ผักกางมุ้ง


ปัจจุบันประชาชนหันมาใส่ใจในเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ผักปลอดสารพิษจึงนับเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำมาประกอบอาหารกันอย่างแพร่หลาย

ปลูกผักปลอดสารพิษ

   ปัจจุบันประชาชนหันมาใส่ใจในเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ผักปลอดสารพิษจึงนับเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำมาประกอบอาหารกันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่รู้จักกันหลายๆ ชื่อ เช่น ผักกางมุ้ง ผักโรงเรียน ผักอนามัยหรือการปลูกผักในมุ้งตาข่าย ผักที่นิยมปลูกในมุ้งตาข่าย ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และบรอคโครี

การปลูกผักปลอดสารพิษ
      
       โรงเรือนสำหรับปลูกผักในมุ้ง ถ้าปลูกพืชในที่กว้างเกิน 3-4 ไร่ โรงเรือนจะต้องแข็งแรง และทนทาน อาจจะใช้โครงเหล็กแบบท่อน้ำขนาด 1 นิ้ว ต่อแบบหน้าจั่ว ขนาดกว้างยาวให้เท่ากับพื้นที่มีอยู่ ความสูง 2.50 เมตร ผูกโยงโดยใช้ลวดเบอร์ 12

 ในระยะเริ่มต้น ควรใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเป็นโครงสร้างก่อน โดยใช้เสาเข็มไม้ไผ่ เศษไม้ต่างๆ ที่พอจะหาได้ แล้วใช้ไม้ตอกยึดเพื่อความแข็งแรง ส่วนมุ้งตาข่ายควรเลือกใช้สีขาว เย็บเรียบร้อยและแน่นหนา 


  การปลูกผักกางมุ้ง ควรมิดชิด มีประตูแบบสองชั้นสามารถป้องกันผีเสื้อหนอน และด้วงหมัดผักได้เป็นอย่างดี แต่จะไม่สามารถป้องกันโรคพืชที่มักเกิดเฉพาะฤดูฝน เช่น โรคใบกรอบ โรคเน่า โรคราน้ำค้าง โรคใบจุด

การจัดจำหน่าย : ผักกางมุ้งหรือผักปลอดสารพิษ กำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก การจัดจำหน่ายก็สามารถติดต่อพ่อค้าคนกลาง แล้วขายส่งตามตลาดสดทั่วไป จะได้ราคามากกว่าผักสดทั่วๆ ไป

เคล็ดลับ : การปลูกผักปลอดสารพิษให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้น แหล่งเพาะปลูกต้องมีความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ ดูแลและกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง นำต้นกล้าลงปลูกระยะห่างระหว่างแถว 30 ซม. และระหว่างต้น 20 ซม. วันแรกทำที่บังแดด โดยตอนเช้าเปิดให้น้ำ แล้วปิดตอนเย็นหลังรดน้ำ เปิดทิ้งไว้เพื่อให้ต้นกล้ารับน้ำค้าง เมื่อครบ 10 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรียผสมน้ำรด และฉีดยา เพื่อป้องกันแมลง เพลี้ย และหนอน ประมาณ 55 วัน ก็สามารถเก็บได้โดยใช้มีดคมๆ ตัดโคนต้นชิดดินสามารถนำไปขายหรือแปรรูปได้

****ขอขอบคุณ...เป็นความรู้ดีๆช่วยกันเผยแพร่ ตอนนี้ก็ทำอยู่เดี๋ยวเอาของผมมาให้ดู

 

http://www.samutprakan.net/5800/WebarcheepNew/archeep5.htm (ที่มาของข้อมูล)

หมายเลขบันทึก: 412107เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2010 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท