การเรียนรู้เพื่อบริการชุมชน


วันที่13-15 ตุลาคม 2553 ณ ไบเทค บางนา

    วันนี้ผมขออนุญาตนำงานวิจัยของคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มาแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นผลงานของพี่ ๆ นิสิตปริญญาเอก ภาคพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยผลงานการวิจัยได้ถูกนำมาแสดงในงานการศึกษานานาชาติ (Educa2010)ปี 2010 ด้วย  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนรู้แก่ผู้ที่สนใจ

ภาคพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

    คณาจารย์ผู้เป็นที่ปรึกษางานวิจัยนี้ท่านได้อธิบายให้ผมฟังว่า  การเรียนรู้เพื่อบริการชุมชน  เป็นกระบวนการที่ผสมผสานระหว่างความรู้เชิงวิชาการของนิสิตหรือผู้มีความรู้ในด้านนั้น ๆ ผสมกับชุมชนหรือชาวบ้านผู้มีประสบการณ์  เมื่อทั้งสองสิ่งนี้สามารถผสานกันได้ก็จะเกิด  "คุณค่าทางความรู้หรือคุณค่าทางวิชาการ"

กระบวนการการเรียนรู้เพื่อบริการชุมชน

              1. Theory clarification   นิสิตต้องเลือกชุมชนเพื่อทำการศึกษาและหาทฤษฎีหรือความรู้ทางวิชาการ  เพื่อเป็นหลักในการหาลือกับชาวบ้าน

              2. Community context exploration  การสำรวจบริบทของชุมชน เพื่อการศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนให้ถูกต้องและสอดคล้องกับสิ่งที่เราจะบริการ ถ้าไม่สำรวจสิ่งที่เราจะนำไปบริการอาจจะขัดต่อชุมชนก็เป็นได้  อาจจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์ในการบริการความรู้

              3. Community needs identification  การสำรวจปัจจัยความต้องการของชุมชนว่าต้องการให้เราบริการความรู้ในด้านใด  เพื่อที่จะได้นำหัวข้อดังกล่าวมาวิเคราะห์

              4. Alternative determination  ขั้นตัดสินใจร่วมกันเพื่อหาปัญหาสำคัญเพื่อที่จะแก้ไขก่อนเป็นอันดับแรกให้แก่ชุมชน  และต้องยอมรับกันทั้งชุมชนและผู้บริการ

              5. Relevant knowledge elaboration  การประยุกต์ความรู้และประสบการณ์การปฏิบัติของนิสิตและชุมชน  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทดลอง

              6. Alternative implementation   ขั้นปฎิบัติงานร่วมกันเพื่อหาผลลัพธ์ในการทดลองนั้นอย่างแท้จริง

              7. Learning reflections   ผลสะท้อนของการเรียนรู้  ขั้นนี้เป็นเสมือนการสรุปผลของนิสิตและชุมชนว่าได้รับอะไรซึ่งกันและกัน  เพราะกระบวนการนี้เป็นเสมือนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนิสิตและชาวบ้าน

 

ตัวอย่างงานวิจัย ป.เอก

ใช้กระบวนการดังกล่าวกับการทำนา

ผลสรุปของการบริการความรู้แก่ชุมชน

      สรุปคือ เราร่วมกันหาปัญหาหรือเรื่องที่เรายังไม่เคยประสบพบเจอ  เพื่อเป็นการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ โดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กับชุมชนหรือบุคคลอื่น ๆ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหรือผสมผสานความรู้กันและกัน  และลงมือกระทำในที่สุดเพื่อให้เกิดผลของการกระทำ  และสรุปความรู้ใหม่ที่ได้รับที่เป็นความรู้ใหม่ที่เกิดจากความรู้เดิม  นั่นก็คือ การพัฒนาความรู้เก่าให้เป็นความรู้ที่ทันสมัย (ตามตาราง)

ติดต่อได้ที่

คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  นครปฐม

หมายเลขบันทึก: 402930เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2010 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ตามมาอ่าน
  • พิมพ์ผิดครับ
  • ครูว่าจะตามไปหาอ่านงานวิจับฉบับเต็มครับ
  • อิจฉาคนไม่มีเรียนวันพฤหัสฯ
  • ก๊ากครูเขียนคำว่าวิจัยผิด
  • อาร์มพิมพ์ผิดครับ
  • เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนรู้แก่ผ๔ที่สนใจ
  • อาจารย์นี่ scan ละเอียดมาก ๆ เลยนะครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท