เตาเผาศพปลอดมลพิษ : อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง...


จากคำถามของคุณ กระติก~natachoei ที่ ~natadee ที่ได้มีคำถามที่ทรงคุณค่าเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเผาศพแบบปลอดมลพิษไว้ ดังนี้...

(ที่มาจากบันทึก เตาเผาศพปลอดมลพิษ : ธุรกิจที่หากินกับ "ผี...")

เคยใช้บริการในงานของพ่อเมื่อ 2 ปีก่อน  หมดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 2000 บาท (เนื่องจากใช้บริการเป็นรายแรก จึงต้องใช้น้ำมันมาก.....เจ้าหน้าที่บอก)

แต่ถ้าใช้เมรุ แบบเดิม จะหมดค่าใช้จ่ายประมาณ 500 บาทหรือน้อยกว่านี้

แต่เพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ยอมรับได้ค่ะ

พวกเราเกิดข้อสงสัยว่า     แล้วในรายต่อๆ ไป  ค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งโดยประมาณเท่าไหร่ค่ะ  (ไม่นับค่าสินน้ำใจที่ให้กับเจ้าหน้าที่ เพราะเราให้ด้วยความเต็มใจอยู่แล้ว)

คิดเผื่อคนที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ

ขอบคุณค่ะ

 

สำหรับค่าใช้จ่ายในการเผาศพโดยใช้เตาเผาศพแบบปลอดมลพิษนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกันคือ 1. ใช้ขดลวดไฟฟ้า (แบบนี้มีใช้น้อยมากในประเทศ) 2. ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง (มีประมาณ 5-10% ของเตาเผาศพปลอดมลพิษทั้งประเทศ) และ 3. ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง

ซึ่งข้อมูลทางเทคนิคของบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายเตาเผาศพมลพิษนั้น ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของศพหนึ่ง ๆ จะอยู่ที่ 45-60 ลิตร จะมากหรือน้อยนั้นอยู่ที่ปัจจัยหลัก ๆ 3 ประการ คือ

1. ความต่อเนื่องในการใช้เตา

อย่างเช่นที่คุณ กระติก~natachoei ที่ ~natadee  ได้รับข้อมูลว่า "เนื่องจากใช้บริการเป็นรายแรก จึงต้องใช้น้ำมันมาก....." เหตุผลนี้ "ถูกต้องครึ่งหนึ่ง"

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น...?

ขออนุญาตเล่าหลักการทำงานของเตาเผาศพปลอดมลพิษในปัจจุบันซึ่งเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นระบบ "ไฟเผาควัน" ดังนี้

ในอดีต เตาเผาศพ (เมรุฯ) นั้นจะเป็นระบบห้องเผาเดียว ก็คือ มีห้องที่ใช้บรรจุโลงและศพ ดังเช่นที่เรามองเห็นเขาดันโลงเข้าไปเมื่อไปงานฌาปนกิจศพตามงานต่าง ๆ

ซึ่งเตาในอดีตจะถาดล้อเลื่อนโดยใส่เชื้อเพลิงไว้ด้านล่าง ส่วนใหญ่จะเป็นถาดแล้วราดน้ำมัน จากนั้นเมื่อประกอบพิธีการเสร็จ ญาติ ๆ และสัปเหร่อ ก็จะเตาโลงศพวางไว้บนเชื้อเพลิงนั้นแล้วจุดไฟ เมื่อไฟถูกจุด ก็จะเผาโลงศพที่อยู่ด้านบน

Large_meru75

หลักการของควันและความร้อนจะลอยขึ้นสู่ที่สูง โดยเมรุฯ มีระบบปล่องควันที่ใช้ลมดูด ถ้าการออกแบบปล่องมีประสิทธิภาพ ความร้อนและควันจะลอยขึ้นสู่ปล่องและออกทางปลายปล่องโดยอัติโนมัติ

เตาแบบเดิม เมื่อเชื้อเพลิงคือถ่านเผาถูกจุด เปลวไฟก็จะลุกผ่านโลงศพและไหม้ทุกอย่างที่อยู่ในโลงนั้น ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย ไม้จากโลง ดอกไม้จันทร์ เสื้อผ้า หรืออะไรต่ออะไรที่เราใส่ลงไปพร้อมกับผู้ตาย

จากนั้นควันทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้จะลอยผ่านปล่องควันขึ้นสู่ท้องฟ้าโดยทันที ซึ่งจากทีเราเห็นนั้นจะเป็นควันสีดำ และนั้นก็คือ "มลพิษ"

ดังนั้น จึงมีผู้คิดค้นหลักการต่าง ๆ ที่จะมาจัดการกับเจ้าควันดำที่ลอยออกจากห้องเผาศพ  ซึ่งแรก ๆ มีผู้คิดค้นการดักควันหรือมลพิษนั้นโดยการใช้ "น้ำ"

เมื่อเกิดการไฟไหม้ในห้องเผาศพแล้ว ผู้สร้างเตาจะสร้างท่อหรือปล่องควันให้ควันนั้นลอยผ่านช่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งช่องนั้นจะมีการ "ฉีดน้ำ" เมื่อให้ละอองน้ำไปเกาะตัวให้ควันเป็นอณูที่หนาและหนักขึ้นจนทำให้เกิดเป็นหยดน้ำตกลงสู่ที่รองรับและถูกปล่อยลงไปสู่ "พื้นดิน"

ระบบนี้ใช้งานได้ดีในการกำจัดมลพิษทางอากาศ เพราะควันดำที่เคยพวงพุ่งออกทางปากปล่องแทบไม่มีเหลือ เพราะถูกน้ำจับควันไว้เกือบทั้งหมด

แต่ปัญหาเกิดขึ้นเพราะน้ำที่รวมตัวกับควันนั้นเป็น "มลพิษ" เมื่อถูกปล่อยลงดิน ส่งกลิ่นเหม็น ยิ่งพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่น้ำท่วมขังหรือพื้นที่ต่ำยิ่งเกิดเป็นมลพิษทางสิ่งแวดล้อม

"ควันไม่เหม็นแต่น้ำเหม็น..."

ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้คิดค้นผลิตเตาเผาศพแบบ 2 ห้องเผา คือ ห้องแรกเผาศพ ห้องที่ 2 เผาควัน โดยมีหลักการคร่าว ๆ  คือ เมื่อเกิดควันจากห้องเผาศพ ควันนั้นจะลอยขึ้นตามช่องสู่ห้องเผาศพที่ 2 ซึ่งในห้องเผาศพนั้น จะมีหัวเผา (Burner) อีกหนึ่งตัว พ่นไฟออกมาเพื่อเผาควันนั้นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ตามหลักการของการควบคุมมลพิษแล้ว ควันนั้นจะต้องถูกกักเก็บและเผาซ้ำอยู่ในห้องเผาศพที่ 2 อีกไม่น้อยกว่า 1 วินาที จึงจะสมบูรณ์

ซึ่งทำให้เตาเผาศพรุ่นใหม่ในปัจจุบัน เราแทบจะไม่เห็นควันสีดำพวงพุ่งออกจากปล่องเมรุฯ หรืออาจจะเห็นแค่ควันสีขาว ๆ ออกมาในตอนแรกบ้างเล็กน้อย ซึ่งควันขาว ๆ นั้น ข้าพเจ้าเคยสอบถามผู้ที่มาตรวจสอบมลพิษแล้วได้คำตอบว่า ควันขาว ๆ นี้ไม่จัดว่าเป็น "มลพิษ" ตามระดับการวัดของหน่วยงานที่ควบคุมสิ่งแวดล้อม

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าขออนุญาตสรุปหลักการเตาเผาศพจากอดีตถึงปัจจุบันในเบื้องต้น ดังนี้

1. เมรุฯ ระบบเดิม มี 1 ห้องเผา ใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิง อัตราสิ้นเพลิงของเชื้อเพลิงของถ่านจะอยู่ที่ 2 กระสอบต่อศพ ซึ่งราคาถ่านต่อกระสอบอยู่ที่ประมาณ 2-300 บาท ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่ใช้จะอยู่ที่ 5-600 บาท

และราคานี้สามารถลดลงได้อีก ถ้าหากญาติ ๆ ของผู้วายชนมีเงินน้อย โดยการหาเศษไม้หรือเชื้อเพลิงอื่นใดที่มีในท้อนถิ่นมาผสมรวมกันกับถ่านก็ได้ หลักการง่าย ๆ ก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ไฟติดจนสามารถเผาเนื้อและกระดูกให้หมดไป

2. เตาเผาศพปลอดมลพิษระบบผ่านน้ำ จะมี 1 ห้องเผา บวกกับท่อหรือปล่องที่ผ่านเข้าระบบการสเปรย์น้ำ

เตาเผาระบบนี้ใช้เชื้อเพลิงจากเผาศพระบบน้ำมันดีเซล 1 หัวเผา ซึ่งจะใช้น้ำมันอยู่ที่ประมาณ 30 ลิตรต่อศพ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงถ้าคิดตัวเลขง่าย ๆ อยู่ที่ลิตรละ 30 บาท ก็จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,200 บาท

ทางวัดหรือฌาปนสถาน ก็จะคิดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า (ใช้ในการควบคุมระบบ) อาจจะคิดเรา 1,500 บาท หรือ 2,000 บาท หรืออาจจะมากกว่านั้นแล้วแต่นโยบายของฌาปนสถาน

3. ระบบไฟเผาควัน ระบบนี้จะเป็นเตาเผาศพระบบ 2 ห้องเผา จะใช้หัวเผา (Burner) อย่างน้อย 2 ตัว คือ ตัวหนึ่งเผาศพ ตัวหนึ่งเผาควัน

อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันจะอยู่ที่ 45-60 ลิตร ซึ่งถ้าราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 30 บาท ก็จะต้องเสียค่าน้ำมันประมาณ 1,350 - 1,800 บาท

Large_tt7597

จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการหลัก ๆ ตามที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้น คือ

1. เป็นศพแรก หรือเตาไม่ได้ถูกใช้อย่างต่อเนื่อง

2. วัสดุที่ใช้ทำโลงและขนาดของร่างกาย

3. เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ "ฝีมือคนเผา..."

 


ปัจจัยตัวที่ 1 สำหรับการสิ้นเพลิงเชื้อเพลิงในการเผาศพ

1. ความต่อเนื่องในการใช้เตา

จากเดิมที่เคยกล่าวถึงเรื่องระบบการเผาศพแบบปลอดมลพิษ ในส่วนของห้องเผาที่ 2 หรือห้องเผาควันซึ่งจะต้องมีอัตราการกักเก็บซ้ำเพื่อเผาควันอย่างน้อย 1 วินาทีนั้น

ในทางปฏิบัติ การที่จะทำให้เตาเผาศพทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบได้ อุณภูมิความร้อนสะสมภายในห้องเผาควัน (Chamber 2) จะต้องอยู่ไม่ต่ำกว่า 350 องศาเซลเซียส

Large_meru152

ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากเป็นเตาใหม่ หรือเตาที่ไม่ถูกใช้มาเป็นเวลานานกว่า 48 ชั่วโมง (ตามหลักการการคลายความร้อนของอิฐทนไฟเมื่อถูกใช้ครั้งหนึ่ง ๆ แล้วนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 48 ชั่วโมง)

เมื่อระยะเวลาการใช้เตาแต่ละครั้งเกินกว่า 48 ชั่วโมง ก็แสดงว่า เราจะต้องเริ่มสตาร์ทการทำอุณหภูมิจากอุณหภูมิปกติ (อุณหภูมิห้อง) ทุกครั้ง ซึ่งโดยปกติจะอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียส

การเริ่มสตาร์ทจากอุณหภูมิห้องเมื่อสร้างอุณหภูมิสะสมในห้องเผาควันให้เกินกว่า 350 องศาเซลเซียส ทำได้ 2 วิธี หลัก ๆ คือ

1. ผู้ควบคุมเตา จะทำการจุดหัวเผา (Burner) ทั้งในห้องเผาศพและในห้องเผาควัน ก่อนที่จะใส่โลงศพเข้ามา เพื่อระบายความชื้นภายในเตารวมถึงสร้างอุณหภูมิมวลรวมของอิฐทนไฟให้สูงขึ้น ซึ่งในขั้นตอนนี้ จะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ซึ่งจะใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 5-10 ลิตร

แต่ถ้าระยะเวลาการจุดหัวเผาเพื่อระบายความชื้นและสร้างอุณหภูมิมีความห่างจากการเผาจริงเกินกว่า 2 ชั่วโมง ก็แทบจะไม่มีประโยชน์ในการเผาจริงเลย เพราะความร้อนสะสมจะถูกระบายทางปล่องลมออกไปเกือบหมด

2. เมื่อใส่ศพเข้าไปในห้องเผาศพแล้ว ผู้ควบคุมเตาทำการจุดหัวเผาในห้องที่ 2 เพื่อสร้างอุณหภูมิให้ได้ 350 องศาเซลเซียส

ระบบนี้จะทำความร้อนได้ช้ากว่าแบบแรก เพราะไม่มีความร้อนจากห้องเผาหลักขึ้นมาช่วย ในบางเตาอาจจะใช้เวลาถึง 30 นาที หลังจากใส่ศพเข้าไปแล้ว

Large_buner01

ซึ่งนั่นหมายความว่า ญาติ ๆ ที่คิดว่าเผาใส่เข้าไปครึ่งชั่วโมงนั้นน่าจะถูกเผาไฟบ้างแล้ว แต่แท้ที่จริงยังไม่มีการจุดหัวเผาในห้องเผาหลักเลย

เพราะถ้าหัวเผาหลักถูกจุดในขณะที่ความร้อนสะสมในห้องเผาควันยังไม่ถึง 350 องศานั้น จะได้เห็นควันขโมง (มลพิษ) ออกทางปากปล่องอย่างแน่นอน ซึ่งนั่นก็จะเกิดคำถามตามมาว่า นี่หรือคือเตาเผาศพปลอดมลพิษ

ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการเผาศพที่เป็นศพแรกกับการเผาที่มีระยะห่างกันเกินกว่า 48 ชั่วโมง หรือเรียกง่าย ๆ ว่าถ้าเตาเย็นแล้วก็ต้องมาสตาร์ทกันใหม่นั้นจึงใกล้เคียงกัน

แต่ทว่า บางฌาปนสถาน อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการเผาสำหรับศพแรกเพิ่มมากขึ้นจริง ๆ เนื่องจากก่อนการเผานั้นจะมีการลองระบบกันหลายครั้ง ทั้งการส่งมอบเตาและการลองระบบต่าง ๆ ของผู้ที่ควบคุมเตา

จากข้อมูลที่เคยได้ยินสำหรับการแนะนำระหว่างบริษัทผู้ขายกับผู้ซื้อนั้น ผู้ขายจะแนะนำให้ผู้ซื้อ (วัดหรือฌาปนสถาน) บอกกับญาติ ๆ ว่าต้องใช้น้ำมัน 60 ลิตร เผื่อเหลือ เผื่อขาด


ปัจจัยตัวที่ 2 โลงและร่างกาย

โลง...

โลงมีส่วนสำคัญสำหรับการสิ้นเปลืองของเชื้อเพลิงประมาณ 10%

ประเด็นแรกเกิดจาก ถ้าเกิดเป็นโลงที่ใช้ไม้หนา ในการเกิดมลพิษนั้นปัจจัยแรกที่สุดคือควันที่เกิดขึ้นจากไม้ และไม้ที่ใส่เข้าไปนั้นก็คือ "โลง"

Large_tt7590

ถ้าโลงหนามาก อัตราความแรงของการจุดหัวเผาบน (ห้องเผาควัน) ก็จะต้องแรงมาก เพื่อให้ไฟหรือความร้อนสามารถกำจัดมลพิษที่ออกมาจากห้องเผาล่างจนหมดจด

ดังนั้นเมื่อโลงยังไม่หมด ผู้ควบคุมเตาจะทำการปิดหัวเผาบนไม่ได้

โดยปกติ การเผาศพปลอดมลพิษจะมีช่วงเวลาวิกฤต (Critical time) อยู่ที่ 30 นาทีแรก หลังจากการจุดไฟในห้องเผาศพ

โดยอย่างยิ่งในช่วง 5 นาทีแรก ที่โลง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ไม่คาดฝันว่าญาติบางคนจะนำใส่ไปกับศพด้วยอาทิ เสื้อผ้า ผ้าห่ม หมอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นใยสังเคราะห์ติดไฟนั้นจะทำให้เกิดมลพิษได้มากกว่าโลงหลายเท่า

ดังนั้นการทำความร้อนในช่วงแรกจึงมีส่วนสำคัญมากเพื่อจัดการกับวัสดุแปลกปลอมเหล่านี้

จากนั้นเมื่อโลงและวัสดุต่าง ๆ ไหม้ไฟหมดแล้ว (ปกติจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที) ผู้ควบคุมเตาจะทำการปิดหัวเผาบน เพื่อประหยัดเชื้อเพลิง เพราะในขณะนั้น ห้องเผาบนจะมีความร้อนสะสมอย่างน้อย 600-700 องศาเซลเซียสแล้ว เนื่องจากมีความร้อนทั้งจากหัวเผาล่างขึ้นไปช่วย รวมทั้งไฟที่เกิดจากโลงและวัสดุต่าง ๆ ทำให้การกักเก็บเพื่อเผาซ้ำนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากเราสังเกตุเตาเผาศพรุ่นก่อน ๆ (แบบห้องเผาเดียว) ให้ดีก็จะพบว่า จะเกิดควันดำในช่วง 15 นาทีแรกเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะเป็นควันขาวแทบทั้งสิ้น

ด้วยเพราะเหตุเดียวกันคือ 15 นาทีแรกนั้นเป็นช่วงของการเผาโลงและวัสดุต่าง ๆ จึงทำให้เกิดมลพิษ

ทำไมเตาแบบเดิมใช้เวลาในช่วงแรก (15/30 นาที) น้อยกว่าเตาเผาศพปลอดมลพิษ...?

คำตอบคือ "คำว่าปลอดมลพิษ"

คำว่าเตาเผาศพปลอดมลพิษนี้ ทำให้ทุกคนคาดหวังว่าจะ "ไม่มีควัน (ทั้งควันดำและควันขาว)" ดังนั้น ผู้ควบคุมเตาจะต้องทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้มีควันหลุดรอดออกมาได้

ช่วงแรกจึงเป็นช่วงของการ "ประคับประคอง" ค่อย ๆ เผาโลง เผาเสื้อผ้าไปเรื่อย ๆ จะเร่งหัวเผาแบบเต็มที่เหมือนเตารุ่นเดิมไม่ได้ เพราะเตารุ่นเดิมอย่างไงก็มีควัน ไม่ต้องเลี้ยงมาก "อัดได้เลย"

และเมื่อประกอบกับเวลาที่จะต้องใช้สร้างอุณหภูมิในห้องเผาควันให้ได้ 350 องศา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 30 นาที บวกกับเวลาเลี้ยงควันอีก 30 นาที เตาเผาศพปลอดมลพิษจะใช้เวลา 1 ชั่วโมง ในการเผาศพไปได้มากเท่ากับเตารุ่นเดิมเพียง 15 นาที (ในอัตราความสำเร็จของการเผาไหม้วัสดุและร่างกายเท่ากัน)

Large_tt7579

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้วายชนที่มีร่างใหญ่

จากเดิมที่ข้าพเจ้าเคยสังเกตเมื่อเผาศพฝรั่งกับคนไทยแล้ว ศพฝรั่งซึ่งมีน้ำหนักตัวมากกว่าคนไทยโดยเฉลี่ย 20-30 กิโลกรัมนั้นจะใช้เวลามากกว่าประมาณ 30 นาที

และอีกปัจจัยหนึ่งที่จะมองข้ามไม่ได้ก็คือ "การถอดปลั๊กโลงเย็น"

การบำเพ็ญกุศลศพในปัจจุบันวัดหรือฌาปนสถานต่าง ๆ นิยมใช้โลงเย็นกันค่อนข้างมาก

ถ้าหากมีการบำเพ็ญกุศลศพเกินกว่า 3 วัน ภายในร่างกายของผู้ตายที่แช่อยู่ในโลงเย็นนั้นจะเป็นน้ำแข็ง

ดังนั้นก่อนเวลาเผาจริง ซึ่งจะเป็นช่วงบ่ายของอีกวันหนึ่ง ผู้ควบคุมเตา กรรมการวัด หรือสัปเหร่อ จะต้องทำการปิดโลงเย็นหรือถอดปลั๊กออกก่อนอย่างน้อยคืนหนึ่ง หรือจะต้องมีระยะเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมงเพื่อให้ความเย็นในร่างกายลดน้อยลง...


ปัจจัยตัวที่ 3 คือ "ฝีมือของคนเผา"

การเผาศพปลอดมลพิษนั้น จุดที่ยากที่สุดคือการทำให้ปลอดมลพิษ ดังนั้น การทำให้ปลอดมลพิษนี้เองจะขึ้นอยู่กับเทคนิคของคนเผา (Tacit knowledge)

Large_meru12

จากข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับ ทราบว่า มีผู้เยี่ยมยุทธ คือมีความชำนาญสูงมากในการเผาสามารถใช้น้ำมันเพียง 35 ลิตรในการเผาศพ ๆ หนึ่ง

ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความใส่ใจเป็นยิ่งยวด

ถ้าจะให้น้อยจริง ๆ ต้องถึงขั้นว่านั่งเฝ้ากันทีเดียว

คือต้องดูว่าตอนนี้อุณหภูมิของเตาอยู่ที่เท่าใด ดับหัวเผาบนได้หรือยัง ถ้าดับได้แล้วก็ประหยัดเชื้อเพลิงได้อีกส่วนหนึ่ง

ผู้เผาศพบางท่าน อาจจะมีภาระงานอื่น จะต้องทำโน่นทำนี่ บางคนจุดเตาไว้ชั่วโมงสองชั่วโมงกลับมาดูที ก็แสดงว่าจุดหัวเผาไว้คู่กันเลย ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว การจุดไฟหัวเผาบนหลังจากที่โลงไหม้หมดไปแล้วแทบจะไม่มีความจำเป็นเลย รังแต่จะให้เปลืองน้ำมันไปเปล่า ๆ ฟรี ๆ

ดังนั้น ถ้าหากผู้เผาศพของตรวจสอบการเผาไหม้อยู่ตลอด ช่วยดันให้ส่วนของร่างกายที่เหลือเข้าไปใกล้หัวเผา (ซึ่งโดยปกติจะอยู่ด้านบนหรือส่วนหัวของศพ) มาก ๆ ก็ยิ่งจะทำให้เผาหมดไว้

เพราะถ้าไม่ดัน ร่างกายอยู่ไกลหัวเผา ก็ต้องใช้เวลาเผานาน

และอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญก็คือ ระยะเวลาในการเก็บกระดูกของญาติ ถ้าหากไม่เร่งมาก คือ มาเก็บตอนเช้า หลังจากที่เผาจนเหลือแต่กระดูกสักกองหนึ่ง ผู้ควบคุมเตาก็สามารถปิดหัวเผา แล้วปล่อยให้กระดูกที่เหลือถูกความร้อนสะสมภายในเตาค่อย ๆ ย่อยสลายไป ซึ่งในตอนเช้าก็จะหมดพอดี

Large_bon02

แต่ถ้าหากญาติ ๆ เร่งเก็บกระดูก จะเอาเย็นนั้น กระดูกกองที่เหลือ ก็จะต้องใช้ไฟเผา คือต้องจุด Burner อัดอยู่อย่างน้อย 30 นาที

และที่น่าสนใจมากก็คือ กระดูกกองเล็ก ๆ นี้เป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงกว่าเนื้อหรือร่างกายที่มีน้ำมัน

ดังนั้นการเผากระดูกที่ใช้เชื้อเพลิงมากกว่าการเผาร่างกายในส่วนอื่น ๆ

 Large_tt8070

หมายเลขบันทึก: 412444เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2010 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทางบริษัทของเราเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยBURNERหัวพ่นไฟ ยี่ห้อF.B.R.นำเข้าจากประเทศอิตาลีหัวพ่นไฟเตาเผาอุตสาหกรรมทุกชนิดซึ่งมีราคาไม่แพงสามารถนำไปใช้งานได้หลายประเภทเช่นเตาหลอมอลูมิเนียม, เตาเผาเซรามิค, เตาอบ, ห้องอบสี, หม้อไอน้ำ, เตาเผาขยะ, เตาเผาศพ, เตาอบปุ๋ย, Oven, Spray Dryer, Hot Oil,
Boiler
เตาอบสีรถยนต์เตาต้มน้ำ



เครื่อง BUENER ของเราราคาก็ยังไม่แพงอย่างที่คิดและใช้งานได้ดี และทนที่สุดในประเทศมีรับประกันสินค้า



ทางบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์แก๊สยี่ห้อREGOและBALLVALVE



รับติดตั้งระบบสถานีจ่ายแก๊สเดินระบบท่อแก๊สในราคาย่อมเยา



สนใจกรุณาติดต่อคุณวรพจน์วิเชียรเลิศ[email protected]



หรือ0819160275



ผู้แทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยREGO597FB ,
1584ML , 1588ML , LV4403SR4 HIGH REGULATOR , LV4403 , LV2302A2 , LV4403C ,
LV5503C LOW REGULATOR , 6010 6016 EMERGENCY SHUT OFF VALVE , 3127G , 3133G,
3135G , 7534G , AA3135UA250 , RELIEF VALVE , A3176 , A3186 , A3400L4 BACK CHECK
VALVE , A3272G , A3282C , A3292B , A3500P4 EXCESS FLOW VALVE , TSS3169 VENT
VALVE , GLOBE VALVE , ROTO GAUGE
,FBRGAS X3CE TC
, GAS X4 CE TC , GAS X5 CE TC , GAS XP40 CE TC , GAS XP60 CE TC SINGLE STAGE
GAS BURNER , GAS X3/2 CE TC , GAS X4/2 CE TC , GAS X5/2 CE TC , GAS XP40/2 CE
TC , GAS XP60/2 CE TC , GAS P70/2 , GAS P100/2 , GAS P150/2 TWO STAGE GAS
BURNER
REGO CRYOGENIC9560B ,
9563CR MASTER VALVE , 2554AC , BK8404T , BKA8412S GLOBE VALVE , T9453 , T9454 ,
T9464DA SHORT STEM VALVE , CG500SS CHECK VALVE , PRV9432 , PRV9434 RELIEV VALVE
, RG125 , RG300 , 1784A , 1788C , BR1784B , BR1788C REGULATOR
SPARE PART
FOR BURNER
HONEYWELL , KROMSCHDER , BRAHMA , COFI , LANDIS&GYR , GULIANI
ANELLO
GAS FILTER , GAS GOVERNER ทาง
บริษัท หวัง เป็น อย่าง ยิ่ง ว่า จะ ได้ รับ คำ ตอบ จาก คุณ เร็วๆ นี้ ครับ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท