สุขปฏิบัติ ระเบียบข้อบังคับ และความปลอดภัย
ด้านสุขปฏิบัติในการว่ายน้ำ และการใช้สระว่ายน้ำ
สุขปฏิบัติ เป็นข้อควรปฏิบัติเพื่อสุขภาพของผู้มาใช้บริการ เป็นประโยชน์ต่อ สุขภาพร่างกาย มีผลต่อสภาพร่างกายในระยะยาวในทางที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นเป็นข้อควรรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดสุขลักษณะ นิสัย และมารยาทในสังคม มิใช่เป็นการบังคับ เมื่อผู้มาใช้บริการไม่ปฏิบัติก็ไม่มีใครว่ากล่าวลงโทษ แต่จะแสดงถึงความบกพร่องด้านจรรยา มารยาทเท่านั้น
วิธีการปฏิบัติตามหลักสุขปฏิบัติ ไว้ ดังนี้
1. ห้ามนำสัตว์ทุกชนิดเข้ามาในบริเวณสระว่ายน้ำ
2. ไม่ว่ายน้ำขณะที่ป่วยหรือมีเชื้อโรคที่อาจติดต่อได้
3. ห้ามนำของมารับประทานหรือดื่มในบริเวณสระว่ายน้ำ
4. ก่อนออกไปจากสระให้อาบน้ำฟอกสบู่ สระผมให้สะอาด
5. ต้องทำความสะอาดร่างกาย ก่อน และหลังการว่ายน้ำทุกครั้ง
6. ต้องล้างเท้าด้วยน้ำยาเคมีก่อนเข้าสระและลงสระว่ายน้ำทุกครั้ง
7. ไม่ทำให้สระว่ายน้ำสกปรก ต้องอาบน้ำสระผมก่อนลงทุกครั้ง
8. ก่อนเข้าสระว่ายน้ำเก็บรองเท้าไว้ในที่ซึ่งทางสระว่ายน้ำจัดไว้ให้
9. ไม่บ้วนน้ำลาย เสมหะ สั่งน้ำมูก ลงในสระน้ำหรือบริเวณพื้นสระ
10. บริเวณสระว่ายน้ำ ไม่อนุญาตให้สวมรองเท้า นอกจากมีรองเท้าประจำสระ
11. อุณหภูมิน้ำในสระปกติที่เหมาะสมอยู่ในระดับอุณหภูมิ 27 องศาเซนเซียส สำหรับเด็กอยู่ในระดับ 29 องศาเซนเซียส และเหมาะสำหรับทุกคนอยู่ในระดับ 31 องศาเซนเซียส
ระเบียบข้อบังคับในการใช้สระว่ายน้ำ
ระเบียบ ข้อบังคับเป็นข้อปฏิบัติที่ผู้ใช้บริการพึงปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เป็นที่น่ารังเกียจต่อสังคม หรือบุคคลรอบข้าง และป้องกันอันตรายต่างๆ อันจะทำให้ถึงอันตรายถึงชีวิต เพื่อป้องกันเหตุอันก่อให้เกิดอันตรายที่จะเกิดขึ้น ควรติดป้ายระเบียบข้อบังคับไว้ภายในสระเพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบ และยึดถือเป็นข้อปฏิบัติทั่วกัน โดยมากสระที่เกิดปัญหาคือสระที่ไม่มีระเบียบแสดงไว้ให้ผู้ใช้บริการพบเห็น
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมพลศึกษาได้เรียบเรียงระเบียบข้อบังคับไว้ดังนี้ คือ 4
1. ระวังอย่าว่ายน้ำใกล้ที่กระโดด
2. ห้ามอาเจียนในบริเวณสระว่ายน้ำ
3. ห้ามทำความสกปรกในบริเวณสระน้ำ
4. ห้ามว่ายน้ำขณะที่ฝนตกหรือฟ้าคะนอง
5. ห้ามเคี้ยวอาหาร หรือหมากฝรั่งเวลาว่ายน้ำ
6. ห้ามปัสสาวะอุจจาระลงในสระน้ำโดยเด็ดขาด
7. ห้ามผู้เรียนว่ายน้ำ ลงน้ำก่อนมีครูฝึกหรือผู้ดูแล
8. ผู้สอนต้องตรวจสอบจำนวนผู้เรียนว่ายน้ำทุกครั้ง
9. ไม่ควรแช่อยู่ในน้ำเมื่อรู้สึกว่าตัวเองเหนื่อยมากแล้ว
10. ห้ามลงสระน้ำเพียงคนเดียว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
11. ห้ามลงน้ำทันที หลังจากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ
12. ห้ามวิ่งไล่กันรอบบริเวณสระ หรือแกล้งผลักกันตกน้ำ
13. ควรรักษามารยาทที่ดีงามไม่ก่อความรำคาญให้กับผู้อื่น
14. ห้ามกระทำการสิ่งใดที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายและผู้อื่น
15. ควร ตัดเล็บมือและเล็บเท้าให้สั้น หรือทำความสะอาดเล็บ
16. ต้องเชื่อฟังผู้ควบคุมดูแลความปลอดภัย ประจำสระว่ายน้ำ
18. ห้ามว่ายน้ำตัดทางคนอื่น อาจจะชนและก่อให้เกิดอันตรายได้
19. ถ้าเป็นโรคที่สังคมรังเกียจต้องรักษาให้หายก่อนจึงจะลงสระน้ำ
20. ห้ามกระโดดเอาศีรษะลงน้ำ ก่อนที่จะสำรวจดูความลึกของน้ำก่อน
21. ต้องเชื่อฟังกฎ ระเบียบ ของการใช้อุปกรณ์ในการว่ายน้ำโดยเคร่งครัด
22. ห้ามทาน้ำมันหรือลักษณะคล้ายน้ำมันทุกชนิดตามร่างกายก่อนลงสระ
23. ผู้ฝึกควรอยู่บริเวณขอบสระ ต้องรู้วิธีปฐมพยาบาล และที่เก็บเครื่องมือ
24. สระตื้นลึกต่างระดับ ผู้ที่ว่ายน้ำยังไม่แข็ง ควรว่ายจากที่ ลึกเข้าไปหาที่ตื้น
25. ห้ามกระทำการสิ่งใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของสระว่ายน้ำ
ความปลอดภัยในการใช้สระว่ายน้ำ
ในการใช้สระว่ายน้ำในการเรียนการสอน และเพื่อการพักผ่อนแล้ว นอกจาก สุขปฏิบัติ และระเบียบเพื่อความปลอดภัยยังไม่เพียงพอสำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยจาก กิจกรรมที่จัดขึ้นภายในสระว่ายน้ำควรจำเป็นต้องยึดหลักความปลอดภัยสำหรับเป็นคู่มือ ครู ครูฝึก และผู้เกี่ยวข้องไว้เพื่อเป็นหลักในการดำเนินกิจกรรมด้วยความสบายใจ และปลอดภัย
ความปลอดภัยในการว่ายน้ำ (Safety in Swimming) รักษาชีวิตตนเองให้ปลอดภัยจากน้ำ กิจกรรมการออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครบถ้วน อวัยวะทุกส่วนได้เคลื่อนไหวเป็นการเพิ่มพูนสมรรถภาพทางกาย กล้ามเนื้อปอดหัวใจได้รับประโยชน์กว่ากีฬาประเภทอื่น สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทั้งครอบครัว ถ้าผู้เล่นไม่ระมัดระวัง ไม่ปฏิบัติตาม กฎของสระว่ายน้ำอาจได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายถึงกับชีวิต ควรศึกษาทำความเข้าใจกับ กฎระเบียบข้อควรปฏิบัติ ของการใช้สระว่ายน้ำให้เข้าใจเสียก่อน (Safety First)จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้สระว่ายน้ำได้ ต้องพิจารณาในสิ่งต่อไปนี้ คือ ก่อนว่ายน้ำต้องสำรวจตัวเองก่อน มีโรคประจำตัวหรือไม่ มีความสามารถทางน้ำเป็นอย่างไร ลอยตัวหรือว่ายน้ำเป็นหรือไม่ มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำบ้างหรือไม่ ความสะอาดอาบน้ำรักษาความสะอาดของส่วนรวม เป็นการปรับอุณหภูมิร่างกายด้วย ห้องน้ำที่อาบ น้ำในสระใสสะอาดหรือไม่ มองเห็นก้นสระหรือเปล่าเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ ตรวจดูสระ ก่อนว่า น้ำลึกเท่าไร น้ำ ตื้นอยู่ด้านใด เจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตมีหรือไม่ ปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือเปล่า เอาใจใส่หรือไม่ อุปกรณ์มีอยู่ตรงไหนบ้างง่ายต่อการหยิบมาใช้หรือไม่
การป้องกัน ระแวดระวังภัยไว้ก่อนไม่ใช่เรื่องเสียหาย กลับจะมีประโยชน์ ต่อ ชีวิตของผู้ออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำเอง เพราะน้ำมีคุณและโทษ หากเรารู้หลักการดังกล่าวย่อมทำให้เราได้รับประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว
ไม่มีความเห็น