ส้มโอปากพนังสู่สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย


ส้มโอทับทิมสยามแสงวิมาน

เล็กได้อ่านข่าวจาก หนังสือพิมพ์บ้านเมือง ฉบับวันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 10:12:35 น. เรื่องที่ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประธานการประชุมหารือเตรียมขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ส้มโอทับทิมสยามแสงวิมาน โดยมี นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เข้ารับฟังเพื่อพิจารณาความพร้อมในการจัดทำคำขอตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546 และขณะนี้ก็ได้ดำเนินการยื่นคำขอไปที่กรมฯแล้วซึ่งส้มโอทับทิมสยามแสงวิมาน นับเป็นสินค้าท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีในเรื่องของรสชาติที่อร่อยแตกต่างจากส้มโอพันธุ์อื่นๆ ในเมืองไทย นับเป็นความภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่งของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชบ้านเกิดของเล็กเองค่ะ

ลักษณะประจำพันธุ์ ของส้มโอพันธ์นี้คือ ใบค่อนข้างกว้าง ปลายใบแหลม ใต้ใบมีขนอ่อนนุ่ม ผลมีขนาดใหญ่ เส้นรอบผลประมาณ 16-22 นิ้ว หัวจีบ ผิวผลมีขนอ่อนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ปกคลุมทั่วทั้งผล เปลือกบางจากความอร่อยและต้องปากของคนไทย จึงทำให้ส้มโอพันธุ์นี้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันราคาขายที่หน้าสวนจะอยู่ที่ ผลละ 50 บาท ราคาร้านค้าริมทางหลวง ผลละ 80-100 บาท ทุกวันนี้ที่อำเภอปากพนัง มีเกษตรกรปลูกส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามกว่า 67.5 ไร่ จำนวน 40 ราย ในพื้นที่ 3 ตำบล ประกอบด้วย คลองน้อย เกาะทวด และ ปากพนังฝั่งตะวันตก โดยมีส้มโอที่ให้ผลแล้ว 30 ไร่ ยังไม่ให้ผลผลิต 37.5 ไร่ ซึ่งผลผลิตที่ได้เฉลี่ยที่ 40 ต้น ต่อ 1 ไร่ นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดของส้มโอพันธุ์ดีนี้ที่บล็อกของคุณ Phonphen ไปติดตามกันต่อได้นะคะ

เท่าที่เล็กทราบขณะนี้ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ยื่นคำขอจดทะเบียนส้มโอปากพนังเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว แต่อยู่ในระหว่างการตรวจสอบคำขอ (ข้อมูล ณ วันที่ 14 ธ.ค.2553)ซึ่งในระยะนี้ส้มโอปากพนังจะยังไม่ได้รับความคุ้มครองจนกว่าจะได้ประกาศโฆษณาแล้วและภายในเวลา 90 วันนับจากวันโฆษณาหากไม่มีการคัดค้าน กรมฯ จะประกาศขึ้นทะเบียนให้และแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันผ่านทางเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา http://www.ipthailand.go.th/ipthailand/index.php
 
ซึ่งผู้ที่มีสิทธิใช้ตราGI คือผู้ที่อยู่ในขอบเขตพื้นที่การผลิตหรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับสินค้านั้น พรบ.สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546 หมวด 4(25) โดยจะต้องไปขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกเกษตรกรผู้เพาะปลูกหรือผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขอใช้ตราสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นก่อน จากนั้นจะต้องผ่านระบบการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพด้วยโดยผู้มีสิทธิใช้ตรา GI จะได้รับหนังสืออนุญาตให้ใช้ตราเป็นหลักฐาน โดยตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิใช้ตราได้ที่เว็บของกรมฯเช่นเดียวกันค่ะ
 


โดยในเบื้องต้นผู้ที่มีสิทธิใช้ตรา GI และประสงค์จะใช้ตรา GI ให้ติดต่อไปทางสำนักงานพานิชย์จังหวัดของแต่ละจังหวัดนะคะ
 

 

หมายเลขบันทึก: 413683เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2010 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 07:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับผมทายาทลุงสมหวัง มัสแหละ ดีใจมากที่ได้เข้ามาอ่านครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท