากที่สุด  คือ  โคลงสี่สุภาพ

 

โคลงสี่สุภาพซึ่งถือเป็นโคลงแม่บท  

 

                                          เสียงลือเสียงเล่าอ้าง     อันใด  พี่เอย

                                    เสียงย่อมยอยศใคร             ทั่วหล้า 

                                    สองเขือพี่หลับใหล              ลืมตื่น  ฤๅพี่

                                    สองพี่คิดเองอ้า                   อย่าได้ถามเผือ

                                                                                            (ลิลิตพระลอ)

           

ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ 

            ๑.  คณะ   โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี  ๔  บาท

                        บาทที่  ๑ , ๒ , ๓   มีบาทละ  ๒  วรรค  และมีจำนวนคำเท่ากัน  คือ วรรคหน้า    มี  ๕ คำ  ส่วนวรรคหลังมี  ๒  คำ

                        บาทที่  ๔  มี  ๒  วรรค  เช่นกัน  แต่เพิ่มจำนวนคำในวรรคหลังอีก  ๒  คำ  ฉะนั้นวรรคหน้าของโคลงบาทที่ ๔  จึงมี  ๕  คำ  ส่วนวรรคหลังมี  ๔  คำ

            ๒.  พยางค์และคำสร้อย    จำนวนพยางค์และคำในแต่ละบท  รวมแล้วมี  ๓๐  คำ

            คำสร้อย  คือ  คำที่แต่งท้ายบาทของโคลงตามข้อบังคับ  เพื่อทำให้ได้ใจความครบถ้วน  ถ้าโคลงบาทใดได้ความครบถ้วนแล้ว  ก็ไม่ต้องเติมคำสร้อย

            ตำแหน่งที่กำหนดให้เติมคำสร้อย  คือ  ท้ายบาทที่  ๑  และท้ายบาทที่  ๓

            คำสร้อยต้องมีแห่งละ ๒  คำเสมอ  คำแรกเป็นคำสุภาพที่ต้องการเสริมความให้สมบูรณ์  ส่วนคำหลังมักลงท้ายด้วยคำต่อไปนี้

พ่อ  แม่  พี่  รา  แล  เลย  เอย  นา  นอ  เนอ  ฤๅ  ฮา  แฮ  เฮย  และมีอีกคำหนึ่งที่พบในโคลงโบราณ  คือ คำว่า  บารนี  ซึ่งใช้คำสร้อยได้ครบพยางค์โดยไม่ต้องเติมคำอื่น

 ๓.  สัมผัส  คำเอกคำโท  คำเป็นคำตาย

       ๓.๑   สัมผัส    ดูจากแผนผังต่อไปนี้

                                                                                     (นิราศนรินทร์)

 

๓.๒   คำเอกคำโท    กำหนดในตำแหน่งที่พิมพ์ด้วยเครื่องหมาย  เอก  โท  ในแผนผัง  รวมมีคำเอก  ๗  แห่ง  และคำโท  ๔  แห่ง  นอกนั้นเป็นคำสุภาพธรรมดา               ไม่จำเป็นต้องเป็นเอกโทจะเป็นเสียงวรรณยุกต์อะไรก็ได้

            ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ  บางครั้งเมื่อไม่สามารถหาคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก  หรือรูปวรรณยุกต์โทมาใช้ในที่บังคับวรรณยุกต์ตามแผนผังได้  ผู้แต่งจำเป็นต้องใช้คำเอกโทษ  หรือ   คำโทโทษ  คือ  นำคำที่ต้องการใช้ไปเปลี่ยนให้เป็นรูปวรรณยุกต์เอก  หรือโท  แต่ถ้าไม่จำเป็น

อย่างยิ่งแล้วก็ไม่ควรใช้  เพราะทำให้รูปคำเสีย  และความหมายอาจเปลี่ยนไป  เช่น  ใช้คำว่า   ข้า  แทนคำว่า  ฆ่า  เป็นต้น          อีกกรณีหนึ่งคือ  คำเอก  คำโท  ที่อยู่ติดกัน บางครั้งอาจสลับที่กันได้

๓.๓   คำเป็นคำตาย    คำตายใช้แทนวรรณยุกต์เอกได้ทุกแห่งที่บังคับคำเอก         ไม่ว่าคำตายนั้น ๆ จะมีเสียงวรรณยุกต์ใด  อาจเป็นคำตายเสียงเอก  เช่น  บาด  จิต  คำตายเสียงโท  เช่น  วาด  ภาพ  หรือคำตายเสียงตรี  เช่น  พบ  รัก  เป็นต้น

 

๔.  สัมผัสบท    ถ้าเขียนโคลงสี่สุภาพ ความยาวเกินกว่า  ๑  บท  จะต้องมีสัมผัสบทโดยคำสุดท้ายของบาทที่  ๔  บทต้น  สัมผัสกับคำที่  ๑ , ๒ หรือ  ๓  ของบาทที่  ๑  ในบทต่อไป

 

 

                                                                                (มิ่งขวัญ  กิตติวรรณกร)

คำสำคัญ (Tags): #โคลงสี่สุภาพ
หมายเลขบันทึก: 413872เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2010 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • มาเรียนรู้คำโคลงจรรโลงใจ

ดีมากเรียนรู้ได้ดีเข้าไจง่าย

ต้องที่ประเทืองเท่านั้น

อินทิรา ชื่อเล่น ออยล์ ภูเขียว

ดีมากเลยค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่าย แสดงว่าต้องทำข้อสอบได้แน่ๆเลยค่ะ


เครียดมากเลยคับไม่เข้าใจเลย


ดีมากครับเข้าใจง่าย


รักมาก ดีอะคะ


ดีดีดีดีดีดีมากมากมาก

ขอบคุณมากๆค่ะ

อืม...ใช้ได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เสัุึุะึคีถพ

ดีมากเลย  วิทยา ถนอมวงศ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท