นิตยา เรืองแป้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นิตยา นิตยา เรืองแป้น เรืองแป้น

ทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์


ปัญหาของ Cl เกิดจากความขัดแย้งระหว่าง id กับ ego หรือ id กับ super-ego และEgo กับ super-ego ถ้าความขัดแย้งส่งผลกระทบทำให้ ego อ่อนแอ เมื่อนั้น Cl ต้องได้รับการบำบัดและพัฒนาการที่ติดขัดในแต่ละขั้นตอน จะทำให้เกิดความชะงักงัน ( Fixation ) ส่งผลต่อบุคลิกภาพบางอย่างของบุคคลได้

 

Click ที่

http://learners.in.th/blog/psycho-guidance1105207/313584

หรืออ่านเนื้อหาข้างล่างนี้

ทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์

(1)

(อ้างอิงจาก www.medihealing.com)

 

ประวัติและความเป็นมา

                  ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalytic Theory ) ถูกก่อตั้งโดย Sigmund Freud(1856-1939 )

                  ฟรอยด์เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1856 บิดามารดาเป็นชาวยิว เขาเจริญเติบโตและใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่กรุงเวียนนา จนถึง ปี 1938 เมื่อนาซีบุกจู่โจม เขาจึงได้อพยพไปอยู่ที่อังกฤษและเสียชีวิตในปีต่อมาด้วยโรคมะเร็งที่ขากรรไกร หลังจากรักษาด้วยการผ่าตัดถึง 30 ครั้ง

                  ปี1881ฟรอยด์สำเร็จการศึกษาด้านแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งกรุงเวียนนา

                  ปี 1884 เขาได้ทำงานในโรงพยาบาลแห่งกรุงเวียนนา แผนกโรคประสาท 

                  ปี 1885 ได้รับรางวัลในการบรรยายเรื่องประสาทวิทยา และได้ไปศึกษาปัญหาด้านฮิสทีเรียและการสะกดจิตจาก  Jean Charcot ที่กรุงปารีส

                  ปี 1886 แต่งงานกับ Martha Bernays และได้เปิดคลินิกส่วนตัวรักษาคนไข้ โดย เขาได้ใช้การสะกดจิตบำบัดคนไข้อยู่หลายปี แต่เขาพบว่ามีคนไข้จำนวนหนึ่งไม่สามารถถูกสะกดจิตได้ ในที่สุดฟรอยด์จึงเลิกใช้วิธีนี้

                  ปี 1892-1895 เขาพัฒนาวิธีการรักษาที่เรียกว่า Free association หรือการระบายอย่างอิสระ ฟรอยด์ให้ความสำคัญกับคำพูดทุกๆคำที่คนไข้ระบายออกมา

                  ปี 1897 เขามีปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ คือกลัวความตาย เขาเริ่มใช้ความ ฝันวิเคราะห์จิตใจตนเอง

                  ปี 1900 เขาได้ตีพิมพ์หนังสือที่สำคัญเล่มหนึ่งคือ The Interpretation of Dreamsโดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความฝันของคนไข้ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจปัญหาในจิตใจได้มากขึ้น

                  ปี 1902 ฟรอยด์ได้ก่อตั้งสมาคมวิเคราะห์จิต ที่กรุงเวียนนา

เริ่มแรกเป็นสมาคมเล็กๆ

                                                                                                                                                                                                                                                แต่

ต่อมามีจำนวนสมาชิกมากขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็นสมาคมที่สำคัญและมีชื่อเสียงในที่สุด

                   ปี 1905-1906 เป็นช่วงที่มีการตีพิมพ์ผลงานหนังสือหลายเล่ม และเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดคือเรื่อง Three Essays on the Theory of Sexuality เขาถูกตราหน้าว่าเป็นคนที่ใจสกปรกและชั่วร้าย เพราะฟรอยด์บอกว่าเด็กเกิดมาพร้อมกับความรู้สึกทางเพศ  และมีความรู้สึกทางเพศกับพ่อแม่ด้วย

                   ปี 1910 ฟรอยด์เริ่มมีชื่อเสียงในระดับโลก และภายในสมาคมจิตวิเคราะห์ก็เริ่มมีความขัดแย้ง โดยมีหลายคนไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับเพศของเขา และมีนักจิตวิทยาหลายคนถอนตัวออกไปจากสมาคม เช่น Alfred Adler , Carl Jung

                   ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีผู้คนล้มตายมากมาย ฟรอยด์รู้สึกเศร้าอย่างมากที่ได้รับรู้เหตุการณ์แบบนี้  เขาจึงสร้างทฤษฎีสัญชาตญาณแห่งความตายขึ้นมา

                   ปี 1913 – 1940 มีผลงานของเขาตีพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง เขาทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับการงานจนถึงวาระสุดท้าย

 

1. หลักการของทฤษฎี

                   1.ทฤษฎีบุคลิกภาพ  ฟรอยด์กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์มีสาระสำคัญดังนี้

                    *บุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากแรงกระตุ้นของสัญชาตญาณทางด้านชีววิทยา  เช่น  ความหิว ความกลัวตาย

                        *แรงกระตุ้นต่างๆจะนำไปสู่การลดความเครียดทางด้านร่างกาย บางครั้งจะขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมและขอบเขตของศีลธรรม เช่นความต้องการทางเพศ

                    *ความเจริญเติบโตทางด้านจิตใจเกิดจากการที่บุคคลสามารถจัดการกับแรงกระตุ้นต่างๆได้เหมาะสมหรือไม่

                     *ความเจริญเติบโตทางด้านจิตใจต้องผ่านไปตามลำดับขั้นของพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็ก

                    *พฤติกรรมของมนุษย์ถูกกำหนดขึ้นมาจากจิตไร้สำนึกและจิตสำนึก ทุกพฤติกรรมเกิดเพราะมีสาเหตุทั้งสิ้น ไม่ใช่เกิดขึ้นอย่างอิสระเสรี

                    *ระหว่างจิตไร้สำนึกและจิตสำนึกนั้น จิตไร้สำนึกจะมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมมากกว่าจิตสำนึก”

                 ทฤษฎีของฟรอยด์โดดเด่นในแง่ของจิตไร้สำนึกมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจยากในหลายๆกรณี ฟรอยด์กล่าวว่าปัญหาความขัดแย้งของบุคคลเกิดจากจิตไร้สำนึกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและความรู้สึกของคนไข้ ความขัดแย้งเหล่านี้ไม่เหมือนกับความขัดแย้งในระดับจิตสำนึก เพราะแก้ไขได้ยาก เนื่องจากมีรากฐานมาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก และจากแรงขับ ความปรารถนา ความรู้สึกต่างๆที่ขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริง หรือมโนธรรม ซึ่งถ้าความปรารถนาเหล่านี้ไม่เป็นที่ยอมรับในระดับจิตสำนึก จะทำให้เกิดความวิตกกังวล ความรู้สึกผิด ทำให้เกิดการใช้กลไกป้องกันตัวเอง (Defense Mechanism )

               

   2.โครงสร้างบุคลิกภาพ 

               ฟรอยด์ได้แบ่งจิตใจมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ คือจิตไร้สำนึก( Unconscious )  จิตกึ่งรู้สำนึก ( Preconscious ) และจิตรู้สำนึก ( Conscious )

                โดยจิตรู้สำนึกเปรียบเหมือนก้อนน้ำแข็งที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ มองเห็นได้ สัมผัสได้ เข้าใจง่าย จิตไร้สำนึกเปรียบเหมือนส่วนของน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ มองไม่เห็น เข้าใจยาก แต่มีอิทธิพลต่อมนุษย์มากที่สุด ส่วนจิตกึ่งรู้สำนึกจะอยู่ระหว่างกึ่งกลางของจิตสองส่วนนี้

                   *จิตไร้สำนึก

                     เป็นที่เก็บความคิดและความรู้สึกที่ถูกเก็บกดทั้งหลาย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้บางครั้งถูกส่งออกมายังจิตสำนึก โดยต้องผ่านการตรวจสอบของจิตกึ่งรู้สำนึกก่อน จิตไร้สำนึกจะเป็นส่วนของสัญชาตญาณทั้งหลาย ความพึงพอใจ ความปรารถนาต่างๆ โดยมันไม่สนใจเรื่องของเวลา เหตุผลหรือความขัดแย้ง ฟรอยด์บอกว่าถ้าความปรารถนาในจิตใต้สำนึกไม่บรรลุผล จะทำให้เกิดการฝันหรืออาการทางโรคประสาทได้

                     *จิตกึ่งรู้สำนึก

                    เป็นส่วนที่คอยทำงานเชื่อมประสานระหว่างจิตไร้สำนึกและจิตรู้สำนึก มันทำหน้าที่ในการตรวจสอบสิ่งที่จิตไร้สำนึกส่งมาให้กับจิตสำนึก และมันยังทำหน้าที่คอยเก็บกดความปรารถนาและความต้องการที่ไม่อาจแสดงออกมาได้ลงไปไว้ในจิตไร้สำนึก หากเราทำการกระตุ้นจิตกึ่งรู้สำนึก จะทำให้สิ่งต่างๆในจิตไร้สำนึกออกมาสู่จิตสำนึกมากขึ้น เช่นการสะกดจิต การทำจิตบำบัด หรือในกรณีที่คนไข้เป็นโรคประสาท

                      *จิตสำนึก

                    คือจิตปกติในชีวิตประจำวันที่ทำงานประสานกับประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นส่วนของการคิด การตัดสินใจ การมีอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในจิตสำนึกจะมีบางส่วนถูกส่งต่อไปให้กับจิตกึ่งรู้สำนึกเพื่อให้ส่งไปเก็บไว้ในจิตไร้สำนึก เช่นประสบการณ์ที่เลวร้าย ความฝังใจบางอย่าง ความขัดข้องใจในบางสิ่ง ความผิดหวังท้อแท้ เป็นต้น สิ่งต่างๆเหล่านี้คนเราพยายามที่จะลืมมันให้หมด แต่จริงๆแล้วมันเพียงแค่ย้ายที่จากจิตรู้สำนึกไปสู่จิตไร้สำนึกเท่านั้น

                   ปัญหาต่างๆในบุคคลเกิดจากสิ่งที่เก็บไว้ในจิตไร้สำนึกถูกส่งมารบกวนจิตสำนึก จนมากเกินกว่าจะควบคุมได้

                    นอกจากนี้แล้วฟรอยด์ยังได้แบ่งจิตใจออกเป็นอีก 3 แบบ คือ Id .Ego และ Super   Ego

                  * Id

                   เกิดขึ้นมาพร้อมกับชีวิตตั้งแต่แรกเกิด เป็นส่วนของสัญชาตญาณและแรงขับต่างๆ ซึ่งจะกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมตอบสนองความต้องการ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจและลดความเครียดลง เช่นความหิว ความต้องการทางเพศ ซึ่งการแสดงออกอาจผ่านการสะท้อนของอวัยวะโดยตรง ส่วนการแสดงออกทางอ้อมคือการปลดปล่อยออกในลักษณะความปรารถนา Id นี้เปรียบเหมือนสัญชาตญาณดิบในสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีการพัฒนา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มันจะทำงานในระดับของจิตไร้สำนึก

                 * Ego

                 เป็นส่วนที่ได้รับการพัฒนามาจาก Id เมื่อทารกเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก บุคคลเริ่มรับรู้ว่าตนไม่สามารถทำอะไรตามความต้องการของแรงขับได้ทุกอย่าง เพราะโลกแห่งความเป็นจริงควบคุมเราอยู่

                   หน้าที่หลักของ Ego คือ

                   1.รับรู้ความรู้สึกที่เป็นจริงที่ได้รับจากโลกภายนอก ทดสอบและประเมินความรู้สึกเหล่านี้

                   2.ปรับตัวให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงและขณะเดียวกันก็ต้องทำ ให้ตนเองมีความพึงพอใจด้วย

                   3.เพื่อควบคุมและสร้างกฎเกณฑ์ให้กับแรงขับทางสัญชาตญาณ 

                   4.เพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกคุกคาม

                * Superego

                เป็นส่วนของค่านิยมทางสังคมที่เด็กได้รับโดยการอบรมจากพ่อแม่เพื่อให้ตระหนักรู้ว่าพฤติกรรมแบบไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ประกอบด้วย Conscience คือมโนธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ซึ่งเกิดจากการถูกพ่อแม่ทำโทษ และ Ego-ideal เกิดจากการทำสิ่งที่ดีและถูกต้องแล้วได้รับคำชม รางวัลหรือการยอมรับ เป็นค่านิยมที่เรียนรู้โดยเด็ก ทั้ง Conscience และEgo-ideal จะมีความขัดแย้งกับ id  โดยความขัดแย้งจะเกิดในระดับจิตไร้สำนึก

                     ปัญหาของ Cl เกิดจากความขัดแย้งระหว่าง id กับ ego หรือ id กับ super-ego และEgo กับ super-ego ถ้าความขัดแย้งส่งผลกระทบทำให้ ego อ่อนแอ เมื่อนั้น Cl ต้องได้รับการบำบัด
 

    3.พัฒนาการทางบุคลิกภาพ  

            ฟรอยด์ได้ใช้โครงสร้างบุคลิกภาพมาอธิบายพัฒนาการของมนุษย์ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Psychosexual Development  ซึ่งพัฒนาการต่างๆเกี่ยวข้องกับด้านชีวภาพและพลังทางเพศ หากมีการชะงักงันหรือถูกขัดขวางในพัฒนาการขั้นไหนก็ตาม จะเกิดปัญหาบุคลิกภาพขึ้นมาได้

                  3.1 Oral stage

                 เป็นพัฒนาการในช่วง 1 ปีแรกของอายุ ทารกได้รับความสุขทางปาก โดยการดื่มและกิน เด็กในวัยนี้ยังไม่รู้จักเหตุผลดังนั้นเขาจะทำตามแรงขับทางชีวภาพอย่างเดียวยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เมื่อได้รับการตอบสนองในเวลาหิว ความเครียดจะหายไป ความสุขความพึงพอใจจะเกิดขึ้น แต่ถ้าหิวแล้วไม่ได้กินเด็กจะรู้สึกคับข้องใจ ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพเมื่อโตขึ้น เช่นกลายเป็นคนจู้จี้ขี้บ่น กินจุบกินจิบ

                 3.2  Anal stage

                ในช่วงอายุ 2-3 ปี เด็กเริ่มเรียนรู้ถึงแรงกดดันในเรื่องขับถ่าย ซึ่งทำให้รู้สึกไม่สบาย เพราะถูกพ่อแม่ควบคุมในเรื่องนี้ ทำให้เด็กรู้สึกขัดแย้งกับพ่อแม่ ในวัยนี้ Ego เริ่มแยกตัวออกจาก Id และเด็กก็เริ่มรู้จักต่อต้านพ่อแม่ เช่นถ้าพ่อแม่เข้มงวดกับลูกมากเกินไป เด็กก็จะอั้นอุจจาระไม่ยอมถ่าย  เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นบุคลิกภาพแบบ Anal retentive  คือขี้เหนียวและดื้อดึง

                3.3 Phalic stage

                ในช่วงอายุ 3-5 ปี ในวัยนี้เด็กจะรู้จักความแตกต่างระหว่างเพศ และสนใจในอวัยวะสืบพันธุ์ เด็กชายจะใกล้ชิดแม่และห่างเหินจากพ่อ เกิดปม Oedipus ส่วนเด็กหญิงจะห่างเหินจากแม่และไปใกล้ชิดพ่อ เกิดปม Electra แนวความคิดดังกล่าวถูกโจมตีอย่างมากจากนักจิตวิทยาหลายคน เด็กชายที่มีความชะงักงันของพัฒนาการในช่วงนี้ จะกลายเป็นคนหลงตัวเอง ขี้อวด บางคนชอบมีเพศสัมพันธ์กับหญิงไม่เลือกหน้า ส่วนเด็กหญิงที่มีความชะงักงันของพัฒนาการในช่วงนี้ จะกลายเป็นคนที่ชอบเอาชนะผู้ชายตลอดเวลา

               3.4 Latency stage 

              ในช่วงอายุ 5-6 ปี ความรู้สึกทางเพศจะถูกแทนทีด้วยความรู้สึกรักหรือเกลียด รู้จักใช้ความคิดมากขึ้น ยึดหลักแห่งความจริงมากขึ้น มักจะเข้ากลุ่มกับเพื่อนเพศเดียวกัน เด็กจะเลียนแบบค่านิยมของพ่อแม่มากขึ้น

               3.5 Genital Stage

              เป็นระยะการเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้น เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้าม เรียนรู้เรื่องความรัก และเพศสัมพันธ์ เป็นช่วงการพัฒนาไปสู่ผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะเต็มที่ ในขั้นตอนนี้ถ้าพัฒนาการมีความราบรื่น พวกเขาจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักรักตัวเองและผู้อื่น แต่ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นในช่วงนี้ เด็กอาจมีบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม เช่นมีความวิตกกังวลสูง มีความขัดแย้งในใจ ตื่นตระหนกหรือหวาดกลัว

              พัฒนาการที่ติดขัดในแต่ละขั้นตอน จะทำให้เกิดความชะงักงัน ( Fixation ) ส่งผลต่อบุคลิกภาพบางอย่างของบุคคลได้
 

   4.แนวคิดในเรื่องกลไกการป้องกันตนเอง

          มนุษย์มีความทุกข์เพราะegoต้องคอยจัดการกับแรงขับของ id และการเรียกร้องของ super-ego ฟรอยด์เทียบเทียบว่า ego เหมือนสนามรบที่ id กับ super-ego เข้ามาปะทะกัน ทำให้บุคคลเกิดความขัดแย้งและร้อนรนใจ บางครั้งเกิดความกลัว ความรู้สึกผิด ดังนั้น ego จึงต้องมีกลไกในการป้องกันตัว

        4.1  Repression (การเก็บกด)

           คือขจัดแรงกระตุ้นจากสัญชาตญาณไม่ให้ออกมาสู่จิตรู้สำนึก โดยเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก หรือการทำลายความทรงจำที่เกี่ยวกับประสบการณ์เลวร้ายหรือเจ็บปวด โดยซ่อนไว้ในจิตไร้สำนึก

              4.2 Rationalization ( การหาข้ออ้าง )  

            คือการหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเองอย่างไม่ถูกต้อง เช่นอยู่บ้านเช่าที่แออัด ไม่มีปัญญาหาที่อยู่ใหม่ ก็ปลอบใจตัวเองว่าอยู่ตรงนี้ไปไหนมาไหนสะดวกดี

              4.3   Displacement ( การหาสิ่งทดแทน )

                    ระบายความรู้สึกจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง

                    เช่น  โกรธสามีแต่ไปด่าลูกแทน

             4.4  Conversion

                    การเปลี่ยนแรงกระตุ้นทางด้านจิตใจไปสู่ความแปรปรวนทางกาย

                    เช่น  ถูกขัดใจก็เป็นลมหมดสติไป

              4.5 Reaction formation

                   คือ  การผันแรงขับที่ไม่ต้องการไปเป็นแบบตรงข้าม

                  เช่น  เกลียดแต่แกล้งทำเป็นว่ารัก

              4.6 Projection

                   คือ การโยนความผิดให้ผู้อื่น

                   ตรงกับสำนวนที่ว่ารำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

              4.7 Denial

                   การปฏิเสธความจริง

                   เช่น แม่พยายามหลอกตัวเองว่าลูกยังไม่ตายทั้งๆที่เขาตายไปแล้ว

              4.8 Sublimation

                   การที่บุคคลเปลี่ยนพลังทางเพศหรือความก้าวร้าวไปสู่พฤติกรรมที่สังคมยอมรับ

                   เช่น  นักมวย .จิตรกรวาดภาพเปลือย

              4.9 Regression

                   การถอยหลังเข้าคลอง

                   เช่น  ผู้ใหญ่ที่แสดงกิริยาอาการเหมือนเด็ก

              4.10 Compensation 

                คือ การชดเชยส่วนที่ด้อยด้วยการสร้างจุดเด่นด้านอื่นแทน

                เช่น ขี้เหร่แต่พยายามตั้งใจเรียนจนได้เกียรตินิยม

 

              เป้าหมายทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์

               เป้าหมายที่สำคัญของการใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ไปให้คำปรึกษาแก่ Client  มีดังต่อไปนี้

               1.ดึงแรงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึกมาสู่ระดับจิตสำนึก เป็นการทำให้ ego เข้มแข็งขึ้นทำให้ Client เข้าใจสาเหตุของพฤติกรรม นำไปสู่การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ เช่นCl ระบายความโกรธมาสู่เราซึ่งเป็น Counselor โดยมีสาเหตุจากจิตใต้สำนึกเกลียดพ่อ และบังเอิญตัวเรามีอะไรบางอย่างเหมือนพ่อของเขา ถ้าเรารู้ความจริงเช่นนี้ ต้องดึงสิ่งที่อยู่ในจิตไร้สำนึกของClออกมาให้เขารับรู้และเข้าใจ

               2.ลดความวิตกกังวลของ Client เพื่อใช้ระบบเหตุผลในการพิจารณาสิ่งต่างๆตามข้อเท็จจริง ลดการใช้กลไกป้องกันตัวเอง เช่นทุกครั้งที่พูดถึงแม่ Client จะมีท่าทางอึดอัด พูดตะกุกตะกักและไม่ยอมตอบคำถามใดๆเกี่ยวกับเรื่องแม่ แสดงว่าคนไข้ต้องมีความขัดแย้งกับแม่และใช้กลไกป้องกันตัวเอง เราต้องพูดให้คนไข้เข้าใจและยอมรับถึงปัญหาดังกล่าว แล้วมาพิจารณาตามข้อเท็จจริงว่า ทำไม Client จึงไม่อยากพูดถึงแม่ เมื่อรู้ความจริงแล้ว เราจึงจะช่วยเหลือเขาได้

                 3. ช่วยให้ Client สามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น รับผิดชอบและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น เมื่อเราสามรถชี้ให้ Client เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงของเขา จนเขายอมรับแล้ว ต่อไปเขาจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง เพราะเข้าใจปัญหาดีแล้ว

                4.หลังจากที่ Client เข้าใจตัวเอง เข้าใจปัญหา ยอมรับและสามารถพึ่งพาตัวเองได้แล้ว Client จะมีสุขภาพจิตที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความสุข

 

ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา

            ขั้นที่1.การเริ่มต้น ( Orientation )

                ในการเริ่มต้นการให้คำปรึกษา เราต้องซักประวัติของผู้มีปัญหา โดยจะเน้นให้ได้ภาพของความขัดแย้งซึ่งผู้มีปัญหากำลังเผชิญ รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาที่เขาได้พยายามใช้มาแล้ว ในขั้นเริ่มต้นนี้เราต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับ Client และต้องฝึกให้เขาแสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาออกมา

                   สิ่งที่ฟรอยด์เน้นคือการให้ client ได้ระบายความในใจออกมาอย่างเสรี ( Free Association ) ซึ่งเราต้องสังเกต Client อย่างใกล้ชิด เพื่อค้นหาปมปัญหา

                  ในขั้นตอนการเริ่มต้นนี้ สิ่งที่สำคัญคือ Counselor ต้องระวังข้อห้ามต่างๆดังต่อไปนี้

                   1.* ห้ามเถียง ห้ามทะเลาะ ห้ามท้าทาย Client

                  ในกรณีที่ Client เล่าเรื่งราว ซึ่งเมื่อฟังแล้วรู้สึกว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่มีเหตุผล แต่ Client พยายามจะขอความคิดเห็นจากเรา เราก็อาจจะพูดในทำนองที่ว่า “ ผมเข้าใจ คุณมีความรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ ” หรือ “ ผมเพิ่งรู้จักคุณเป็นครั้งแรก ปัญหาของคุณเป็นเรื่องน่าสนใจ ผมขอเวลาศึกษาเรื่องนี้ก่อน ยังไม่ออกความเห็นตอนนี้ “

                   2.* ห้ามยกย่องหรือให้กำลังใจ Client อย่างผิดๆ

                    เช่น Client หน้าตาดี สวยงาม แต่งตัวดี ทำงานมีเกียรติ พวกนี้บางคนมี Self esteem มากเกินไป การยกย่องจะไปเสริมให้เขาหลงตัวเองมากยิ่งขึ้น

                  3.*อย่าให้คำมั่นสัญญาผิดๆ 

                    เช่น  บอกว่า “ ไม่ต้องวิตก มาพบผมประมาณ 3 ครั้งก็จะหายเป็นปกติ “ โดยปกติถ้า Client ถามว่าต้องบำบัดนานแค่ไหนจึงจะหายเป็นปกติ เราควรจะตอบแบบกลางๆว่า “ ผมขอศึกษาเรื่องราวของคุณให้ดีเสียก่อน จึงจะตอบคุณได้ “

                  4. *ห้ามแปลผลห้ามวิเคราะห์ปัญหาของ Client ให้เขารู้

                     ต้องรอให้ผ่านช่วงเวลาของการเริ่มต้นไปแล้วจึงจะทำได้

                  5. *ห้ามถามในสิ่งที่ Client ยังไม่พร้อมที่จะพูด

                    เช่น  ปมด้อย ปัญหาทางเพศ ความล้มเหลวในชีวิต เป็นต้น

                  6. *ห้ามร่วมมือกับ Client โจมตีบิดามารดา สามีภรรยา เพื่อน หรือคนใกล้ชิดของเขา

                      แต่เราอาจเลี่ยงไปพูดในทำนองว่า “ ผมทราบว่าคุณกำลังลำบากใจ” หรือ “เหตุการณ์อย่างนี้ทำให้คุณไม่สบายใจ” เป็นต้น

                 ขั้นที่ 2.การทำให้ตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เก็บกดไว้ ( Interpretation of Neurotic  Conflicts )

                    ในขั้นตอนนี้ Counselor จะต้องช่วยให้ Client เป็นอิสระจากปัญหาต่างๆในจิตใจโดยใช้ Interpretation เป็นเครื่องมือ

                    Interpretation หมายถึงการที่ Counselor ใช้การพูดในหลายรูปแบบและหลายวิธีเพื่ออธิบายหรือชี้แจงให้ Client ทราบความหมายของคำพูด ความรู้สึก ความคิด ทัศนคติและพฤติกรรมของเขา ซึ่งก่อนหน้านี้ Client ไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบความหมายของสิ่งเหล่านี้ เพราะมันอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก  การใช้ Interpretation นี้ ถือว่าเป็นการเผชิญหน้ากับ Client หรืออาจกล่าวได้ว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการทำให้สิ่งที่อยู่ใน Unconscious กลายเป็น Conscious

                     ตัวอย่างของ Interpretation

                        ตัวอย่างที่1.

                    Client เป็นชายหนุ่มที่ชอบต่อต้านสังคม เขาต่อต้านพ่อด้วย โดยบอกว่าไม่ชอบที่พ่อมักทำตัวเหมือน ผู้ยิ่งใหญ่ ชอบข่มขู่และวางอำนาจ

                     วันนี้ Client เล่าว่า ได้ไปเที่ยวบาร์แห่งหนึ่ง ได้รับความสนุกสนานมาก Client เคยไปเที่ยวที่แห่งนี้หลายครั้ง เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเที่ยวด้วยกัน Client เล่าว่าได้รับการต้อนรับอย่างดีทั้งจากพนักงานและคนที่ไปเที่ยว Client เดินไปตามโต๊ะต่างๆ ทักทายกันคุยกันอย่างมีความสุข สนุกสนาน เขาบอกว่ารู้สึกภูมิใจเหมือนเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ แต่มีอยู่โต๊ะหนึ่งทำท่าเมินเฉยกับเขา เขารู้สึกไม่พอใจมาก เกือบจะมีเรื่องทะเลาะกัน

                     Client ถามความเห็นในเรื่องนี้จาก ผู้ให้การปรึกษา

                     Co สามารถเปรียบเทียบพฤติกรรมของเขากับบิดาว่า “ คุณบอกว่าต่อต้านพ่อที่ท่านทำตัวเหมือนผู้ยิ่งใหญ่ แต่คุณเองก็ทำคล้ายๆกับเป็นผู้ยิ่งใหญ่ คุณรู้สึกแบบนี้ไหม ? “

 

                       ตัวอย่างที่ 2.

                      Client เป็นนักเรียนเกย์วัยรุ่น  ได้เล่าเหตุการณ์เมื่อครั้งที่ยังเป็นเด็ก มารดาทำให้เขาต้องอับอายขายหน้า โดยมารดาถอดกางเกงของเขา ต่อหน้าแขกที่มาเยี่ยมหลายคน เพื่อยืนยันกับพวกเขาว่าลูกเป็นเพศชาย เขารู้สึกขายหน้าและจำเหตุการณ์ดังกล่าวมาตลอด ในใจคอยคิดแต่จะต่อต้านแม่ จนกระทั่งแม่ขัดขวางไม่ให้เขาคบเพื่อนนักเรียนชายที่เป็นแฟนกัน เขาจึงประชดโดยการมีเพศสัมพันธ์กับแฟน แล้วพาแฟนไปแนะนำให้ญาติทุกคนรู้จัก

                      เมื่อ client ถาม Co ว่าสิ่งที่ทำนี้ถูกหรือผิด

                      Col ก็ควรจะบอกให้เขารู้ว่า “ในจิตใจของคุณคิดจะทำให้แม่อับอายขายหน้าเหมือนที่แม่เคยทำกับคุณมาก่อน “

     

                      ตัวอย่างที่ 3.

                 Client หญิง

หมายเลขบันทึก: 407356เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2010 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เป็นของ  Sigmund Freud นะครับ
  • อาจารย์สบายดีไหม
  • หายไปนานมาก
  • ทางยะลาฝนหยุดหรือยังครับ

เป็นประโยชน์มากครับ..

ถ้าเราสามารถพัฒนาจิตของตนเองได้ จะเยี่ยมยอดมากเลยทีเดียวครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง 
  และ ครูป้อม ราชิต สุพร
  •  "ถ้าเราสามารถพัฒนาจิตของตนเองได้ จะเยี่ยมยอดมากเลยทีเดียว" ใช่ค่ะ เห็นด้วยค่ะ
  •  ยะลายังมีฝนอยู่ค่ะ  ฟ้าครึ้มทั้งวัน

ดิฉันมีเรื่องรบกวนอาจารย์หน่อยนะคะ บุตรของดิฉันเป็นเด็กผู้ชายอายุ 6 ปี ที่โรงเรียนมาการประเมิน IQ EQ ค่ะ คุณครูที่โรงเรียนบุตรของดิฉันบอกว่านักจิตวิทยาที่มาประเมินบอกว่า บุตรชายของดิฉันมี EGO สูง ให้แก้ไข ดิฉันอยากรบกวนอาจารย์หน่อยนะคะ มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างคะ แล้วจะมีผลเสียกับบุตรชายของดิฉันในอนาคตหรือไม่คะ

ขอบคุณอาจารย์มากๆ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท